ปัจจุบันประเทศมีการเปลี่ยนแปลง ไปตามสภาวะเศรษฐกิจ การเมือง สังคม นโยบาย และเทคโนโลยี ส่งผลให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม ต้องมีการปรับตัวพัฒนาระบบและรูปแบบในการดำเนินงานและการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับภาคธุรกิจที่สำคัญได้ในระดับโลก ซึ่งปัจจุบันมีการแข่งขันกันในระดับที่สูง ทุกหน่วยงานจะต้องมีการตื่นตัวตลอดและคิดค้นหาแนวทางในการที่จะปรับกิจกรรมต่างๆที่มีอยุ่ให้เป็นระบบเพิ่มมากขึ้น เช่น การจัดซื้อ การผลิต การตลาด การวิจัยและพัฒนา การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มศักยภาพเพื่อให้ทันต่อการแข่งขันในตลาดโลกและการแข่งขันในอนาคต สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากกว่าคู่แข่งขัน
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานในส่วนภูมิภาคที่รับผิดชอบในการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาภาคธุรกิจอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงมีแนวคิดในการนำการบริหารธุรกิจแนวใหม่มาใช้ในการพัฒนารูปแบบ เชิงวิชาการเพื่อเป็นการสนับสนุนให้ภาคธุรกิจในพื้นที่รับผิดชอบได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินงาน โดยใช้ Logistics และ Supply Chain ( ห่วงโซ่อุปทาน ) มาปรับใช้ให้เข้ากับธุรกิจแต่ละประเภทที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนการปฏิบัติงานประจำปี โดยมีการประสานงานกับจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบ โดยใช้งบประมาณการพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการ ( CEO ) ดำเนินงาน
Logistics เป็นกระบวนการวางแผนการดำเนินงานและการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการเคลื่อนย้าย คน สินค้าที่นำกลับมาใช้ใหม่ วัตถุดิบ หรือสินค้ากึ่งสำเร็จรูป ผ่านกระบวนการผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดการคลังสินค้า กระบวนการสั่งซื้อ การบรรจุภัณฑ์และการขนส่งสินค้าไปยังลูกค้า โดยอาศัยเทคโนดลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การกระจายสินค้าทั้งระบบเป็นระบเดียวกัน กำหนดกลยุทธ์ทางด้านโลจิสติกส์ในส่วนของสินค้าใช้แล้วเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ การกำจัดของเสีย การขนถ่ายสินค้าขากลับ การซ่อมบำรุงและการวางแผนเครือข่ายของระบบโลจิสติกส์ เพื่อให้สามารถลดต้นทุนการกระจายสินค้าและเพิ่มประสิทธิภาพการกระจายสินค้าไปยังลูกค้า โดยสินค้าไปถึงสถานที่ที่กำหนดได้ทันตามเวลาที่ต้องการ อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานในปริมาณที่ครบถ้วนถูกต้อง ด้วยต้นทุนที่ต่ำสุด เพิ่มระดับการบริการที่สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
แนวคิดด้านการจัดการโลจิสติกส์ และห่วงโซ่อุปทาน นับว่าเป็นแนวคิดสำคัญที่ช่วยในการส่งเสริมอุตสาหกรรมด้านการนำเข้า - และส่งออก การกระจายสินค้าของไทยไปทั่วประเทศและทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกรวดเร็ว ผู้บริหารจำเป็นจะต้องปรับกระบวนการดำเนินงาน โดยพัฒนาองค์ความรู้ ปรับประบวนการเรียนรู้ การกระจายความรู้ และการใช้ประโยชน์จากความรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ การวิจัยและพัฒนาเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆที่เป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนาระบบการดำเนินงาน อันจะส่งผลดีต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ภาคการผลิต ให้มีการเจริญเติบโตรวมไปถึงการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้ด้วย
