นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยถึงการเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการของธนาคารโลก ครั้งที่ 73 (The 73rd Meeting of The Development Committee) และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-24 เมษายน 2549 ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา ดังนี้
1. นาย Alberto Carrasquilla Barrera รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประเทศโคลัมเบียเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการของธนาคารโลก ครั้งที่ 73 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2549 และมีผู้ว่าการธนาคารโลกจากประเทศสมาชิก ทั้งนี้ การประชุมคณะกรรมการพัฒนาการของธนาคารโลก จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ปีละ 2 ครั้ง ในเดือนเมษายน และกันยายน สำหรับกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA Group) นั้น มีนาง Sri Mulyani Indrawati รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประเทศอินโดนีเซียทำหน้าที่เป็นผู้แทนของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวน 11 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย สหภาพพม่า สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิจิ เนปาล ลาว ตองก้า และบรูไน ดารุสซาลาม
2. การประชุมดังกล่าวมีประเด็นสำคัญที่ได้หารือกัน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ แนวทางการลงทุนเพื่อพัฒนาพลังงานไร้มลพิษ (Clean Energy and Development: Towards an Investment Framework) และรายงานผลการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างการรับผิดชอบร่วมกัน (Global Monitoring Report 2006: Strengthening Mutual Accountability) โดยสามารถสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
2.1 ผู้ว่าการธนาคารโลกได้ให้ความเห็นชอบกับแนวทางในการลงทุนเพื่อจัดหารูปแบบการพัฒนาพลังงานไร้มลพิษ เพื่อทดแทนการใช้พลังงานจากน้ำมันดิบ ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาประสบภาวะขาดแคลนน้ำมัน และผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ว่าการธนาคารโลกเห็นว่าหากมีการสนับสนุนให้ประเทศยากจนรวมถึงประเทศที่กำลังพัฒนาสามารถนำพลังงานไร้มลพิษ เช่น การใช้พลังงานจากพืชทดแทน และพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ที่มีราคาไม่สูงนัก น่าเชื่อถือ สะอาด และทันสมัย เชื่อว่าจะสามารถลดค่าใช่จ่ายในการจัดหาพลังงานโดยเฉพาะการนำเข้าน้ำมันดิบ ซึ่งสามารถลดปัญหาความยากจน และในขณะเดียวกัน จะช่วยเพิ่มผลผลิตในประเทศที่กำลังพัฒนาเหล่านั้นได้ เนื่องจาก หากยังยึดติดกับการใช้พลังงานจากแหล่งน้ำมันดิบต่อไปอีก 30 ถึง 50 ปีข้างหน้า คาดว่ากลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วจำเป็นต้องหาแผนการเงินมารองรับการจัดซื้อเทคโนโลยีที่ให้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดภาวะเรือนกระจก (Green House Effect) รวมถึงจัดหาเทคโนโลยีในด้านต่างๆเพื่อให้สามารถปรับตัวกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปได้ สาเหตุหลักของการริเริ่มดังกล่าวนี้สืบเนื่องมาจาก การเปลี่ยนแปลงในภูมิอากาศ (climate change) และการขยับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ซึ่งจะมีผลกระทบต่อประเทศยากจนเนื่องจากต้องจัดหาเทคโนโลยีเพื่อใช้บรรเทาปัญหาด้านมลภาวะต่างๆ ดังนั้น หากสามารถลดการนำเข้าน้ำมันดิบได้จะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ลงไปด้วย
2.2 สำหรับรายงานผลการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างการรับผิดชอบร่วมกัน ผู้ว่าการธนาคารโลกได้กล่าวถึงความสำเร็จในการพัฒนาทางด้านต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals—MDGs) เพื่อบรรเทาความยากจนในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุดทั้งหลายผ่านโครงการต่างๆ นอกจากนั้น ที่ประชุมได้เสนอแนวทางการเพิ่มสัดส่วนทรัพยากรในประเทศเหล่านั้นและวิธีการใช้ทรัพยากรดังกล่าวให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้เกิดผลผลิต ที่เพียงพอในประเทศและสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบร่วมกัน (Mutual Accountability) และจำเป็นจะต้องมีระบบธรรมาภิบาลที่ดีเพื่อให้เกิดความโปร่งใส
