การประชุม ASEAN Finance Ministers’ Investor Seminar ครั้งที่ 3
ณ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง และสิงคโปร์
และการจัด Thailand Roadshow ณ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยถึงผลการจัด Thailand Roadshow ณ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง และการจัดการประชุม ASEAN Finance Ministers’ Investor Seminar (ASEAN Roadshow) ครั้งที่ 3 ณ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง และสิงคโปร์ ดังนี้
1. เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2549 ประเทศไทยได้จัดงาน Thailand Roadshow โดยมีบริษัท Morgan Stanley เป็นเจ้าภาพ ซึ่งได้เชิญผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจัดการกองทุนเพื่อการลงทุนระดับใหญ่ที่มีความสนใจลงทุนในประเทศไทย อาทิ บริษัท Ballingal Asset Management บริษัท Capital Research และ บริษัท Cheyne Capital เป็นต้น เป็นผู้เข้าร่วม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวปาฐกถาเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ การเมือง และการลงทุนของประเทศไทย และได้ให้ความมั่นใจแก่ผู้บริหารระดับสูงของกองทุนเพื่อการลงทุนเหล่านั้น พร้อมทั้งยังกล่าวถึงศักยภาพของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งประเทศไทยยังมีระดับค่า P/E ratio ที่อยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน
2. การจัดประชุม ASEAN Roadshow ครั้งที่ 3 กำหนดจัดขึ้นภายใต้หัวข้อหลัก (theme) คือ “ASEAN Meets the Global Challenges” โดยจัดให้มีการประชุมสัมมนาติดต่อกันใน 2 ประเทศ ประกอบด้วยการประชุมสัมมนาในวันที่ 14 กันยายน 2549 ณ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง และในวันที่ 16 กันยายน 2549 ณ ประเทศสิงคโปร์
2.1 การประชุมภาคแรก ในวันที่ 14 กันยายน 2549 ณ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง มี CLSA เป็นเจ้าภาพในการจัดงานและกระทรวงการคลังมาเลเซียเป็นผู้ประสานงานหลัก ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงของสถาบันลงทุนระหว่างประเทศ และนักลงทุนระหว่างประเทศจากทั่วโลกเข้าร่วมงานกว่า 1,100 คน ผลการประชุมสรุปได้ดังนี้
2.1.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนได้เน้นให้นักลงทุนทราบถึงศักยภาพการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียน แนวนโยบายในการดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพื่อสร?งรากฐานสู?การเจริญเติบโตที่ยั่งยืนในอนาคต และนโยบายในการส่งเสริมการลงทุนของอาเซียน ทั้งการลงทุนทางตรงและการลงทุนในตลาดทุน รวมถึงแนวทางความร่วมมือในกลุ่มสมาชิกอาเซียนในการผลักดันและส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจเพื่อนำไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) และสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน ในการสนับสนุนการค้าและการลงทุนในภูมิภาค การรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนดังกล่าวจะเป็นการช่วยสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข?งขันของอาเซียน โดยการสร?งความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน การดึงศักยภาพความเข้มแข็งของพื้นฐานทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนที่แตกต่างกัน ซึ่งถือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพจากความหลากหลายของประเทศในกลุ่มอาเซียน
2.1.2 ในส่วนของประเทศไทยนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ตอบข้อซักถามของนักลงทุนเกี่ยวกับแนวนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กล่าวว่า ประเทศไทยมีนโยบายที่จะดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบคู่ขนาน ซึ่งให้ความสำคัญแก่ความต้องการภายในประเทศ การแก้ไขปัญหาความยากจน และการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน ในขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญในการส่งเสริมความต้องการสินค้าและบริการจากต่างประเทศ รวมทั้งการลงทุนของต่างชาติในประเทศไทย ที่ผ่านมาประเทศไทยประสบความสำเร็จในการสร้างบรรยากาศที่ดีในการลงทุน นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังได้ชี้แจงถึงความคืบหน้าของโครงการการลงทุนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุน ในโครงการขนส่งสาธารณะซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ และได้ชักชวนให้นักลงทุนมาลงทุนในโครงการดังกล่าว ทั้งการลงทุนทางตรงในลักษณะของการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน และการลงทุนในตลาดทุน
