นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะประธานคณะทำงานตรวจสอบการทุจริตแถลงที่พรรคประชาธิปัตย์วันนี้(10 ก.ย.)ว่า ตามที่กรมสรรพาวุธทหารบกได้ลงนามในสัญญาเลขที่ 27/2549 สัญญาซื้อขายปืนใหญ่อัตตาจรขนาด 155 มิลลิเมตร/52 คาลิเบอร์จำนวน 6 กระบอกกับบริษัทเกียต อินดัสตรี้ ประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2549 วงเงิน 25.8 ล้านยูโร ( 1,305,408,000 บาท อัตราแลกเปลี่ยน 1 ยูโรต่อ 50.60 บาท) นั้น คณะทำงานฯ ได้ตรวจสอบพยานหลักฐานเบื้องต้นพบว่า การจัดซื้อดังกล่าวมีความไม่โปร่งใสส่อว่าจะมีการล็อคสเปค ล็อคยี่ห้อของบริษัทฝรั่งเศส และไม่ได้เป็นไปตามความต้องการที่แท้จริงของกองทัพอันเป็นการเสียประโยชน์ของทางราชการอีกทั้งมีราคาแพงทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณเกินกว่าความจำเป็นจึงขอให้สตง.ตรวจสอบการจัดซื้อปืนใหญ่อัตตาจรของกรมสรรพาวุธโดยจะยื่นเอกสารหลักฐานพร้อมประเด็นการสอบสวนต่อ สตง.เพื่อประกอบการดำเนินการตรวจสอบของ สตง.ในวันจันทร์ที่ 11 ก.ย.นี้ เวลา 10.00 น.
นายอลงกรณ์กล่าวว่า จากการสอบสวนพยานหลักฐานพบว่า การจัดซื้อปืนใหญ่อัตตาจรเริ่มจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายโครงการจัดหาและซ่อมแซมอาวุธยุโธปกรณ์ของกองทัพบกสำหรับงบประมาณปี 2548 — 2554 เมื่อวันที่ 2 ก.ย. 2546 จากนั้นได้แต่งตั้ง พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร เป็น ผบ.ทบ วันที่ 1 ต.ค. 2546 ต่อมา พล.อ.ชัยสิทธิ์ได้ยกเลิกแผนการปรับปรุงความต้องการโครงการจัดหาและซ่อมแซมอาวุธยุทโธปกรณ์ในภาพรวม(package)ของทบ.ที่เคยได้รับอนุมัติก่อนหน้านี้และอนุมัติแผนใหม่โดยมีการบรรจุการจัดซื้อปืนใหญ่อัตตาจรขนาด 155 มม.ความยาว 52 คาลิเบอร์จำนวน 6 กระบอกงบประมาณ 1,300 ล้านบาทเพิ่มเติมเข้าไปด้วยทั้งที่ โครงการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจร 155 มม.ปรากฏอยู่ในแผนจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพบกปี 2555 — 2557 โดย สพ.ทบ.เสนอโครงการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรเมื่อ 30 ม.ค. 2547 และ พล.อ.ชัยสิทธิ์ อนุมติเพื่อเสนอในคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2548 เมื่อ 6 ก.พ. 2547 ซึ่งเป็นการจัดทำโครงการจัดซื้อล่วงหน้าโดยไม่รอว่าจะอยู่ในแผนของหน่วยปืนใหญ่หรือไม่เนื่องจากแผนแม่บทการพัฒนาหน่วยปืนใหญ่ได้รับอนุมัติจาก ผบ.ทบ.วันที่ 11 พ.ค. 2547 และวันเดียวกันนั้น คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบรายละเอียดงบประมาณปี 2548 ในวันที่ 11 พ.ค. 2547 และเห็นชอบร่างพรบ.งบประมาณปี 2548 เพื่อเสนอสภาผู้แทนฯ วันที่ 25 พ.ค. 2547 และรัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบในที่สุด ต่อมาวันที่ 30 ก.ย. 2547 รมว.กลาโหมได้อนุมัติโครงการเริ่มใหม่ประจำปีงบประมาณ 2548 เป็นกรณีเร่งด่วนให้กับ ทบ. 8 โครงการรวมถึงการจัดซื้อปืนใหญ่อัตตาจรด้วย อย่างไรก็ตามเมื่อ พล.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ผบ.ทบ.คนใหม่ได้ขอชะลอโครงการนี้ด้วยเหตุผลหลัก 3 ประการคือ 1.