ปัจจุบันต้นทุนของโลจิสติกส์ของไทยยังสูงถึง 19% ของ GDP เทียบกับประเทศที่เจริญ มีเพียง 7%-11% เท่านั้น ดังนั้นขณะนี้รัฐจึงหันมาให้ความสำคัญเรื่องนี้มากขึ้น และตั้งเป้าจะลดลงให้เหลือ 15% ให้ได้ในปี 2551 ขณะที่ภาคของธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพแวดล้อมการแข่งขันล้วนกระทบต่อการจัดการ โลจิสติกส์ขององค์กรเอง ตั้งแต่เรื่องของการสร้างความได้เปรียบที่มีอยู่ 2 ด้าน คือความสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า และการลดต้นทุนขององค์กร ซึ่งวันนี้เป็นเรื่องที่ต้องทำทั้งคู่ เพราะแม้จะเสนอสินค้าที่มีราคาถูกให้ลูกค้าแล้ว ลูกค้าก็ยังเรียกร้องให้ลดราคาลงอีกตลอดเวลา ทำให้องค์กรต้องปรับปรุงต่อเนื่อง เพื่อลดต้นทุนลงให้ได้เรื่อยๆ นอกจากนี้อำนาจการต่อรองในช่องทางการจัดจำหน่าย ขณะนี้อยู่ในมือค้าปลีกขนาดใหญ่ ซึ่งระบบบริหารจัดการ ขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจสูงสุด ประกอบกับลูกค้าเรียกร้อง และต้องการควบคุมมากขึ้น สินค้าและบริการมีวงจรชีวิตที่สั้นลง ความต้องการไม่แน่นอนมากขึ้น ทำให้การพยากรณ์ไม่ได้ตอบสนองความต้องการได้แน่ชัด
เวลาที่องค์กรต้องการติดตั้งระบบไอทีเพื่อการจัดการด้านโลจิสติกส์ ต้องไม่ละเลยต่อซัพพลายเชน ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงผู้บริโภค ซึ่งจะมีซัพพลายเออร์อยู่หลายระดับ ขั้นที่ 1, 2 และ 3 ฯลฯ ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ถ้าธุรกิจมองไม่ทะลุทั้งระบบ การวางระบบไอที อาจจะกลายเป็นการผลักภาระไปให้ผู้อื่นแทน สุดท้ายก็ไม่สามารถลดต้นทุนได้ทั้งระบบอยู่ดี สิ่งที่พยายามเน้นย้ำอีก ก็คือ องค์กรจะใช้แนวคิดในการบริหารโลจิสติกส์ใดก็ตามให้คำนึงถึงความเสี่ยงและความไม่แน่นอน ซึ่งมีอยู่ 5 ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง คือ 1. ซัพพลายเออร์ 2.ความต้องการของลูกค้า 3. กระบวนการที่องค์กรออกแบบมา 4. ระบบควบคุมขององค์กร และ 5. ความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมของธุรกิจ ซึ่งข้อนี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากที่สุด องค์กรต้องเรียงลำดับความสำคัญความเสี่ยง และพยายามลด โดยประเมินและเตรียมแผนรับมือแก้ไขไว้ สิ่งสำคัญของแนวคิดซัพพลายเชนในอนาคต ก็คือการนำไอทีเข้ามาใช้ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันทั้งระบบ และมุ่งที่ความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ได้เห็นความสำคัญของโลจิสติกส์ จึงมีแนวคิดที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่รับผิดชอบ โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ และประสานความร่วมมือกับภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ในการกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะนำมาปรับปรุงเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงานให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก และได้ทำการศึกษารวบรวมข้อมูลต่างๆที่จะเป็นประโยชน์มาใช้ในการวิเคราะห์การดำเนินงาน
กรณีศึกษาการดำเนินงานของภาคธุรกิจ
ถ้าพิจารณาถึงภาพรวมเศรษฐกิจในปีนี้ จะพบว่าเป็นปีที่ต้องใช้ความระมัดระวังค่อนข้างมาก ในการดำเนินธุรกิจและวางกลยุทธ์ทางการแข่งขัน เนื่องจากมีปัจจัยภายนอกส่งผลกระทบอย่างรุนแรงหลายประการ โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นปัจจัยหลักทำให้สินค้าต้องปรับราคาสูงขึ้น หลายบริษัทพยายามแก้ไขปัญหาด้วยการปรับปรุงรูปแบบผลิตภัณฑ์และบริการให้มีความหลากหลายเพื่อช่วยลดต้นทุน นับตั้งแต่การลดปริมาณสินค้าแต่ราคาเท่าเดิม ขายเป็นแพ็กคู่ เพิ่มราคาเพิ่มปริมาณ การจ้างผู้อื่นผลิตแทน (Outsource) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถลดต้นทุนในระยะยาวให้กับธุรกิจได้ เนื่องจากธุรกิจส่วนใหญ่มักจะประสบกับปัญหาการรวบรวมวัตถุดิบจากแหล่งผลิต และกระจายสินค้า ความล่าช้าในการขนส่ง คุณภาพสินค้าลดลงเมื่อถึงมือผู้ซื้อที่ปลายทาง ความพึงพอใจของผู้บริโภคอยู่ในระดับที่ต่ำลง เป็นต้น