2.1.3 ในช่วงเช้าของวันที่ 14 กันยายน 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทยและคณะ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้สาธารณะ รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (นายบัณฑิต นิจถาวร) รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (นายวิเชฐ ตันติวานิช) และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ได้มีโอกาสพบปะกับนักลงทุนสถาบันต่างๆ ซึ่งเป็นสถาบันที่มีการลงทุนในประเทศไทยและสถาบันที่สนใจจะเข้ามาลงทุน โดยผู้บริหารกองทุนเหล่านี้ ให้ความสำคัญกับภาวะเศรษฐกิจในประเทศไทย ปัญหาด้านการเมืองและ ความไม่แน่นอนด้านการลงทุนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ชี้แจงว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยยังมีเสถียรภาพมั่นคงและมีพื้นฐานที่ดี โดยในปีนี้คาดว่า เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4.0 — 4.5 สำหรับในปีหน้าเศรษฐกิจของประเทศอาจจะชะลอตัวเล็กน้อย เนื่องมาจากปัญหาความล่าช้าในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ และภาวะราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วว่า นโยบายการคลังจะต้องเป็นแกนนำสนับสนุน การขยายตัวทางเศรษฐกิจให้มั่นคง โดยกระทรวงการคลังจะเสนอให้จัดทำงบประมาณปี 2550 เป็นแบบขาดดุลเพื่อรักษาศักยภาพทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังได้กล่าวต่อไปว่า โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐเป็นโครงการที่สำคัญที่ต้องดำเนินการต่อไป เนื่องจากเป็นโครงการที่จะช่วยให้ประเทศไทยเกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในด้านต่างๆ อย่างเป็นระบบและเสริมสร้างขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ
2.2 การประชุมภาค 2 ณ ประเทศสิงคโปร์ มี International Institute of Finance (IIF) เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน สรุปผลการประชุมได้ดังนี้
2.2.1 ช่วงพิธีเปิด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนที่สองของมาเลเซีย (H.E. Tan Sri Nor Mohamed bin Yakcop) ในฐานะประเทศผู้ประสานงานหลักในการจัดการประชุม ได้กล่าวปาฐกถาเกี่ยวกับศักยภาพการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียน และแนวทางในการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของภูมิภาค โดยแสดงให้เห็นว่ากลุ่มประเทศอาเซียนมีศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงและมีความพร้อมในการรับการลงทุนจากต่างประเทศทั้งการลงทุนทางตรงและการลงทุนในตลาดทุน และแสดงให้เห็นว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนจะร่วมกันผลักดันและส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจเพื่อนำไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในอนาคต
2.2.2 การสัมมนาช่วงที่ 1 เป็นช่วงการนำเสนอปัจจัยสนับสนุนสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังฟิลิปปินส์ (H.E. Margarito B. Teves) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการเงินกัมพูชา (H.E. Dr. Aun Porn Moniroth) เป็นผู้อภิปราย ซึ่งได้นำเสนอแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจและการเงินของฟิลิปปินส์และกัมพูชาตามลำดับ โดยแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการและการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศหลังจากการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 โดยมุ่งให้นักลงทุนเห็นถึงความคืบหน้าในการดำเนินการปฏิรูปเพื่อสร?งรากฐานสู?ความเจริญเติบโตที่ยั่งยืนในอนาคต และแสดงให้เห็นว่าอาเซียนมีความพร้อมและศักยภาพในการเป็นฐานการลงทุน