สถานการณ์ภัยคุกคาที่เปลี่ยนแปลง 2. สภาวะงบประมาณที่จำกัด 3. ราคายุทโธปกรณ์มีราคาสูงมาก ซึ่งการปรับเปลี่ยนโครงการต้องได้รับการอนุมัติจาก รมว.กห.และคณะรัฐมนตรีแต่ไม่เป็นผลจนกระทั่ง พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน เป็น ผบ.ทบ.ได้เคยทักท้วงว่า การจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรอยู่ในแผนความต้องการปี 2555 - 2557 แต่ก็ไม่สำเร็จเนื่องจากโครงการนี้ถูกล็อคโดยมติครม.อีกครั้งหนึ่งโดย ทบ.ทราบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2548 โดยครม.อนุมัติการดำเนินโครงการเริ่มใหม่ในปีงบประมาณ 2548 ให้ ทบ.ก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ 2548 - 2551 โครงการจัดหา ปืนใหญ่อัตตาจรวงเงิน 1,365,000,000 บาท จึงนำมาสู่การลงนามในสัญญาในที่สุด
นายอลงกรณ์ กล่าวต่อไปว่า ในภาพรวมกองทัพมีปืนใหญ่ขนาด 155 มม. ชนิดลากจูงระยะยิงไกล 40 กิโลเมตรประจำการอยู่แล้ว 92 กระบอกจึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะจัดหาเพิ่มเติมปืนใหญ่อัตตาจรแบบอำนวยการยิงอัตโนมัติที่มีระยะยิงไกล 42 กิโลเมตรอีก 6 กระบอก และการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษครั้งนี้ก็เหมือนล็อคสเป็คให้ซื้อขนาด 155 มม.ความยาว 52 คาลิเบอร์โดยเชิญบริษัทเกียต อินดัสตรี้ ของประเทศฝรั่งเศสเพียงรายเดียวมาเสนอขายเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2548 โดยไม่มีการเปรียบเทียบราคากับผู้ผลิตรายอื่นๆ ซึ่งได้ตรวจพบว่าในแผนแม่บทพัฒนาหน่วย/เหล่าปืนใหญ่ได้กำหนดความต้องการจัดหาปืนใหญ่ขนาด 155 มม.ความยาว 39 — 52 คาลิเบอร์ อัตตาจรเพื่อเป็นการเปิดกว้างให้มีหลายบริษัทเข้ามาแข่งขันได้แต่กลับล็อคขนาดที่ 52 คาลิเบอร์และเชิญบริษัทเกียตเพียงรายเดียว
“คดีนี้จะเป็นตัวอย่างของการจัดซื้ออาวุธยุโธปกรณ์ที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์และแผนการจัดหาของกองทัพซึ่งส่อว่าไม่โปร่งใสและไม่สมประโยชน์ของทางราชการจึงต้องให้ สตง.เข้าตรวจสอบ”
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 10 ก.ย. 2549--จบ--
นายอลงกรณ์กล่าวว่า จากการสอบสวนพยานหลักฐานพบว่า การจัดซื้อปืนใหญ่อัตตาจรเริ่มจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายโครงการจัดหาและซ่อมแซมอาวุธยุโธปกรณ์ของกองทัพบกสำหรับงบประมาณปี 2548 — 2554 เมื่อวันที่ 2 ก.ย. 2546 จากนั้นได้แต่งตั้ง พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร เป็น ผบ.ทบ วันที่ 1 ต.ค. 2546 ต่อมา พล.อ.ชัยสิทธิ์ได้ยกเลิกแผนการปรับปรุงความต้องการโครงการจัดหาและซ่อมแซมอาวุธยุทโธปกรณ์ในภาพรวม(package)ของทบ.ที่เคยได้รับอนุมัติก่อนหน้านี้และอนุมัติแผนใหม่โดยมีการบรรจุการจัดซื้อปืนใหญ่อัตตาจรขนาด 155 มม.ความยาว 52 คาลิเบอร์จำนวน 6 กระบอกงบประมาณ 1,300 ล้านบาทเพิ่มเติมเข้าไปด้วยทั้งที่ โครงการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจร 155 มม.ปรากฏอยู่ในแผนจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพบกปี 2555 — 2557 โดย สพ.ทบ.เสนอโครงการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรเมื่อ 30 ม.