สศอ.ชี้สัญญาณการผลิตภาคอุตฯยังไปได้ต่อ ส่งดัชนีอุตฯมิ.ย.เพิ่มสวนกระแส แรงหนุนหลักจากการผลิตเบียร์คึกคักรับกระแสบอลโลก
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2549 โดยเก็บข้อมูลจาก 2,121 โรงงาน 53 กลุ่มอุตสาหกรรม 215 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) โดย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 158.80 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.73เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ที่ระดับ 153.09 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 69.9
ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายนที่มีการปรับเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 166.15 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.91 จากระดับ 161.45 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 163.83 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.22 จากระดับ 161.85 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 175.79 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.17 จากระดับ 164.02 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 161.36 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.31 จากระดับ 146.28 และ ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 139.83 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.50 จากระดับ 131.30
ส่วน ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลง โดยอยู่ที่ระดับ 113.34 ลดลงร้อยละ 3.52 จากระดับ 117.48
ดร.อรรชกา เปิดเผยว่า มีปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญ คือ การผลิตเบียร์ การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ และการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
โดย การผลิตเบียร์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ทั้งยอดการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่วนหนึ่งมาจากเป็นช่วงเทศกาลฟุตบอลโลก ซึ่งผลิตภัณฑ์เบียร์ได้มีการทำตลาดอย่างคึกคัก จึงส่งผลให้มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 71.2 ส่วนการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.3 และอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้มีการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ที่ผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ได้ปิดปรับปรุงระบบ จึงทำให้อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูง
ส่วน การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ ในช่วง 6 เดือนแรก อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารทะเล เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 แต่เป็นการเพิ่มขึ้นที่ชะลอลงเล็กน้อยจากปีก่อน เนื่องจากกุ้งที่เลี้ยงในช่วงต้นปีซึ่งเป็นการเลี้ยงกุ้งรอบแรกของปี 49 ประสบกับสภาพอากาศแปรปรวนไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่เลี้ยงกุ้งทางภาคใต้ที่ประสบปัญหาอุทกภัย จึงทำให้มีวัตถุดิบป้อนโรงงานน้อยลง อย่างไรก็ตามแนวโน้มของอุตสาหกรรมในกลุ่มช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะขยายตัวได้ดี เนื่องจากแหล่งผลิตกุ้งรายใหญ่ที่ประเทศจีนประสบภัยธรรมชาติเสียหาย จึงทำให้อุตสาหกรรมกุ้งของไทยขยายตัวจากความต้องการของตลาดโลก รวมทั้งราคาที่คาดว่าจะพุ่งสูงขึ้น
และ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนทั้งการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น โดย Monolithic IC ซึ่งเป็นสินค้าสำคัญในกลุ่มมีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.11 ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.43 และ Other IC มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.08 ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.65 และยังมีทิศทางการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องถึงสิ้นปี โดยผู้ผลิตรายใหญ่ยังมีการขยายกิจการอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ได้กล่าวอีกว่า ในเดือนมิถุนายนยังมีอุตสาหกรรมที่มีการผลิตและจำหน่ายลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญ คือ การผลิตเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และการผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ
โดย การผลิตเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ในช่วง 6 เดือนแรกมีภาวะการผลิตและการจำหน่ายปรับตัวลดลง เนื่องจากมีการแข่งขันกันสูงโดยเฉพาะสินค้าราคาถูกจากประเทศจีน เข้ามาตีตลาดมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ผลิตรายย่อยเปลี่ยนไปนำเข้าสินค้าเพื่อจำหน่ายแทน รวมทั้งสภาพอากาศที่เข้าสู่ฤดูฝนผู้บริโภคจึงเห็นว่ายังไม่จำเป็นต้องใช้สินค้าในช่วงนี้และภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัวลง ซึ่งส่งผลต่อภาวะการผลิตลดลงร้อยละ 3.8 และจำหน่ายลดลงร้อยละ 3.1
และ การผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ ในช่วง 6 เดือนแรกของปีเมื่อเทียบกับปีก่อน การผลิตและจำหน่ายลดลงอย่างมาก เนื่องจากมาตรการต่างๆที่ภาครัฐได้รณรงค์ไม่สูบบุหรี่ที่เข้มข้นขึ้น รวมทั้งการขึ้นภาษียาสูบเป็นร้อยละ 79 ของมูลค่า ทำให้ราคาขายปลีกต่อซองเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 จึงส่งผลให้การผลิตที่ลดลงร้อยละ 23.5 และการจำหน่ายลดลงร้อยละ 18.1 นอกจากนี้พฤติกรรมของผู้สูบบุหรี่ส่วนหนึ่งหันไปสูบบุหรี่แบบมวนเอง ซึ่งราคาถูกกว่า
