เปิดรายงานอังค์ถัด’49 ไทยมาไกลแค่ไหนใน “แผนที่ลงทุนโลก”

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday October 18, 2006 13:59 —กรมส่งเสริมการส่งออก

          จากรายงานของอังค์ถัด (UNCTAD) เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2549 ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ได้มีการวิจารณ์ข้อมูลที่เกี่ยวกับสถานะการลงทุนโดยตรง 2 ทางของประเทศไทยในปี 2548 
เอฟดีไอสะสมในไทยในปี 2548 อยู่ที่ระดับ 56,542 ล้านดอลลาร์ สูงกว่าระดับ 52,855 ล้านดอลลาร์ ของปี 2547 และเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากระดับ 29,915 ล้านดอลลาร์ ของปี 2543 ซึ่งเป็นเวลาที่ไทยเพิ่งผ่านพ้นวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 2540-2541 มาได้ไม่นาน
อังค์ถัดได้ประเมินศักยภาพในการดึงดูดเม็ดเงินเอฟดีไอของประเทศไทย ในระหว่างปี 2545-2547 ว่าอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความสามารถอยู่ในระดับต่ำ จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับอาร์เจนตินา บราซิล เม็กซิโก ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ สหรัฐ และอังกฤษ แต่ต่ำกว่ากลุ่มแถวหน้าอย่างจีน สิงคโปร์ มาเลเซีย และเศรษฐกิจเกิดใหม่ในยุโรปตะวันออกและประเทศในแถบสแกนดิเนเวียบางประเทศ ในแง่ของดัชนีศักยภาพในการดึงดูดเม็ดเงินเอฟดีไอเข้าประเทศ ความสามารถของไทยตกต่ำลง นับจากทศวรรษ 1990 ซึ่งถือเป็นยุคเฟื่องฟูของเศรษฐกิจเอเซีย อันดับความสามารถของไทยอยู่ในอันดับที่ 17 แต่นับจากนั้นอันดับของไทยได้ทรุดลงมาอยู่ที่อันดับ 44 ในปี 2543 และหล่นลึกมาที่อันดับ 107 ในปี 2547 ก่อนจะปรับคีขึ้นเป็นอันดับที่ 96 ในปี 2548
ในรายงานการลงทุนโลกปีล่าสุด สะท้อนชัดว่าไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศที่เริ่มขยับออกไปลงทุนนอกประเทศ หรือ Outward FDI เช่นเดียวกับจีน เกาหลีใต้ มาเลเซีย และสิงคโปร์ ที่รุกขยายการลงทุนไปทั่วภูมิภาคเอเซียและภูมิภาคอื่น ๆ ที่มีทรัพยากรมาก อย่างละตินอเมริกา และ แอฟริกา เป็นต้น
ตั้งแต่ทศวรรษ 1990 มูลค่าการลงทุนนอกประเทศโดยเฉลี่ยของไทยอยู่ระดับประมาณ 370 ดอลลาร์ แต่นับจากหลังวิกฤตการลงทุนนอกประเทศได้ลดลงเหลือ 106 ล้านดอลลาร์เท่านั้น จากนั้นก็กลับเพิ่มขึ้นอีกครั้งในปี 2546 เป็นมูลค่า 486 ล้านดอลลาร์ แต่ในปี 2547 มูลค่าการลงทุนนอกประเทศก็ลดลงเหลือ 125 ล้านดอลลาร์ และเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวรวม 246 ล้านดอลลาร์ในปี 2548
ภาพรวมการลงทุนในรูปของการทำข้อตกลงซื้อธุรกิจและควบรวมกิจการ (Manager and Acquisition) ในต่างประเทศของไทยพบว่ามูลค่าข้อตกลงเอ็ม แอนด์เอ โดยเฉลี่ยระหว่างปี 2533-2543 อยู่ที่ 157 ล้านดอลลาร์ แต่ได้เพิ่มขึ้นสูงสุด รวม 1,236 ล้านดอลลาร์ ในปี 2547 และละลงเหลือ 338 ล้านดอลลาร์ แต่ในภาพรวมของภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้กลับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 10 ปีนับถึงปี 2543 มูลค่าข้อตกลงเอ็มแอนด์เออยู่ที่ระดับ 1,687 ล้านดอลลาร์จากนั้นได้เพิ่มขึ้นเป็น 4,601 ล้านดอลลาร์ในปี 2546 เป็น 5,232 ล้านดอลลาร์ในปี 2547และเพิ่มขึ้น 3 เท่า รวม 14,757 ล้านดอลลาร์ในปี 2548
ประเด็นวิเคราะห์:
อังค์ถัดได้ตั้งข้อสังเกตถึงการลงทุนนอกประเทศโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาในเอเซียซึ่งก็รวมถึงไทยว่า เป็นผลมาจากนโยบายของรัฐบาลในช่วงเวลานั้น ๆ เอื้อต่อการลงทุนนอกประเทศทั้งในแง่ของการลดอุปสรรคในด้านกฏระเบียบและข้อจำกัด และในแง่ของการเพิ่มมาตรการจูงใจในการออกไปลงทุนนอกประเทศ มาตรการจูงใจของไทย เช่น บทบาทของธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกของไทย (EXIM Bank)
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