พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าประชาธิปก ศักดิเดชน์ ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ กับสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระประสูติกาลเมื่อวันพุธที่ ๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๓๖
ตลอดรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีระยะเวลาเพียง ๑๐ ปี และต้องประสบกับอุปสรรคต่าง ๆ นานับประการ เนื่องจากบ้านเมืองอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แต่ด้วยพระปรีชาสามารถ และพระราชอัธยาศัยอันล้นเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ประเทศชาติจึงยังคงพัฒนามาได้ในทุกด้าน รวมทั้งยังคงเสถียรภาพไว้ได้อย่างมั่นคง โดยเฉพาะ ในด้านการเมืองการปกครอง พระองค์ทรงได้พัฒนาสถาบันการเมืองที่สืบทอดมาจากรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่
อภิรัฐมนตรีสภา ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๓๕ ในรัชสมัยของรัชกาลที่ ๕ โดยทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกที่ปรึกษาราชการแผ่นดินหรือเคาร์ซิลออฟสเตท และตราพระราชบัญญัติรัตนโกสินทรศก ๑๑๓ ขึ้นแทน จึงมีรัฐมนตรีสภาเกิดขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้ ทำหน้าที่พิจารณาปรึกษากฎหมายต่าง ๆ ตามที่ได้รับพระบรมราชโองการ รัฐมนตรีแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มแรก ได้แก่เสนาบดีหรือผู้แทน กลุ่มที่ ๒ คือ ผู้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งขึ้น
เสนาบดีสภา เกิดขึ้นจากการประชุมปรึกษาราชการของเสนาบดีเจ้ากระทรวงต่าง ๆ โดยมีพระมหากษัตริย์ประทับทรงเป็นประธาน เพื่อพระราชทานคำแนะนำและพระบรมราชวินิจฉัย ในที่สุด การประชุมไม่มีกำหนดแน่นอน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปรับปรุงให้เสนาบดีสภามีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยให้มีระเบียบวาระการประชุม มีการลงมติและรายงาน การประชุมทุกครั้ง มีกำหนดวันประชุมที่แน่นอนทุกสัปดาห์ และเปลี่ยนจากสภาที่ปรึกษาและ สภาบริหาร มาเป็นสภาบริหารอย่างเดียว เรื่องที่เสนาบดีเจ้ากระทรวงเสนอให้นำเข้าพิจารณา ในที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภาก่อน แล้วนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมเสนาบดีสภา จากนั้น เมื่อนำขึ้น ทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยเป็นที่สุดแล้วจึงให้เสนาบดีเจ้าของเรื่องรับไปดำเนินการต่อไป
องคมนตรี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริให้ปรับปรุงองคมนตรี เป็นสถาบันทางการเมืองการปกครองที่มีประโยชน์ต่อราชการอย่างแท้จริง โดยมีการ ตรากฎหมายซึ่งเรียกว่า "พระราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช ๒๔๗๐" ขึ้น และยังได้กำหนด ให้มีสภากรรมการองคมนตรีขึ้นเป็นครั้งแรกด้วย ซึ่งประกอบด้วยกรรมการ ๔๐ คน และกรรมการ อยู่ในตำแหน่งคราวละ ๓ ปี มีหน้าที่ประชุมพิจารณากฎหมายหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ตามแต่จะ
โปรดเกล้าฯ พระราชทาน รวมทั้งทำหน้าที่ถวายความเห็นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของ ประเทศชาติและประชาชน ซึ่งสภากรรมการองคมนตรีนี้มีลักษณะการดำเนินการประชุม การลงมติ และหลักการต่าง ๆ คล้ายรัฐสภาในระบอบประชาธิปไตย
และถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย พระองค์ก็ยังคงทรงบำรุงพระราชกรณียกิจด้านการเมือง การปกครองให้เกิดความเจริญก้าวหน้าแก่ประเทศชาติได้ตลอดรัชสมัย
ในโอกาสวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ ๓๐ พฤษภาคม เพื่อเป็นการน้อมเกล้าฯ รำลึกถึงพระราชกรณียกิจและพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงสละนานาประการ เพื่อความสงบเรียบร้อย เพื่อความร่มเย็นของอาณาประชาราษฎร์ และเพื่อเป็นการแสดงกตเวทิตาคุณ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ขอเชิญหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน คณะบุคคล และ ประชาชนทั่วไป นำพวงมาลาไปถวายบังคม ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ หน้าอาคารรัฐสภา ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ นาฬิกา