3. นอกจากนี้ ในวันที่ 22 เมษายน 2549 ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และคณะได้พบปะหารือกับ นาย Ian C. Porter หัวหน้าสำนักงานธนาคารโลกประจำประเทศไทย และ นาย Albert G. Zeufack เศรษฐกรอาวุโส Poverty Reduction and Economic Management, East Asia and Pacific Region การหารือดังกล่าว มีสาระสำคัญเกี่ยวกับโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในประเทศไทยและภูมิภาค 3 เรื่อง ประกอบด้วย (1) โครงการการลงทุนขนาดใหญ่ (Mega Projects) ธนาคารโลกมีความเป็นห่วงในการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของไทย ซึ่งผอ. สศค. ได้ชี้แจงว่าการดำเนินการดังกล่าวจะยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องด้วยความโปร่งใส เพราะเป็นแผนพัฒนาประเทศในระยะยาว (2) นาย Albert G. Zeufack ได้เสนอให้ประเทศไทยศึกษาแบบจำลองทางเศรษฐกิจในการวางแผนงบประมาณและวิเคราะห์ผลกระทบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการจัดเก็บภาษีที่ทางธนาคารโลกได้ทำการศึกษาไว้ เพื่อให้ประเทศไทยใช้ประกอบการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่เหมาะสมต่อไป และ (3) ธนาคารโลกยินดีที่จะให้การสนับสนุนอย่างจริงจังในโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย เช่น ความร่วมมือกับสำนักงานกองทุนความช่วยเหลือกับประเทศเพื่อนบ้าน และสำนักงานความร่วมมือทางวิชาการกับต่างประเทศ ในรูปการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ เช่น การฝึกอบรมต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับบุคลากรให้แก่องค์กรดังกล่าว ซึ่งจะมีการหารือกันต่อไป
4. ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้หารือร่วมกับ นาย Lawrence Greenwood, รองประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank - ADB) ฝ่ายปฏิบัติการ 2 ซึ่งได้มีการหารือใน 4 เรื่องหลัก ได้แก่ (1) การจัดทำ ADB Partnership Framework ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือระหว่างธนาคารพัฒนาเอเชียและประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการปรับปรุงร่าง Partnership Framework และจะมีการเสนอให้คณะกรรมการธนาคารฯ เพื่ออนุมัติให้ความเห็นชอบในเดือนกันยายน 2549 เพื่อที่ ADB จะได้ใช้เป็นกรอบในการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศไทยต่อไป (2) การส่งเสริมนโยบายการลงทุน Mega Projects ในประเทศไทย (3) การพัฒนาตลาดทุนของไทย ซึ่ง ADB ยินดีให้การสนับสนุนมาตรการริเริ่มตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets) (4) การจัดตั้งศูนย์กลางการฝึกอบรมการเชื่อมโยงทางการเงินในภูมิภาค (Regional Financial Integration Training Center) เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านการเงินในการส่งเสริมศักยภาพด้านเศรษฐกิจการเงินให้แก่เจ้าหน้าที่จากประเทศต่างๆ ในภูมิภาค โดยการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมดังกล่าว ในระยะแรก จะครอบคลุมกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และจะขยายไปสู่ประเทศในกรอบอาเซียน+3 และประเทศในเอเชียต่อไป
5. การประชุมคณะกรรมการพัฒนาการของธนาคารโลก ครั้งที่ 74 และการประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศจะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 18-20 กันยายน 2549 ประเทศสิงคโปร์
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 40/2549 27 เมษายน 49--
1. นาย Alberto Carrasquilla Barrera รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประเทศโคลัมเบียเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการของธนาคารโลก ครั้งที่ 73 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2549 และมีผู้ว่าการธนาคารโลกจากประเทศสมาชิก ทั้งนี้ การประชุมคณะกรรมการพัฒนาการของธนาคารโลก จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ปีละ 2 ครั้ง ในเดือนเมษายน และกันยายน สำหรับกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA Group) นั้น มีนาง Sri Mulyani Indrawati รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประเทศอินโดนีเซียทำหน้าที่เป็นผู้แทนของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวน 11 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย สหภาพพม่า สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิจิ เนปาล ลาว ตองก้า และบรูไน ดารุสซาลาม
2. การประชุมดังกล่าวมีประเด็นสำคัญที่ได้หารือกัน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ แนวทางการลงทุนเพื่อพัฒนาพลังงานไร้มลพิษ (Clean Energy and Development: Towards an Investment Framework) และรายงานผลการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างการรับผิดชอบร่วมกัน (Global Monitoring Report 2006: Strengthening Mutual Accountability) โดยสามารถสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
2.1 ผู้ว่าการธนาคารโลกได้ให้ความเห็นชอบกับแนวทางในการลงทุนเพื่อจัดหารูปแบบการพัฒนาพลังงานไร้มลพิษ เพื่อทดแทนการใช้พลังงานจากน้ำมันดิบ ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาประสบภาวะขาดแคลนน้ำมัน และผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ว่าการธนาคารโลกเห็นว่าหากมีการสนับสนุนให้ประเทศยากจนรวมถึงประเทศที่กำลังพัฒนาสามารถนำพลังงานไร้มลพิษ เช่น การใช้พลังงานจากพืชทดแทน และพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ที่มีราคาไม่สูงนัก น่าเชื่อถือ สะอาด และทันสมัย เชื่อว่าจะสามารถลดค่าใช่จ่ายในการจัดหาพลังงานโดยเฉพาะการนำเข้าน้ำมันดิบ ซึ่งสามารถลดปัญหาความยากจน และในขณะเดียวกัน จะช่วยเพิ่มผลผลิตในประเทศที่กำลังพัฒนาเหล่านั้นได้ เนื่องจาก หากยังยึดติดกับการใช้พลังงานจากแหล่งน้ำมันดิบต่อไปอีก 