สศข.5 นำเสนอความรู้ “โรคใบไหม้” แก่เกษตรกรไทยที่ปลูกข้าวนาปี แนะใช้ข้าวพันธุ์ต้านทาน ไม่หว่านข้าวแน่น และไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมาก เกินไปในแหล่งที่ระบาดเป็นประจำ
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าจากฤดูข้าวนาปีที่ผ่านมา ได้มีโรคใบไหม้เกิดขึ้นกับต้นข้าวเป็นจำนวนมาก ซึ่งเกิดจากเชื้อรา มีสาเหตุมาจากสภาพอากาศตอนกลางวันมีแดดจัด และฝนตกช่วงเย็นถึงค่ำ ทำให้กลางวันอากาศร้อนจัด กลางคืนอากาศเย็น เหมาะต่อการเกิดของโรคใบไหม้ข้าว โดยเฉพาะข้าวพันธุ์อ่อนแอที่ปลูกในนา น้ำฝนและขาดน้ำในช่วงแรก โดยข้าวที่เป็นโรค ผลผลิตจะลดลง หากระบาดรุนแรงจะทำให้ข้าวเสียหายโดยสิ้นเชิง โรคใบไหม้ข้าว สามารถระบาด ได้ทุกระยะของต้นข้าว ตั้งแต่ระยะต้นกล้า ระยะข้าวแตกกอจนถึงระยะคอรวง อาการในระยะกล้าใบข้าวจะเป็นแผลสีน้ำตาล คล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรง กลางแผล จากนั้นจะลุกลามขยายจนเป็นแผลรวมกัน หากระบาดรุนแรง ข้าวจะแห้งและฟุบตาย คล้ายถูกไฟไหม้ ส่วนระยะแตกตอจะเกิดที่ใบ กาบใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อลำต้น โดยข้อต่อใบจะช้ำเป็นสีน้ำตาลดำ และหลุดจากก้านใบ และในระยะคอรวงจะทำให้เมล็ดข้าวลีบ คอรวงเป็นแผลช้ำสี น้ำตาล รวงข้าวจะหักง่าย และร่วงหล่นเสียหายเป็นจำนวนมาก
สำหรับการป้องกันและกำจัดนั้น ในแหล่งที่ระบาดเป็นประจำให้ใช้ข้าวพันธุ์ต้านทาน ไม่หว่านข้าวแน่นจนเกินไป ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีธาตุ ไนโตรเจนมากเกินไป หากระบาดรุนแรงในระยะกล้าควรไถทิ้ง และหว่านข้าวใหม่ ถ้าระบาดระยะแตกกอถึงระยะออกรวง ควรกำจัดด้วยสารเคมีกำจัด เชื้อราไตรไซคาร์โซล หรือคาร์เบนดาซิม โดยอัตราและการใช้ให้ทำตามคำแนะนำในฉลาก
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าจากฤดูข้าวนาปีที่ผ่านมา ได้มีโรคใบไหม้เกิดขึ้นกับต้นข้าวเป็นจำนวนมาก ซึ่งเกิดจากเชื้อรา มีสาเหตุมาจากสภาพอากาศตอนกลางวันมีแดดจัด และฝนตกช่วงเย็นถึงค่ำ ทำให้กลางวันอากาศร้อนจัด กลางคืนอากาศเย็น เหมาะต่อการเกิดของโรคใบไหม้ข้าว โดยเฉพาะข้าวพันธุ์อ่อนแอที่ปลูกในนา น้ำฝนและขาดน้ำในช่วงแรก โดยข้าวที่เป็นโรค ผลผลิตจะลดลง หากระบาดรุนแรงจะทำให้ข้าวเสียหายโดยสิ้นเชิง โรคใบไหม้ข้าว สามารถระบาด ได้ทุกระยะของต้นข้าว ตั้งแต่ระยะต้นกล้า ระยะข้าวแตกกอจนถึงระยะคอรวง อาการในระยะกล้าใบข้าวจะเป็นแผลสีน้ำตาล คล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรง กลางแผล จากนั้นจะลุกลามขยายจนเป็นแผลรวมกัน หากระบาดรุนแรง ข้าวจะแห้งและฟุบตาย คล้ายถูกไฟไหม้ ส่วนระยะแตกตอจะเกิดที่ใบ กาบใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อลำต้น โดยข้อต่อใบจะช้ำเป็นสีน้ำตาลดำ และหลุดจากก้านใบ และในระยะคอรวงจะทำให้เมล็ดข้าวลีบ คอรวงเป็นแผลช้ำสี น้ำตาล รวงข้าวจะหักง่าย และร่วงหล่นเสียหายเป็นจำนวนมาก
สำหรับการป้องกันและกำจัดนั้น ในแหล่งที่ระบาดเป็นประจำให้ใช้ข้าวพันธุ์ต้านทาน ไม่หว่านข้าวแน่นจนเกินไป ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีธาตุ ไนโตรเจนมากเกินไป หากระบาดรุนแรงในระยะกล้าควรไถทิ้ง และหว่านข้าวใหม่ ถ้าระบาดระยะแตกกอถึงระยะออกรวง ควรกำจัดด้วยสารเคมีกำจัด เชื้อราไตรไซคาร์โซล หรือคาร์เบนดาซิม โดยอัตราและการใช้ให้ทำตามคำแนะนำในฉลาก
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-