ดังนั้น ผู้ประกอบการทั้งหลายจึงแสวงหาเครื่องมือในการบริหารจัดการต่างๆ มาใช้ เพื่อสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันของธุรกิจ และก็พบว่าเครื่องมือในการบริหารจัดการในปี 2005 ที่กำลังเป็นที่สนใจของธุรกิจทั้งหลาย ได้แก่ การจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Management : SCM) และการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management) ซึ่งความหมายของ 2 คำนี้ มีความคล้ายคลึงกันมาก
โลจิสติกส์ หมายถึง กระบวนการวางแผนการดำเนินการเพื่อควบคุมประสิทธิภาพการไหลเวียนสินค้า/บริการ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การจัดการคลังสินค้า บริหารต้นทุน การขนส่ง ห่วงโซ่แห่งคุณค่า ไปจนถึงจุดที่มีการใช้งานหรือถึงมือผู้บริโภค ส่วนการจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Management) หมายถึง การจัดการในส่วนของกระบวนการที่เกิดขึ้น ระหว่างผู้ผลิต (ผู้ให้บริการ) กับผู้ขายปัจจัยผลิต (ซัพพลายเออร์) เพื่อช่วยลดต้นทุนในการผลิต อันนำไปสู่การเพิ่มผลกำไรของกิจการได้ในที่สุด โดยกระบวนการนี้จะเริ่มตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อ (Procurement) การผลิต(Manufacturing) การจัดเก็บ (Storage) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) การจัดจำหน่าย (Distribution) ตลอดจนการขนส่ง (Transportation) ซึ่งมีผลสำคัญต่อการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
โดยสรุปแล้วกล่าวได้ว่า โลจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการจัดการซัพพลายเชน ที่จะช่วยในการวางแผน สนับสนุน การควบคุมการไหลของกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งการเก็บรักษาสินค้าจากจุดเริ่มต้น ไปสู่จุดสุดท้าย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ กิจกรรมหลักในการจัดการโลจิสติกส์ประกอบด้วย งานบริการลูกค้า การวางแผนเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งของอาคารโรงงาน คลังสินค้า การพยากรณ์และการวางแผนอุปสงค์ การจัดซื้อจัดหา การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดการวัตถุดิบ การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ การบรรจุหีบห่อ การดำเนินการกับคำสั่งซื้อ การขนของและการจัดส่ง การจัดการรับคืนสินค้า การจัดการช่องทางจัดจำหน่าย การกระจายสินค้า คลังสินค้าและการเก็บสินค้าเข้าคลัง การจราจรและการขนส่ง กิจกรรมการแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ และการรักษาความปลอดภัย อย่างไรก็ดี เพื่อให้เข้าใจถึงแนวคิดที่จะนำโลจิสติกส์ไปใช้ ผู้เขียนขอยกตัวอย่างเป็นกรณีศึกษาในธุรกิจสัก 3 แห่ง ดังนี้
กรณีศึกษาแรก ค่ายกระทิงแดงได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน จึงเร่งศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยการปรับแผนการด้านการขนส่งและกระจายสินค้าผ่านทางรถไฟและเรือ ทดแทนการขนส่งสินค้าทางรถยนต์ เนื่องจากทำเลที่ตั้งของโรงงานผลิตตั้งอยู่ในจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งมีพื้นที่ติดกับแม่น้ำ จึงทำให้สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการขนส่งได้ในทันที ประกอบกับการขนส่งทางรถไฟยังช่วยสร้างความได้เปรียบ ในแง่ของต้นทุนที่ต่ำกว่า การลดค่าใช้จ่ายภายในองค์กรนี้ ยังรวมถึงแผนการลดต้นทุนในงานด้านอื่นๆ ด้วย อาทิ ในส่วนของกระบวนการทำงานที่มีจำนวนพนักงานมากเกินความจำเป็น การเก็บข้อมูลที่มากเกินความต้องการ กระบวนการทำงานที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ทางธุรกิจ เช่น การเก็บเงินสดแทนการขยายระยะเวลาชำระเงิน การเพิ่มมาตรการการประหยัดไฟฟ้าหลังเวลาทำงานปกติ เป็นต้น
