คุณถาม: ประเทศใดมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเข้าไปทำธุรกิจมากที่สุดในโลก
EXIM ตอบ: ธนาคารโลก (World Bank) ได้สรุปผลการสำรวจสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเข้าไปทำธุรกิจของประเทศต่างๆไว้ ในรายงานเรื่อง "Doing Business in 2006 Creating Jobs" ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อประเมินโอกาสและศักยภาพในการเข้าไปลงทุนของแต่ละประเทศ โดยจะพิจารณาในแง่ของกฎระเบียบของภาครัฐที่เกี่ยวกับการลงทุน
สำหรับประเทศที่ได้รับการจัดอันดับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเข้าไปทำธุรกิจในปี 2549 ในรายงานฉบับนี้มี 155 ประเทศ โดยใช้ดัชนีและข้อมูลทำการวิเคราะห์ดังนี้
- ดัชนีที่ใช้วัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเข้าไปทำธุรกิจ คำนวณจาก 10 ปัจจัย ได้แก่ การจัดตั้งธุรกิจ การสร้างคลังสินค้า ความยืดหยุ่นของกฎหมายแรงงาน การจดทะเบียนทรัพย์สิน ข้อมูลเครดิตและกฎหมายล้มละลาย มาตรการปกป้องผู้ถือหุ้นรายย่อย ระบบภาษี มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ การบังคับใช้สัญญาทางธุรกิจ และการปิดกิจการของธุรกิจ
- ข้อมูลที่ใช้ในการประเมิน มาจาก 2 แหล่ง คือ การรวบรวมข้อมูลสถิติและกฎหมายต่างๆ ที่มีผลบังคับใช้ในขณะนั้น และการสำรวจความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขาของแต่ละประเทศ
สำหรับผลการสำรวจสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเข้าไปทำธุรกิจมากที่สุดคือ นิวซีแลนด์ เนื่องจากมีขั้นตอนการจัดตั้งธุรกิจที่สะดวกและรวดเร็วโดยใช้เวลาเฉลี่ยราว 12 วัน อีกทั้งกฎหมายแรงงานยังมีความยืดหยุ่นสูง นอกจากนี้ยังมีมาตรการคุ้มครองนักลงทุนต่างชาติสูง รองลงมาได้แก่ สิงคโปร์ สหรัฐฯ แคนาดา นอร์เวย์ ออสเตรเลีย ฮ่องกง เดนมาร์ก สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น ตามลำดับ
- ประเทศที่ได้รับการจัดอันดับว่ามีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเข้าไปทำธุรกิจน้อยที่สุดคือ คองโก เนื่องจากขั้นตอนในการจั้ดตั้งธุรกิจซับซ้อนและใช้เวลาเฉลี่ยสูงราว 155 วัน นอกจากนี้ยังมีระบบกฎหมายต่างๆที่ไม่ทันสมัย รองลงมาได้แก่ สาธารณรัฐแอฟริกากลาง ชาด และซูดาน ตามลำดับ
- ประเทศในแถบยุโรปมีความก้าวหน้าในการปฎิรูปเศรษฐกิจมากที่สุด ขณะที่ประเทศในแถบแอฟริกามีการปฏิรูปเศรษฐกิจช้าที่สุดและมีกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนมากที่สุด สำหรับประเทศในแถบเอเชียนั้นแม้ว่าหลายประเทศจะมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงแต่บางประเทศ อาทิจีน ไต้หวัน และสปป.ลาว เป็นต้น ยังขาดความพร้อมในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
- ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสภาพแวด้อมที่เอื้อต่อการทำธุรกิจเป็นอันดับที่ 20 เนื่องจากกระบวนการจัดตั้งธุรกิจในไทยยังมีความซับซ้อนและใช้เวลาเฉลี่ยราว 33 วัน นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ของภาครัฐยังขาดความชำนาญในการติดต่อสื่อสารกาษาอังกฤษ
อย่างไรก็ตามยังมีประเด็นอื่นๆ ที่นักลงทุนหรือนักธุรกิจควรใช้ประกอบการพิจารณาก่อนที่จะเข้าไปลงทุนในประเทศต่างๆ ซึ่งในรายงานฉบับนี้ไม่ได้นำมาพิจารณา อาทิ ภาวะเศรษฐกิจ ความพร้อมของระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ทำเลที่ตั้งของประเทศที่จะเอื้อต่อการกระจายสินค้าไปยังประเทศใกล้เคียง อัตราค่าจ้าง แรงงาน และค่าเช่าที่ดิน เป็นต้น
