ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. แต่งตั้ง นายการุณ กิตติสถาพร เป็นคณะกรรมการนโยบายการเงิน นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า
นายการุณ กิตติสถาพร ปลัด ก.พาณิชย์ ได้ตอบรับเป็นคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แทนนายเกริกไกร จิระแพทย์ ที่ลาออกไปรับ
ตำแหน่ง รมว.พาณิชย์ ตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค.49 โดยนายการุณ จะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ในการประชุม กนง. วันที่ 13 ธ.ค.49 ทั้งนี้ นายการุณถือ
เป็นผู้ให้ความคิดเห็นแก่ ธปท. อย่างดีมาตลอดจึงได้ทาบทามมาร่วมเป็นหนึ่งใน กนง. ปัจจุบัน กนง. มีทั้งหมด 7 คน ประกอบด้วย
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. เป็นประธาน นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน เป็นรองประธาน
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน นายอรัญ ธรรมโน อดีตปลัด ก.คลัง นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัด
ก.อุตสาหกรรม นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ นายการุณ กิตติสถาพร ปลัด
ก.พาณิชย์ เป็นกรรมการ (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
2. อัยการสูงสุดสั่งฟ้องอดีตผู้บริหาร ธ.มหานคร นายวีระชาติ ศรีบุญมา ผอ.ฝ่ายคดี ธปท. เปิดเผยความคืบหน้าในคดีการฟ้องร้อง
อดีตผู้บริหาร ธ.มหานคร ว่า ล่าสุดอัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งฟ้อง นางภคินี สุวรรณภักดี อดีตรอง กก.ผจก. ธ.มหานคร ทำให้ในคดีนี้มีผู้ถูก
ฟ้องร้องรวม 4 คน ซึ่งอัยการสูงสุดจะดำเนินการเรียกนางภคินี ให้มารายงานตัวภายในเดือน พ.ย.นี้ อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ต้องหาในคดีนี้อีก
1 คน ที่ยังไม่ได้รายงานตัวคือ นายมาโนช กาญจนฉายา อดีตประธาน กก.บริหาร ธ.มหานคร ซึ่งยังไม่สามารถติดต่อได้ ทั้งนี้ ในช่วงเวลา
ที่ผ่านมา ธปท. ร่วมกับ สนง.ปปง. อายัดทรัพย์สินบางส่วนของผู้ต้องหาบ้างแล้วและอยู่ระหว่างดำเนินการอายัดทรัพย์เพิ่มเติม อนึ่ง คดีดังกล่าว
สืบเนื่องจาก ธปท. ได้ตรวจสอบพบว่ามีอดีตผู้บริหารของ ธ.มหานคร 3 คน ประกอบด้วย นายมาโนช กาญจนฉายา ประธาน กก.บริหาร
นายอุทัย อัครพัฒนากูล อดีต กก.ผจก. และนางภคินี สุวรรณภักดี อดีต รอง กก.ผจก. ร่วมกันอนุมัติสินเชื่อกว่า 4 พันล้านบาท ให้กับลูกหนี้ใน
กลุ่มนายสุเทพ เจริญพรพานิชกุล ทำให้ธนาคารเสียหาย ซึ่งเป็นการกระทำผิดหน้าที่โดยทุจริต (มติชน)
3. ก.คลังเร่งเสนอ กม.การเงิน เลิกคุมส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม. และ
รมว.คลัง เปิดเผยว่า จะเร่งเสนอกฎหมายการเงินเข้าที่ประชุม ครม. โดยเร็ว คาดว่า พรบ.ธุรกิจสถาบันการเงินจะเข้า ครม. ภายในเดือนนี้
ซึ่งจะไม่คุมเพดานส่วนต่างดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ แม้ว่าที่ผ่านมาจะเสนอให้กำหนดเพดานไว้ที่ร้อยละ 5 จนทำให้กฎหมายฉบับนี้ตกไป ส่วน
พรบ.ธปท. พรบ.กลต. และ พรบ.ประกันภัย ยังอยู่ระหว่างการแก้ไขเพื่อแยกองค์กรเหล่านี้ให้เป็นอิสระจากการเมือง ซึ่งประธานบอร์ด กลต.