-----------------------------------------
เรียบเรียงโดย สำนักประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ตลอดรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีระยะเวลาเพียง ๑๐ ปี และต้องประสบกับอุปสรรคต่าง ๆ นานับประการ เนื่องจากบ้านเมืองอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แต่ด้วยพระปรีชาสามารถ และพระราชอัธยาศัยอันล้นเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ประเทศชาติจึงยังคงพัฒนามาได้ในทุกด้าน รวมทั้งยังคงเสถียรภาพไว้ได้อย่างมั่นคง โดยเฉพาะ ในด้านการเมืองการปกครอง พระองค์ทรงได้พัฒนาสถาบันการเมืองที่สืบทอดมาจากรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่
อภิรัฐมนตรีสภา ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๓๕ ในรัชสมัยของรัชกาลที่ ๕ โดยทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกที่ปรึกษาราชการแผ่นดินหรือเคาร์ซิลออฟสเตท และตราพระราชบัญญัติรัตนโกสินทรศก ๑๑๓ ขึ้นแทน จึงมีรัฐมนตรีสภาเกิดขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้ ทำหน้าที่พิจารณาปรึกษากฎหมายต่าง ๆ ตามที่ได้รับพระบรมราชโองการ รัฐมนตรีแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มแรก ได้แก่เสนาบดีหรือผู้แทน กลุ่มที่ ๒ คือ ผู้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งขึ้น
เสนาบดีสภา เกิดขึ้นจากการประชุมปรึกษาราชการของเสนาบดีเจ้ากระทรวงต่าง ๆ โดยมีพระมหากษัตริย์ประทับทรงเป็นประธาน เพื่อพระราชทานคำแนะนำและพระบรมราชวินิจฉัย ในที่สุด การประชุมไม่มีกำหนดแน่นอน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปรับปรุงให้เสนาบดีสภามีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยให้มีระเบียบวาระการประชุม มีการลงมติและรายงาน การประชุมทุกครั้ง มีกำหนดวันประชุมที่แน่นอนทุกสัปดาห์ และเปลี่ยนจากสภาที่ปรึกษาและ สภาบริหาร มาเป็นสภาบริหารอย่างเดียว เรื่องที่เสนาบดีเจ้ากระทรวงเสนอให้นำเข้าพิจารณา ในที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภาก่อน แล้วนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมเสนาบดีสภา จากนั้น เมื่อนำขึ้น ทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยเป็นที่สุดแล้วจึงให้เสนาบดีเจ้าของเรื่องรับไปดำเนินการต่อไป
องคมนตรี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริให้ปรับปรุงองคมนตรี เป็นสถาบันทางการเมืองการปกครองที่มีประโยชน์ต่อราชการอย่างแท้จริง โดยมีการ ตรากฎหมายซึ่งเรียกว่า "พระราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช ๒๔๗๐" ขึ้น และยังได้กำหนด ให้มีสภากรรมการองคมนตรีขึ้นเป็นครั้งแรกด้วย ซึ่งประกอบด้วยกรรมการ ๔๐ คน และกรรมการ อยู่ในตำแหน่งคราวละ ๓ ปี มีหน้าที่ประชุมพิจารณากฎหมายหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ตามแต่จะ
โปรดเกล้าฯ พระราชทาน รวมทั้งทำหน้าที่ถวายความเห็นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของ ประเทศชาติและประชาชน ซึ่งสภากรรมการองคมนตรีนี้มีลักษณะการดำเนินการประชุม การลงมติ และหลักการต่าง ๆ คล้ายรัฐสภาในระบอบประชาธิปไตย
และถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย พระองค์ก็ยังคงทรงบำรุงพระราชกรณียกิจด้านการเมือง การปกครองให้เกิดความเจริญก้าวหน้าแก่ประเทศชาติได้ตลอดรัชสมัย
ในโอกาสวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ ๓๐ พฤษภาคม เพื่อเป็นการน้อมเกล้าฯ รำลึกถึงพระราชกรณียกิจและพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงสละนานาประการ เพื่อความสงบเรียบร้อย เพื่อความร่มเย็นของอาณาประชาราษฎร์ และเพื่อเป็นการแสดงกตเวทิตาคุณ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ขอเชิญหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน คณะบุคคล และ ประชาชนทั่วไป นำพวงมาลาไปถวายบังคม ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ หน้าอาคารรัฐสภา ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ นาฬิกา
-----------------------------------------
เรียบเรียงโดย สำนักประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร