‘สาทิตย์ วงศ์หนองเตย’ อภิปรายงานสัมมนา ม.เกริก หัวข้อ ‘สื่อสารอย่างไร ให้การเมืองไทยสร้างสรรค์’ ระบุหากจะให้การเมืองสร้างสรรค์ ต้องปรับช่องทางการสื่อสารให้เป็นธรรม พร้อมเปิดข้อมูลน่าตกใจ เพียง 6 เดือนรัฐบาลใช้งบประชาสัมพันธ์กว่า 1,100 ล้านบาท
วันนี้ (23 ส.ค.49) เวลา 13.00น. ที่มหาวิทยาเกริก มีการจัดสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ‘การสื่อสารกับประชาธิปไตยในปัจจุบัน’ โดยมีวิทยากรร่วมบรรยายในหัวข้อ ‘สื่อสารอย่างไร ให้การเมืองไทยสร้างสรรค์’ ดังนี้ 1. นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ 2. นายจักรภพ เพ็ญแข ตัวแทนจากพรรคไทยรักไทย 3. นายนิกร จำนง ตัวแทนจากพรรคชาติไทย และ 4.นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ ตัวแทนจากสื่อสารมวลชน
โดยนายสาทิตย์ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่าความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญในการสื่อสารคือ 1.สังคมประชาธิปไตยต้องเป็นสังคมเหตุผล คือความคิดการแสดงออกต้องตัดสินด้วยเหตุผล จะใช้อารมณ์นำเหตุผลไม่ได้ เพราะจะทำให้สังคมประชาธิปไตยขาดหลักเหตุผลในการพิจารณา 2. สังคมประชาธิปไตยต้องปกครองด้วยระบบกฎหมาย โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งตนมองว่าทั้ง 2 สิ่งจะต้องเกิดขึ้นในสังคม โดยเฉพาะกับผู้นำทางประชาธิปไตยที่เป็นผู้สื่อสาร ไม่เช่นนั้นความวุ่นวายจะเกิดขึ้น
นายสาทิตย์กล่าวว่า การสื่อสารการเมืองจะให้สร้างสรรค์นั้น มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 4 ข้อคือ 1. ขึ้นกับผู้สื่อสาร ที่จะต้องเป็นประชาธิปไตยทั้งจิตวิญญาณ จะมองว่าเป็นประชาธิปไตยเป็นเพียงเครื่องมือไม่ได้ ในเวลาที่เรียกร้องความเห็นที่หลากหลายในสังคม กลับปิดกั้นช่องทางการสื่อสาร ก็จะเกิด ‘ความคับข้องใจ’ อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ 2. สารที่ถูกส่งออกไป ซึ่งหากผู้นำประเทศหรือพรรคการเมืองพูดอะไรออกไปแล้ว จะเป็นการชี้นำทางการเมือง ซึ่งการพูดโดยใช้อารมรณ์จะทำให้เกิดปัญหา และอาจลุกลามกลายเป็นการเผชิญหน้าได้ 3.สื่อมวลชน ซึ่ง 5 ปีที่ผ่านมาพบว่า ช่องทางการสื่อสารในลักษณะนี้เกิดปัญหา จากผลการวิจัยของเอแบคโพลในเรื่องการนำเสนอข่าวทางโทรทัศน์พบว่า พรรคไทยรักไทยและรัฐบาลถูกเสนอข่าวมากที่สุด ตรงนี้ชี้ให้เห็นถึงความเป็นธรรมในการนำเสนอข่าว และจากการสำรวจการนำเสนอข่าววิทยุในช่วงระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม — 22 สิงหาคม 2549 ในส่วนข่าวกรมประชาสัมพันธ์ทั้ง 3 ช่วง จะพบว่ามีทั้งสิ้น 507 ข่าว แยกเป็น รัฐบาล 178 ข่าว คิดเป็น 35.1% เป็นข่าวการเมืองอื่น 22 ข่าว คิดเป็น 4.33% ข่าวอื่น เช่น ข่าวน้ำท่วม 307 ข่าว คิดเป็น 60 % และหากดูคลื่นอื่นเช่น เครือข่าย อ.ส.ม.ท. , INN หรือ วิทยุ ททบ. 5 ก็มีสัดส่วนที่แตกต่างกัน จากที่ตนยกตัวอย่างเพื่อชี้ให้เห็นว่า ช่องทางการสื่อสารจำเป็นต้องมีความเป็นธรรม หากข่าวที่นำเสนอมีพื้นที่ใกล้เคียงกันทุกฝ่าย ภาวะวิกฤตการเผชิญหน้าก็จะลดลงจากขณะนี้แน่นอน