คุณถาม: ทราบมาว่ารัฐบาลจีนกำลังมุ่งพัฒนามณฑลทางตะวันตก จึงอยากทราบจุดเด่นของแต่ละมณฑลเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการทำธุรกิจ
EXIM ตอบ: มณฑลทางตะวันตกของจีนมีหลายมณฑลที่น่าสนใจ สำหรับผู้ประกอบการไทยในการเข้าไปเจาะและขยายสินค้าส่งออก แต่มณฑลที่รัฐบาลจีนให้ความสำคัญอันดับต้นๆ ในฐานะกลไกผลักดันการพัฒนาพื้นที่ด้านตะวันตกและเป็นมณฑลที่มีศักยภาพในการรับรองสินค้าส่งออกของไทยที่สำคัญ ได้แก่
- มหานครฉงชิ่ง (Chongqing) เป็นมณฑลที่รัฐบาลจีนมุ่งพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางความเจริญภาคตะวันตก มีความโดเด่นด้านอุตสาหกรรมหนักโดยเฉพาะการเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์และจักรยานยนต์ ซึ่งนับเป็นโอกาสของผู้ส่งออกไทยในการส่งออกชิ้นส่วนและวัตถุดิบเพื่อป้อนอุตสาหกรรมดังกล่าว
- เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ (Xinjiang Uygur) มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และมีผลผลิตทางการเกษตรมาก จึงเหมาะในการทำธุรกิจแปรรูปสินค้าเกษตร สำหรับผู้ที่สนใจส่งออกสินค้ามายังตลาดนี้ควรเริ่มกระจายสินค้าจากเมืองหลวง คือ อุรุมชี (Urumqi) ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่เพื่อทดลองตลาดก่อนเข้าสู่ท้องถิ่นอื่นๆ โดยใช้กลยุทธ์การตลาดแบบเข้าถึงตัวเนื่องจากตลาดสินค้าในซินเจียงอุยกูร์ยังขยายตัวไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม เขตการปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์จะมีงานแสดงสินค้าที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีได้แก่ The Urumqi Foreign Economic Relations and Trade Fair
- มณฑลยูนนาน (Yunnan) มีพรมแดนอยู่ใกล้กับไทยมากที่สุดด้าน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย จึงเป็นมณฑลสำคัญในการเชื่อมโยงไทยกับมณฑลอื่นๆ ทางตะวันตกของจีน มณฑลยูนนานเป็นมณฑลที่น่าสนใจสำหรับผู้ส่งออกไทยเนื่องจากประชากรมีกำลังซื้อค่อนข้างสูงโดยเฉพาะในเมืองหลวง คือ นครคุนหมิง (Kunming) อีกทั้งมีประเพณีและรสนิยมที่คล้ายคลึงกับไทยทำให้สินค้าไทยเป็นที่นิยม นอกจากนี้ ยังมีความโดเด่นด้านการท่องเที่ยวซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของมณฑล จึงเป็นโอกาสของไทยในการเชื่อมโยงธุรกิจด้านการท่องเที่ยวกับจีน อย่างไรก็ตามมณฑลยูนนานจะมีงานแสดงสินค้าสำคัญที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ได้แก่ China Kunming Export Commodities Fair (KUNMINGFAIR)
- มณฑลเสฉวน (Sichuan) เป็นมณฑลที่มีความมั่งคั่งและเป็นตลาดสินค้าและบริการขนาดใหญ่ที่สุดทางตะวันตกของจีนเนื่องจากประชากรมีรายได้สูงโดยเฉพาะในเมืองหลวง คือ นครเฉิงตู (Chengdu) สินค้าที่มีลู่ทางดีในตลาดเสฉวนได้แก่ สินค้าอาหารและธุรกิจร้านอาหาร เนื่องจากชาวเสฉวนนิยมบริโภคอาหารไทยมาก ประกอบกับกำลังซื้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะที่การแข่งขันยังไม่รุนแรงเท่ามณฑลทางชายฝั่งด้านตะวันออก อย่างไรก็ตาม มณฑลเสฉวนจะมีการจัดงานแสดงสินค้าที่ถือว่าสำคัญที่สุดในมณฑลทางตะวันตกของจีน ได่แก่ Western China International Economy-Trade Fair ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีที่นครเฉิงตู โดยงานครั้งต่อไปกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-28 พฤษภาคม 2549
ทั้งนี้ การเจาะตลาดควรพิจารณาแยกส่วนเป็นรายมณฑลเนื่องจากแต่ละมณฑลมีขนาดใหญ่ ทำให้มีความแตกต่างทั้งด้านรายได้และรสนิยมของผู้บริโภค