และผู้ว่าการ ธปท. จะมาจากการสรรหา สำหรับร่าง พรบ.ธุรกิจสถาบันการเงินจะกำหนดนิยามรายละเอียดของคำว่าธุรกิจ ธ.พาณิชย์ ธุรกิจ
บง. และธุรกิจประกันอย่างชัดเจน เพราะธุรกิจเหล่านี้ดำเนินการต่างกัน ขณะที่อำนาจการอนุมัติและเพิกถอนใบอนุญาตแก่สถาบันการเงินนั้น
อำนาจในการอนุมัติจะยังอยู่ที่ รมว.คลัง ส่วนอำนาจการเพิกถอน ผู้ว่าการ ธปท. สามารถดำเนินการได้ นอกจากนี้ กฎหมายยังกำหนดอำนาจ
ของ ธปท. ในการดูแลสถาบันการเงินตามฐานะของเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามมาตรฐานบีไอเอส จากสั่งเพิ่มทุนและควบคุมกิจการ จน ธปท.
ต้องสั่งปิดกิจการได้เมื่อกองทุนลดลงต่ำกว่าร้อยละ 3 ด้าน นางพรรณี สถาวโรดม รก.ผอ.สนง.เศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า ได้สรุปหลักเกณฑ์
การปรับมาตรฐานการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐตามมาตรฐานการกำกับดูแล ธ.พาณิชย์ของ ธปท. รวมถึงกำหนดการแยก
บัญชีการดำเนินธุรกิจตามนโยบายของรัฐและการดำเนินธุรกิจเชิงพาณิชย์เสนอต่อ รมว.คลัง แล้ว (โลกวันนี้)
4. ผู้ส่งออกเรียกร้องให้รัฐบาลและ ธปท. ดูแลค่าเงินบาทให้มากขึ้น นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็ง
ไทย เปิดเผยว่า ในเร็ว ๆ นี้ 10 สมาคมผู้ส่งออก จะทำหนังสือถึง นรม., รมว.คลัง และ ผู้ว่าการ ธปท. เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเงินบาท
ที่แข็งค่าขึ้นทำให้ผู้ส่งออกเดือดร้อน แข่งขันไม่ได้ หลังจากค่าเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องถึงระดับ 36.39 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. หรือแข็งค่าขึ้น
ร้อยละ 12 ขณะที่ค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาคแข็งค่าขึ้นเพียงร้อยละ 3-6 ซึ่งหากยังแข็งค่าต่อเนื่องจะทำให้สมาคมต่าง ๆ ต้องลดกำลังการผลิตจน
อาจต้องหยุดกิจการ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรและผู้ใช้แรงงานต้องตกงานจำนวนมาก ทั้งนี้ ข้อเรียกร้องดังกล่าวคือ ให้รัฐบาลและ ธปท. ดูแลค่า
เงินบาทให้มากขึ้น โดยใช้กลไกหาความสมดุลเพื่อให้เงินบาทอยู่ในระดับที่เหมาะสมสำหรับสินค้าส่งออก หากเงินบาทแข็งค่าขึ้นร้อยละ 1-2 ผู้ส่งออก
ยังรับได้ ขณะเดียวกันขอให้ ธปท. ผ่อนคลายมาตรการทางการเงิน ขยายเวลาถือครองเงินดอลลาร์ สรอ. ให้มากกว่า 7 วัน ลดค่าธรรมเนียม
ในการซื้อเงินบาทล่วงหน้า (สวอป) แต่หากรัฐบาลดำเนินการไม่ได้ควรจะมีมาตรการอุดหนุนเพื่อช่วยเหลือผลกระทบออกมา นอกจากนี้ อย่าให้นำ
เสนอข่าวชี้นำการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทว่าควรอยู่ระดับเท่าไร เพราะการเสนอข่าวว่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นถึง 35 บาท ทำให้ผู้ส่งออกสับสน
ในการซื้อเงินบาทล่วงหน้า ซึ่งผู้ส่งออกยืนยันว่าได้ซื้อประกันความเสี่ยงล่วงหน้ามาโดยตลอด แต่เงินบาทปัจจุบันเป็นการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ
(เดลินิวส์, มติชน, บ้านเมือง)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภค สรอ. ในเดือน ต.ค.49 ลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 0.5 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 16 พ.ย.49
ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า จากการที่ระดับราคาน้ำมันลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ต.ค.49 ลดลงมากกว่าที่
คาดการณ์ไว้โดยลดลงอยู่ที่ร้อยละ 0.5 แต่หากไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ขณะที่ ผลสำรวจของนักวิเคราะห์โดย
