คำถาม : โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำของไทยจำเป็นต้องขอใบรับรองมาตรฐาน Best Aquaculture Practices (BAP) จากหน่วยงานในสหรัฐฯ หรือไม่ และมีขั้นตอนอย่างไร
คำตอบ : มาตรฐาน Best Aquaculture Practices (BAP) เป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้น เพื่อให้ผู้ผลิตสินค้าสัตว์น้ำ ซึ่งครอบคลุมทั้งโรงเพาะฟักอนุบาล ฟาร์ม และโรงงานแปรรูป ต้องดำเนินธุรกิจโดยมีความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ใส่ใจกับความปลอดภัยของสินค้าอาหาร โดยต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับสินค้าได้
การที่ Wal-Mart ห้างค้าปลีกรายใหญ่ของสหรัฐฯ ซึ่งมีสาขากว่า 5,000 แห่งทั่วโลก กำหนดให้กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งและกุ้งแปรรูปที่วางจำหน่ายในห้างฯ ต้องเป็นกุ้งที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน BAP จาก Aquaculture Certification Council, Inc. (ACC) ซึ่งเป็นหน่วยงานรับรองมาตรฐานของภาคเอกชนในสหรัฐฯ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ส่งผลให้โรงงานแปรรูปกุ้งที่ส่งออกกุ้งไปวางจำหน่ายในห้าง Wal-Mart จำเป็นต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน BAP เมื่อประกอบกับปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการผลิตที่ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น การได้รับการรับรองมาตรฐาน BAP ย่อมทำให้ผู้ส่งออกสินค้าสัตว์น้ำมีโอกาสทางการค้ามากขึ้น
ขั้นตอนการขอรับรองมาตรฐาน BAP สำหรับโรงานแปรรูปสัตว์น้ำ มีดังนี้
1. ขอรับเอกสาร ซึ่งประกอบด้วย ใบลงทะเบียน (Certification Registration Form) ใบสมัคร (Certification Application Form) และแนวทางปฏิบัติสู่การได้มาตรฐาน (Guidelines for Standards) จากหน่วยงาน ACC โดยดาวน์โหลดข้อมูลได้จาก www.aquaculturecertification.org
2. กรอกรายละเอียดลงในใบลงทะเบียนให้ครบถ้วน และส่งเอกสารดังกล่าวพร้อมค่าลงทะเบียน เข้ารับการตรวจรับรองจำนวน 500 ดอลลาร์สหรัฐ หลังจากหน่วยงาน ACC ได้รับเอกสารและค่าลงทะเบียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะออกเลขประจำตัวให้แก่โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ (ผู้สมัครขอรับรองมาตรฐาน) พร้อมแนะนำแนวทางปฏิบัติตามมาตรฐาน BAP และคำแนะนำในการกรอกใบสมัครให้แก่โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ ทั้งนี้ โรงงานมีเวลา 1 ปี ในการกรอกรายละเอียดในใบสมัครให้ครบถ้วนก่อนส่งไปยังหน่วยงาน ACC รวมถึงปรับปรุงโรงงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
3. คัดเลือกผู้ตรวจรับรองโรงงานที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงาน ACC โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำสามารถขอให้หน่วยงาน ACC จัดส่งบัญชีรายชื่อผู้ตรวจรับรองมาทางโทรสาร ไปรษณีย์ หรืออาจตรวจสอบรายชื่อเองได้จาก Website (www.aquaculturecertification.org) ทั้งนี้ โดยปกติผู้ตรวจรับรองใช้เวลาในการตรวจสอบโรงงานประมาณ 2 วัน คิดค่าตรวจรับรองวันละ 400-800 ดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ผู้สมัครสามารถต่อรองราคากับผู้ตรวจรับรองโรงงานได้
ทั้งนี้ ผู้ตรวจรับรองต้องรวบรวมและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงรายงานผลต่อโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำและหน่วยงาน ACC ภายใน 14 วันหลังตรวจสอบโรงงาน ทั้งนี้ โรงงานแปรรูปจะต้องผ่านเกณฑ์ Critical Inspection Requirement ที่ระบุในใบสมัครครบทุกข้อ และได้คะแนนรวมจากหัวข้ออื่น ๆ ในใบสมัครไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 จึงจะมีสิทธิ์ขอรับการรับรองจากหน่วยงาน ACC