2.2.3 การสัมมนาช่วงที่ 2 เป็นการนำเสนอภาพรวมในการปฏิรูประบบการเงินของกลุ่มประเทศอาเซียนและแนวนโยบายในการพัฒนาระบบการเงินของอาเซียน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอินโดนีเซีย (H.E. Dr. Sri Mulyani Indrawati) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนที่สองของสิงคโปร์ (H.E. Tharman Shanmugaratnam) เป็นผู้อภิปราย ซึ่งเน้นให้นักลงทุนทราบถึงแนวทางและความคืบหน้าในการดำเนินการปฏิรูประบบการเงินของภูมิภาคอาเซียนภายหลังการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ทั้งการปฏิรูปภาคการเงิน การปรับโครงสร้างภาคเอกชนให้มีบรรษัทภิบาลมากขึ้น และการพัฒนาตลาดทุน รวมถึงแนวทางในการดำเนินการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของภาคการเงินของกลุ่มประเทศอาเซียนในอนาคต นอกจากนี้ยังกล่าวว่ากลุ่มประเทศอาเซียนควรให้ความสำคัญในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนของภาคธุรกิจแทนการกู้เงินจากธนาคารและสถาบันทางการเงิน และยังสามารถเป็นแหล่งเงินทุนของการลงทุนขนาดใหญ่ของกลุ่มประเทศอาเซียน
2.2.4 การสัมมนาช่วงที่ 3 การวางแผนและการจัดหาเงินทุนสำหรับการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน เป็นช่วงการนำเสนอแนวทางในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของกลุ่มประเทศอาเซียน และแนวทางในการจัดหาแหล่งเงินทุนในการดำเนินโครงการดังกล่าว โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมาเลเซียเป็นผู้อภิปราย ซึ่งในส่วนของประเทศไทยนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้นำเสนอแผนการลงทุนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ซึ่งแบ่งเป็นการลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เช่น ระบบการขนส่งมวลชน และการลงทุนในโครงสร้างทางสังคม เช่น การพัฒนาระบบการสารณสุขและระบบการศึกษา โครงการการลงทุนขนาดใหญ่นี้ จะยกระดับความเป็นอยู่ของคนไทยและเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยรัฐบาล ได้มีการวางแผนในการลงทุนโดยจะใช้แหล่งเงินทุนในประเทศเป็นหลัก และจะรักษาวินัยทางการคลังโดยควบคุมสัดส่วนของหนี้ภาคสาธารณะรวมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศไม่ให้เกินร้อยละ 50
การประชุม ASEAN Finance Ministers’ Investor Seminar ครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมการประชุมประมาณ 600 คน ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงของสถาบันทางการเงิน และสถาบันการลงทุนระหว่างประเทศ
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 85/2549 27 กันยายน 49--
ณ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง และสิงคโปร์
และการจัด Thailand Roadshow ณ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยถึงผลการจัด Thailand Roadshow ณ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง และการจัดการประชุม ASEAN Finance Ministers’ Investor Seminar (ASEAN Roadshow) ครั้งที่ 3 ณ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง และสิงคโปร์ ดังนี้
1. เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2549 ประเทศไทยได้จัดงาน Thailand Roadshow โดยมีบริษัท Morgan Stanley เป็นเจ้าภาพ ซึ่งได้เชิญผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจัดการกองทุนเพื่อการลงทุนระดับใหญ่ที่มีความสนใจลงทุนในประเทศไทย อาทิ บริษัท Ballingal Asset Management บริษัท Capital Research และ บริษัท Cheyne Capital เป็นต้น เป็นผู้เข้าร่วม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวปาฐกถาเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ การเมือง และการลงทุนของประเทศไทย และได้ให้ความมั่นใจแก่ผู้บริหารระดับสูงของกองทุนเพื่อการลงทุนเหล่านั้น พร้อมทั้งยังกล่าวถึงศักยภาพของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งประเทศไทยยังมีระดับค่า P/E ratio ที่อยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน
2. การจัดประชุม ASEAN Roadshow ครั้งที่ 3 กำหนดจัดขึ้นภายใต้หัวข้อหลัก (theme) คือ “ASEAN Meets the Global Challenges” โดยจัดให้มีการประชุมสัมมนาติดต่อกันใน 2 ประเทศ ประกอบด้วยการประชุมสัมมนาในวันที่ 14 กันยายน 2549 ณ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง และในวันที่ 16 กันยายน 2549 ณ ประเทศสิงคโปร์
2.1 การประชุมภาคแรก ในวันที่ 14 กันยายน 2549 ณ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง มี CLSA เป็นเจ้าภาพในการจัดงานและกระทรวงการคลังมาเลเซียเป็นผู้ประสานงานหลัก ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงของสถาบันลงทุนระหว่างประเทศ และนักลงทุนระหว่างประเทศจากทั่วโลกเข้าร่วมงานกว่า 1,100 คน ผลการประชุมสรุปได้ดังนี้