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤษภาคม 2549--
-วส/พห-
EXIM ตอบ: ธนาคารโลก (World Bank) ได้สรุปผลการสำรวจสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเข้าไปทำธุรกิจของประเทศต่างๆไว้ ในรายงานเรื่อง "Doing Business in 2006 Creating Jobs" ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อประเมินโอกาสและศักยภาพในการเข้าไปลงทุนของแต่ละประเทศ โดยจะพิจารณาในแง่ของกฎระเบียบของภาครัฐที่เกี่ยวกับการลงทุน
สำหรับประเทศที่ได้รับการจัดอันดับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเข้าไปทำธุรกิจในปี 2549 ในรายงานฉบับนี้มี 155 ประเทศ โดยใช้ดัชนีและข้อมูลทำการวิเคราะห์ดังนี้
- ดัชนีที่ใช้วัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเข้าไปทำธุรกิจ คำนวณจาก 10 ปัจจัย ได้แก่ การจัดตั้งธุรกิจ การสร้างคลังสินค้า ความยืดหยุ่นของกฎหมายแรงงาน การจดทะเบียนทรัพย์สิน ข้อมูลเครดิตและกฎหมายล้มละลาย มาตรการปกป้องผู้ถือหุ้นรายย่อย ระบบภาษี มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ การบังคับใช้สัญญาทางธุรกิจ และการปิดกิจการของธุรกิจ
- ข้อมูลที่ใช้ในการประเมิน มาจาก 2 แหล่ง คือ การรวบรวมข้อมูลสถิติและกฎหมายต่างๆ ที่มีผลบังคับใช้ในขณะนั้น และการสำรวจความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขาของแต่ละประเทศ
สำหรับผลการสำรวจสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเข้าไปทำธุรกิจมากที่สุดคือ นิวซีแลนด์ เนื่องจากมีขั้นตอนการจัดตั้งธุรกิจที่สะดวกและรวดเร็วโดยใช้เวลาเฉลี่ยราว 12 วัน อีกทั้งกฎหมายแรงงานยังมีความยืดหยุ่นสูง นอกจากนี้ยังมีมาตรการคุ้มครองนักลงทุนต่างชาติสูง รองลงมาได้แก่ สิงคโปร์ สหรัฐฯ แคนาดา นอร์เวย์ ออสเตรเลีย ฮ่องกง เดนมาร์ก สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น ตามลำดับ
- ประเทศที่ได้รับการจัดอันดับว่ามีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเข้าไปทำธุรกิจน้อยที่สุดคือ คองโก เนื่องจากขั้นตอนในการจั้ดตั้งธุรกิจซับซ้อนและใช้เวลาเฉลี่ยสูงราว 155 วัน นอกจากนี้ยังมีระบบกฎหมายต่างๆที่ไม่ทันสมัย รองลงมาได้แก่ สาธารณรัฐแอฟริกากลาง ชาด และซูดาน ตามลำดับ
- ประเทศในแถบยุโรปมีความก้าวหน้าในการปฎิรูปเศรษฐกิจมากที่สุด ขณะที่ประเทศในแถบแอฟริกามีการปฏิรูปเศรษฐกิจช้าที่สุดและมีกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนมากที่สุด สำหรับประเทศในแถบเอเชียนั้นแม้ว่าหลายประเทศจะมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงแต่บางประเทศ อาทิจีน ไต้หวัน และสปป.ลาว เป็นต้น ยังขาดความพร้อมในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
- ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสภาพแวด้อมที่เอื้อต่อการทำธุรกิจเป็นอันดับที่ 20 เนื่องจากกระบวนการจัดตั้งธุรกิจในไทยยังมีความซับซ้อนและใช้เวลาเฉลี่ยราว 33 วัน นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ของภาครัฐยังขาดความชำนาญในการติดต่อสื่อสารกาษาอังกฤษ
อย่างไรก็ตามยังมีประเด็นอื่นๆ ที่นักลงทุนหรือนักธุรกิจควรใช้ประกอบการพิจารณาก่อนที่จะเข้าไปลงทุนในประเทศต่างๆ ซึ่งในรายงานฉบับนี้ไม่ได้นำมาพิจารณา อาทิ ภาวะเศรษฐกิจ ความพร้อมของระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ทำเลที่ตั้งของประเทศที่จะเอื้อต่อการกระจายสินค้าไปยังประเทศใกล้เคียง อัตราค่าจ้าง แรงงาน และค่าเช่าที่ดิน เป็นต้น
คุณถาม: ทราบมาว่ารัฐบาลจีนกำลังมุ่งพัฒนามณฑลทางตะวันตก จึงอยากทราบจุดเด่นของแต่ละมณฑลเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการทำธุรกิจ
