นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) จัดงาน FPO — PDMO Forum เรื่องยุทธศาสตร์ความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐบาลไทยกับธนาคารพัฒนาเอเชีย ปี พ.ศ. 2550 - 2554 (A Partnership Strategy between the Royal Government of Thailand and the Asian Development Bank 2007 — 2011) เมื่อวันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม 2549 ณ ห้องประชุมป๋วย อึ๊งภากรณ์ ชั้น 7 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีส่วนร่วมในการจัดทำยุทธศาสตร์ความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐบาลไทยกับธนาคารพัฒนาเอเชียในการกำหนดกรอบและแนวทางการดำเนินงานของ ADB ในประเทศไทยระยะ 5 ปี
ยุทธศาสตร์ความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐบาลไทยกับธนาคารพัฒนาเอเชียเป็นยุทธศาสตร์ความเป็นหุ้นส่วนฉบับแรกที่ธนาคารพัฒนาเอเชียจัดทำร่วมกับประเทศที่มีรายได้ระดับปานกลาง (Middle-Income Country: MIC) ทั้งนี้ เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศไทยได้ปรับเปลี่ยนฐานะเป็นประเทศที่ไม่ได้กู้เงินจาก ADB เป็นประเทศผู้บริจาคเงินให้แก่กองทุนพัฒนาเอเชีย ซึ่งมีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือในภูมิภาค (Regional Development Partner) และให้กู้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังต้องการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อให้มีความเจริญด้านเศรษฐกิจ การเงินและสังคมอย่างยั่งยืน ดังนั้น ประเทศไทยและADB จึงพัฒนาความสัมพันธ์ไปสู่การจัดทำยุทธศาสตร์ความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกัน
FPO-PDMO Forum ครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ และนาย Jean-Pierre Verbiest, Country Director, ADB’s Thailand Resident Mission ร่วมกล่าวเปิดงาน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการเงิน นักวิชาการ NGOs และสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน
สำหรับช่วงเสวนาแบ่งเป็น 2 ช่วง โดยในช่วงแรกเป็นการนำเสนอโดยนาย James Lynch, Deputy Head of ADB’s Thailand Resident Mission ในหัวข้อ “ ภาพรวมการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนในระดับชาติ” ซึ่งครอบคลุมความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับ ADB เรื่อง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานได้แก่ การวางแผนโครงสร้างพื้นฐาน และการให้ความช่วยเหลือทางการเงินในโครงการต่างๆ การพัฒนาตลาดทุน ได้แก่ การพัฒนาตลาดพันธบัตร ตลาดหุ้นและตลาดอนุพันธ์ และการให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร เช่น การพัฒนาบุคลากรในการจัดตั้งระบบเตือนภัยทางเศรษฐกิจของประเทศ และธรรมาภิบาล โดยมีนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สศค. เป็นผู้ร่วมเสวนา ซึ่งได้กล่าวถึงความสำคัญในการพัฒนาตลาดทุนไทยในปัจจุบัน เพื่อรองรับประเด็นทางการเงินใหม่ๆ เช่น การใช้ Basel II โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ การเริ่มใช้กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ และการเปิดเสรีทางการเงิน เป็นต้น ซึ่ง ADB ควรเข้ามามีบทบาท โดยการให้คำปรึกษา และพัฒนาบุคลากรในเรื่องต่างๆ นอกจากนั้น นายพงษ์ภาณุฯ ได้ให้ข้อแนะนำว่า กรอบยุทธศาสตร์ดังกล่าวควรพัฒนาไปสู่แผนปฏิบัติการที่ชัดเจน โดยเน้นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของตัวกลางทางตลาดทุน (Capital Market Intermediates) และนายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน สบน. ได้ให้ข้อคิดเห็นในเรื่องความร่วมมือในอดีตและปัจจุบันระหว่าง ADB กับประเทศไทยและแผนการดำเนินการในอนาคต โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศไทยในอนาคตที่ ADB สามารถให้การสนับสนุนแหล่งเงินและความช่วยเหลือทางวิชาการ รวมทั้งการจัดทำยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ที่เน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