นอกจากนี้ นายสาทิตย์ยังได้กล่าวถึงงานวิจัยที่ระบุถึงการใช้งบประมาณประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานภาครัฐ มีตัวเลขที่เป็นเงินภาษีประชาชนเป็นจำนวนมาก ล่าสุดตั้งแต่เดือนมกราคม — มิถุนายน 2549 พบว่า 6 เดือนที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐออกสปอตโฆษณาใช้งบประมาณไปทั้งหมด 1,020 ล้านบาท ซึ่งหน่วยงานที่ใช้งบประมาณสูงสุดในการโฆษณาประชาสัมพันธ์คือ สำนักนายกรัฐมนตรีใช้ถึง 291 ล้านบาท รองลงมาคือ กระทรวงศึกษาธิการ 111 ล้าน กระทรวงพลังงาน และกระทรวงพาณิชย์ตามลำดับ ตนอยากถามว่าช่องทางการสื่อสารทางการเมืองในปัจจุบันนี้มีความเป็นธรรมมากน้อยแค่ไหน
‘หากจะให้การเมืองสร้างสรรค์ ต้องปรับช่องทางการสื่อสารให้เป็นธรรมมากกว่านี้ เปิดโอกาสให้ฝ่ายซึ่งอาจจะเห็นไม่ตรงกับรัฐบาล หรือเห็นไม่ตรงกับฝ่ายอื่น มีโอกาสออกในช่องทางการสื่อสารมวลชน ผมคิดว่าจะลดวิกฤตได้ ผมคิดว่าสื่อสารอย่างไรให้การเมืองสร้างสรรค์นั้น ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของทุกฝ่ายป็นสำคัญ และขึ้นอยู่กับการให้ความเป็นธรรมในช่องทางการสื่อสารเป็นสำคัญ’ นายสาทิตย์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 ส.ค. 2549--จบ--
วันนี้ (23 ส.ค.49) เวลา 13.00น. ที่มหาวิทยาเกริก มีการจัดสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ‘การสื่อสารกับประชาธิปไตยในปัจจุบัน’ โดยมีวิทยากรร่วมบรรยายในหัวข้อ ‘สื่อสารอย่างไร ให้การเมืองไทยสร้างสรรค์’ ดังนี้ 1. นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ 2. นายจักรภพ เพ็ญแข ตัวแทนจากพรรคไทยรักไทย 3. นายนิกร จำนง ตัวแทนจากพรรคชาติไทย และ 4.นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ ตัวแทนจากสื่อสารมวลชน
โดยนายสาทิตย์ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่าความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญในการสื่อสารคือ 1.สังคมประชาธิปไตยต้องเป็นสังคมเหตุผล คือความคิดการแสดงออกต้องตัดสินด้วยเหตุผล จะใช้อารมณ์นำเหตุผลไม่ได้ เพราะจะทำให้สังคมประชาธิปไตยขาดหลักเหตุผลในการพิจารณา 2. สังคมประชาธิปไตยต้องปกครองด้วยระบบกฎหมาย โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งตนมองว่าทั้ง 2 สิ่งจะต้องเกิดขึ้นในสังคม โดยเฉพาะกับผู้นำทางประชาธิปไตยที่เป็นผู้สื่อสาร ไม่เช่นนั้นความวุ่นวายจะเกิดขึ้น