รอยเตอร์คาดการณ์ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะลดลงเพียงร้อยละ 0.3 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.5 ในเดือน ก.ย.49 และดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน
คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 หลังจากไม่เปลี่ยนแปลงในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ราคาน้ำมันในเดือน ก.ย.49 ลดลงถึงร้อยละ 7 และตลอดปี 49
ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันลดลงไปแล้วถึงร้อยละ 1.5 หลังจากที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17.1 ในปี 48 ที่ผ่านมา สำหรับราคาอาหารและเครื่องดื่มในเดือน
ต.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน ก.ย.49 ส่วนระดับราคาด้าน education and medical care เพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ราคาบ้านยังคงไม่เปลี่ยนแปลง อนึ่ง ตัวเลขดังกล่าวอาจสนับสนุนการคาดการณ์ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธ.กลาง
สรอ.จะคงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมไม่เปลี่ยนแปลงในการประชุมเดือนหน้า (รอยเตอร์)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของ สรอ.ในเดือน ต.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อน รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 16 พ.ย.49
ผลผลิตโรงงาน เหมือง และสาธารณูปโภคของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน ต.ค.49 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เพิ่มขึ้นในอัตราต่ำกว่าร้อยละ
0.3 ที่รอยเตอร์คาดไว้ หลังจากลดลงร้อยละ 0.6 ต่อเดือนในเดือน ก.ย.49 โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของผลผลิตด้านสาธารณูปโภคที่เพิ่มขึ้น
ถึงร้อยละ 4.1 ต่อเดือน หลังจากลดลงร้อยละ 4.6 ต่อเดือนในเดือน ก.ย.49 ในขณะที่ผลผลิตโรงงานลดลงร้อยละ 0.2 ต่อเดือน แต่หากไม่
รวมผลผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนแล้ว ผลผลิตโรงงานจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ต่อเดือน โดยผลผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนใน
เดือน ต.ค.49 ลดลงร้อยละ 3.9 ต่อเดือนหลังจากลดลงร้อยละ 1.9 ต่อเดือนในเดือน ก.ย.49 และหากเทียบต่อปีลดลงถึงร้อยละ 10.4
ต่อปีในเดือน ต.ค.49 ส่วนผลผลิตเหมืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ต่อเดือนในเดือน ก.ย.49 ทั้งนี้หากเทียบต่อปีผลผลิต
อุตสาหกรรมในเดือน ต.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ต่อปี (รอยเตอร์)
3. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองของ สรอ. ลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือน รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 49
บริษัทสินเชื่อจำนอง Freddie Mac เปิดเผยว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปีเมื่อสัปดาห์ที่แล้วอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 6.24 ลดลงจากร้อยละ
6.33 เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า และเท่ากับที่เคยอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 15 ปีอยู่ที่เฉลี่ย
ร้อยละ 5.94 ลดลงจากร้อยละ 6.04 เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองที่ปรับได้ระยะเวลา 1 ปี