กรณีศึกษาที่สอง บริษัท ไทยเพรสซิเดนท์ฟู้ดส์ จำกัด(มหาชน) ซึ่งประสบปัญหาการขึ้นราคาน้ำมันปาล์ม ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โดยมูลค่าน้ำมันปาล์มคิดเป็นสัดส่วน 13% ของต้นทุนรวม และมีแนวโน้มว่าราคาการปรับตัวจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จากการเก็บข้อมูลของบริษัทพบว่าใช้น้ำมันปาล์มประมาณเดือนละ 1,300 ตัน โดยราคาน้ำมันปาล์มกิโลกรัมละ 20 บาท ถ้าหากว่ามีการปรับราคาขึ้นไปเป็นกิโลกรัมละ 30 บาท เหมือนกับช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ก็ย่อมจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตทันที ซึ่งผลกระทบนี้ไม่ได้เกิดเฉพาะ อุตสาหกรรมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเท่านั้น แต่ยังกระทบถึงอุตสาหกรรมการผลิตนมข้นหวาน สบู่ และขนมขบเคี้ยวด้วย ทางบริษัทได้พยายามปรับการบริหารจัดการเพื่อลดต้นทุนการประกอบการลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำคอนเซ็ปต์ของคลัสเตอร์และโลจิสติกส์มาใช้เพื่อลดต้นทุนการบริหารจัดการตลอดเวลา ล่าสุด บริษัทได้ซื้อเครื่องจักรใหม่สำหรับผลิตถ้วยกระดาษจากประเทศเกาหลี และนำไปติดตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน ซึ่งจะทำให้เกิดการลดต้นทุนค่าขนส่งลงได้ถึง 75% แทนที่จะขนส่งจากโรงงานกรุงเทพฯ
กรณีศึกษาสุดท้ายคือ บริษัท สยามแฟมิลี่ มาร์ท จำกัด ที่มีแผนการลงทุนขยายสาขาเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่องในอีก 2 ปีข้างหน้า โดยตั้งเป้าขยายสาขาจาก 515 สาขา เป็น 600-700 สาขา ภายในสิ้นปี 2548 และเพิ่มเป็น 1,000 สาขา ภายในปี 2550 โดยรูปแบบการขยายสาขาจะเป็นแบบลงทุนเองทั้งหมด เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการขยายสาขา และสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ โดยบริษัทจะหาพันธมิตรทางธุรกิจในกลุ่มอาหารเข้ามาให้บริการลูกค้าได้มากขึ้น
นอกจากนี้ บริษัทยังได้ตั้งบริษัท เอสดีซีเอ็ม จำกัด (Siam Demand Chain Management) ซึ่งเป็นบริษัทใหม่ที่จะมาบริหารงานด้านโลจิสติกส์โดยตรง บริษัทดังกล่าวเกิดจากการร่วมทุนระหว่าง บริษัท สยามแฟมิลี่ มาร์ท จำกัด บริษัท อิโตชู จำกัด และบริษัทในเครือสหพัฒน์ฯ โดยเป้าหมายในการบริหารงานด้านโลจิสติกส์ จะมุ่งเข้าไปดูแลระบบการขนส่ง และกระจายสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเห็นว่าธุรกิจคอนวีเนียนสโตร์ยุคใหม่ จำเป็นต้องนำระบบดังกล่าวเข้ามาใช้ร่วมกับการบริหารจัดการธุรกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เป็นการปูพื้นฐานธุรกิจให้แข็งแกร่งและเป็นการก้าวเข้าสู่การขยายธุรกิจในอนาคต ขณะนี้บริษัทมีศูนย์กระจายสินค้าอยู่ 2 แห่ง คือ ที่วัดไทร และที่ร่มเกล้า
จากกรณีศึกษาดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ในยุคนี้ธุรกิจให้ความสำคัญกับเครื่องมือการบริหารจัดการที่ทรงประสิทธิภาพ และการปรับตัวภายใต้ระบบเศรษฐกิจไร้พรมแดนที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการดำเนินงาน การลดต้นทุน การรักษาระดับความพึงพอใจลูกค้าทั้งภายนอก และภายในองค์กรนั้น จำเป็นต้องมีการบูรณาการในหลายๆ ด้านเข้าด้วยกัน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจ
