ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ อัดรัฐบาลหวงอำนาจ พยายามถ่วงเวลาไม่นำการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งเข้าพิจารณาในที่ประชุม ครม.วันนี้ (16 พ.ค. 2549) โดยอ้างว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งยังไม่ได้มีการรายงานผลการประชุมและมติเกี่ยวกับกำหนดวันเลือกตั้งให้กับรัฐบาลทราบอย่างเป็นทางการ
“ผมเห็นว่ากรณีดังกล่าว เป็นการเล่นเกมส์ทางการเมืองของรัฐบาลเพื่อยื้อเวลาการย้ายพรรคของ ส.ส.ให้เหลือเวลาน้อยที่สุด เพราะ ทรท.เห็นว่าการเปิดโอกาสให้ย้ายพรรคเป็นผลเสียต่อตนเอง ทั้งผลกระทบจากการย้ายพรรคของลูกพรรค ทรท.บางส่วน และการเกิดขึ้นของพรรคการเมืองที่เป็นทางใหม่ของประชาชน”
“เพียงแต่ ครม.ยื้อเวลาในการพิจารณาออกพระราชกฤฎีกากำหนดวันเลือกตั้งออกไป 2-3 สัปดาห์ โดยอ้างเหตุผลต่าง ๆ นานา ก็จะส่งผลให้ผู้ที่ต้องการลงสมัคร ส.ส.ทั้งแบบบัญชีรายชื่อ และแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ไม่สามารถย้ายพรรคได้ แต่กลับมาติดล็อก 90 วันเช่นเดิม”
“เพราะการเลื่อนการพิจารณาการออกพระราชกฤษฎีกาของ ครม.ในแต่ละสัปดาห์ จะส่งผลต่อระยะเวลาในการย้ายพรรคของ ส.ส.ตาม รธน. ม.107 (4) ระบุว่า เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน”
“การเลื่อนการพิจารณาวาระนี้ของ ครม.ในสัปดาห์นี้ ได้ทำให้ระยะเวลาของผู้สมัคร ส.ส.ที่อาจจะย้ายพรรคหายไปอย่างน้อย 7 วัน จากเดิมที่เหลือประมาณ 15 วัน เพราะว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ทุกคนคงไม่กล้าตัดสินใจดำเนินการใด ๆ ก่อนจะมีความชัดเจนเกี่ยวกับการกำหนดวันเลือกตั้ง เพราะหากเร่งรีบตัดสินใจโดยไม่รอมติ ครม. แต่กลับรีบย้ายพรรค โดยที่ ครม.อาจไม่ยึดตาม มติ กกต. อาจส่งผลให้ ส.ส.ท่านนั้นกลายเป็น ส.ส. ไร้สังกัดทันที”
“ผมเห็นว่าการเปิดโอกาสให้มีการย้ายพรรคและเกิดพรรคทางเลือกใหม่ ๆ จะเป็นผลดีต่อการเมืองไทย เพราะจะทำให้เกิดความหลากหลายของแนวนโยบายที่แต่ละพรรคเสนอ และหากสภาผู้แทนราษฎรชุดเฉพาะกิจที่มีหน้าที่ปฏิรูปการเมืองนั้น มาจากพรรคการเมืองที่หลากหลาย น่าจะส่งผลให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปอย่างรอบคอบมากกว่า สภาฯที่ถูกครอบครองด้วย ส.ส.เพียงพรรคเดียว”
“พฤติกรรมนี้สะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลไทยรักไทยมักจะทำสิ่งต่าง ๆ อย่างรวดเร็วเสมอ โดยไม่สนใจต่อความถูกต้องตามกฎหมาย หากเห็นว่าตนเองได้ประโยชน์จากการกระทำนั้น แต่หากสิ่งใดเป็นเรื่องที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชน แต่ตนเองไม่ได้ประโยชน์ รัฐบาลจะแสร้งทำเป็นอ้างกฎหมายมาเพื่อถ่วงเวลาไม่ให้เรื่องดังกล่าวดำเนินต่อไปได้ “
