กรุงเทพ--6 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2549 นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยผู้สื่อข่าวทางโทรศัพท์ถึงผลการประชุมระดับรัฐมนตรีของกลุ่มยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง และการประชุมระหว่างรัฐมนตรีกลุ่มยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขงกับประเทศหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา ณ เมืองปากเซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวระหว่างวันที่ 3-4 กรกฎาคม 2549 โดยสรุปดังนี้
1.รัฐมนตรีต่างประเทศเผยถึงความคืบหน้าในการพัฒนาและความร่วมมือระหว่างกันของประเทศในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ACMECS ซึ่งเป็นความริเริ่มของประเทศไทยที่มุ่งหวังให้สามารถลดช่องว่างในการพัฒนาระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
2.ไทยเน้นการให้ ACMECS มีความร่วมมืออย่างเข้มแข็งด้านสาธารณสุข โดยที่พม่าได้กล่าวชมเชยที่ไทยที่ให้ความช่วยเหลือด้านการป้องกันและปราบปรามไข้หวัดนก โดยก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรีไทยได้ประกาศให้เงินทุน 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับโครงการความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิก ACMECS ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวต่อไปอีกว่าประเทศไทยพร้อมที่จะให้ความร่วมมือทางวิทยาการเพื่อป้องกันโรคมาเลเลีย ไข้เลือดออกและ AIDS ทั้งนี้การช่วยเหลือดังกล่าว นอกจากจะเป็นการกระชับสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากเป็นเรื่องไม่สามารถแก้ไขได้โดยลำพัง แต่ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งยังเป็นการป้องกันไม่ให้โรคติดต่อแพร่เข้าสู่ประเทศไทยอีกทางหนึ่งด้วย
3.ดร. กันตธีร์ฯ เผยถึงความร่วมมือด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ได้มีความร่วมมือระหว่างไทย-ฝรั่งเศส-ลาว ในการก่อสร้างทางรถไฟเส้นทางเชื่อมระหว่าง หนองคาย —เวียงจันทน์ รัฐมนตรีต่างประเทศยังเผยต่อไปอีกว่าไทยได้ร่วมมือกับญี่ปุ่นที่จะปรับปรุงพัฒนาสนามบินสะหวันเขต ประเทศลาว นอกจากนั้นที่ประชุมยังเห็นพ้องที่จะต้องเร่งดำเนินโครงการที่มีอยู่แล้วให้เสร็จก่อนที่จะเริ่มพิจารณาโครงการใหม่ ๆ
4.รัฐมนตรีต่างประเทศเปิดเผยว่าไทยได้รับคำชมเชยจากประเทศในกรอบความร่วมมือฯ และประเทศหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาถึงการทำงานของประเทศ โดยที่ส่วนมากการช่วยเหลือของไทยจะเป็นในลักษณะ Trilateral ร่วมกับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา
5.ในเรื่องความร่วมมือทางด้านการเกษตร ที่ประชุมได้หารือถึงเรื่องการปลูกพืชทดแทนเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน และแทนพืชที่สามารถผลิตเป็นยาเสพติด ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในการปลูกพืชทดแทนนั้น อาจเป็นลักษณะ Contract Farming ดร.กันตธีร์ฯ กล่าวว่าโครงการแม่ฟ้าหลวงของไทย ได้ถูกยกเป็นตัวอย่างของการปลูกพืชผลทางการเกษตรที่มีคุณภาพ ที่สามารถเพิ่มมูลค่าเพิ่มของสินค้า และสามารถสร้าง Brand ที่เป็นที่ยอมรับของตลาด เช่น การปลูกกาแฟ โดยที่ปัจจุบันมีประเทศหลายประเทศให้ความสนใจที่จะเรียนรู้เช่นประเทศอัฟกานิสถาน โคลัมเบีย เปรู ฯลฯ
6.ในด้านการศึกษา รัฐมนตรีต่างประเทศเผยว่าในปัจจุบันไทยมีมหาวิทยาลัยที่สอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดหลายแห่ง ซึ่งประชาชนในประเทศเพื่อนบ้านสามารถเข้ามารับการศึกษาได้ที่ประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยและเพื่อนบ้านในระดับประชาชน สู่ ประชาชน ดร.กันตธีร์เผยต่อว่า ไทยได้มีทุนสนับสนุนจำนวนกว่า 30 ทุนสำหรับนักเรียนจากประเทศเพื่อนบ้านที่สนใจเข้ามาศึกษาในไทย นอกจากนั้นธนาคารโลกก็ให้ความสนใจที่จะเข้ามาสนับสนุนเรื่องการศึกษาด้วย