2.1.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนได้เน้นให้นักลงทุนทราบถึงศักยภาพการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียน แนวนโยบายในการดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพื่อสร?งรากฐานสู?การเจริญเติบโตที่ยั่งยืนในอนาคต และนโยบายในการส่งเสริมการลงทุนของอาเซียน ทั้งการลงทุนทางตรงและการลงทุนในตลาดทุน รวมถึงแนวทางความร่วมมือในกลุ่มสมาชิกอาเซียนในการผลักดันและส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจเพื่อนำไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) และสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน ในการสนับสนุนการค้าและการลงทุนในภูมิภาค การรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนดังกล่าวจะเป็นการช่วยสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข?งขันของอาเซียน โดยการสร?งความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน การดึงศักยภาพความเข้มแข็งของพื้นฐานทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนที่แตกต่างกัน ซึ่งถือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพจากความหลากหลายของประเทศในกลุ่มอาเซียน
2.1.2 ในส่วนของประเทศไทยนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ตอบข้อซักถามของนักลงทุนเกี่ยวกับแนวนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กล่าวว่า ประเทศไทยมีนโยบายที่จะดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบคู่ขนาน ซึ่งให้ความสำคัญแก่ความต้องการภายในประเทศ การแก้ไขปัญหาความยากจน และการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน ในขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญในการส่งเสริมความต้องการสินค้าและบริการจากต่างประเทศ รวมทั้งการลงทุนของต่างชาติในประเทศไทย ที่ผ่านมาประเทศไทยประสบความสำเร็จในการสร้างบรรยากาศที่ดีในการลงทุน นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังได้ชี้แจงถึงความคืบหน้าของโครงการการลงทุนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุน ในโครงการขนส่งสาธารณะซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ และได้ชักชวนให้นักลงทุนมาลงทุนในโครงการดังกล่าว ทั้งการลงทุนทางตรงในลักษณะของการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน และการลงทุนในตลาดทุน
2.1.3 ในช่วงเช้าของวันที่ 14 กันยายน 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทยและคณะ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้สาธารณะ รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (นายบัณฑิต นิจถาวร) รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (นายวิเชฐ ตันติวานิช) และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ได้มีโอกาสพบปะกับนักลงทุนสถาบันต่างๆ ซึ่งเป็นสถาบันที่มีการลงทุนในประเทศไทยและสถาบันที่สนใจจะเข้ามาลงทุน โดยผู้บริหารกองทุนเหล่านี้ ให้ความสำคัญกับภาวะเศรษฐกิจในประเทศไทย ปัญหาด้านการเมืองและ ความไม่แน่นอนด้านการลงทุนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ชี้แจงว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยยังมีเสถียรภาพมั่นคงและมีพื้นฐานที่ดี โดยในปีนี้คาดว่า เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4.0 — 4.5 สำหรับในปีหน้าเศรษฐกิจของประเทศอาจจะชะลอตัวเล็กน้อย เนื่องมาจากปัญหาความล่าช้าในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ และภาวะราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วว่า นโยบายการคลังจะต้องเป็นแกนนำสนับสนุน การขยายตัวทางเศรษฐกิจให้มั่นคง โดยกระทรวงการคลังจะเสนอให้จัดทำงบประมาณปี 2550 เป็นแบบขาดดุลเพื่อรักษาศักยภาพทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังได้กล่าวต่อไปว่า โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐเป็นโครงการที่สำคัญที่ต้องดำเนินการต่อไป เนื่องจากเป็นโครงการที่จะช่วยให้ประเทศไทยเกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในด้านต่างๆ อย่างเป็นระบบและเสริมสร้างขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ
2.2 การประชุมภาค 2 ณ ประเทศสิงคโปร์ มี International Institute of Finance (IIF) เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน สรุปผลการประชุมได้ดังนี้