(one-year adjustable rate mortgages — ARM) ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 5.53 จากร้อยละ 5.55 เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ทั้งนี้นาย
Frank Nothaft ประธานบริษัท. Freddie Mac กล่าวว่าดัชนีราคาผู้ผลิตและดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งเป็นตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่ใช้ชี้วัดภาวะ
เงินเฟ้อในเดือนต.ค.ลดลง ส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรลดลง และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองลดลงด้วย อย่างไรก็ตามคาดว่าการที่อัตราดอกเบี้ย
เงินกู้จำนองอยู่ในระดับต่ำจะทำให้ตลาดบ้านกลับมาคึกคักอีกครั้ง (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางยุโรปจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องหากเศรษฐกิจขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพและอัตราเงินเฟ้อสูงกว่า
เป้าหมายร้อยละ 2.0 รายงานจากโรม เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 49 ธ.กลางอิตาลีรายงานว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธ.กลางยุโรปยังคงอยู่
ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ แม้ว่าจะดำเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มงวดมาเป็นระยะเวลากว่าปีแล้วก็ตาม ทั้งนี้ ธ.กลางยุโรปมีแผนที่จะปรับ
เพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องหากประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้เป็นไปอย่างยั่งยืน และอัตราเงินเฟ้อสูงกว่าเป้าหมาย
เงินเฟ้อที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 2.0 ซึ่งหัวหน้าสถาบันวิจัย Ignazio Visco กล่าวว่า ตัวเลขเศรษฐกิจของยูโรโซนชี้ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3
ชะลอตัวอย่างมากและภาวะเงินเฟ้อในเดือน ต.ค. ลดลงเนื่องจากราคาน้ำมันลดลง แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงคาดการณ์การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
นโยบายของยูโรโซน โดยตลาดคาดการณ์ว่า ธ.กลางยุโรปจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายราวร้อยละ 0.25 อยู่ที่ร้อยละ 3.50 ในการประชุม
นโยบายการเงินคราวหน้าในเดือน ธ.ค. และคาดว่าจะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งในช่วงครึ่งแรกปี 50 ส่วนในช่วงครึ่งหลังปี 50
ตลาดยังคาดการณ์ในเรื่องอัตราดอกเบี้ยนโยบายแตกต่างกันเนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจโลกและอัตราเงินเฟ้อ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17 พ.ย. 49 16 พ.ย. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.482 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.3477/36.6413 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12063 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 733.14/18.98 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,650/10,750 10,700/10,800 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 54.97 56.85 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 14 พ.ย. 49 25.69*/23.84 25.69*/23.84 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. แต่งตั้ง นายการุณ กิตติสถาพร เป็นคณะกรรมการนโยบายการเงิน นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า