7.ดร.กันตธีร์ฯ กล่าวว่าไทยได้เสนอให้มีการจัดประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officals Meeting: SOM) พิเศษขึ้นทุกปี สำหรับประเทศในกรอบความร่วมมือฯและประเทศหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา ทั้งนี้เพื่อต้องการให้เกิดการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม
8.ดร. กันตธีร์ฯ เปิดเผยว่า ไทยได้ขอให้ทุก ๆ ประเทศให้ความสำคัญต่อการประสานงานระหว่างหน่วยงานราชการภายในอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การดำเนินโครงการต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก และขอความร่วมมือให้หน่วยงานต่าง ๆ ให้ความสำคัญต่อการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับกรอบความร่วมมือ ACMECS ในหมู่ประชาชนของประเทศสมาชิก โดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์โครงการความร่วมมือในกรอบ ACMECS ผ่านเวบไซด์ของหน่วยงานเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลสะดวกขึ้น
9.ต่อข้อซักถามของผู้สื่อข่าวกรณีความล่าช้าเรื่อง Single Visa ระหว่างไทยและกัมพูชานั้น รัฐมนตรีต่างประเทศกล่าวว่าในปัจจุบันไทยและกัมพูชาเร่งดำเนินงานให้สำเร็จลุล่วงโดยเร็วที่สุด โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการเร่งพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงว่าด้วยการตรวจลงตราร่วมกัน โดยที่อาจจะมีการประชุมระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงอีกครั้ง รัฐมนตรีต่างประเทศยังได้ตอบข้อซักถามของผู้สื่อข่าวถึงบทบาทของเวียดนามว่า เวียดนามได้แสดงบทบาททั้งเป็นประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือและประเทศผู้รับความช่วยเหลือ และในส่วนของคำถามเรื่องพื้นที่เป้าหมายของการปลูกพืชทดแทนในระบบ Contract Farming นั้น ดร.กันตธีร์เผยว่า ไม่ได้มีการระบุเจาะจงว่าประเทศใดเป็นประเทศเป้าหมาย แต่หากประเทศใดแสดงความสนใจก็สามารถปลูกพืชได้ โดยที่ในปัจจุบันได้มีโครงการปลูกยางพาราในกัมพูชา ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่างไทย-ฝรั่งเศส-กัมพูชา
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2549 นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยผู้สื่อข่าวทางโทรศัพท์ถึงผลการประชุมระดับรัฐมนตรีของกลุ่มยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง และการประชุมระหว่างรัฐมนตรีกลุ่มยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขงกับประเทศหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา ณ เมืองปากเซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวระหว่างวันที่ 3-4 กรกฎาคม 2549 โดยสรุปดังนี้
1.รัฐมนตรีต่างประเทศเผยถึงความคืบหน้าในการพัฒนาและความร่วมมือระหว่างกันของประเทศในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ACMECS ซึ่งเป็นความริเริ่มของประเทศไทยที่มุ่งหวังให้สามารถลดช่องว่างในการพัฒนาระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
2.ไทยเน้นการให้ ACMECS มีความร่วมมืออย่างเข้มแข็งด้านสาธารณสุข โดยที่พม่าได้กล่าวชมเชยที่ไทยที่ให้ความช่วยเหลือด้านการป้องกันและปราบปรามไข้หวัดนก โดยก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรีไทยได้ประกาศให้เงินทุน 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับโครงการความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิก ACMECS ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวต่อไปอีกว่าประเทศไทยพร้อมที่จะให้ความร่วมมือทางวิทยาการเพื่อป้องกันโรคมาเลเลีย ไข้เลือดออกและ AIDS ทั้งนี้การช่วยเหลือดังกล่าว นอกจากจะเป็นการกระชับสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากเป็นเรื่องไม่สามารถแก้ไขได้โดยลำพัง แต่ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งยังเป็นการป้องกันไม่ให้โรคติดต่อแพร่เข้าสู่ประเทศไทยอีกทางหนึ่งด้วย
