วันนี้ (23 ต.ค. 49) นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มาตรา 21 กำหนดให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติด้วย ซึ่งเป็นหน้าที่ที่สำคัญต่อการคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ในการประชุมสภานิติบัญญัติฯ เพื่อเลือกประธานสภาฯ ขอให้เป็นไปโดยอิสระ ปราศจากการครอบงำ และไม่ควรให้มีการทำโผออกมาเช่นกรณีของวุฒิสภาชุดที่แล้ว นอกจากนี้ สภานิติบัญญัติฯ จะต้องระมัดระวังผู้ที่ไม่ประสงค์ดีที่จะจัดทำโผเพื่อทำลายภาพลักษณ์ของสภาฯ ด้วย เพราะจะทำให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้รับความเสียหายไปด้วย
นายองอาจ กล่าวด้วยว่า สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติทุกคนถือเป็นคนกลาง ดังนั้น มีสิทธิที่จะได้รับเลือกเป็นประธานเท่าเทียมกัน
ส่วนการดำเนินการของรัฐบาลตนเห็นว่าขณะนี้การดำเนินการของรัฐบาลในหลายเรื่องยังเป็นการดำเนินการบ้านเมืองในภาวะปกติ ซึ่งสิ่งที่ตนอยากฝากการบริหาราชหารแผ่นดินในภาวะเช่นนี้ต้องพึงสำนึกว่าเป็นการบริหารราชการที่ไม่ใช่ภาวะบ้านเมืองปกติ แต่เป็นการบริหารบ้านเมืองในสภาวะพิเศษ และพันธกิจของรัฐบาลต้องเป็นพันธกิจเดียวกันกับคมช. และประชาชน ซึ่งพันธกิจสำคัญที่ขับเคลื่อนในการตรวจสอบและถอนรากถอนโคลนระบอบทักษิณอย่างจริงจัง
กรณีที่นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมายของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่าจะไม่มีผู้ที่สนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณ และพรรคไทยรักไทยออกมาเคลื่อนไหวใดๆ ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ กลับถึงประเทศไทย ว่า เมื่อทนายความของพ.ต.ท. ทักษิณ ออกมายืนยันเช่นนี้ ก็จะเป็นเรื่องที่ต้องฟังหูไว้หู และต้องติดตามดูเรื่องนี้ต่อไปว่าสิ่งที่พูดกับสิ่งที่ปฏิบัติตรงกันจริงหรือไม่ เพราะแม้แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ สมัยที่ยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็ยังมีคำพูดที่เชื่อถือไม่ได้ กลับไปกลับมา เพื่อประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้องตลอดเวลา
นายองอาจ กล่าวถึงแนวคิดที่จะตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลถือเป็นหัวใจสำคัญของประชาธิปไตย ดังนั้น รัฐบาลจึงไม่น่าจะวิตกกังวลในการถูกตรวจสอบ เพราะรัฐบาลได้แสดงปณิธานชัดเจนว่าจะเข้ามาทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งนี้ ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ คงไม่มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจสอบรัฐบาลแบบเดียวกับพรรคไทยรักไทย เพราะเรามีการตรวจสอบตามธรรมชาติอยู่แล้ว แต่เราจะดูความเหมาะสมและความตั้งใจของคนที่ทำงาน โดยในช่วงแรก เราจะเปิดโอกาสให้รัฐบาลทำงานสุดฝีมือเต็มที่ มีอะไรที่ท้วงติงได้ เราก็จะแนะนำอย่างสร้างสรรค์ แต่ถ้าอะไรที่ทำให้เสียหายต่อสังคมเกินกว่าจะรับได้ เราก็จะทักท้วงอย่างจริงจัง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 ต.ค. 2549--จบ--
นายองอาจ กล่าวด้วยว่า สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติทุกคนถือเป็นคนกลาง ดังนั้น มีสิทธิที่จะได้รับเลือกเป็นประธานเท่าเทียมกัน
ส่วนการดำเนินการของรัฐบาลตนเห็นว่าขณะนี้การดำเนินการของรัฐบาลในหลายเรื่องยังเป็นการดำเนินการบ้านเมืองในภาวะปกติ ซึ่งสิ่งที่ตนอยากฝากการบริหาราชหารแผ่นดินในภาวะเช่นนี้ต้องพึงสำนึกว่าเป็นการบริหารราชการที่ไม่ใช่ภาวะบ้านเมืองปกติ แต่เป็นการบริหารบ้านเมืองในสภาวะพิเศษ และพันธกิจของรัฐบาลต้องเป็นพันธกิจเดียวกันกับคมช. และประชาชน ซึ่งพันธกิจสำคัญที่ขับเคลื่อนในการตรวจสอบและถอนรากถอนโคลนระบอบทักษิณอย่างจริงจัง
กรณีที่นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมายของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่าจะไม่มีผู้ที่สนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณ และพรรคไทยรักไทยออกมาเคลื่อนไหวใดๆ ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ กลับถึงประเทศไทย ว่า เมื่อทนายความของพ.ต.ท. ทักษิณ ออกมายืนยันเช่นนี้ ก็จะเป็นเรื่องที่ต้องฟังหูไว้หู และต้องติดตามดูเรื่องนี้ต่อไปว่าสิ่งที่พูดกับสิ่งที่ปฏิบัติตรงกันจริงหรือไม่ เพราะแม้แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ สมัยที่ยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็ยังมีคำพูดที่เชื่อถือไม่ได้ กลับไปกลับมา เพื่อประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้องตลอดเวลา
นายองอาจ กล่าวถึงแนวคิดที่จะตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลถือเป็นหัวใจสำคัญของประชาธิปไตย ดังนั้น รัฐบาลจึงไม่น่าจะวิตกกังวลในการถูกตรวจสอบ เพราะรัฐบาลได้แสดงปณิธานชัดเจนว่าจะเข้ามาทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งนี้ ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ คงไม่มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจสอบรัฐบาลแบบเดียวกับพรรคไทยรักไทย เพราะเรามีการตรวจสอบตามธรรมชาติอยู่แล้ว แต่เราจะดูความเหมาะสมและความตั้งใจของคนที่ทำงาน โดยในช่วงแรก เราจะเปิดโอกาสให้รัฐบาลทำงานสุดฝีมือเต็มที่ มีอะไรที่ท้วงติงได้ เราก็จะแนะนำอย่างสร้างสรรค์ แต่ถ้าอะไรที่ทำให้เสียหายต่อสังคมเกินกว่าจะรับได้ เราก็จะทักท้วงอย่างจริงจัง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 ต.ค. 2549--จบ--