อย่างไรก็ดี การรอความช่วยเหลือและการสนับสนุนด้านโลจิสติกส์จากหน่วยงานภาครัฐ อาจไม่ทันกาลเวลา ดังนั้น การสร้างความร่วมมือของกลุ่มธุรกิจในภาคเอกชนให้เกิดเครือข่ายการเชื่อมโยงและประสานความร่วมมือกัน(Cluster) จะช่วยพัฒนาระบบขนส่ง การจัดทำระบบโลจิสติกส์ และระบบห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมไทยให้มีศักยภาพทางการแข่งขัน เหนือธุรกิจต่างชาติภายใต้ยุคการเปิดเสรีทางการค้า
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานในส่วนภูมิภาคที่รับผิดชอบในการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาภาคธุรกิจอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงมีแนวคิดในการนำการบริหารธุรกิจแนวใหม่มาใช้ในการพัฒนารูปแบบ เชิงวิชาการเพื่อเป็นการสนับสนุนให้ภาคธุรกิจในพื้นที่รับผิดชอบได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินงาน โดยใช้ Logistics และ Supply Chain ( ห่วงโซ่อุปทาน ) มาปรับใช้ให้เข้ากับธุรกิจแต่ละประเภทที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนการปฏิบัติงานประจำปี โดยมีการประสานงานกับจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบ โดยใช้งบประมาณการพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการ ( CEO ) ดำเนินงาน
Logistics เป็นกระบวนการวางแผนการดำเนินงานและการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการเคลื่อนย้าย คน สินค้าที่นำกลับมาใช้ใหม่ วัตถุดิบ หรือสินค้ากึ่งสำเร็จรูป ผ่านกระบวนการผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดการคลังสินค้า กระบวนการสั่งซื้อ การบรรจุภัณฑ์และการขนส่งสินค้าไปยังลูกค้า โดยอาศัยเทคโนดลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การกระจายสินค้าทั้งระบบเป็นระบเดียวกัน กำหนดกลยุทธ์ทางด้านโลจิสติกส์ในส่วนของสินค้าใช้แล้วเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ การกำจัดของเสีย การขนถ่ายสินค้าขากลับ การซ่อมบำรุงและการวางแผนเครือข่ายของระบบโลจิสติกส์ เพื่อให้สามารถลดต้นทุนการกระจายสินค้าและเพิ่มประสิทธิภาพการกระจายสินค้าไปยังลูกค้า โดยสินค้าไปถึงสถานที่ที่กำหนดได้ทันตามเวลาที่ต้องการ อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานในปริมาณที่ครบถ้วนถูกต้อง ด้วยต้นทุนที่ต่ำสุด เพิ่มระดับการบริการที่สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
แนวคิดด้านการจัดการโลจิสติกส์ และห่วงโซ่อุปทาน นับว่าเป็นแนวคิดสำคัญที่ช่วยในการส่งเสริมอุตสาหกรรมด้านการนำเข้า - และส่งออก การกระจายสินค้าของไทยไปทั่วประเทศและทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกรวดเร็ว ผู้บริหารจำเป็นจะต้องปรับกระบวนการดำเนินงาน โดยพัฒนาองค์ความรู้ ปรับประบวนการเรียนรู้ การกระจายความรู้ และการใช้ประโยชน์จากความรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ การวิจัยและพัฒนาเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆที่เป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนาระบบการดำเนินงาน อันจะส่งผลดีต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ภาคการผลิต ให้มีการเจริญเติบโตรวมไปถึงการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้ด้วย