3.ดร. กันตธีร์ฯ เผยถึงความร่วมมือด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ได้มีความร่วมมือระหว่างไทย-ฝรั่งเศส-ลาว ในการก่อสร้างทางรถไฟเส้นทางเชื่อมระหว่าง หนองคาย —เวียงจันทน์ รัฐมนตรีต่างประเทศยังเผยต่อไปอีกว่าไทยได้ร่วมมือกับญี่ปุ่นที่จะปรับปรุงพัฒนาสนามบินสะหวันเขต ประเทศลาว นอกจากนั้นที่ประชุมยังเห็นพ้องที่จะต้องเร่งดำเนินโครงการที่มีอยู่แล้วให้เสร็จก่อนที่จะเริ่มพิจารณาโครงการใหม่ ๆ
4.รัฐมนตรีต่างประเทศเปิดเผยว่าไทยได้รับคำชมเชยจากประเทศในกรอบความร่วมมือฯ และประเทศหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาถึงการทำงานของประเทศ โดยที่ส่วนมากการช่วยเหลือของไทยจะเป็นในลักษณะ Trilateral ร่วมกับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา
5.ในเรื่องความร่วมมือทางด้านการเกษตร ที่ประชุมได้หารือถึงเรื่องการปลูกพืชทดแทนเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน และแทนพืชที่สามารถผลิตเป็นยาเสพติด ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในการปลูกพืชทดแทนนั้น อาจเป็นลักษณะ Contract Farming ดร.กันตธีร์ฯ กล่าวว่าโครงการแม่ฟ้าหลวงของไทย ได้ถูกยกเป็นตัวอย่างของการปลูกพืชผลทางการเกษตรที่มีคุณภาพ ที่สามารถเพิ่มมูลค่าเพิ่มของสินค้า และสามารถสร้าง Brand ที่เป็นที่ยอมรับของตลาด เช่น การปลูกกาแฟ โดยที่ปัจจุบันมีประเทศหลายประเทศให้ความสนใจที่จะเรียนรู้เช่นประเทศอัฟกานิสถาน โคลัมเบีย เปรู ฯลฯ
6.ในด้านการศึกษา รัฐมนตรีต่างประเทศเผยว่าในปัจจุบันไทยมีมหาวิทยาลัยที่สอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดหลายแห่ง ซึ่งประชาชนในประเทศเพื่อนบ้านสามารถเข้ามารับการศึกษาได้ที่ประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยและเพื่อนบ้านในระดับประชาชน สู่ ประชาชน ดร.กันตธีร์เผยต่อว่า ไทยได้มีทุนสนับสนุนจำนวนกว่า 30 ทุนสำหรับนักเรียนจากประเทศเพื่อนบ้านที่สนใจเข้ามาศึกษาในไทย นอกจากนั้นธนาคารโลกก็ให้ความสนใจที่จะเข้ามาสนับสนุนเรื่องการศึกษาด้วย
7.ดร.กันตธีร์ฯ กล่าวว่าไทยได้เสนอให้มีการจัดประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officals Meeting: SOM) พิเศษขึ้นทุกปี สำหรับประเทศในกรอบความร่วมมือฯและประเทศหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา ทั้งนี้เพื่อต้องการให้เกิดการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม
8.ดร. กันตธีร์ฯ เปิดเผยว่า ไทยได้ขอให้ทุก ๆ ประเทศให้ความสำคัญต่อการประสานงานระหว่างหน่วยงานราชการภายในอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การดำเนินโครงการต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก และขอความร่วมมือให้หน่วยงานต่าง ๆ ให้ความสำคัญต่อการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับกรอบความร่วมมือ ACMECS ในหมู่ประชาชนของประเทศสมาชิก โดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์โครงการความร่วมมือในกรอบ ACMECS ผ่านเวบไซด์ของหน่วยงานเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลสะดวกขึ้น
9.ต่อข้อซักถามของผู้สื่อข่าวกรณีความล่าช้าเรื่อง Single Visa ระหว่างไทยและกัมพูชานั้น รัฐมนตรีต่างประเทศกล่าวว่าในปัจจุบันไทยและกัมพูชาเร่งดำเนินงานให้สำเร็จลุล่วงโดยเร็วที่สุด โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการเร่งพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงว่าด้วยการตรวจลงตราร่วมกัน โดยที่อาจจะมีการประชุมระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงอีกครั้ง รัฐมนตรีต่างประเทศยังได้ตอบข้อซักถามของผู้สื่อข่าวถึงบทบาทของเวียดนามว่า เวียดนามได้แสดงบทบาททั้งเป็นประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือและประเทศผู้รับความช่วยเหลือ และในส่วนของคำถามเรื่องพื้นที่เป้าหมายของการปลูกพืชทดแทนในระบบ Contract Farming นั้น ดร.กันตธีร์เผยว่า ไม่ได้มีการระบุเจาะจงว่าประเทศใดเป็นประเทศเป้าหมาย แต่หากประเทศใดแสดงความสนใจก็สามารถปลูกพืชได้ โดยที่ในปัจจุบันได้มีโครงการปลูกยางพาราในกัมพูชา ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่างไทย-ฝรั่งเศส-กัมพูชา
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-