สำหรับในช่วงที่ 2 นาย James Lynch ได้นำเสนอในหัวข้อ “ภาพรวมการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนในระดับภูมิภาค” ซึ่งครอบคลุมเรื่อง ความร่วมมือระดับอนุภูมิภาค ได้แก่ การให้ความช่วยเหลือทางการเงินร่วมกันในโครงสร้างพื้นฐานด้านการค้าและการลงทุนระดับอนุภูมิภาคและการพัฒนาศักยภาพและการพัฒนาสถาบัน และการรวมตัวทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ได้แก่ การพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียและการพัฒนาสถาบันและการฝึกอบรม โดยมีผู้ร่วมการเสวนา คือ นายอรรคศิริ บุรณศิริ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและระหว่างประเทศ สศค. ได้ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของไทยต่อแนวทางความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับ ADB ในการสร้างความเจริญเติบโตในอนุภูมิภาคและภูมิภาค และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ส่งความเห็นประกอบการพิจารณาร่าง Partnership Strategy ให้ผู้เข้าร่วมงานรับทราบ
ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมงานได้แสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง โดยมีประเด็นสำคัญที่ผู้เข้าร่วมงานให้ความสนใจ ได้แก่ เรื่องการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย เรื่องการส่งเสริมและสนับสนุนสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) ในการปล่อยกู้เงินให้ความช่วยเหลือโครงการต่างๆ เรื่องการเชื่อมโยงการผลิตในระดับภูมิภาคเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นอกจากนี้ นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ADB สามารถมีบทบาทในการเสริมสร้างความร่วมมือและการรวมตัวในภูมิภาค เช่น การจัดหาแหล่งพลังงานทดแทน โดยได้ยกตัวอย่าง เรื่องการจัดทำ Contract Farming ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อปลูกพืชน้ำมันเพื่อใช้ทดแทนน้ำมัน นอกจากนี้ ได้เสนอแนะเรื่อง การรวมตัวเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในภูมิภาค เช่น Product Supply Chain เป็นต้น
สำหรับแนวทางการดำเนินการต่อไป ADB จะนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้จากการเสวนาไปปรับปรุงแก้ไขร่าง Partnership Strategy โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2549 หลังจากนั้น ADB จะได้ใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานของ ADB ในประเทศไทยต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 68/2549 20 กรกฎาคม 49--
ยุทธศาสตร์ความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐบาลไทยกับธนาคารพัฒนาเอเชียเป็นยุทธศาสตร์ความเป็นหุ้นส่วนฉบับแรกที่ธนาคารพัฒนาเอเชียจัดทำร่วมกับประเทศที่มีรายได้ระดับปานกลาง (Middle-Income Country: MIC) ทั้งนี้ เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศไทยได้ปรับเปลี่ยนฐานะเป็นประเทศที่ไม่ได้กู้เงินจาก ADB เป็นประเทศผู้บริจาคเงินให้แก่กองทุนพัฒนาเอเชีย ซึ่งมีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือในภูมิภาค (Regional Development Partner) และให้กู้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังต้องการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อให้มีความเจริญด้านเศรษฐกิจ การเงินและสังคมอย่างยั่งยืน ดังนั้น ประเทศไทยและADB จึงพัฒนาความสัมพันธ์ไปสู่การจัดทำยุทธศาสตร์ความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกัน
FPO-PDMO Forum ครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ และนาย Jean-Pierre Verbiest, Country Director, ADB’s Thailand Resident Mission ร่วมกล่าวเปิดงาน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการเงิน นักวิชาการ NGOs และสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน
