เมื่อเวลา 09.30 น. เมื่อวันที่24 ส.ค.49 ที่โรงแรมมูเลีย เสนายัน กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ขึ้นกล่าวเสวนาในหัวข้อ "การคาดคะเนและการตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ เราได้รับบทเรียนอะไรบ้าง และอาเซียนมีความพร้อมหรือไม่ต่อวิกฤตการณ์ครั้งต่อไป" ซึ่งจัดโดยนิตยสาร เอเชีย อิงค์ ตอนหนึ่งว่า การสร้างความเข้มแข็งของอาเซียนจะต้องสร้างจากรากฐาน ที่จริง ในภูมิภาคนี้มีข้อได้เปรียบและจุดแข็งอยู่มาก โดยอาเซียนมีความสามารถในการปรับตัวและฟื้นตัวเองจากวิกฤตการณ์ในหลายๆ ครั้ง แต่ขณะเดียวกันยังถูกมองจากสายตาของหลายภูมิภาคมองว่าอาเซียนยังไม่สามารถรวมตัวกันได้อย่างแน่นแฟ้นเป็นกลุ่มก้อนเท่าที่ควร
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอีกว่า แนวทางสำคัญที่ต้องผลักดัน คือ การสร้างความร่วมมือจากระดับประชาชน เพื่อทำให้ประชาชนรู้สึกว่ามีความจำเป็นเร่งด่วน และเกี่ยวข้องกับชีวิตของเขา ซึ่งจะนำไปสู่การทำให้ทุกประเทศเห็นว่าความร่วมมือของอาเซียนนั้น จะช่วยให้ชีวิตดีขึ้น ทั้งในแง่โอกาสทางเศรษฐกิจ และความสงบเรียบร้อย รวมถึงการมีสังคมและวัฒนธรรมที่หลากหลาย ซึ่งหากทำได้ จะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุด เพราะที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่ามีประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่ายังไม่ได้รับความพึงพอใจจากความร่วมมือของกลุ่มประเทศอาเซียน
จากนั้น ผู้สื่อข่าวถามถึงความพอใจในการเดินทางมาร่วมเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการเมืองและเศรษฐกิจในครั้งนี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนรู้สึกพอใจ เพราะได้มาประชุมในระดับอาเซียน และได้มีโอกาสนำเสนอปัญหา นอกจากนี้ ตนยังได้พบปะกับผู้นำของประเทศอินโดนีเซีย และติมอร์ตะวันออก จึงถึงว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะทำให้ผู้นำของทั้ง 2 ประเทศทราบถึงความตั้งใจที่ดีของพรรคประชาธิปัตย์ที่ต้องการจะร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน
เมื่อถามว่าการเข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับตัวแทนภาคการเมืองและภาคธุรกิจในระดับนานาชาติครั้งนี้ จะช่วยลบข้อวิพากษ์วิจารณ์ที่ว่านายอภิสิทธิ์ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในเวทีต่างประเทศและภาคธุรกิจด้วยหรือไม่ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ที่จริงแล้ว ต่างประเทศได้รับรู้บทบาทและการทำงานของพรรคประชาธิปัตย์มาตลอด อย่างไรก็ตาม การที่ตนมาร่วมงานดังกล่าว เพราะเจ้าภาพได้เชิญตนมานานแล้ว แต่เมื่อได้รับเชิญ ก็ต้องดูเรื่องการจัดเวลามาร่วมงาน โดยเฉพาะในช่วงที่การเมืองไม่แน่นอน ทั้งนี้ ตนได้เคยมาร่วมประชุมนี้แล้ว เมื่อปี 2547 ส่วนที่ไม่ได้มาในปีที่แล้ว เพราะไม่สะดวกที่จะมา
เมื่อถามต่อว่าจากนี้ไป นายอภิสิทธิ์ เตรียมจะแสดงวิสัยทัศน์ในเวทีอื่นๆอีกหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คงต้องดูกรอบของการเลือกตั้ง เพราะวันนี้(24 ส.ค.) ถือว่าพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งมีผลบังคับใช้แล้ว ส่วนการสรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ชุดใหม่จะเป็นอย่างไรนั้น คงต้องติดตามต่อไป แต่คาดว่าคงต้องยุ่งกับการเลือกตั้งพอสมควร
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 25 ส.ค. 2549--จบ--
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอีกว่า แนวทางสำคัญที่ต้องผลักดัน คือ การสร้างความร่วมมือจากระดับประชาชน เพื่อทำให้ประชาชนรู้สึกว่ามีความจำเป็นเร่งด่วน และเกี่ยวข้องกับชีวิตของเขา ซึ่งจะนำไปสู่การทำให้ทุกประเทศเห็นว่าความร่วมมือของอาเซียนนั้น จะช่วยให้ชีวิตดีขึ้น ทั้งในแง่โอกาสทางเศรษฐกิจ และความสงบเรียบร้อย รวมถึงการมีสังคมและวัฒนธรรมที่หลากหลาย ซึ่งหากทำได้ จะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุด เพราะที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่ามีประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่ายังไม่ได้รับความพึงพอใจจากความร่วมมือของกลุ่มประเทศอาเซียน
จากนั้น ผู้สื่อข่าวถามถึงความพอใจในการเดินทางมาร่วมเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการเมืองและเศรษฐกิจในครั้งนี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนรู้สึกพอใจ เพราะได้มาประชุมในระดับอาเซียน และได้มีโอกาสนำเสนอปัญหา นอกจากนี้ ตนยังได้พบปะกับผู้นำของประเทศอินโดนีเซีย และติมอร์ตะวันออก จึงถึงว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะทำให้ผู้นำของทั้ง 2 ประเทศทราบถึงความตั้งใจที่ดีของพรรคประชาธิปัตย์ที่ต้องการจะร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน
เมื่อถามว่าการเข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับตัวแทนภาคการเมืองและภาคธุรกิจในระดับนานาชาติครั้งนี้ จะช่วยลบข้อวิพากษ์วิจารณ์ที่ว่านายอภิสิทธิ์ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในเวทีต่างประเทศและภาคธุรกิจด้วยหรือไม่ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ที่จริงแล้ว ต่างประเทศได้รับรู้บทบาทและการทำงานของพรรคประชาธิปัตย์มาตลอด อย่างไรก็ตาม การที่ตนมาร่วมงานดังกล่าว เพราะเจ้าภาพได้เชิญตนมานานแล้ว แต่เมื่อได้รับเชิญ ก็ต้องดูเรื่องการจัดเวลามาร่วมงาน โดยเฉพาะในช่วงที่การเมืองไม่แน่นอน ทั้งนี้ ตนได้เคยมาร่วมประชุมนี้แล้ว เมื่อปี 2547 ส่วนที่ไม่ได้มาในปีที่แล้ว เพราะไม่สะดวกที่จะมา
เมื่อถามต่อว่าจากนี้ไป นายอภิสิทธิ์ เตรียมจะแสดงวิสัยทัศน์ในเวทีอื่นๆอีกหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คงต้องดูกรอบของการเลือกตั้ง เพราะวันนี้(24 ส.ค.) ถือว่าพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งมีผลบังคับใช้แล้ว ส่วนการสรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ชุดใหม่จะเป็นอย่างไรนั้น คงต้องติดตามต่อไป แต่คาดว่าคงต้องยุ่งกับการเลือกตั้งพอสมควร
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 25 ส.ค. 2549--จบ--