ปัจจุบันต้นทุนของโลจิสติกส์ของไทยยังสูงถึง 19% ของ GDP เทียบกับประเทศที่เจริญ มีเพียง 7%-11% เท่านั้น ดังนั้นขณะนี้รัฐจึงหันมาให้ความสำคัญเรื่องนี้มากขึ้น และตั้งเป้าจะลดลงให้เหลือ 15% ให้ได้ในปี 2551 ขณะที่ภาคของธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพแวดล้อมการแข่งขันล้วนกระทบต่อการจัดการ โลจิสติกส์ขององค์กรเอง ตั้งแต่เรื่องของการสร้างความได้เปรียบที่มีอยู่ 2 ด้าน คือความสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า และการลดต้นทุนขององค์กร ซึ่งวันนี้เป็นเรื่องที่ต้องทำทั้งคู่ เพราะแม้จะเสนอสินค้าที่มีราคาถูกให้ลูกค้าแล้ว ลูกค้าก็ยังเรียกร้องให้ลดราคาลงอีกตลอดเวลา ทำให้องค์กรต้องปรับปรุงต่อเนื่อง เพื่อลดต้นทุนลงให้ได้เรื่อยๆ นอกจากนี้อำนาจการต่อรองในช่องทางการจัดจำหน่าย ขณะนี้อยู่ในมือค้าปลีกขนาดใหญ่ ซึ่งระบบบริหารจัดการ ขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจสูงสุด ประกอบกับลูกค้าเรียกร้อง และต้องการควบคุมมากขึ้น สินค้าและบริการมีวงจรชีวิตที่สั้นลง ความต้องการไม่แน่นอนมากขึ้น ทำให้การพยากรณ์ไม่ได้ตอบสนองความต้องการได้แน่ชัด
เวลาที่องค์กรต้องการติดตั้งระบบไอทีเพื่อการจัดการด้านโลจิสติกส์ ต้องไม่ละเลยต่อซัพพลายเชน ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงผู้บริโภค ซึ่งจะมีซัพพลายเออร์อยู่หลายระดับ ขั้นที่ 1, 2 และ 3 ฯลฯ ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ถ้าธุรกิจมองไม่ทะลุทั้งระบบ การวางระบบไอที อาจจะกลายเป็นการผลักภาระไปให้ผู้อื่นแทน สุดท้ายก็ไม่สามารถลดต้นทุนได้ทั้งระบบอยู่ดี สิ่งที่พยายามเน้นย้ำอีก ก็คือ องค์กรจะใช้แนวคิดในการบริหารโลจิสติกส์ใดก็ตามให้คำนึงถึงความเสี่ยงและความไม่แน่นอน ซึ่งมีอยู่ 5 ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง คือ 1. ซัพพลายเออร์ 2.ความต้องการของลูกค้า 3. กระบวนการที่องค์กรออกแบบมา 4. ระบบควบคุมขององค์กร และ 5. ความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมของธุรกิจ ซึ่งข้อนี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากที่สุด องค์กรต้องเรียงลำดับความสำคัญความเสี่ยง และพยายามลด โดยประเมินและเตรียมแผนรับมือแก้ไขไว้ สิ่งสำคัญของแนวคิดซัพพลายเชนในอนาคต ก็คือการนำไอทีเข้ามาใช้ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันทั้งระบบ และมุ่งที่ความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ได้เห็นความสำคัญของโลจิสติกส์ จึงมีแนวคิดที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่รับผิดชอบ โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ และประสานความร่วมมือกับภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ในการกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะนำมาปรับปรุงเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงานให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก และได้ทำการศึกษารวบรวมข้อมูลต่างๆที่จะเป็นประโยชน์มาใช้ในการวิเคราะห์การดำเนินงาน
กรณีศึกษาการดำเนินงานของภาคธุรกิจ
ถ้าพิจารณาถึงภาพรวมเศรษฐกิจในปีนี้ จะพบว่าเป็นปีที่ต้องใช้ความระมัดระวังค่อนข้างมาก ในการดำเนินธุรกิจและวางกลยุทธ์ทางการแข่งขัน เนื่องจากมีปัจจัยภายนอกส่งผลกระทบอย่างรุนแรงหลายประการ โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นปัจจัยหลักทำให้สินค้าต้องปรับราคาสูงขึ้น หลายบริษัทพยายามแก้ไขปัญหาด้วยการปรับปรุงรูปแบบผลิตภัณฑ์และบริการให้มีความหลากหลายเพื่อช่วยลดต้นทุน นับตั้งแต่การลดปริมาณสินค้าแต่ราคาเท่าเดิม ขายเป็นแพ็กคู่ เพิ่มราคาเพิ่มปริมาณ การจ้างผู้อื่นผลิตแทน (Outsource) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถลดต้นทุนในระยะยาวให้กับธุรกิจได้ เนื่องจากธุรกิจส่วนใหญ่มักจะประสบกับปัญหาการรวบรวมวัตถุดิบจากแหล่งผลิต และกระจายสินค้า ความล่าช้าในการขนส่ง คุณภาพสินค้าลดลงเมื่อถึงมือผู้ซื้อที่ปลายทาง ความพึงพอใจของผู้บริโภคอยู่ในระดับที่ต่ำลง เป็นต้น
