นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมการค้าต่างประเทศ (คต.) ได้จัดงานเจรจาธุรกิจโดยนำโรงสีผู้ผลิตข้าวหอมมะลิไทยจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาพบปะเจรจาธุรกิจกับร้านค้า / ภัตตาคาร / โรงแรม / ผู้ค้าส่ง / บริษัทท่องเที่ยว และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในเขตภาคตะวันตก และภาคใต้ตอนบน ในงาน “ ข้าวหอมมะลิไทยของแท้จากแหล่งผลิต : ชิมได้ทุกทิศทั่วไทย ” วันที่ 18 สิงหาคม 2549 ตั้งแต่เวลา 11.00 น. เป็นต้นไป ณ โรงแรมฮิลตัน หัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
วัตถุประสงค์ของการจัดงานเนื่องมาจากกรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินนโยบายเชิงรุกในการจัดทำโครงการสร้างตราข้าวหอมมะลิไทย เพื่อผลักดันและยกระดับข้าวหอมมะลิไทยให้เป็นสินค้า ชั้นเลิศ (Premium) โดยร่วมมือกับจังหวัดที่เป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด คัดเลือก และรับรองโรงสีที่ผลิตข้าวหอมมะลิที่ได้มาตรฐานตามที่กำหนด และให้จังหวัดนั้น ๆ สร้างตราข้าวหอมมะลิของจังหวัดขึ้น โดยบ่งชี้ถึงคุณค่าที่มีความแตกต่างแต่ละจังหวัดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม นอกจากนี้ยังได้ตกลงเป็นพันธมิตรกับ 10 องค์กรหลัก ทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันเผยแพร่ภาพลักษณ์ของข้าวหอมมะลิไทยไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 14 ล้านคน ที่เดินทางมาประเทศไทยให้รู้จัก และลิ้มรสข้าวหอมมะลิไทยแท้ ๆ จนเกิดความประทับใจกลับไปเล่าขาน และหาบริโภคตามภัตตาคาร ร้านค้า และห้างสรรพสินค้าที่จำหน่ายข้าวหอมมะลิไทยในประเทศของตน
กรมการค้าต่างประเทศ ได้จัดงานเจรจาธุรกิจ (Business Matching) มาแล้ว 4 ครั้ง ที่ กรุงเทพฯ,พัทยา,ภูเก็ต และ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2549 ที่กระทรวงพาณิชย์ ในชื่องาน “ ข้าวหอมมะลิของแท้จากแหล่งผลิต ” โดยนำผู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิ โรงสีผู้ผลิตข้าวหอมมะลิแท้ที่ได้รับการรับรอง / ห้างสรรพสินค้า / ร้านค้า / โรงแรม / ผู้ค้าส่ง / ภัตตาคาร / ผู้ส่งออก และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง พบปะหาช่องทางในการนำข้าวหอมมะลิแท้จากแหล่งผลิตไปสู่ผู้บริโภค ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี โดยห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ และ สยามพารากอน ได้นำข้าวจากโรงสีที่ได้รับการรับรองคุณภาพจาก 4 จังหวัด คือ บุรีรัมย์ สุรินทร์ อำนาจเจริญ และร้อยเอ็ด นำไปวางจำหน่ายในโฮมเฟรชมาร์ท ของเดอะมอลล์ทุกสาขาทั่วประเทศ และกูร์เมต์มาร์เก็ต ของห้างสยามพารากอน
