สศอ. คาดอุตฯยา ปี 49 เติบโตต่อเนื่อง เหตุคนไทยห่วงสุขภาพมากขึ้นและนโยบายสาธารณสุขของภาครัฐเป็นปัจจัยหนุน ส่งให้การผลิตและจำหน่ายคึกคัก
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ได้จัดทำรายงานภาวะอุตสาหกรรมประจำปี 2548 และแนวโน้มของปี 2549 รวมทั้งเจาะลึกลงไปในรายสาขาอุตสาหกรรม โดยในปี 2549 นี้ สศอ. มองถึงอุตสาหกรรมยาว่า ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายในประเทศยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากการที่คนไทยใส่ใจสุขภาพมากขึ้น รวมถึงการดำเนินนโยบายสาธารณสุขของภาครัฐ เช่น โครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่ทำให้การเข้าถึงยาขยายวงกว้างขึ้น และการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพของเอเชีย ซึ่งส่งเสริมให้ชาวต่างชาติเข้ามาตรวจรักษาสุขภาพในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะสนับสนุนอุตสาหกรรมยาให้มีการเติบโตได้อีก สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวเช่นกัน เนื่องจากผู้ผลิตรวมถึงภาครัฐบาลพยายามขยายตลาดใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ เช่น ศรีลังกา อย่างไรก็ตามคาดว่าการนำเข้ายาที่มีสิทธิบัตรสำหรับโรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่องยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากจำนวนผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความต้องการบริโภคยาในปริมาณมากนั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
“ในปี 2548 ที่ผ่านมา มีปริมาณการผลิตยาขยายตัวจากปีก่อน ร้อยละ 5.8 เนื่องจากผู้ผลิตได้ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรให้ดีขึ้น รวมทั้งการเพิ่มกำลังการผลิต และยาที่ผลิตจะเป็นยาชื่อสามัญ (Generic Drug) มีราคาไม่สูงมากนักจึงมีส่วนร่วมสนับสนุนโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สถานพยาบาลโดยเฉพาะโรงพยาบาลของรัฐ มีความต้องการยาที่ผลิตภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น”
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า สำหรับปริมาณการจำหน่ายยาในประเทศ ในปี 2548 มีการขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 10.3 เนื่องจากคนไทยให้ความสนใจต่อสุขภาพมากขึ้น รวมทั้งการดำเนินโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างต่อเนื่อง และมูลค่าการส่งออกขยายตัวจากปีก่อน ร้อยละ 21.9 หรือเท่ากับ 6,137.5 ล้านบาท โดยมีตลาดส่งออกหลัก เช่น เวียดนาม เมียนมาร์ กัมพูชา สินค้าส่งออกที่สำคัญ คือ ยารักษาหรือป้องกันโรค ประเภทวิตามิน ยาสามัญประจำบ้าน ยาแก้ปวดลดไข้ รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับป้องกันเชื้อโรค ส่วนมูลค่าการนำเข้าขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 11.1 หรือเท่ากับ 24,394.4 ล้านบาท โดยมีตลาดนำเข้าหลัก เช่น ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และสินค้านำเข้าที่สำคัญ คือ ยารักษาหรือป้องกันโรคที่เป็นยาสำเร็จรูปทั้งที่เป็นยาต้นตำรับ และยามีสิทธิบัตร ซึ่งยาเหล่านี้มักเป็นยาสำหรับโรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ได้จัดทำรายงานภาวะอุตสาหกรรมประจำปี 2548 และแนวโน้มของปี 2549 รวมทั้งเจาะลึกลงไปในรายสาขาอุตสาหกรรม โดยในปี 2549 นี้ สศอ. มองถึงอุตสาหกรรมยาว่า ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายในประเทศยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากการที่คนไทยใส่ใจสุขภาพมากขึ้น รวมถึงการดำเนินนโยบายสาธารณสุขของภาครัฐ เช่น โครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่ทำให้การเข้าถึงยาขยายวงกว้างขึ้น และการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพของเอเชีย ซึ่งส่งเสริมให้ชาวต่างชาติเข้ามาตรวจรักษาสุขภาพในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะสนับสนุนอุตสาหกรรมยาให้มีการเติบโตได้อีก สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวเช่นกัน เนื่องจากผู้ผลิตรวมถึงภาครัฐบาลพยายามขยายตลาดใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ เช่น ศรีลังกา อย่างไรก็ตามคาดว่าการนำเข้ายาที่มีสิทธิบัตรสำหรับโรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่องยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากจำนวนผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความต้องการบริโภคยาในปริมาณมากนั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
“ในปี 2548 ที่ผ่านมา มีปริมาณการผลิตยาขยายตัวจากปีก่อน ร้อยละ 5.8 เนื่องจากผู้ผลิตได้ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรให้ดีขึ้น รวมทั้งการเพิ่มกำลังการผลิต และยาที่ผลิตจะเป็นยาชื่อสามัญ (Generic Drug) มีราคาไม่สูงมากนักจึงมีส่วนร่วมสนับสนุนโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สถานพยาบาลโดยเฉพาะโรงพยาบาลของรัฐ มีความต้องการยาที่ผลิตภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น”
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า สำหรับปริมาณการจำหน่ายยาในประเทศ ในปี 2548 มีการขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 10.3 เนื่องจากคนไทยให้ความสนใจต่อสุขภาพมากขึ้น รวมทั้งการดำเนินโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างต่อเนื่อง และมูลค่าการส่งออกขยายตัวจากปีก่อน ร้อยละ 21.9 หรือเท่ากับ 6,137.5 ล้านบาท โดยมีตลาดส่งออกหลัก เช่น เวียดนาม เมียนมาร์ กัมพูชา สินค้าส่งออกที่สำคัญ คือ ยารักษาหรือป้องกันโรค ประเภทวิตามิน ยาสามัญประจำบ้าน ยาแก้ปวดลดไข้ รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับป้องกันเชื้อโรค ส่วนมูลค่าการนำเข้าขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 11.1 หรือเท่ากับ 24,394.4 ล้านบาท โดยมีตลาดนำเข้าหลัก เช่น ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และสินค้านำเข้าที่สำคัญ คือ ยารักษาหรือป้องกันโรคที่เป็นยาสำเร็จรูปทั้งที่เป็นยาต้นตำรับ และยามีสิทธิบัตร ซึ่งยาเหล่านี้มักเป็นยาสำหรับโรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-