ดังนั้น ผู้ประกอบการทั้งหลายจึงแสวงหาเครื่องมือในการบริหารจัดการต่างๆ มาใช้ เพื่อสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันของธุรกิจ และก็พบว่าเครื่องมือในการบริหารจัดการในปี 2005 ที่กำลังเป็นที่สนใจของธุรกิจทั้งหลาย ได้แก่ การจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Management : SCM) และการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management) ซึ่งความหมายของ 2 คำนี้ มีความคล้ายคลึงกันมาก
โลจิสติกส์ หมายถึง กระบวนการวางแผนการดำเนินการเพื่อควบคุมประสิทธิภาพการไหลเวียนสินค้า/บริการ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การจัดการคลังสินค้า บริหารต้นทุน การขนส่ง ห่วงโซ่แห่งคุณค่า ไปจนถึงจุดที่มีการใช้งานหรือถึงมือผู้บริโภค ส่วนการจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Management) หมายถึง การจัดการในส่วนของกระบวนการที่เกิดขึ้น ระหว่างผู้ผลิต (ผู้ให้บริการ) กับผู้ขายปัจจัยผลิต (ซัพพลายเออร์) เพื่อช่วยลดต้นทุนในการผลิต อันนำไปสู่การเพิ่มผลกำไรของกิจการได้ในที่สุด โดยกระบวนการนี้จะเริ่มตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อ (Procurement) การผลิต(Manufacturing) การจัดเก็บ (Storage) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) การจัดจำหน่าย (Distribution) ตลอดจนการขนส่ง (Transportation) ซึ่งมีผลสำคัญต่อการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
โดยสรุปแล้วกล่าวได้ว่า โลจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการจัดการซัพพลายเชน ที่จะช่วยในการวางแผน สนับสนุน การควบคุมการไหลของกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งการเก็บรักษาสินค้าจากจุดเริ่มต้น ไปสู่จุดสุดท้าย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ กิจกรรมหลักในการจัดการโลจิสติกส์ประกอบด้วย งานบริการลูกค้า การวางแผนเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งของอาคารโรงงาน คลังสินค้า การพยากรณ์และการวางแผนอุปสงค์ การจัดซื้อจัดหา การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดการวัตถุดิบ การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ การบรรจุหีบห่อ การดำเนินการกับคำสั่งซื้อ การขนของและการจัดส่ง การจัดการรับคืนสินค้า การจัดการช่องทางจัดจำหน่าย การกระจายสินค้า คลังสินค้าและการเก็บสินค้าเข้าคลัง การจราจรและการขนส่ง กิจกรรมการแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ และการรักษาความปลอดภัย อย่างไรก็ดี เพื่อให้เข้าใจถึงแนวคิดที่จะนำโลจิสติกส์ไปใช้ ผู้เขียนขอยกตัวอย่างเป็นกรณีศึกษาในธุรกิจสัก 3 แห่ง ดังนี้
กรณีศึกษาแรก ค่ายกระทิงแดงได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน จึงเร่งศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยการปรับแผนการด้านการขนส่งและกระจายสินค้าผ่านทางรถไฟและเรือ ทดแทนการขนส่งสินค้าทางรถยนต์ เนื่องจากทำเลที่ตั้งของโรงงานผลิตตั้งอยู่ในจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งมีพื้นที่ติดกับแม่น้ำ จึงทำให้สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการขนส่งได้ในทันที ประกอบกับการขนส่งทางรถไฟยังช่วยสร้างความได้เปรียบ ในแง่ของต้นทุนที่ต่ำกว่า การลดค่าใช้จ่ายภายในองค์กรนี้ ยังรวมถึงแผนการลดต้นทุนในงานด้านอื่นๆ ด้วย อาทิ ในส่วนของกระบวนการทำงานที่มีจำนวนพนักงานมากเกินความจำเป็น การเก็บข้อมูลที่มากเกินความต้องการ กระบวนการทำงานที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ทางธุรกิจ เช่น การเก็บเงินสดแทนการขยายระยะเวลาชำระเงิน การเพิ่มมาตรการการประหยัดไฟฟ้าหลังเวลาทำงานปกติ เป็นต้น