จากความสำเร็จของการจัดงานที่ผ่านมาทำให้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ และชาวไทย ได้มีโอกาส บริโภคข้าวหอมมะลิแท้จากแหล่งผลิตกระจายในเมืองท่องเที่ยวต่างๆ ทั่วถึง กรมฯ จึงจัดงาน ในรูปแบบดังกล่าว สัญจรไปในภูมิภาคที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ตลอดปี 2549 ภายใต้ชื่องาน “ข้าวหอมมะลิไทยของแท้จากแหล่งผลิต : ชิมได้ทุกทิศทั่วไทย”
สำหรับผู้เข้าร่วมงานครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้ค้าส่ง/ค้าปลีกข้าว อาทิ จากจังหวัดประจวบ -คีรีขันธ์ อาทิ ร้านปราณบุรีสหกิจ,โรงสีหนองตาแต้ม , ร้านฮึ้งง่วนเส็ง , ร้านโชคดีพาณิชย์, ร้านว่องบริการหัวหินช้อบปิ้งมอลล์ เป็นต้น จากจังหวัดเพชรบุรี อาทิ โรงสีไทยเจริญธัญญา จากจังหวัดชุมพร อาทิ วิลาศค้าข้าว , ชุมพรค้าข้าว จากจังหวัดกาญจนบุรี อาทิ ประธานกลุ่มสตรีอาสาพัฒนาเกษตร จากจังหวัดนครปฐม อาทิ บริษัทกิตติวัฒนาไรซ์ มิลล์ จำกัด.,บริษัทอาภาการเกษตร จำกัด, บริษัท วี.อาร์.พี.โปรดักส์ แอนด์ บิซิเนส จำกัด จากจังหวัดราชบุรี อาทิ ร้านลิ้วซิ่วหลี จากจังหวัดสมุทรสาคร อาทิ บริษัทยูนิเวอร์แซลไรซ์ จำกัด เป็นต้น โดยมีผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด ประมาณ 300 คน มีการพบปะแลกเปลี่ยนนามบัตร ทำความรู้จักกัน อันจะเป็นช่องทางในการขยายธุรกิจต่อไป ทั้งนี้ กรมฯ กำหนดแผนในการจัดงานครั้งต่อไป เพื่อให้ครอบคลุมทุกภูมิภาค ที่จังหวัดเชียงใหม่ (1ก.ย.) นายราเชนทร์ฯ กล่าวในที่สุด
ตั้งแต่ ม.ค.-7 ส.ค. 49 ไทยส่งออกข้าวหอมมะลิแล้ว ปริมาณ 1.45 ล้านตัน มูลค่า 558.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 21,718 ล้านบาท) คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกข้าวทั้งหมด ด้วยปริมาณร้อยละ 33.07 ด้วยมูลค่าร้อยละ 41 ล้านเหรียญ
--กรมการค้าต่างประเทศ--
วัตถุประสงค์ของการจัดงานเนื่องมาจากกรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินนโยบายเชิงรุกในการจัดทำโครงการสร้างตราข้าวหอมมะลิไทย เพื่อผลักดันและยกระดับข้าวหอมมะลิไทยให้เป็นสินค้า ชั้นเลิศ (Premium) โดยร่วมมือกับจังหวัดที่เป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด คัดเลือก และรับรองโรงสีที่ผลิตข้าวหอมมะลิที่ได้มาตรฐานตามที่กำหนด และให้จังหวัดนั้น ๆ สร้างตราข้าวหอมมะลิของจังหวัดขึ้น โดยบ่งชี้ถึงคุณค่าที่มีความแตกต่างแต่ละจังหวัดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม นอกจากนี้ยังได้ตกลงเป็นพันธมิตรกับ 10 องค์กรหลัก ทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันเผยแพร่ภาพลักษณ์ของข้าวหอมมะลิไทยไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 14 ล้านคน ที่เดินทางมาประเทศไทยให้รู้จัก และลิ้มรสข้าวหอมมะลิไทยแท้ ๆ จนเกิดความประทับใจกลับไปเล่าขาน และหาบริโภคตามภัตตาคาร ร้านค้า และห้างสรรพสินค้าที่จำหน่ายข้าวหอมมะลิไทยในประเทศของตน