30 ถึง 50 ปีข้างหน้า คาดว่ากลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วจำเป็นต้องหาแผนการเงินมารองรับการจัดซื้อเทคโนโลยีที่ให้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดภาวะเรือนกระจก (Green House Effect) รวมถึงจัดหาเทคโนโลยีในด้านต่างๆเพื่อให้สามารถปรับตัวกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปได้ สาเหตุหลักของการริเริ่มดังกล่าวนี้สืบเนื่องมาจาก การเปลี่ยนแปลงในภูมิอากาศ (climate change) และการขยับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ซึ่งจะมีผลกระทบต่อประเทศยากจนเนื่องจากต้องจัดหาเทคโนโลยีเพื่อใช้บรรเทาปัญหาด้านมลภาวะต่างๆ ดังนั้น หากสามารถลดการนำเข้าน้ำมันดิบได้จะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ลงไปด้วย
2.2 สำหรับรายงานผลการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างการรับผิดชอบร่วมกัน ผู้ว่าการธนาคารโลกได้กล่าวถึงความสำเร็จในการพัฒนาทางด้านต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals—MDGs) เพื่อบรรเทาความยากจนในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุดทั้งหลายผ่านโครงการต่างๆ นอกจากนั้น ที่ประชุมได้เสนอแนวทางการเพิ่มสัดส่วนทรัพยากรในประเทศเหล่านั้นและวิธีการใช้ทรัพยากรดังกล่าวให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้เกิดผลผลิต ที่เพียงพอในประเทศและสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบร่วมกัน (Mutual Accountability) และจำเป็นจะต้องมีระบบธรรมาภิบาลที่ดีเพื่อให้เกิดความโปร่งใส
3. นอกจากนี้ ในวันที่ 22 เมษายน 2549 ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และคณะได้พบปะหารือกับ นาย Ian C. Porter หัวหน้าสำนักงานธนาคารโลกประจำประเทศไทย และ นาย Albert G. Zeufack เศรษฐกรอาวุโส Poverty Reduction and Economic Management, East Asia and Pacific Region การหารือดังกล่าว มีสาระสำคัญเกี่ยวกับโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในประเทศไทยและภูมิภาค 3 เรื่อง ประกอบด้วย (1) โครงการการลงทุนขนาดใหญ่ (Mega Projects) ธนาคารโลกมีความเป็นห่วงในการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของไทย ซึ่งผอ. สศค. ได้ชี้แจงว่าการดำเนินการดังกล่าวจะยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องด้วยความโปร่งใส เพราะเป็นแผนพัฒนาประเทศในระยะยาว (2) นาย Albert G. Zeufack ได้เสนอให้ประเทศไทยศึกษาแบบจำลองทางเศรษฐกิจในการวางแผนงบประมาณและวิเคราะห์ผลกระทบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการจัดเก็บภาษีที่ทางธนาคารโลกได้ทำการศึกษาไว้ เพื่อให้ประเทศไทยใช้ประกอบการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่เหมาะสมต่อไป และ (3) ธนาคารโลกยินดีที่จะให้การสนับสนุนอย่างจริงจังในโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย เช่น ความร่วมมือกับสำนักงานกองทุนความช่วยเหลือกับประเทศเพื่อนบ้าน และสำนักงานความร่วมมือทางวิชาการกับต่างประเทศ ในรูปการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ เช่น การฝึกอบรมต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับบุคลากรให้แก่องค์กรดังกล่าว ซึ่งจะมีการหารือกันต่อไป
4. ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้หารือร่วมกับ นาย Lawrence Greenwood, รองประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank - ADB) ฝ่ายปฏิบัติการ 2 ซึ่งได้มีการหารือใน 4 เรื่องหลัก ได้แก่ (1) การจัดทำ ADB Partnership Framework ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือระหว่างธนาคารพัฒนาเอเชียและประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการปรับปรุงร่าง Partnership Framework และจะมีการเสนอให้คณะกรรมการธนาคารฯ เพื่ออนุมัติให้ความเห็นชอบในเดือนกันยายน 2549 เพื่อที่ ADB จะได้ใช้เป็นกรอบในการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศไทยต่อไป (2) การส่งเสริมนโยบายการลงทุน Mega Projects ในประเทศไทย (3) การพัฒนาตลาดทุนของไทย ซึ่ง ADB ยินดีให้การสนับสนุนมาตรการริเริ่มตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets) (4) การจัดตั้งศูนย์กลางการฝึกอบรมการเชื่อมโยงทางการเงินในภูมิภาค (Regional Financial Integration Training Center) เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านการเงินในการส่งเสริมศักยภาพด้านเศรษฐกิจการเงินให้แก่เจ้าหน้าที่จากประเทศต่างๆ ในภูมิภาค โดยการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมดังกล่าว ในระยะแรก จะครอบคลุมกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และจะขยายไปสู่ประเทศในกรอบอาเซียน+3 และประเทศในเอเชียต่อไป
5. การประชุมคณะกรรมการพัฒนาการของธนาคารโลก ครั้งที่ 74 และการประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศจะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 18-20 กันยายน 2549 ประเทศสิงคโปร์
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 40/2549 27 เมษายน 49--