EXIM ตอบ: มณฑลทางตะวันตกของจีนมีหลายมณฑลที่น่าสนใจ สำหรับผู้ประกอบการไทยในการเข้าไปเจาะและขยายสินค้าส่งออก แต่มณฑลที่รัฐบาลจีนให้ความสำคัญอันดับต้นๆ ในฐานะกลไกผลักดันการพัฒนาพื้นที่ด้านตะวันตกและเป็นมณฑลที่มีศักยภาพในการรับรองสินค้าส่งออกของไทยที่สำคัญ ได้แก่
- มหานครฉงชิ่ง (Chongqing) เป็นมณฑลที่รัฐบาลจีนมุ่งพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางความเจริญภาคตะวันตก มีความโดเด่นด้านอุตสาหกรรมหนักโดยเฉพาะการเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์และจักรยานยนต์ ซึ่งนับเป็นโอกาสของผู้ส่งออกไทยในการส่งออกชิ้นส่วนและวัตถุดิบเพื่อป้อนอุตสาหกรรมดังกล่าว
- เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ (Xinjiang Uygur) มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และมีผลผลิตทางการเกษตรมาก จึงเหมาะในการทำธุรกิจแปรรูปสินค้าเกษตร สำหรับผู้ที่สนใจส่งออกสินค้ามายังตลาดนี้ควรเริ่มกระจายสินค้าจากเมืองหลวง คือ อุรุมชี (Urumqi) ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่เพื่อทดลองตลาดก่อนเข้าสู่ท้องถิ่นอื่นๆ โดยใช้กลยุทธ์การตลาดแบบเข้าถึงตัวเนื่องจากตลาดสินค้าในซินเจียงอุยกูร์ยังขยายตัวไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม เขตการปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์จะมีงานแสดงสินค้าที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีได้แก่ The Urumqi Foreign Economic Relations and Trade Fair
- มณฑลยูนนาน (Yunnan) มีพรมแดนอยู่ใกล้กับไทยมากที่สุดด้าน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย จึงเป็นมณฑลสำคัญในการเชื่อมโยงไทยกับมณฑลอื่นๆ ทางตะวันตกของจีน มณฑลยูนนานเป็นมณฑลที่น่าสนใจสำหรับผู้ส่งออกไทยเนื่องจากประชากรมีกำลังซื้อค่อนข้างสูงโดยเฉพาะในเมืองหลวง คือ นครคุนหมิง (Kunming) อีกทั้งมีประเพณีและรสนิยมที่คล้ายคลึงกับไทยทำให้สินค้าไทยเป็นที่นิยม นอกจากนี้ ยังมีความโดเด่นด้านการท่องเที่ยวซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของมณฑล จึงเป็นโอกาสของไทยในการเชื่อมโยงธุรกิจด้านการท่องเที่ยวกับจีน อย่างไรก็ตามมณฑลยูนนานจะมีงานแสดงสินค้าสำคัญที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ได้แก่ China Kunming Export Commodities Fair (KUNMINGFAIR)
- มณฑลเสฉวน (Sichuan) เป็นมณฑลที่มีความมั่งคั่งและเป็นตลาดสินค้าและบริการขนาดใหญ่ที่สุดทางตะวันตกของจีนเนื่องจากประชากรมีรายได้สูงโดยเฉพาะในเมืองหลวง คือ นครเฉิงตู (Chengdu) สินค้าที่มีลู่ทางดีในตลาดเสฉวนได้แก่ สินค้าอาหารและธุรกิจร้านอาหาร เนื่องจากชาวเสฉวนนิยมบริโภคอาหารไทยมาก ประกอบกับกำลังซื้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะที่การแข่งขันยังไม่รุนแรงเท่ามณฑลทางชายฝั่งด้านตะวันออก อย่างไรก็ตาม มณฑลเสฉวนจะมีการจัดงานแสดงสินค้าที่ถือว่าสำคัญที่สุดในมณฑลทางตะวันตกของจีน ได่แก่ Western China International Economy-Trade Fair ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีที่นครเฉิงตู โดยงานครั้งต่อไปกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-28 พฤษภาคม 2549
ทั้งนี้ การเจาะตลาดควรพิจารณาแยกส่วนเป็นรายมณฑลเนื่องจากแต่ละมณฑลมีขนาดใหญ่ ทำให้มีความแตกต่างทั้งด้านรายได้และรสนิยมของผู้บริโภค
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤษภาคม 2549--
-วส/พห-