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2549 โดยเก็บข้อมูลจาก 2,121 โรงงาน 53 กลุ่มอุตสาหกรรม 215 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) โดย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 158.80 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.73เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ที่ระดับ 153.09 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 69.9
ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายนที่มีการปรับเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 166.15 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.91 จากระดับ 161.45 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 163.83 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.22 จากระดับ 161.85 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 175.79 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.17 จากระดับ 164.02 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 161.36 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.31 จากระดับ 146.28 และ ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 139.83 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.50 จากระดับ 131.30
ส่วน ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลง โดยอยู่ที่ระดับ 113.34 ลดลงร้อยละ 3.52 จากระดับ 117.48
ดร.อรรชกา เปิดเผยว่า มีปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญ คือ การผลิตเบียร์ การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ และการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
โดย การผลิตเบียร์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ทั้งยอดการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่วนหนึ่งมาจากเป็นช่วงเทศกาลฟุตบอลโลก ซึ่งผลิตภัณฑ์เบียร์ได้มีการทำตลาดอย่างคึกคัก จึงส่งผลให้มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 71.2 ส่วนการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.3 และอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้มีการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ที่ผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ได้ปิดปรับปรุงระบบ จึงทำให้อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูง
ส่วน การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ ในช่วง 6 เดือนแรก อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารทะเล เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 แต่เป็นการเพิ่มขึ้นที่ชะลอลงเล็กน้อยจากปีก่อน เนื่องจากกุ้งที่เลี้ยงในช่วงต้นปีซึ่งเป็นการเลี้ยงกุ้งรอบแรกของปี 49 ประสบกับสภาพอากาศแปรปรวนไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่เลี้ยงกุ้งทางภาคใต้ที่ประสบปัญหาอุทกภัย จึงทำให้มีวัตถุดิบป้อนโรงงานน้อยลง อย่างไรก็ตามแนวโน้มของอุตสาหกรรมในกลุ่มช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะขยายตัวได้ดี เนื่องจากแหล่งผลิตกุ้งรายใหญ่ที่ประเทศจีนประสบภัยธรรมชาติเสียหาย จึงทำให้อุตสาหกรรมกุ้งของไทยขยายตัวจากความต้องการของตลาดโลก รวมทั้งราคาที่คาดว่าจะพุ่งสูงขึ้น
และ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนทั้งการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น โดย Monolithic IC ซึ่งเป็นสินค้าสำคัญในกลุ่มมีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.11 ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.43 และ Other IC มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.08 ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.65 และยังมีทิศทางการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องถึงสิ้นปี โดยผู้ผลิตรายใหญ่ยังมีการขยายกิจการอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ได้กล่าวอีกว่า ในเดือนมิถุนายนยังมีอุตสาหกรรมที่มีการผลิตและจำหน่ายลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญ คือ การผลิตเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และการผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ
โดย การผลิตเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ในช่วง 6 เดือนแรกมีภาวะการผลิตและการจำหน่ายปรับตัวลดลง เนื่องจากมีการแข่งขันกันสูงโดยเฉพาะสินค้าราคาถูกจากประเทศจีน เข้ามาตีตลาดมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ผลิตรายย่อยเปลี่ยนไปนำเข้าสินค้าเพื่อจำหน่ายแทน รวมทั้งสภาพอากาศที่เข้าสู่ฤดูฝนผู้บริโภคจึงเห็นว่ายังไม่จำเป็นต้องใช้สินค้าในช่วงนี้และภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัวลง ซึ่งส่งผลต่อภาวะการผลิตลดลงร้อยละ 3.8 และจำหน่ายลดลงร้อยละ 3.1
และ การผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ ในช่วง 6 เดือนแรกของปีเมื่อเทียบกับปีก่อน การผลิตและจำหน่ายลดลงอย่างมาก เนื่องจากมาตรการต่างๆที่ภาครัฐได้รณรงค์ไม่สูบบุหรี่ที่เข้มข้นขึ้น รวมทั้งการขึ้นภาษียาสูบเป็นร้อยละ 79 ของมูลค่า ทำให้ราคาขายปลีกต่อซองเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 จึงส่งผลให้การผลิตที่ลดลงร้อยละ 23.5 และการจำหน่ายลดลงร้อยละ 18.1 นอกจากนี้พฤติกรรมของผู้สูบบุหรี่ส่วนหนึ่งหันไปสูบบุหรี่แบบมวนเอง ซึ่งราคาถูกกว่า
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-