2.2.1 ช่วงพิธีเปิด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนที่สองของมาเลเซีย (H.E. Tan Sri Nor Mohamed bin Yakcop) ในฐานะประเทศผู้ประสานงานหลักในการจัดการประชุม ได้กล่าวปาฐกถาเกี่ยวกับศักยภาพการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียน และแนวทางในการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของภูมิภาค โดยแสดงให้เห็นว่ากลุ่มประเทศอาเซียนมีศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงและมีความพร้อมในการรับการลงทุนจากต่างประเทศทั้งการลงทุนทางตรงและการลงทุนในตลาดทุน และแสดงให้เห็นว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนจะร่วมกันผลักดันและส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจเพื่อนำไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในอนาคต
2.2.2 การสัมมนาช่วงที่ 1 เป็นช่วงการนำเสนอปัจจัยสนับสนุนสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังฟิลิปปินส์ (H.E. Margarito B. Teves) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการเงินกัมพูชา (H.E. Dr. Aun Porn Moniroth) เป็นผู้อภิปราย ซึ่งได้นำเสนอแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจและการเงินของฟิลิปปินส์และกัมพูชาตามลำดับ โดยแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการและการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศหลังจากการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 โดยมุ่งให้นักลงทุนเห็นถึงความคืบหน้าในการดำเนินการปฏิรูปเพื่อสร?งรากฐานสู?ความเจริญเติบโตที่ยั่งยืนในอนาคต และแสดงให้เห็นว่าอาเซียนมีความพร้อมและศักยภาพในการเป็นฐานการลงทุน
2.2.3 การสัมมนาช่วงที่ 2 เป็นการนำเสนอภาพรวมในการปฏิรูประบบการเงินของกลุ่มประเทศอาเซียนและแนวนโยบายในการพัฒนาระบบการเงินของอาเซียน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอินโดนีเซีย (H.E. Dr. Sri Mulyani Indrawati) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนที่สองของสิงคโปร์ (H.E. Tharman Shanmugaratnam) เป็นผู้อภิปราย ซึ่งเน้นให้นักลงทุนทราบถึงแนวทางและความคืบหน้าในการดำเนินการปฏิรูประบบการเงินของภูมิภาคอาเซียนภายหลังการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ทั้งการปฏิรูปภาคการเงิน การปรับโครงสร้างภาคเอกชนให้มีบรรษัทภิบาลมากขึ้น และการพัฒนาตลาดทุน รวมถึงแนวทางในการดำเนินการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของภาคการเงินของกลุ่มประเทศอาเซียนในอนาคต นอกจากนี้ยังกล่าวว่ากลุ่มประเทศอาเซียนควรให้ความสำคัญในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนของภาคธุรกิจแทนการกู้เงินจากธนาคารและสถาบันทางการเงิน และยังสามารถเป็นแหล่งเงินทุนของการลงทุนขนาดใหญ่ของกลุ่มประเทศอาเซียน
2.2.4 การสัมมนาช่วงที่ 3 การวางแผนและการจัดหาเงินทุนสำหรับการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน เป็นช่วงการนำเสนอแนวทางในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของกลุ่มประเทศอาเซียน และแนวทางในการจัดหาแหล่งเงินทุนในการดำเนินโครงการดังกล่าว โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมาเลเซียเป็นผู้อภิปราย ซึ่งในส่วนของประเทศไทยนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้นำเสนอแผนการลงทุนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ซึ่งแบ่งเป็นการลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เช่น ระบบการขนส่งมวลชน และการลงทุนในโครงสร้างทางสังคม เช่น การพัฒนาระบบการสารณสุขและระบบการศึกษา โครงการการลงทุนขนาดใหญ่นี้ จะยกระดับความเป็นอยู่ของคนไทยและเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยรัฐบาล ได้มีการวางแผนในการลงทุนโดยจะใช้แหล่งเงินทุนในประเทศเป็นหลัก และจะรักษาวินัยทางการคลังโดยควบคุมสัดส่วนของหนี้ภาคสาธารณะรวมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศไม่ให้เกินร้อยละ 50
การประชุม ASEAN Finance Ministers’ Investor Seminar ครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมการประชุมประมาณ 600 คน ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงของสถาบันทางการเงิน และสถาบันการลงทุนระหว่างประเทศ
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 85/2549 27 กันยายน 49--