กรณีศึกษาที่สอง บริษัท ไทยเพรสซิเดนท์ฟู้ดส์ จำกัด(มหาชน) ซึ่งประสบปัญหาการขึ้นราคาน้ำมันปาล์ม ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โดยมูลค่าน้ำมันปาล์มคิดเป็นสัดส่วน 13% ของต้นทุนรวม และมีแนวโน้มว่าราคาการปรับตัวจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จากการเก็บข้อมูลของบริษัทพบว่าใช้น้ำมันปาล์มประมาณเดือนละ 1,300 ตัน โดยราคาน้ำมันปาล์มกิโลกรัมละ 20 บาท ถ้าหากว่ามีการปรับราคาขึ้นไปเป็นกิโลกรัมละ 30 บาท เหมือนกับช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ก็ย่อมจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตทันที ซึ่งผลกระทบนี้ไม่ได้เกิดเฉพาะ อุตสาหกรรมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเท่านั้น แต่ยังกระทบถึงอุตสาหกรรมการผลิตนมข้นหวาน สบู่ และขนมขบเคี้ยวด้วย ทางบริษัทได้พยายามปรับการบริหารจัดการเพื่อลดต้นทุนการประกอบการลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำคอนเซ็ปต์ของคลัสเตอร์และโลจิสติกส์มาใช้เพื่อลดต้นทุนการบริหารจัดการตลอดเวลา ล่าสุด บริษัทได้ซื้อเครื่องจักรใหม่สำหรับผลิตถ้วยกระดาษจากประเทศเกาหลี และนำไปติดตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน ซึ่งจะทำให้เกิดการลดต้นทุนค่าขนส่งลงได้ถึง 75% แทนที่จะขนส่งจากโรงงานกรุงเทพฯ
กรณีศึกษาสุดท้ายคือ บริษัท สยามแฟมิลี่ มาร์ท จำกัด ที่มีแผนการลงทุนขยายสาขาเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่องในอีก 2 ปีข้างหน้า โดยตั้งเป้าขยายสาขาจาก 515 สาขา เป็น 600-700 สาขา ภายในสิ้นปี 2548 และเพิ่มเป็น 1,000 สาขา ภายในปี 2550 โดยรูปแบบการขยายสาขาจะเป็นแบบลงทุนเองทั้งหมด เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการขยายสาขา และสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ โดยบริษัทจะหาพันธมิตรทางธุรกิจในกลุ่มอาหารเข้ามาให้บริการลูกค้าได้มากขึ้น
นอกจากนี้ บริษัทยังได้ตั้งบริษัท เอสดีซีเอ็ม จำกัด (Siam Demand Chain Management) ซึ่งเป็นบริษัทใหม่ที่จะมาบริหารงานด้านโลจิสติกส์โดยตรง บริษัทดังกล่าวเกิดจากการร่วมทุนระหว่าง บริษัท สยามแฟมิลี่ มาร์ท จำกัด บริษัท อิโตชู จำกัด และบริษัทในเครือสหพัฒน์ฯ โดยเป้าหมายในการบริหารงานด้านโลจิสติกส์ จะมุ่งเข้าไปดูแลระบบการขนส่ง และกระจายสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเห็นว่าธุรกิจคอนวีเนียนสโตร์ยุคใหม่ จำเป็นต้องนำระบบดังกล่าวเข้ามาใช้ร่วมกับการบริหารจัดการธุรกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เป็นการปูพื้นฐานธุรกิจให้แข็งแกร่งและเป็นการก้าวเข้าสู่การขยายธุรกิจในอนาคต ขณะนี้บริษัทมีศูนย์กระจายสินค้าอยู่ 2 แห่ง คือ ที่วัดไทร และที่ร่มเกล้า
จากกรณีศึกษาดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ในยุคนี้ธุรกิจให้ความสำคัญกับเครื่องมือการบริหารจัดการที่ทรงประสิทธิภาพ และการปรับตัวภายใต้ระบบเศรษฐกิจไร้พรมแดนที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการดำเนินงาน การลดต้นทุน การรักษาระดับความพึงพอใจลูกค้าทั้งภายนอก และภายในองค์กรนั้น จำเป็นต้องมีการบูรณาการในหลายๆ ด้านเข้าด้วยกัน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจ
อย่างไรก็ดี การรอความช่วยเหลือและการสนับสนุนด้านโลจิสติกส์จากหน่วยงานภาครัฐ อาจไม่ทันกาลเวลา ดังนั้น การสร้างความร่วมมือของกลุ่มธุรกิจในภาคเอกชนให้เกิดเครือข่ายการเชื่อมโยงและประสานความร่วมมือกัน(Cluster) จะช่วยพัฒนาระบบขนส่ง การจัดทำระบบโลจิสติกส์ และระบบห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมไทยให้มีศักยภาพทางการแข่งขัน เหนือธุรกิจต่างชาติภายใต้ยุคการเปิดเสรีทางการค้า
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-