นายสาทิตย์กล่าวว่า การสื่อสารการเมืองจะให้สร้างสรรค์นั้น มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 4 ข้อคือ 1. ขึ้นกับผู้สื่อสาร ที่จะต้องเป็นประชาธิปไตยทั้งจิตวิญญาณ จะมองว่าเป็นประชาธิปไตยเป็นเพียงเครื่องมือไม่ได้ ในเวลาที่เรียกร้องความเห็นที่หลากหลายในสังคม กลับปิดกั้นช่องทางการสื่อสาร ก็จะเกิด ‘ความคับข้องใจ’ อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ 2. สารที่ถูกส่งออกไป ซึ่งหากผู้นำประเทศหรือพรรคการเมืองพูดอะไรออกไปแล้ว จะเป็นการชี้นำทางการเมือง ซึ่งการพูดโดยใช้อารมรณ์จะทำให้เกิดปัญหา และอาจลุกลามกลายเป็นการเผชิญหน้าได้ 3.สื่อมวลชน ซึ่ง 5 ปีที่ผ่านมาพบว่า ช่องทางการสื่อสารในลักษณะนี้เกิดปัญหา จากผลการวิจัยของเอแบคโพลในเรื่องการนำเสนอข่าวทางโทรทัศน์พบว่า พรรคไทยรักไทยและรัฐบาลถูกเสนอข่าวมากที่สุด ตรงนี้ชี้ให้เห็นถึงความเป็นธรรมในการนำเสนอข่าว และจากการสำรวจการนำเสนอข่าววิทยุในช่วงระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม — 22 สิงหาคม 2549 ในส่วนข่าวกรมประชาสัมพันธ์ทั้ง 3 ช่วง จะพบว่ามีทั้งสิ้น 507 ข่าว แยกเป็น รัฐบาล 178 ข่าว คิดเป็น 35.1% เป็นข่าวการเมืองอื่น 22 ข่าว คิดเป็น 4.33% ข่าวอื่น เช่น ข่าวน้ำท่วม 307 ข่าว คิดเป็น 60 % และหากดูคลื่นอื่นเช่น เครือข่าย อ.ส.ม.ท. , INN หรือ วิทยุ ททบ. 5 ก็มีสัดส่วนที่แตกต่างกัน จากที่ตนยกตัวอย่างเพื่อชี้ให้เห็นว่า ช่องทางการสื่อสารจำเป็นต้องมีความเป็นธรรม หากข่าวที่นำเสนอมีพื้นที่ใกล้เคียงกันทุกฝ่าย ภาวะวิกฤตการเผชิญหน้าก็จะลดลงจากขณะนี้แน่นอน
นอกจากนี้ นายสาทิตย์ยังได้กล่าวถึงงานวิจัยที่ระบุถึงการใช้งบประมาณประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานภาครัฐ มีตัวเลขที่เป็นเงินภาษีประชาชนเป็นจำนวนมาก ล่าสุดตั้งแต่เดือนมกราคม — มิถุนายน 2549 พบว่า 6 เดือนที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐออกสปอตโฆษณาใช้งบประมาณไปทั้งหมด 1,020 ล้านบาท ซึ่งหน่วยงานที่ใช้งบประมาณสูงสุดในการโฆษณาประชาสัมพันธ์คือ สำนักนายกรัฐมนตรีใช้ถึง 291 ล้านบาท รองลงมาคือ กระทรวงศึกษาธิการ 111 ล้าน กระทรวงพลังงาน และกระทรวงพาณิชย์ตามลำดับ ตนอยากถามว่าช่องทางการสื่อสารทางการเมืองในปัจจุบันนี้มีความเป็นธรรมมากน้อยแค่ไหน
‘หากจะให้การเมืองสร้างสรรค์ ต้องปรับช่องทางการสื่อสารให้เป็นธรรมมากกว่านี้ เปิดโอกาสให้ฝ่ายซึ่งอาจจะเห็นไม่ตรงกับรัฐบาล หรือเห็นไม่ตรงกับฝ่ายอื่น มีโอกาสออกในช่องทางการสื่อสารมวลชน ผมคิดว่าจะลดวิกฤตได้ ผมคิดว่าสื่อสารอย่างไรให้การเมืองสร้างสรรค์นั้น ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของทุกฝ่ายป็นสำคัญ และขึ้นอยู่กับการให้ความเป็นธรรมในช่องทางการสื่อสารเป็นสำคัญ’ นายสาทิตย์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 ส.ค. 2549--จบ--