แท็ก
ปลาดุก
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 8 - 12 เม.ย. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 746.93 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 402.77 ตัน สัตว์น้ำจืด 344.16 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.34 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.76 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 62.92 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.30 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 44.08 ตัน
การตลาด
โครงการท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต
นายประมวล รักษ์ใจ หัวหน้ากองท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต องค์การสะพานปลากล่าวถึงความคืบหน้าโครงการปรับปรุงอนามัยท่าเทียบเรือประมงภูเก็ตว่า ขณะนี้การก่อสร้างคืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 86 เหลือเพียงการติดตั้งอุปกรณ์ ตกแต่งออฟฟิศ ขุดลอกคลอง และปรับปรุงภูมิทัศน์ ซึ่งจะเสร็จสมบูรณ์ทั้งหมดในเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้ และจะใช้เวลาทดสอบระบบประมาณ 2 เดือน จึงจะสามารถเปิดท่าเทียบเรืออย่างเต็มรูปแบบ ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต พร้อมอำนวยความสะดวกการขนถ่ายปลาทูน่าได้เป็นอย่างดี โดยเรามีแผนดึงกองเรือปลาทูน่าจากต่างประเทศเข้าเทียบท่า และคัดปลาทูน่าเกรดดีส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งทาง องค์การสะพานปลาได้จัดพื้นที่เฉพาะไว้แล้ว นอกจากนี้องค์การสะพานปลายังมีแผนผสมผสานระหว่างการประมงเข้ากับการท่องเที่ยว อาทิเช่น การจัดซีฟู้ดมาร์เก็ตเซ็นเตอร์ หรือศูนย์อาหารทะเล ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเข้าเยี่ยมชมการขนถ่ายสัตว์น้ำ และเลือกซื้อสัตว์น้ำ หรือปลาสดๆ ที่ขึ้นจากทะเลใหม่ๆ คาดว่าจะได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี สำหรับกลุ่มเรือที่มาใช้บริการอยู่ในปัจจุบันมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเรือประมงไทยที่จับสัตว์น้ำเพื่อจำหน่ายภายในจังหวัดประมาณร้อยละ 60 — 70 และจังหวัดใกล้เคียง กับเรือต่างประเทศ
โครงการปรับปรุงท่าเทียบเรือประมงภูเก็ตมีการปรับปรุง 4 ส่วนหลัก คือ การขยายท่าเทียบเรือ เพื่อรองรับเรือประมงไทยและกองเรือทูน่าของต่างประเทศ การก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย การจัดทำระบบน้ำสะอาดในการล้างสัตว์น้ำ และการปรับปรุงถนนทางเข้า — ออกท่าเทียบเรือประมง คาดว่างานก่อสร้างทั้งหมดจะแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการเรือประมงได้ประมาณกลางปี 2549 ซึ่งจะทำให้ท่าเรือประมงภูเก็ตเป็นท่าเทียบเรือมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสหภาพยุโรป (อียู) และรองรับกองเรือทูน่าเบ็ดราวของต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น ที่ผ่านมาท่าเทียบเรือประมงภูเก็ตรองรับกองเรือทูน่าต่างประเทศ เช่น ไต้หวัน และจีนได้ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากความยาวของท่าเรือที่ไม่เพียงพอ เพราะแค่เรือประมงที่เป็นเรือไทยก็มีประมาณ 200 ลำแล้ว แต่เมื่อได้มีขยายท่าเทียบเรือเพิ่มขึ้นอีกก็จะทำให้การรองรับเรือได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น จากการปรับปรุงท่าเทียบเรือยังส่งผลให้นักลงทุนจากจีน และไต้หวันเข้ามาร่วมทุนกับนักลงทุนไทย ตั้งโรงงานแปรรูปปลาทูน่าในส่วนที่ไม่สามารถส่งเป็นตัวออกไปต่างประเทศได้ ขณะนี้มีประมาณ 4 — 5 ราย ที่ตั้งโรงงานบริเวณตรงข้ามกับท่าเรือรัษฎา ต.รัษฎา อ.เมืองภูเก็ต ซึ่งโรงงานดังกล่าวจะแปรรูปปลาทูน่าในลักษณะของการแล่เนื้อปลาทูน่าแช่แข็งส่งไปสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และจีน เป็นต้น
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.44 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.19 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.94 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.14 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 92.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.50 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 159.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 155.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 142.51 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 150.62 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.11 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 143.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.90 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 54.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.60 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 118.75 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.25 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.47 ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.42 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.05 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 24 - 28 เม.ย. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.54 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.90 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.64 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 16 ประจำวันที่ 24-30 เมษายน 2549--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 8 - 12 เม.ย. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 746.93 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 402.77 ตัน สัตว์น้ำจืด 344.16 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.34 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.76 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 62.92 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.30 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 44.08 ตัน