นายการุณ กิตติสถาพร ปลัด ก.พาณิชย์ ได้ตอบรับเป็นคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แทนนายเกริกไกร จิระแพทย์ ที่ลาออกไปรับ
ตำแหน่ง รมว.พาณิชย์ ตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค.49 โดยนายการุณ จะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ในการประชุม กนง. วันที่ 13 ธ.ค.49 ทั้งนี้ นายการุณถือ
เป็นผู้ให้ความคิดเห็นแก่ ธปท. อย่างดีมาตลอดจึงได้ทาบทามมาร่วมเป็นหนึ่งใน กนง. ปัจจุบัน กนง. มีทั้งหมด 7 คน ประกอบด้วย
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. เป็นประธาน นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน เป็นรองประธาน
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน นายอรัญ ธรรมโน อดีตปลัด ก.คลัง นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัด
ก.อุตสาหกรรม นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ นายการุณ กิตติสถาพร ปลัด
ก.พาณิชย์ เป็นกรรมการ (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
2. อัยการสูงสุดสั่งฟ้องอดีตผู้บริหาร ธ.มหานคร นายวีระชาติ ศรีบุญมา ผอ.ฝ่ายคดี ธปท. เปิดเผยความคืบหน้าในคดีการฟ้องร้อง
อดีตผู้บริหาร ธ.มหานคร ว่า ล่าสุดอัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งฟ้อง นางภคินี สุวรรณภักดี อดีตรอง กก.ผจก. ธ.มหานคร ทำให้ในคดีนี้มีผู้ถูก
ฟ้องร้องรวม 4 คน ซึ่งอัยการสูงสุดจะดำเนินการเรียกนางภคินี ให้มารายงานตัวภายในเดือน พ.ย.นี้ อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ต้องหาในคดีนี้อีก
1 คน ที่ยังไม่ได้รายงานตัวคือ นายมาโนช กาญจนฉายา อดีตประธาน กก.บริหาร ธ.มหานคร ซึ่งยังไม่สามารถติดต่อได้ ทั้งนี้ ในช่วงเวลา
ที่ผ่านมา ธปท. ร่วมกับ สนง.ปปง. อายัดทรัพย์สินบางส่วนของผู้ต้องหาบ้างแล้วและอยู่ระหว่างดำเนินการอายัดทรัพย์เพิ่มเติม อนึ่ง คดีดังกล่าว
สืบเนื่องจาก ธปท. ได้ตรวจสอบพบว่ามีอดีตผู้บริหารของ ธ.มหานคร 3 คน ประกอบด้วย นายมาโนช กาญจนฉายา ประธาน กก.บริหาร
นายอุทัย อัครพัฒนากูล อดีต กก.ผจก. และนางภคินี สุวรรณภักดี อดีต รอง กก.ผจก. ร่วมกันอนุมัติสินเชื่อกว่า 4 พันล้านบาท ให้กับลูกหนี้ใน
กลุ่มนายสุเทพ เจริญพรพานิชกุล ทำให้ธนาคารเสียหาย ซึ่งเป็นการกระทำผิดหน้าที่โดยทุจริต (มติชน)
3. ก.คลังเร่งเสนอ กม.การเงิน เลิกคุมส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม. และ
รมว.คลัง เปิดเผยว่า จะเร่งเสนอกฎหมายการเงินเข้าที่ประชุม ครม. โดยเร็ว คาดว่า พรบ.ธุรกิจสถาบันการเงินจะเข้า ครม. ภายในเดือนนี้
ซึ่งจะไม่คุมเพดานส่วนต่างดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ แม้ว่าที่ผ่านมาจะเสนอให้กำหนดเพดานไว้ที่ร้อยละ 5 จนทำให้กฎหมายฉบับนี้ตกไป ส่วน
พรบ.ธปท. พรบ.กลต. และ พรบ.ประกันภัย ยังอยู่ระหว่างการแก้ไขเพื่อแยกองค์กรเหล่านี้ให้เป็นอิสระจากการเมือง ซึ่งประธานบอร์ด กลต.
และผู้ว่าการ ธปท. จะมาจากการสรรหา สำหรับร่าง พรบ.ธุรกิจสถาบันการเงินจะกำหนดนิยามรายละเอียดของคำว่าธุรกิจ ธ.พาณิชย์ ธุรกิจ
บง. และธุรกิจประกันอย่างชัดเจน เพราะธุรกิจเหล่านี้ดำเนินการต่างกัน ขณะที่อำนาจการอนุมัติและเพิกถอนใบอนุญาตแก่สถาบันการเงินนั้น
อำนาจในการอนุมัติจะยังอยู่ที่ รมว.คลัง ส่วนอำนาจการเพิกถอน ผู้ว่าการ ธปท. สามารถดำเนินการได้ นอกจากนี้ กฎหมายยังกำหนดอำนาจ
ของ ธปท. ในการดูแลสถาบันการเงินตามฐานะของเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามมาตรฐานบีไอเอส จากสั่งเพิ่มทุนและควบคุมกิจการ จน ธปท.
