แท็ก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กระทรวงการต่างประเทศ
เศรษฐกิจพอเพียง
ประชา คุณะเกษม
พระราชดำริ
รัฐมนตรี
กรุงเทพ--25 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2549 เวลา 10.45 นายประชา คุณะเกษม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานในพิธีเปิดการศึกษาดูงานโครงการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ: ทางเลือกใหม่/เศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่ 2 ซึ่งการจัดงานครั้งนี้เพื่อร่วมเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีผู้บริหารระดับสูงจากประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ จาก 20 ประเทศรวม 31 คน เข้าร่วมการศึกษาดูงานโครงการฯ และมีการบรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง
“ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ” โดยนางสุวรรณา พาศิริ ผู้อำนวยการกองแผนงานและวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และเรื่อง “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาประเทศ” โดย ดร.ปรเมธี วิมลศิริ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ณ ห้องบอลรูม 3 โรงแรมรอยัล ออคิด เชอราตัน
การจัดการศึกษาดูงานโครงการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ: ทางเลือกใหม่/เศรษฐกิจพอเพียงนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้มอบให้สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
จัดขึ้น รวม 2 ครั้งคือครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 16-20 มิถุนายน 2549 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 24-28 กรกฎาคม 2549 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. ร่วมเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปี 2549 และเทิดพระเกียรติพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ได้ทรงปกครอง ทำนุบำรุง ปวงชนชาวไทยตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติ 60 ปี อันยาวนานที่สุดยิ่งกว่าพระกษัตริย์พระองค์ใดในประเทศไทย
2. เผยแพร่พระปรีชาสามารถและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งแนวพระราชดำรัสเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นแนวทางในการใช้ชีวิตความเป็นอยู่อย่างพอเพียงของปวงชนชาวไทยทุกระดับชั้น รวมทั้งประสบการณ์ที่ไทยได้นำมาปฏิบัติแล้วประสบผลสำเร็จให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ ที่มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับไทย เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา
ทั้งในระดับทวิภาคี พหุภาคี หรือกรอบความร่วมมืออื่นๆ ต่อไป
3. สนับสนุนแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของรัฐบาลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อเนื่องในระยะยาวต่อประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ทั้งที่เป็นกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านและประเทศนอกภูมิภาคที่อยู่ในความสนใจของไทย เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและเสริมสร้างศักยภาพในการกินดีอยู่ดีในภูมิภาค ให้พัฒนาควบคู่ไปกับประเทศไทย และเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป
ทั้งนี้การศึกษาดูงานครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 16-20 มิถุนายน 2549 มีผู้บริหารระดับสูงจากประเทศต่างๆ 16 ประเทศคือ อัฟกานิสถาน บังคลาเทศ กัมพูชา โคลอมเบีย จีน อินโดนิเซีย อิหร่าน เคนยา เกาหลีใต้ มาดากัสการ์ มัลดีฟส์ พม่า ศรีลังกา ซูดาน แทนซาเนีย และเวียดนาม ไปศึกษาดูงานโครงการตามแนวพระราชดำริ และโครงการหลวงต่าง ๆ คือศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์ศึกษาการพัฒนา
อ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และไปดูงาน ณ สถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง พร้อมกันนี้คณะผู้แทนได้เยี่ยมชมบ้านเกษตรกรตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จจากการนำแนวพระราชดำริไปประยุกต์ใช้ทั้งการทำเกษตรแนวทฤษฎีใหม่ และการเกษตรแบบผสมผสาน
สำหรับการศึกษาดูงานครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 24-28 กรกฎาคม 2549 จะเป็นการดูงานโครงการตามแนวพระราชดำริ และโครงการหลวงต่างๆ คือศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราะชดำริ จ.เพชรบุรี เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี
วัดมงคลชัยพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี การศึกษาดูงานครั้งที่ 2 นี้ จะมีผู้บริหารระดับสูงจากประเทศต่างๆ เข้าร่วม 20 ประเทศ ได้แก่ อัฟกานิสถาน บังคลาเทศ ภูฏาน บูร์กินาฟาโซ กัมพูชา โคลอมเบีย จิบูตี อียิปต์ เอธิโอเปีย แกมเบีย กัวเตมาลา ลาว มาดากัสการ์ มาลี โมซัมบิก เนปาล ปาปัวนิวกีนี เซเนกัล ศรีลังกา และติมอร์เลสเต
การศึกษาดูงานในครั้งที่ 2 นี้ จะส่งผลในทางบวกอย่างกว้างไกลให้กับประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลกได้เห็น และนำประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้และพัฒนาประเทศของตนเองตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และได้เผยแพร่ไปทั่วโลกโดยเฉพาะด้านการเกษตร ซึ่งไทยเป็นต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
“เศรษฐกิจพอเพียง” หรือ Sufficiency Economy เป็นพระราชดำริเกี่ยวกับปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยทุกระดับ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 2540 และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงใน “ทางสายกลาง” อยู่บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งรัฐบาลในปัจจุบันได้อัญเชิญพระราชดำรัสเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์และเชื่อมโยงเข้ากับการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุทธศาสตร์ในการพัฒนาทรัพยกรมนุษย์ในทุก ๆ ด้าน อย่างยั่งยืน เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต และยกระดับความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนชาวไทย
คำว่า “ความพอเพียง” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริหมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใจ ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน ขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติให้มีสำนึก
ในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และมีความรอบรู้ที่เหมาะสมดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2549 เวลา 10.45 นายประชา คุณะเกษม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานในพิธีเปิดการศึกษาดูงานโครงการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ: ทางเลือกใหม่/เศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่ 2 ซึ่งการจัดงานครั้งนี้เพื่อร่วมเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีผู้บริหารระดับสูงจากประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ จาก 20 ประเทศรวม 31 คน เข้าร่วมการศึกษาดูงานโครงการฯ และมีการบรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง
“ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ” โดยนางสุวรรณา พาศิริ ผู้อำนวยการกองแผนงานและวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และเรื่อง “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาประเทศ” โดย ดร.ปรเมธี วิมลศิริ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ณ ห้องบอลรูม 3 โรงแรมรอยัล ออคิด เชอราตัน
การจัดการศึกษาดูงานโครงการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ: ทางเลือกใหม่/เศรษฐกิจพอเพียงนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้มอบให้สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
จัดขึ้น รวม 2 ครั้งคือครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 16-20 มิถุนายน 2549 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 24-28 กรกฎาคม 2549 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. ร่วมเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปี 2549 และเทิดพระเกียรติพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ได้ทรงปกครอง ทำนุบำรุง ปวงชนชาวไทยตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติ 60 ปี อันยาวนานที่สุดยิ่งกว่าพระกษัตริย์พระองค์ใดในประเทศไทย
2. เผยแพร่พระปรีชาสามารถและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งแนวพระราชดำรัสเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นแนวทางในการใช้ชีวิตความเป็นอยู่อย่างพอเพียงของปวงชนชาวไทยทุกระดับชั้น รวมทั้งประสบการณ์ที่ไทยได้นำมาปฏิบัติแล้วประสบผลสำเร็จให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ ที่มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับไทย เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา
ทั้งในระดับทวิภาคี พหุภาคี หรือกรอบความร่วมมืออื่นๆ ต่อไป
3. สนับสนุนแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของรัฐบาลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อเนื่องในระยะยาวต่อประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ทั้งที่เป็นกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านและประเทศนอกภูมิภาคที่อยู่ในความสนใจของไทย เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและเสริมสร้างศักยภาพในการกินดีอยู่ดีในภูมิภาค ให้พัฒนาควบคู่ไปกับประเทศไทย และเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป
ทั้งนี้การศึกษาดูงานครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 16-20 มิถุนายน 2549 มีผู้บริหารระดับสูงจากประเทศต่างๆ 16 ประเทศคือ อัฟกานิสถาน บังคลาเทศ กัมพูชา โคลอมเบีย จีน อินโดนิเซีย อิหร่าน เคนยา เกาหลีใต้ มาดากัสการ์ มัลดีฟส์ พม่า ศรีลังกา ซูดาน แทนซาเนีย และเวียดนาม ไปศึกษาดูงานโครงการตามแนวพระราชดำริ และโครงการหลวงต่าง ๆ คือศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์ศึกษาการพัฒนา
อ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และไปดูงาน ณ สถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง พร้อมกันนี้คณะผู้แทนได้เยี่ยมชมบ้านเกษตรกรตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จจากการนำแนวพระราชดำริไปประยุกต์ใช้ทั้งการทำเกษตรแนวทฤษฎีใหม่ และการเกษตรแบบผสมผสาน
สำหรับการศึกษาดูงานครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 24-28 กรกฎาคม 2549 จะเป็นการดูงานโครงการตามแนวพระราชดำริ และโครงการหลวงต่างๆ คือศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราะชดำริ จ.เพชรบุรี เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี
วัดมงคลชัยพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี การศึกษาดูงานครั้งที่ 2 นี้ จะมีผู้บริหารระดับสูงจากประเทศต่างๆ เข้าร่วม 20 ประเทศ ได้แก่ อัฟกานิสถาน บังคลาเทศ ภูฏาน บูร์กินาฟาโซ กัมพูชา โคลอมเบีย จิบูตี อียิปต์ เอธิโอเปีย แกมเบีย กัวเตมาลา ลาว มาดากัสการ์ มาลี โมซัมบิก เนปาล ปาปัวนิวกีนี เซเนกัล ศรีลังกา และติมอร์เลสเต
การศึกษาดูงานในครั้งที่ 2 นี้ จะส่งผลในทางบวกอย่างกว้างไกลให้กับประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลกได้เห็น และนำประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้และพัฒนาประเทศของตนเองตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และได้เผยแพร่ไปทั่วโลกโดยเฉพาะด้านการเกษตร ซึ่งไทยเป็นต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
“เศรษฐกิจพอเพียง” หรือ Sufficiency Economy เป็นพระราชดำริเกี่ยวกับปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยทุกระดับ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 2540 และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงใน “ทางสายกลาง” อยู่บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งรัฐบาลในปัจจุบันได้อัญเชิญพระราชดำรัสเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์และเชื่อมโยงเข้ากับการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุทธศาสตร์ในการพัฒนาทรัพยกรมนุษย์ในทุก ๆ ด้าน อย่างยั่งยืน เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต และยกระดับความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนชาวไทย
คำว่า “ความพอเพียง” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริหมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใจ ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน ขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติให้มีสำนึก
ในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และมีความรอบรู้ที่เหมาะสมดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-