การตลาด
โครงการท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต
นายประมวล รักษ์ใจ หัวหน้ากองท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต องค์การสะพานปลากล่าวถึงความคืบหน้าโครงการปรับปรุงอนามัยท่าเทียบเรือประมงภูเก็ตว่า ขณะนี้การก่อสร้างคืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 86 เหลือเพียงการติดตั้งอุปกรณ์ ตกแต่งออฟฟิศ ขุดลอกคลอง และปรับปรุงภูมิทัศน์ ซึ่งจะเสร็จสมบูรณ์ทั้งหมดในเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้ และจะใช้เวลาทดสอบระบบประมาณ 2 เดือน จึงจะสามารถเปิดท่าเทียบเรืออย่างเต็มรูปแบบ ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต พร้อมอำนวยความสะดวกการขนถ่ายปลาทูน่าได้เป็นอย่างดี โดยเรามีแผนดึงกองเรือปลาทูน่าจากต่างประเทศเข้าเทียบท่า และคัดปลาทูน่าเกรดดีส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งทาง องค์การสะพานปลาได้จัดพื้นที่เฉพาะไว้แล้ว นอกจากนี้องค์การสะพานปลายังมีแผนผสมผสานระหว่างการประมงเข้ากับการท่องเที่ยว อาทิเช่น การจัดซีฟู้ดมาร์เก็ตเซ็นเตอร์ หรือศูนย์อาหารทะเล ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเข้าเยี่ยมชมการขนถ่ายสัตว์น้ำ และเลือกซื้อสัตว์น้ำ หรือปลาสดๆ ที่ขึ้นจากทะเลใหม่ๆ คาดว่าจะได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี สำหรับกลุ่มเรือที่มาใช้บริการอยู่ในปัจจุบันมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเรือประมงไทยที่จับสัตว์น้ำเพื่อจำหน่ายภายในจังหวัดประมาณร้อยละ 60 — 70 และจังหวัดใกล้เคียง กับเรือต่างประเทศ
โครงการปรับปรุงท่าเทียบเรือประมงภูเก็ตมีการปรับปรุง 4 ส่วนหลัก คือ การขยายท่าเทียบเรือ เพื่อรองรับเรือประมงไทยและกองเรือทูน่าของต่างประเทศ การก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย การจัดทำระบบน้ำสะอาดในการล้างสัตว์น้ำ และการปรับปรุงถนนทางเข้า — ออกท่าเทียบเรือประมง คาดว่างานก่อสร้างทั้งหมดจะแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการเรือประมงได้ประมาณกลางปี 2549 ซึ่งจะทำให้ท่าเรือประมงภูเก็ตเป็นท่าเทียบเรือมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสหภาพยุโรป (อียู) และรองรับกองเรือทูน่าเบ็ดราวของต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น ที่ผ่านมาท่าเทียบเรือประมงภูเก็ตรองรับกองเรือทูน่าต่างประเทศ เช่น ไต้หวัน และจีนได้ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากความยาวของท่าเรือที่ไม่เพียงพอ เพราะแค่เรือประมงที่เป็นเรือไทยก็มีประมาณ 200 ลำแล้ว แต่เมื่อได้มีขยายท่าเทียบเรือเพิ่มขึ้นอีกก็จะทำให้การรองรับเรือได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น จากการปรับปรุงท่าเทียบเรือยังส่งผลให้นักลงทุนจากจีน และไต้หวันเข้ามาร่วมทุนกับนักลงทุนไทย ตั้งโรงงานแปรรูปปลาทูน่าในส่วนที่ไม่สามารถส่งเป็นตัวออกไปต่างประเทศได้ ขณะนี้มีประมาณ 4 — 5 ราย ที่ตั้งโรงงานบริเวณตรงข้ามกับท่าเรือรัษฎา ต.รัษฎา อ.เมืองภูเก็ต ซึ่งโรงงานดังกล่าวจะแปรรูปปลาทูน่าในลักษณะของการแล่เนื้อปลาทูน่าแช่แข็งส่งไปสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และจีน เป็นต้น
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.44 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.19 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.94 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.14 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 92.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.50 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 159.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 155.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 142.51 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 150.62 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.11 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 143.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.90 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 54.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.60 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 118.75 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.25 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.47 ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.42 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.05 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 24 - 28 เม.ย. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.54 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.90 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.64 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 16 ประจำวันที่ 24-30 เมษายน 2549--
-พห-