กรุงเทพ--5 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 24-26 กันยายน 2549 ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศได้จัดโครงการภูมิปัญญาไทยในบริบท BIMSTEC (1) (The Thai Wisdom and BIMSTEC Community) โดยเชิญคณะทูตานุทูตและสื่อมวลชนจากกลุ่มประเทศ BIMSTEC รวม 7 ประเทศ คณะสื่อมวลชนไทย และยุวทูต BIMSTEC เดินทางไปทัศนศึกษาที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย
การศึกษาดูงานในครั้งนี้ คณะฯ ได้มีโอกาสสัมผัสภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของไทยผ่านการร่วมกิจกรรมต่างๆ อาทิ การเยี่ยมชมกลุ่มหัตถกรรมและแกะสลักบ้านถวาย ที่อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เยี่ยมชมโครงการพัฒนาดอยตุง และเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงพร้อมทั้งร่วมอภิปรายภายใต้หัวข้อ “From Local Wisdom to Common Future: The Role of Higher Education” กับนักวิจัย คณาจารย์ นิสิต และนักศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของการศึกษาในฐานะเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งประเทศสมาชิก BIMSTEC และคณะสื่อมวลชนต่างให้ความสนใจและเห็นพ้องว่าจะนำไปสู่ความร่วมมือระหว่างกันในอีกหลายสาขา อาทิ การแก้ปัญหาความยากจน การสร้างอาชีพ และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นต้น
โครงการดังกล่าวเกิดจากข้อเสนอของไทยระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ BIMSTEC ครั้งที่ 9 ณ กรุงนิวเดลี เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2549 โดยทุกฝ่ายยินดีกับบทบาทนำของไทยในสาขาการเสริมสร้างความสัมพันธ์ภาคประชาชน (People-to-People Contact) ซึ่งที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศได้จัดโครงการที่ส่งเสริมการติดต่อแลกเปลี่ยน เพื่อเรียนรู้จักซึ่งกันและกันระหว่างประชาชนชาติสมาชิกในลักษณะนี้มาหลายครั้งแล้ว อาทิ การแข่งขันฟุตบอลยุวชน BIMSTEC (ปี 2547) โครงการ Exploring BIMSTEC Cultural Ties in Thailand (ปี 2548) โครงการ Getting to Know the New BIMSTEC Members (เนปาลและภูฏาน) (ปี 2548) และโครงการ Young BIMSTEC Ambassador (ปี 2548 และ 2549) เพื่อให้ประเทศสมาชิก BIMSTEC มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งในด้าน เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และสร้างความใกล้ชิดระหว่างกันมากขึ้น สำหรับการดำเนินโครงการในปีนี้ กระทรวงการต่างประเทศมุ่งหวังจะสื่อให้สมาชิก BIMSTEC ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน และช่วยลดปัญหาความยากจนในภูมิภาค โดยใช้กรณีตัวอย่างจากไทย อันมีโครงการพัฒนาดอยตุงเป็นต้นแบบที่ดี (best practice) และบทบาทของสถาบันการศึกษาขั้นสูงในการอนุรักษ์ พัฒนา และเพิ่มมูลค่าแก่ภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังกรณีของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นต้น
โครงการดังกล่าวนับว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ สมาชิกของ BIMSTEC หลายคนยังไม่เคยเดินทางมาดูโครงการพัฒนาดอยตุงหรือเยี่ยมชมจังหวัดเชียงรายมาก่อน ต่างแสดงความประทับใจต่อผลงานของโครงการพัฒนาดอยตุงและมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และรับที่จะนำไปประชาสัมพันธ์เพื่อให้นักศึกษาจากชาติของตนมาศึกษามากขึ้น ทั้งนี้ ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น นอกจากจะเป็นการดำเนินการทูตเพื่อประชาชน และ
การทูตเชิงวัฒนธรรมสร้างความสัมพันธ์อันดีและเป็นการแสดงบทบาทนำของไทยในกลุ่มประเทศ BIMSTEC แล้ว ยังเป็นการเผยเพร่แนวความคิดด้านการพัฒนาสังคมของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการพัฒนาดอยตุงอันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายยิ่งขึ้นในประเทศและต่างประเทศผ่านคณะทูตานุทูตและสื่อมวลชนที่เข้าร่วมโครงการฯ ด้วย
--------------------------------------------------------------------------------------------------------- (1)BIMSTEC หรือ ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation) เป็นกรอบความร่วมมือระหว่าง 7 ประเทศในภูมิภาคอ่าวเบงกอล ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย พม่า เนปาล ศรีลังกา และไทย โดยมีความร่วมมือระหว่างกัน 13 สาขา และไทยรับเป็นประเทศนำในสาขา ประมง สาธารณสุข และการเสริมสร้างความสัมพันธ์ภาคประชาชน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 24-26 กันยายน 2549 ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศได้จัดโครงการภูมิปัญญาไทยในบริบท BIMSTEC (1) (The Thai Wisdom and BIMSTEC Community) โดยเชิญคณะทูตานุทูตและสื่อมวลชนจากกลุ่มประเทศ BIMSTEC รวม 7 ประเทศ คณะสื่อมวลชนไทย และยุวทูต BIMSTEC เดินทางไปทัศนศึกษาที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย
การศึกษาดูงานในครั้งนี้ คณะฯ ได้มีโอกาสสัมผัสภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของไทยผ่านการร่วมกิจกรรมต่างๆ อาทิ การเยี่ยมชมกลุ่มหัตถกรรมและแกะสลักบ้านถวาย ที่อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เยี่ยมชมโครงการพัฒนาดอยตุง และเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงพร้อมทั้งร่วมอภิปรายภายใต้หัวข้อ “From Local Wisdom to Common Future: The Role of Higher Education” กับนักวิจัย คณาจารย์ นิสิต และนักศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของการศึกษาในฐานะเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งประเทศสมาชิก BIMSTEC และคณะสื่อมวลชนต่างให้ความสนใจและเห็นพ้องว่าจะนำไปสู่ความร่วมมือระหว่างกันในอีกหลายสาขา อาทิ การแก้ปัญหาความยากจน การสร้างอาชีพ และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นต้น
โครงการดังกล่าวเกิดจากข้อเสนอของไทยระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ BIMSTEC ครั้งที่ 9 ณ กรุงนิวเดลี เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2549 โดยทุกฝ่ายยินดีกับบทบาทนำของไทยในสาขาการเสริมสร้างความสัมพันธ์ภาคประชาชน (People-to-People Contact) ซึ่งที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศได้จัดโครงการที่ส่งเสริมการติดต่อแลกเปลี่ยน เพื่อเรียนรู้จักซึ่งกันและกันระหว่างประชาชนชาติสมาชิกในลักษณะนี้มาหลายครั้งแล้ว อาทิ การแข่งขันฟุตบอลยุวชน BIMSTEC (ปี 2547) โครงการ Exploring BIMSTEC Cultural Ties in Thailand (ปี 2548) โครงการ Getting to Know the New BIMSTEC Members (เนปาลและภูฏาน) (ปี 2548) และโครงการ Young BIMSTEC Ambassador (ปี 2548 และ 2549) เพื่อให้ประเทศสมาชิก BIMSTEC มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งในด้าน เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และสร้างความใกล้ชิดระหว่างกันมากขึ้น สำหรับการดำเนินโครงการในปีนี้ กระทรวงการต่างประเทศมุ่งหวังจะสื่อให้สมาชิก BIMSTEC ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน และช่วยลดปัญหาความยากจนในภูมิภาค โดยใช้กรณีตัวอย่างจากไทย อันมีโครงการพัฒนาดอยตุงเป็นต้นแบบที่ดี (best practice) และบทบาทของสถาบันการศึกษาขั้นสูงในการอนุรักษ์ พัฒนา และเพิ่มมูลค่าแก่ภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังกรณีของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นต้น
โครงการดังกล่าวนับว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ สมาชิกของ BIMSTEC หลายคนยังไม่เคยเดินทางมาดูโครงการพัฒนาดอยตุงหรือเยี่ยมชมจังหวัดเชียงรายมาก่อน ต่างแสดงความประทับใจต่อผลงานของโครงการพัฒนาดอยตุงและมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และรับที่จะนำไปประชาสัมพันธ์เพื่อให้นักศึกษาจากชาติของตนมาศึกษามากขึ้น ทั้งนี้ ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น นอกจากจะเป็นการดำเนินการทูตเพื่อประชาชน และ
การทูตเชิงวัฒนธรรมสร้างความสัมพันธ์อันดีและเป็นการแสดงบทบาทนำของไทยในกลุ่มประเทศ BIMSTEC แล้ว ยังเป็นการเผยเพร่แนวความคิดด้านการพัฒนาสังคมของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการพัฒนาดอยตุงอันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายยิ่งขึ้นในประเทศและต่างประเทศผ่านคณะทูตานุทูตและสื่อมวลชนที่เข้าร่วมโครงการฯ ด้วย
--------------------------------------------------------------------------------------------------------- (1)BIMSTEC หรือ ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation) เป็นกรอบความร่วมมือระหว่าง 7 ประเทศในภูมิภาคอ่าวเบงกอล ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย พม่า เนปาล ศรีลังกา และไทย โดยมีความร่วมมือระหว่างกัน 13 สาขา และไทยรับเป็นประเทศนำในสาขา ประมง สาธารณสุข และการเสริมสร้างความสัมพันธ์ภาคประชาชน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-