ค. 2547 และ พล.อ.ชัยสิทธิ์ อนุมติเพื่อเสนอในคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2548 เมื่อ 6 ก.พ. 2547 ซึ่งเป็นการจัดทำโครงการจัดซื้อล่วงหน้าโดยไม่รอว่าจะอยู่ในแผนของหน่วยปืนใหญ่หรือไม่เนื่องจากแผนแม่บทการพัฒนาหน่วยปืนใหญ่ได้รับอนุมัติจาก ผบ.ทบ.วันที่ 11 พ.ค. 2547 และวันเดียวกันนั้น คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบรายละเอียดงบประมาณปี 2548 ในวันที่ 11 พ.ค. 2547 และเห็นชอบร่างพรบ.งบประมาณปี 2548 เพื่อเสนอสภาผู้แทนฯ วันที่ 25 พ.ค. 2547 และรัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบในที่สุด ต่อมาวันที่ 30 ก.ย. 2547 รมว.กลาโหมได้อนุมัติโครงการเริ่มใหม่ประจำปีงบประมาณ 2548 เป็นกรณีเร่งด่วนให้กับ ทบ. 8 โครงการรวมถึงการจัดซื้อปืนใหญ่อัตตาจรด้วย อย่างไรก็ตามเมื่อ พล.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ผบ.ทบ.คนใหม่ได้ขอชะลอโครงการนี้ด้วยเหตุผลหลัก 3 ประการคือ 1.สถานการณ์ภัยคุกคาที่เปลี่ยนแปลง 2. สภาวะงบประมาณที่จำกัด 3. ราคายุทโธปกรณ์มีราคาสูงมาก ซึ่งการปรับเปลี่ยนโครงการต้องได้รับการอนุมัติจาก รมว.กห.และคณะรัฐมนตรีแต่ไม่เป็นผลจนกระทั่ง พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน เป็น ผบ.ทบ.ได้เคยทักท้วงว่า การจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรอยู่ในแผนความต้องการปี 2555 - 2557 แต่ก็ไม่สำเร็จเนื่องจากโครงการนี้ถูกล็อคโดยมติครม.อีกครั้งหนึ่งโดย ทบ.ทราบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2548 โดยครม.อนุมัติการดำเนินโครงการเริ่มใหม่ในปีงบประมาณ 2548 ให้ ทบ.ก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ 2548 - 2551 โครงการจัดหา ปืนใหญ่อัตตาจรวงเงิน 1,365,000,000 บาท จึงนำมาสู่การลงนามในสัญญาในที่สุด
นายอลงกรณ์ กล่าวต่อไปว่า ในภาพรวมกองทัพมีปืนใหญ่ขนาด 155 มม. ชนิดลากจูงระยะยิงไกล 40 กิโลเมตรประจำการอยู่แล้ว 92 กระบอกจึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะจัดหาเพิ่มเติมปืนใหญ่อัตตาจรแบบอำนวยการยิงอัตโนมัติที่มีระยะยิงไกล 42 กิโลเมตรอีก 6 กระบอก และการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษครั้งนี้ก็เหมือนล็อคสเป็คให้ซื้อขนาด 155 มม.ความยาว 52 คาลิเบอร์โดยเชิญบริษัทเกียต อินดัสตรี้ ของประเทศฝรั่งเศสเพียงรายเดียวมาเสนอขายเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2548 โดยไม่มีการเปรียบเทียบราคากับผู้ผลิตรายอื่นๆ ซึ่งได้ตรวจพบว่าในแผนแม่บทพัฒนาหน่วย/เหล่าปืนใหญ่ได้กำหนดความต้องการจัดหาปืนใหญ่ขนาด 155 มม.ความยาว 39 — 52 คาลิเบอร์ อัตตาจรเพื่อเป็นการเปิดกว้างให้มีหลายบริษัทเข้ามาแข่งขันได้แต่กลับล็อคขนาดที่ 52 คาลิเบอร์และเชิญบริษัทเกียตเพียงรายเดียว
“คดีนี้จะเป็นตัวอย่างของการจัดซื้ออาวุธยุโธปกรณ์ที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์และแผนการจัดหาของกองทัพซึ่งส่อว่าไม่โปร่งใสและไม่สมประโยชน์ของทางราชการจึงต้องให้ สตง.เข้าตรวจสอบ”
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 10 ก.ย. 2549--จบ--