อก.เตรียมจัดทำยุทธศาสตร์เครื่องจักรกลการเกษตร ดึงทุกหน่วยงานผู้เกี่ยวข้องร่วมระดมสมอง หวังเดินเกมพัฒนาลดการพึ่งพานำเข้า เสริมศักยภาพการส่งออก
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมนาระดมความคิดเห็นเรื่อง “อุตสาหกรรมการเกษตรจะร่วงหรือรุ่ง” ซึ่งจัดโดย สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ว่า อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรเป็นสาขาอุตสาหกรรมที่กระทรวงอุตสาหกรรมเน้นหนักในด้านการพัฒนาเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นปัจจัยการผลิตหลักที่มีผลต่อภาคเกษตร ซึ่งเป็นสาขาการผลิตที่ถือเป็นหัวจักรสำคัญในการนำรายได้เข้าประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นอุตสาหกรรมที่อยู่ในกลุ่มที่สร้างคุณค่าเพิ่ม (Value Creation Industry) รวมทั้งเป็นอุตสาหกรรมสนับสนุน (Supporting Industry) ที่เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมโลหะการ ซึ่งจะทำการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆ ที่มาประกอบกันเข้าเป็นเครื่องจักรกลด้านการเกษตรอีกด้วย
“เครื่องจักรกลการเกษตรของไทยมีการนำเข้าค่อนข้างสูงในแต่ละปี โดยมีมูลค่าการตลาดรวมในประเทศกว่า 10,000 ล้านบาท และตลาดส่งออก 1,500 ล้านบาท จึงมีความจำเป็นในการพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อทดแทนแรงงานคน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยในช่วงที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดทำแผนแม่บทอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเกษตรทั้งระบบแล้ว แต่ก็ไม่ได้ครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร การพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรไทยจึงเป็นไปอย่างล่าช้า ไม่มีแผนและมาตรการใด ๆ ที่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรอย่างชัดเจน ซึ่งจากนี้ไปจะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นในการพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตร และในอนาคตจะได้มีการส่งเสริมให้สามารถทำการผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ต่อไป”
นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร ถือเป็นหนึ่งในโครงการภายใต้แผนยุทธศาสตร์ ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม เพื่อทดแทนการนำเข้าและช่วยสนับสนุนการผลิต ภาคเกษตรกรรมของประเทศ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรที่เหมาะสมกับการใช้งานในประเทศ ซึ่ง สศอ. ในฐานะหน่วยงานหลักในการจัดทำนโยบาย แผน ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน จึงได้ร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร เพื่อให้มีแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรอย่างครบวงจร โดยที่ สศอ.ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ที่ช่วยให้ยุทธศาสตร์ฯ ดังกล่าวบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
นอกจากนี้ นายอุดม ยังได้กล่าวอีกว่า ภายใต้โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักกลการเกษตร จะเน้นการต่อยอดงานวิจัยที่มีอยู่แล้วและดูที่ความเหมาะสมของเครื่องจักรกลด้านการเกษตร เพื่อนำมาผลิตให้ใช้งานได้จริง ซึ่งจำเป็นจะต้องประสานความร่วมมือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนหลายหน่วยงาน และจับมือกับผู้ประกอบการเพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตในเชิงพาณิชย์ให้เกษตรกรไทยได้ใช้เครื่องจักกลการเกษตรในราคาที่ไม่สูงนัก ได้มาตรฐานการผลิตในเรื่องของชิ้นส่วน และวัสดุที่ใช้ในการผลิต อันจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตของเกษตรไทย ซึ่งในอนาคตจะได้มีการส่งเสริมให้เกิดการผลิตเพื่อการส่งออกต่อไป ซึ่งขณะนี้ได้มีผู้ประกอบการหลายรายได้ให้ความสนใจที่จะนำเครื่องต้นแบบไปผลิตในเชิงพาณิชย์ด้วยแล้ว
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมนาระดมความคิดเห็นเรื่อง “อุตสาหกรรมการเกษตรจะร่วงหรือรุ่ง” ซึ่งจัดโดย สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ว่า อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรเป็นสาขาอุตสาหกรรมที่กระทรวงอุตสาหกรรมเน้นหนักในด้านการพัฒนาเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นปัจจัยการผลิตหลักที่มีผลต่อภาคเกษตร ซึ่งเป็นสาขาการผลิตที่ถือเป็นหัวจักรสำคัญในการนำรายได้เข้าประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นอุตสาหกรรมที่อยู่ในกลุ่มที่สร้างคุณค่าเพิ่ม (Value Creation Industry) รวมทั้งเป็นอุตสาหกรรมสนับสนุน (Supporting Industry) ที่เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมโลหะการ ซึ่งจะทำการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆ ที่มาประกอบกันเข้าเป็นเครื่องจักรกลด้านการเกษตรอีกด้วย
“เครื่องจักรกลการเกษตรของไทยมีการนำเข้าค่อนข้างสูงในแต่ละปี โดยมีมูลค่าการตลาดรวมในประเทศกว่า 10,000 ล้านบาท และตลาดส่งออก 1,500 ล้านบาท จึงมีความจำเป็นในการพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อทดแทนแรงงานคน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยในช่วงที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดทำแผนแม่บทอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเกษตรทั้งระบบแล้ว แต่ก็ไม่ได้ครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร การพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรไทยจึงเป็นไปอย่างล่าช้า ไม่มีแผนและมาตรการใด ๆ ที่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรอย่างชัดเจน ซึ่งจากนี้ไปจะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นในการพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตร และในอนาคตจะได้มีการส่งเสริมให้สามารถทำการผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ต่อไป”
นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร ถือเป็นหนึ่งในโครงการภายใต้แผนยุทธศาสตร์ ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม เพื่อทดแทนการนำเข้าและช่วยสนับสนุนการผลิต ภาคเกษตรกรรมของประเทศ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรที่เหมาะสมกับการใช้งานในประเทศ ซึ่ง สศอ. ในฐานะหน่วยงานหลักในการจัดทำนโยบาย แผน ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน จึงได้ร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร เพื่อให้มีแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรอย่างครบวงจร โดยที่ สศอ.ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ที่ช่วยให้ยุทธศาสตร์ฯ ดังกล่าวบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
นอกจากนี้ นายอุดม ยังได้กล่าวอีกว่า ภายใต้โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักกลการเกษตร จะเน้นการต่อยอดงานวิจัยที่มีอยู่แล้วและดูที่ความเหมาะสมของเครื่องจักรกลด้านการเกษตร เพื่อนำมาผลิตให้ใช้งานได้จริง ซึ่งจำเป็นจะต้องประสานความร่วมมือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนหลายหน่วยงาน และจับมือกับผู้ประกอบการเพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตในเชิงพาณิชย์ให้เกษตรกรไทยได้ใช้เครื่องจักกลการเกษตรในราคาที่ไม่สูงนัก ได้มาตรฐานการผลิตในเรื่องของชิ้นส่วน และวัสดุที่ใช้ในการผลิต อันจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตของเกษตรไทย ซึ่งในอนาคตจะได้มีการส่งเสริมให้เกิดการผลิตเพื่อการส่งออกต่อไป ซึ่งขณะนี้ได้มีผู้ประกอบการหลายรายได้ให้ความสนใจที่จะนำเครื่องต้นแบบไปผลิตในเชิงพาณิชย์ด้วยแล้ว
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-