ต้องสั่งปิดกิจการได้เมื่อกองทุนลดลงต่ำกว่าร้อยละ 3 ด้าน นางพรรณี สถาวโรดม รก.ผอ.สนง.เศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า ได้สรุปหลักเกณฑ์
การปรับมาตรฐานการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐตามมาตรฐานการกำกับดูแล ธ.พาณิชย์ของ ธปท. รวมถึงกำหนดการแยก
บัญชีการดำเนินธุรกิจตามนโยบายของรัฐและการดำเนินธุรกิจเชิงพาณิชย์เสนอต่อ รมว.คลัง แล้ว (โลกวันนี้)
4. ผู้ส่งออกเรียกร้องให้รัฐบาลและ ธปท. ดูแลค่าเงินบาทให้มากขึ้น นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็ง
ไทย เปิดเผยว่า ในเร็ว ๆ นี้ 10 สมาคมผู้ส่งออก จะทำหนังสือถึง นรม., รมว.คลัง และ ผู้ว่าการ ธปท. เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเงินบาท
ที่แข็งค่าขึ้นทำให้ผู้ส่งออกเดือดร้อน แข่งขันไม่ได้ หลังจากค่าเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องถึงระดับ 36.39 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. หรือแข็งค่าขึ้น
ร้อยละ 12 ขณะที่ค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาคแข็งค่าขึ้นเพียงร้อยละ 3-6 ซึ่งหากยังแข็งค่าต่อเนื่องจะทำให้สมาคมต่าง ๆ ต้องลดกำลังการผลิตจน
อาจต้องหยุดกิจการ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรและผู้ใช้แรงงานต้องตกงานจำนวนมาก ทั้งนี้ ข้อเรียกร้องดังกล่าวคือ ให้รัฐบาลและ ธปท. ดูแลค่า
เงินบาทให้มากขึ้น โดยใช้กลไกหาความสมดุลเพื่อให้เงินบาทอยู่ในระดับที่เหมาะสมสำหรับสินค้าส่งออก หากเงินบาทแข็งค่าขึ้นร้อยละ 1-2 ผู้ส่งออก
ยังรับได้ ขณะเดียวกันขอให้ ธปท. ผ่อนคลายมาตรการทางการเงิน ขยายเวลาถือครองเงินดอลลาร์ สรอ. ให้มากกว่า 7 วัน ลดค่าธรรมเนียม
ในการซื้อเงินบาทล่วงหน้า (สวอป) แต่หากรัฐบาลดำเนินการไม่ได้ควรจะมีมาตรการอุดหนุนเพื่อช่วยเหลือผลกระทบออกมา นอกจากนี้ อย่าให้นำ
เสนอข่าวชี้นำการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทว่าควรอยู่ระดับเท่าไร เพราะการเสนอข่าวว่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นถึง 35 บาท ทำให้ผู้ส่งออกสับสน
ในการซื้อเงินบาทล่วงหน้า ซึ่งผู้ส่งออกยืนยันว่าได้ซื้อประกันความเสี่ยงล่วงหน้ามาโดยตลอด แต่เงินบาทปัจจุบันเป็นการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ
(เดลินิวส์, มติชน, บ้านเมือง)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภค สรอ. ในเดือน ต.ค.49 ลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 0.5 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 16 พ.ย.49
ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า จากการที่ระดับราคาน้ำมันลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ต.ค.49 ลดลงมากกว่าที่
คาดการณ์ไว้โดยลดลงอยู่ที่ร้อยละ 0.5 แต่หากไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ขณะที่ ผลสำรวจของนักวิเคราะห์โดย
รอยเตอร์คาดการณ์ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะลดลงเพียงร้อยละ 0.3 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.5 ในเดือน ก.ย.49 และดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน
คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 หลังจากไม่เปลี่ยนแปลงในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ราคาน้ำมันในเดือน ก.ย.49 ลดลงถึงร้อยละ 7 และตลอดปี 49
ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันลดลงไปแล้วถึงร้อยละ 1.5 หลังจากที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17.1 ในปี 48 ที่ผ่านมา สำหรับราคาอาหารและเครื่องดื่มในเดือน
ต.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน ก.ย.49 ส่วนระดับราคาด้าน education and medical care เพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ราคาบ้านยังคงไม่เปลี่ยนแปลง อนึ่ง ตัวเลขดังกล่าวอาจสนับสนุนการคาดการณ์ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธ.กลาง
สรอ.จะคงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมไม่เปลี่ยนแปลงในการประชุมเดือนหน้า (รอยเตอร์)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของ สรอ.ในเดือน ต.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อน รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 16 พ.ย.49
ผลผลิตโรงงาน เหมือง และสาธารณูปโภคของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน ต.ค.49 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เพิ่มขึ้นในอัตราต่ำกว่าร้อยละ
0.3 ที่รอยเตอร์คาดไว้ หลังจากลดลงร้อยละ 0.6 ต่อเดือนในเดือน ก.ย.49 โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของผลผลิตด้านสาธารณูปโภคที่เพิ่มขึ้น
ถึงร้อยละ 4.1 ต่อเดือน หลังจากลดลงร้อยละ 4.6 ต่อเดือนในเดือน ก.ย.49 ในขณะที่ผลผลิตโรงงานลดลงร้อยละ 0.2 ต่อเดือน แต่หากไม่
รวมผลผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนแล้ว ผลผลิตโรงงานจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ต่อเดือน โดยผลผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนใน
เดือน ต.ค.49 ลดลงร้อยละ 3.9 ต่อเดือนหลังจากลดลงร้อยละ 1.9 ต่อเดือนในเดือน ก.ย.49 และหากเทียบต่อปีลดลงถึงร้อยละ 10.4
ต่อปีในเดือน ต.ค.49 ส่วนผลผลิตเหมืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ต่อเดือนในเดือน ก.ย.49 ทั้งนี้หากเทียบต่อปีผลผลิต
อุตสาหกรรมในเดือน ต.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ต่อปี (รอยเตอร์)
3. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองของ สรอ. ลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือน รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 49
บริษัทสินเชื่อจำนอง Freddie Mac เปิดเผยว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปีเมื่อสัปดาห์ที่แล้วอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 6.24 ลดลงจากร้อยละ
6.33 เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า และเท่ากับที่เคยอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 15 ปีอยู่ที่เฉลี่ย
ร้อยละ 5.94 ลดลงจากร้อยละ 6.04 เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองที่ปรับได้ระยะเวลา 1 ปี
(one-year adjustable rate mortgages — ARM) ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 5.53 จากร้อยละ 5.55 เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ทั้งนี้นาย
Frank Nothaft ประธานบริษัท. Freddie Mac กล่าวว่าดัชนีราคาผู้ผลิตและดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งเป็นตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่ใช้ชี้วัดภาวะ
เงินเฟ้อในเดือนต.ค.ลดลง ส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรลดลง และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองลดลงด้วย อย่างไรก็ตามคาดว่าการที่อัตราดอกเบี้ย
เงินกู้จำนองอยู่ในระดับต่ำจะทำให้ตลาดบ้านกลับมาคึกคักอีกครั้ง (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางยุโรปจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องหากเศรษฐกิจขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพและอัตราเงินเฟ้อสูงกว่า
เป้าหมายร้อยละ 2.0 รายงานจากโรม เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 49 ธ.กลางอิตาลีรายงานว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธ.กลางยุโรปยังคงอยู่
ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ แม้ว่าจะดำเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มงวดมาเป็นระยะเวลากว่าปีแล้วก็ตาม ทั้งนี้ ธ.กลางยุโรปมีแผนที่จะปรับ
เพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องหากประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้เป็นไปอย่างยั่งยืน และอัตราเงินเฟ้อสูงกว่าเป้าหมาย
เงินเฟ้อที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 2.0 ซึ่งหัวหน้าสถาบันวิจัย Ignazio Visco กล่าวว่า ตัวเลขเศรษฐกิจของยูโรโซนชี้ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3
ชะลอตัวอย่างมากและภาวะเงินเฟ้อในเดือน ต.ค. ลดลงเนื่องจากราคาน้ำมันลดลง แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงคาดการณ์การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
นโยบายของยูโรโซน โดยตลาดคาดการณ์ว่า ธ.กลางยุโรปจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายราวร้อยละ 0.25 อยู่ที่ร้อยละ 3.50 ในการประชุม
นโยบายการเงินคราวหน้าในเดือน ธ.ค. และคาดว่าจะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งในช่วงครึ่งแรกปี 50 ส่วนในช่วงครึ่งหลังปี 50
ตลาดยังคาดการณ์ในเรื่องอัตราดอกเบี้ยนโยบายแตกต่างกันเนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจโลกและอัตราเงินเฟ้อ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17 พ.ย. 49 16 พ.ย. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.482 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.3477/36.6413 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12063 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 733.14/18.98 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,650/10,750 10,700/10,800 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 54.97 56.85 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 14 พ.ย. 49 25.69*/23.84 25.69*/23.84 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--