4. จ่ายค่าแรกเข้าให้แก่หน่วยงาน ACC โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำที่ได้รับการรับรองมาตรฐานต้องชำระค่าแรกเข้าให้แก่หน่วยงาน ACC เป็นเงิน 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ และหากมีปริมาณส่งออกกุ้งในปีที่ผ่านมาเกิน 1,000 ตันต่อปี ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มในส่วนที่เกินอีก 2 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน แต่สูงสุดไม่เกิน 8,000 ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ โรงงานสามารถแบ่งชำระค่าแรกเข้าเป็น 2 งวด คือ ชำระครึ่งหนึ่งเมื่อได้รับการรับรอง และชำระส่วนที่เหลือหลังได้รับการรับรองแล้ว 6 เดือน
ทั้งนี้ โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำที่ผ่านการรับรองจากหน่วยงาน ACC แล้วสามารถติดตราสัญลักษณ์ BAP ของหน่วยงาน ACC รวมถึงสัญลักษณ์รูปดาวบนบรรจุภัณฑ์สินค้าสัตว์น้ำส่งออกได้ นอกจากนี้ โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำต้องเก็บบันทึกข้อมูลที่จำเป็นตามที่กำหนดในแนวทางปฏิบัติ อาทิ รายชื่อฟาร์มวัตถุดิบสัตว์น้ำ วันที่วัตถุดิบมาถึงโรงงาน และชื่อผู้ซื้อ เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดเวลา อีกทั้งโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำที่ได้รับการตรวจรับรองแล้วต้องขอให้ ACC ตรวจรับรองทุกปี ซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายให้หน่วยงาน ACC ในการออกใบรับรองครั้งละ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐนอกเหนือจากค่าตรวจรับรองโรงงาน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2549--
-พห-
คำตอบ : มาตรฐาน Best Aquaculture Practices (BAP) เป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้น เพื่อให้ผู้ผลิตสินค้าสัตว์น้ำ ซึ่งครอบคลุมทั้งโรงเพาะฟักอนุบาล ฟาร์ม และโรงงานแปรรูป ต้องดำเนินธุรกิจโดยมีความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ใส่ใจกับความปลอดภัยของสินค้าอาหาร โดยต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับสินค้าได้
การที่ Wal-Mart ห้างค้าปลีกรายใหญ่ของสหรัฐฯ ซึ่งมีสาขากว่า 5,000 แห่งทั่วโลก กำหนดให้กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งและกุ้งแปรรูปที่วางจำหน่ายในห้างฯ ต้องเป็นกุ้งที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน BAP จาก Aquaculture Certification Council, Inc. (ACC) ซึ่งเป็นหน่วยงานรับรองมาตรฐานของภาคเอกชนในสหรัฐฯ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ส่งผลให้โรงงานแปรรูปกุ้งที่ส่งออกกุ้งไปวางจำหน่ายในห้าง Wal-Mart จำเป็นต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน BAP เมื่อประกอบกับปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการผลิตที่ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น การได้รับการรับรองมาตรฐาน BAP ย่อมทำให้ผู้ส่งออกสินค้าสัตว์น้ำมีโอกาสทางการค้ามากขึ้น
ขั้นตอนการขอรับรองมาตรฐาน BAP สำหรับโรงานแปรรูปสัตว์น้ำ มีดังนี้
1. ขอรับเอกสาร ซึ่งประกอบด้วย ใบลงทะเบียน (Certification Registration Form) ใบสมัคร (Certification Application Form) และแนวทางปฏิบัติสู่การได้มาตรฐาน (Guidelines for Standards) จากหน่วยงาน ACC โดยดาวน์โหลดข้อมูลได้จาก www.aquaculturecertification.org