“ฉะนั้น ผมขอเรียกร้องให้รัฐบาลส่งสัญญาณให้ชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไร เกี่ยวกับการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งเพื่อประชาชนไม่สับสนจุดยืนของรัฐบาล ทรท. ต่อทิศทางในการปฏิรูปการเมือง” ดร.เกรียงศักดิ์ กล่าวสรุป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 16 พ.ค. 2549--จบ--
“ผมเห็นว่ากรณีดังกล่าว เป็นการเล่นเกมส์ทางการเมืองของรัฐบาลเพื่อยื้อเวลาการย้ายพรรคของ ส.ส.ให้เหลือเวลาน้อยที่สุด เพราะ ทรท.เห็นว่าการเปิดโอกาสให้ย้ายพรรคเป็นผลเสียต่อตนเอง ทั้งผลกระทบจากการย้ายพรรคของลูกพรรค ทรท.บางส่วน และการเกิดขึ้นของพรรคการเมืองที่เป็นทางใหม่ของประชาชน”
“เพียงแต่ ครม.ยื้อเวลาในการพิจารณาออกพระราชกฤฎีกากำหนดวันเลือกตั้งออกไป 2-3 สัปดาห์ โดยอ้างเหตุผลต่าง ๆ นานา ก็จะส่งผลให้ผู้ที่ต้องการลงสมัคร ส.ส.ทั้งแบบบัญชีรายชื่อ และแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ไม่สามารถย้ายพรรคได้ แต่กลับมาติดล็อก 90 วันเช่นเดิม”
“เพราะการเลื่อนการพิจารณาการออกพระราชกฤษฎีกาของ ครม.ในแต่ละสัปดาห์ จะส่งผลต่อระยะเวลาในการย้ายพรรคของ ส.ส.ตาม รธน. ม.107 (4) ระบุว่า เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน”
“การเลื่อนการพิจารณาวาระนี้ของ ครม.ในสัปดาห์นี้ ได้ทำให้ระยะเวลาของผู้สมัคร ส.ส.ที่อาจจะย้ายพรรคหายไปอย่างน้อย 7 วัน จากเดิมที่เหลือประมาณ 15 วัน เพราะว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ทุกคนคงไม่กล้าตัดสินใจดำเนินการใด ๆ ก่อนจะมีความชัดเจนเกี่ยวกับการกำหนดวันเลือกตั้ง เพราะหากเร่งรีบตัดสินใจโดยไม่รอมติ ครม. แต่กลับรีบย้ายพรรค โดยที่ ครม.อาจไม่ยึดตาม มติ กกต. อาจส่งผลให้ ส.ส.ท่านนั้นกลายเป็น ส.ส. ไร้สังกัดทันที”
“ผมเห็นว่าการเปิดโอกาสให้มีการย้ายพรรคและเกิดพรรคทางเลือกใหม่ ๆ จะเป็นผลดีต่อการเมืองไทย เพราะจะทำให้เกิดความหลากหลายของแนวนโยบายที่แต่ละพรรคเสนอ และหากสภาผู้แทนราษฎรชุดเฉพาะกิจที่มีหน้าที่ปฏิรูปการเมืองนั้น มาจากพรรคการเมืองที่หลากหลาย น่าจะส่งผลให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปอย่างรอบคอบมากกว่า สภาฯที่ถูกครอบครองด้วย ส.ส.เพียงพรรคเดียว”
“พฤติกรรมนี้สะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลไทยรักไทยมักจะทำสิ่งต่าง ๆ อย่างรวดเร็วเสมอ โดยไม่สนใจต่อความถูกต้องตามกฎหมาย หากเห็นว่าตนเองได้ประโยชน์จากการกระทำนั้น แต่หากสิ่งใดเป็นเรื่องที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชน แต่ตนเองไม่ได้ประโยชน์ รัฐบาลจะแสร้งทำเป็นอ้างกฎหมายมาเพื่อถ่วงเวลาไม่ให้เรื่องดังกล่าวดำเนินต่อไปได้ “
“ฉะนั้น ผมขอเรียกร้องให้รัฐบาลส่งสัญญาณให้ชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไร เกี่ยวกับการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งเพื่อประชาชนไม่สับสนจุดยืนของรัฐบาล ทรท. ต่อทิศทางในการปฏิรูปการเมือง” ดร.เกรียงศักดิ์ กล่าวสรุป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 16 พ.ค. 2549--จบ--