สำหรับช่วงเสวนาแบ่งเป็น 2 ช่วง โดยในช่วงแรกเป็นการนำเสนอโดยนาย James Lynch, Deputy Head of ADB’s Thailand Resident Mission ในหัวข้อ “ ภาพรวมการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนในระดับชาติ” ซึ่งครอบคลุมความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับ ADB เรื่อง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานได้แก่ การวางแผนโครงสร้างพื้นฐาน และการให้ความช่วยเหลือทางการเงินในโครงการต่างๆ การพัฒนาตลาดทุน ได้แก่ การพัฒนาตลาดพันธบัตร ตลาดหุ้นและตลาดอนุพันธ์ และการให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร เช่น การพัฒนาบุคลากรในการจัดตั้งระบบเตือนภัยทางเศรษฐกิจของประเทศ และธรรมาภิบาล โดยมีนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สศค. เป็นผู้ร่วมเสวนา ซึ่งได้กล่าวถึงความสำคัญในการพัฒนาตลาดทุนไทยในปัจจุบัน เพื่อรองรับประเด็นทางการเงินใหม่ๆ เช่น การใช้ Basel II โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ การเริ่มใช้กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ และการเปิดเสรีทางการเงิน เป็นต้น ซึ่ง ADB ควรเข้ามามีบทบาท โดยการให้คำปรึกษา และพัฒนาบุคลากรในเรื่องต่างๆ นอกจากนั้น นายพงษ์ภาณุฯ ได้ให้ข้อแนะนำว่า กรอบยุทธศาสตร์ดังกล่าวควรพัฒนาไปสู่แผนปฏิบัติการที่ชัดเจน โดยเน้นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของตัวกลางทางตลาดทุน (Capital Market Intermediates) และนายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน สบน. ได้ให้ข้อคิดเห็นในเรื่องความร่วมมือในอดีตและปัจจุบันระหว่าง ADB กับประเทศไทยและแผนการดำเนินการในอนาคต โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศไทยในอนาคตที่ ADB สามารถให้การสนับสนุนแหล่งเงินและความช่วยเหลือทางวิชาการ รวมทั้งการจัดทำยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ที่เน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
สำหรับในช่วงที่ 2 นาย James Lynch ได้นำเสนอในหัวข้อ “ภาพรวมการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนในระดับภูมิภาค” ซึ่งครอบคลุมเรื่อง ความร่วมมือระดับอนุภูมิภาค ได้แก่ การให้ความช่วยเหลือทางการเงินร่วมกันในโครงสร้างพื้นฐานด้านการค้าและการลงทุนระดับอนุภูมิภาคและการพัฒนาศักยภาพและการพัฒนาสถาบัน และการรวมตัวทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ได้แก่ การพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียและการพัฒนาสถาบันและการฝึกอบรม โดยมีผู้ร่วมการเสวนา คือ นายอรรคศิริ บุรณศิริ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและระหว่างประเทศ สศค. ได้ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของไทยต่อแนวทางความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับ ADB ในการสร้างความเจริญเติบโตในอนุภูมิภาคและภูมิภาค และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ส่งความเห็นประกอบการพิจารณาร่าง Partnership Strategy ให้ผู้เข้าร่วมงานรับทราบ
ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมงานได้แสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง โดยมีประเด็นสำคัญที่ผู้เข้าร่วมงานให้ความสนใจ ได้แก่ เรื่องการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย เรื่องการส่งเสริมและสนับสนุนสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) ในการปล่อยกู้เงินให้ความช่วยเหลือโครงการต่างๆ เรื่องการเชื่อมโยงการผลิตในระดับภูมิภาคเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นอกจากนี้ นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ADB สามารถมีบทบาทในการเสริมสร้างความร่วมมือและการรวมตัวในภูมิภาค เช่น การจัดหาแหล่งพลังงานทดแทน โดยได้ยกตัวอย่าง เรื่องการจัดทำ Contract Farming ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อปลูกพืชน้ำมันเพื่อใช้ทดแทนน้ำมัน นอกจากนี้ ได้เสนอแนะเรื่อง การรวมตัวเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในภูมิภาค เช่น Product Supply Chain เป็นต้น
สำหรับแนวทางการดำเนินการต่อไป ADB จะนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้จากการเสวนาไปปรับปรุงแก้ไขร่าง Partnership Strategy โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2549 หลังจากนั้น ADB จะได้ใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานของ ADB ในประเทศไทยต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 68/2549 20 กรกฎาคม 49--