2. กรอกรายละเอียดลงในใบลงทะเบียนให้ครบถ้วน และส่งเอกสารดังกล่าวพร้อมค่าลงทะเบียน เข้ารับการตรวจรับรองจำนวน 500 ดอลลาร์สหรัฐ หลังจากหน่วยงาน ACC ได้รับเอกสารและค่าลงทะเบียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะออกเลขประจำตัวให้แก่โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ (ผู้สมัครขอรับรองมาตรฐาน) พร้อมแนะนำแนวทางปฏิบัติตามมาตรฐาน BAP และคำแนะนำในการกรอกใบสมัครให้แก่โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ ทั้งนี้ โรงงานมีเวลา 1 ปี ในการกรอกรายละเอียดในใบสมัครให้ครบถ้วนก่อนส่งไปยังหน่วยงาน ACC รวมถึงปรับปรุงโรงงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
3. คัดเลือกผู้ตรวจรับรองโรงงานที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงาน ACC โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำสามารถขอให้หน่วยงาน ACC จัดส่งบัญชีรายชื่อผู้ตรวจรับรองมาทางโทรสาร ไปรษณีย์ หรืออาจตรวจสอบรายชื่อเองได้จาก Website (www.aquaculturecertification.org) ทั้งนี้ โดยปกติผู้ตรวจรับรองใช้เวลาในการตรวจสอบโรงงานประมาณ 2 วัน คิดค่าตรวจรับรองวันละ 400-800 ดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ผู้สมัครสามารถต่อรองราคากับผู้ตรวจรับรองโรงงานได้
ทั้งนี้ ผู้ตรวจรับรองต้องรวบรวมและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงรายงานผลต่อโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำและหน่วยงาน ACC ภายใน 14 วันหลังตรวจสอบโรงงาน ทั้งนี้ โรงงานแปรรูปจะต้องผ่านเกณฑ์ Critical Inspection Requirement ที่ระบุในใบสมัครครบทุกข้อ และได้คะแนนรวมจากหัวข้ออื่น ๆ ในใบสมัครไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 จึงจะมีสิทธิ์ขอรับการรับรองจากหน่วยงาน ACC
4. จ่ายค่าแรกเข้าให้แก่หน่วยงาน ACC โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำที่ได้รับการรับรองมาตรฐานต้องชำระค่าแรกเข้าให้แก่หน่วยงาน ACC เป็นเงิน 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ และหากมีปริมาณส่งออกกุ้งในปีที่ผ่านมาเกิน 1,000 ตันต่อปี ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มในส่วนที่เกินอีก 2 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน แต่สูงสุดไม่เกิน 8,000 ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ โรงงานสามารถแบ่งชำระค่าแรกเข้าเป็น 2 งวด คือ ชำระครึ่งหนึ่งเมื่อได้รับการรับรอง และชำระส่วนที่เหลือหลังได้รับการรับรองแล้ว 6 เดือน
ทั้งนี้ โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำที่ผ่านการรับรองจากหน่วยงาน ACC แล้วสามารถติดตราสัญลักษณ์ BAP ของหน่วยงาน ACC รวมถึงสัญลักษณ์รูปดาวบนบรรจุภัณฑ์สินค้าสัตว์น้ำส่งออกได้ นอกจากนี้ โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำต้องเก็บบันทึกข้อมูลที่จำเป็นตามที่กำหนดในแนวทางปฏิบัติ อาทิ รายชื่อฟาร์มวัตถุดิบสัตว์น้ำ วันที่วัตถุดิบมาถึงโรงงาน และชื่อผู้ซื้อ เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดเวลา อีกทั้งโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำที่ได้รับการตรวจรับรองแล้วต้องขอให้ ACC ตรวจรับรองทุกปี ซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายให้หน่วยงาน ACC ในการออกใบรับรองครั้งละ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐนอกเหนือจากค่าตรวจรับรองโรงงาน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2549--
-พห-