กรมการค้าต่างประเทศ ได้จัดงานเจรจาธุรกิจ (Business Matching) มาแล้ว 4 ครั้ง ที่ กรุงเทพฯ,พัทยา,ภูเก็ต และ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2549 ที่กระทรวงพาณิชย์ ในชื่องาน “ ข้าวหอมมะลิของแท้จากแหล่งผลิต ” โดยนำผู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิ โรงสีผู้ผลิตข้าวหอมมะลิแท้ที่ได้รับการรับรอง / ห้างสรรพสินค้า / ร้านค้า / โรงแรม / ผู้ค้าส่ง / ภัตตาคาร / ผู้ส่งออก และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง พบปะหาช่องทางในการนำข้าวหอมมะลิแท้จากแหล่งผลิตไปสู่ผู้บริโภค ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี โดยห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ และ สยามพารากอน ได้นำข้าวจากโรงสีที่ได้รับการรับรองคุณภาพจาก 4 จังหวัด คือ บุรีรัมย์ สุรินทร์ อำนาจเจริญ และร้อยเอ็ด นำไปวางจำหน่ายในโฮมเฟรชมาร์ท ของเดอะมอลล์ทุกสาขาทั่วประเทศ และกูร์เมต์มาร์เก็ต ของห้างสยามพารากอน
จากความสำเร็จของการจัดงานที่ผ่านมาทำให้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ และชาวไทย ได้มีโอกาส บริโภคข้าวหอมมะลิแท้จากแหล่งผลิตกระจายในเมืองท่องเที่ยวต่างๆ ทั่วถึง กรมฯ จึงจัดงาน ในรูปแบบดังกล่าว สัญจรไปในภูมิภาคที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ตลอดปี 2549 ภายใต้ชื่องาน “ข้าวหอมมะลิไทยของแท้จากแหล่งผลิต : ชิมได้ทุกทิศทั่วไทย”
สำหรับผู้เข้าร่วมงานครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้ค้าส่ง/ค้าปลีกข้าว อาทิ จากจังหวัดประจวบ -คีรีขันธ์ อาทิ ร้านปราณบุรีสหกิจ,โรงสีหนองตาแต้ม , ร้านฮึ้งง่วนเส็ง , ร้านโชคดีพาณิชย์, ร้านว่องบริการหัวหินช้อบปิ้งมอลล์ เป็นต้น จากจังหวัดเพชรบุรี อาทิ โรงสีไทยเจริญธัญญา จากจังหวัดชุมพร อาทิ วิลาศค้าข้าว , ชุมพรค้าข้าว จากจังหวัดกาญจนบุรี อาทิ ประธานกลุ่มสตรีอาสาพัฒนาเกษตร จากจังหวัดนครปฐม อาทิ บริษัทกิตติวัฒนาไรซ์ มิลล์ จำกัด.,บริษัทอาภาการเกษตร จำกัด, บริษัท วี.อาร์.พี.โปรดักส์ แอนด์ บิซิเนส จำกัด จากจังหวัดราชบุรี อาทิ ร้านลิ้วซิ่วหลี จากจังหวัดสมุทรสาคร อาทิ บริษัทยูนิเวอร์แซลไรซ์ จำกัด เป็นต้น โดยมีผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด ประมาณ 300 คน มีการพบปะแลกเปลี่ยนนามบัตร ทำความรู้จักกัน อันจะเป็นช่องทางในการขยายธุรกิจต่อไป ทั้งนี้ กรมฯ กำหนดแผนในการจัดงานครั้งต่อไป เพื่อให้ครอบคลุมทุกภูมิภาค ที่จังหวัดเชียงใหม่ (1ก.ย.) นายราเชนทร์ฯ กล่าวในที่สุด
ตั้งแต่ ม.ค.-7 ส.ค. 49 ไทยส่งออกข้าวหอมมะลิแล้ว ปริมาณ 1.45 ล้านตัน มูลค่า 558.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 21,718 ล้านบาท) คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกข้าวทั้งหมด ด้วยปริมาณร้อยละ 33.07 ด้วยมูลค่าร้อยละ 41 ล้านเหรียญ
--กรมการค้าต่างประเทศ--