พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรตั้งแต่ระหว่างวันที่ 1 - 7 ก.พ. 2549

ข่าวทั่วไป Wednesday February 1, 2006 14:23 —กรมอุตุนิยมวิทยา

          พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร  
วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ฉบับที่ 14/2549
คาดหมายลักษณะอากาศเพื่อการเกษตรใน 7 วันข้างหน้า
ตั้งแต่วันที่ 1-7 ก.พ. 2549
ในช่วงวันที่ 1-5 ก.พ. มีความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก มีฝนในระยะแรกต่อจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง สำหรับภาคใต้ มีฝนตกเพิ่มขึ้นและคลื่นลมในอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปมีความสูงประมาณ 2 เมตร ในช่วงวันที่ 6-7 ก.พ. ความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้นและหมอกเพิ่มหลายพื้นที่
ข้อควรระวัง
ในช่วงวันที่ 1-5 ก.พ.ในอ่าวไทยจะมีคลื่นแรงขึ้นต่อเนื่อง ชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือด้วยในระยะนี้
ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ ในระยะ 7 วันข้างหน้า มีดังนี้
เหนือ
ในช่วงวันที่ 1-5 ก.พ. มีหมอกในตอนเช้า และอากาศหนาวทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 17-20 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-10 องศาเซลเซียส ลมอ่อน 6-12 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 6-7 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส และมีหมอกหลายพื้นที่ในตอนเช้า ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ในช่วงวันที่ 1-5 ก.พ. มีหมอกในตอนเช้า และอากาศหนาวทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 17-20 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-10 องศาเซลเซียส ลมอ่อน 6-12 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 6-7 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส และมีหมอกหลายพื้นที่ในตอนเช้า ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ในช่วงที่อุณหภูมิลดลง เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเอง และดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากอุณหภูมิลดลง สัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อย อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย
ตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 1-2 ก.พ. มีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาเซลเซียส กับมีอากาศหนาวทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 15-16 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภู อุณหภูมิต่ำสุด 9-12 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็นและมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง 10 % ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 3-5 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศา และลมแรง ในช่วงวันที่ 6-7 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้นและมีหมอกเพิ่มขึ้นในตอนเช้า ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
ในช่วงวันที่ 1-2 ก.พ. มีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาเซลเซียส กับมีอากาศหนาวทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 15-16 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภู อุณหภูมิต่ำสุด 9-12 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็นและมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง 10 % ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 3-5 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศา และลมแรง ในช่วงวันที่ 6-7 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้นและมีหมอกเพิ่มขึ้นในตอนเช้า ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ในช่วงที่มีฝนตก เกษตรกรควรระวังความเสียหายของผลผลิตทางการเกษตรที่ตากไว้กลางแจ้ง และเนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงดังนั้นจึงควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์อ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย
กลาง
ในช่วงวันที่ 1-2 ก.พ. ตอนบนของภาคมีหมอกกับมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส สำหรับทางตอนล่างมีฝนบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 3-5 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส ทำให้มีอากาศเย็นเกือบทั่วไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 6-7 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้นและมีหมอกเพิ่มขึ้นในตอนเช้า
ในช่วงวันที่ 1-2 ก.พ. ตอนบนของภาคมีหมอกกับมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส สำหรับทางตอนล่างมีฝนบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 3-5 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส ทำให้มีอากาศเย็นเกือบทั่วไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 6-7 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้นและมีหมอกเพิ่มขึ้นในตอนเช้า ในระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณไม่มาก ดังนั้นจึงควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกและติดผลอ่อน หากขาดน้ำ จะทำให้การติดผลลดลง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรหมั่นสังเกตหากพบสัตว์ป่วยควรแยกออกจากกลุ่มและรีบรักษา เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ
ตะวันออก
ในช่วงวันที่ 1-2 ก.พ. ในตอนเช้ามีหมอกและอากาศเย็น กับมีฝนเป็นแห่ง ๆ 20 % ของพื้นที่ ส่วนมากตามบริเวณชายฝั่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 3-5 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 6-7 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้นและมีหมอกเพิ่มขึ้นในตอนเช้า
ในช่วงวันที่ 1-2 ก.พ. ในตอนเช้ามีหมอกและอากาศเย็น กับมีฝนเป็นแห่ง ๆ 20 % ของพื้นที่ ส่วนมากตามบริเวณชายฝั่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 3-5 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 6-7 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้นและมีหมอกเพิ่มขึ้นในตอนเช้า เนื่องจากปริมาณฝนมีน้อย ดังนั้นจึงควรวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะติดผลอ่อน ชาวสวนควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ผลอ่อนร่วงหล่น
ใต้
ทางฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 1-2 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส และมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ ถึงกระจาย 20-40 % ของพื้นที่ ส่วนมากตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม/ชม. ในช่วงวันที่ 3- 7 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ 10-30 % ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ส่วนทางฝั่งตะวันตกมีเมฆบางส่วนและมีฝน บางแห่ง 10 % ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทางฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 1-2 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 ๐ซ. และมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ ถึงกระจาย 20-40 % ของพื้นที่ ส่วนมากตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม/ชม. ในช่วงวันที่ 3- 7 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ 10-30 % ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ส่วนทางฝั่งตะวันตกมีเมฆบางส่วนและมีฝน บางแห่ง 10 % ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. เกษตรกรควรใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว ใบไม้ และหญ้าแห้งคลุมบริเวณโคนต้นเพื่อรักษาความชื้นดิน นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำให้ได้ประโยชน์สูงสุดด้วย เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณฝนจะมีน้อย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74
-สส-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