แท็ก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กระทรวงการต่างประเทศ
องค์การสหประชาชาติ
กระทรวงต่างประเทศ
เปรม ติณสูลานนท์
กระทรวงวัฒนธรรม
กรุงเทพ--29 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ฯพณฯ นายโคฟี อันนัน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ
ฯพณฯ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรีและรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ฯพณฯ ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมในการอภิปรายโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เรื่อง “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการพัฒนามนุษย์” และได้ร่วมกล่าวในฐานะข้าราชบริพารที่ได้รับสิทธิอันทรงเกียรติในการเฝ้าติดตามพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างใกล้ชิด การอภิปรายครั้งนี้ได้จัดขึ้นในช่วงเวลาแห่งความปลื้มปิติยินดีและการเฉลิมฉลองของปวงพสกนิกรทั่วผืนแผ่นดินไทย วันที่ ๙ มิถุนายน ศกนี้ ทั่วราชอาณาจักรไทยจะร่วมเฉลิมฉลองอย่างพร้อมเพียงกันเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี และนับได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทยเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ครองสิริราชสมบัติที่ยาวนานที่สุดในโลก
ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ได้ร่วมต้อนรับ ฯพณฯ นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ผู้มาเยือนประเทศไทยและจะเป็นผู้ทูลเกล้าฯ ทูลกระหม่อมถวาย ”รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์” แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสมหามงคลนี้ อันจะนำความปลาบปลื้มปิติยินดีและภาคภูมิใจมาสู่พวกเราเหล่าพสกนิกรชาวไทย
องค์การสหประชาชาติ โดยเฉพาะสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นดีพี) สมควรได้รับการยกย่องในฐานะเป็นผู้ช่วยบุกเบิกแนวคิดด้านการพัฒนามนุษย์ในระดับโลก ทำให้แนวคิดเกี่ยวกับการให้ความสำคัญต่อประชาชนในการกำหนดนโยบายการพัฒนาได้เผยแพร่สะพัดไปในประชาคมระหว่างประเทศ คำปฏิญาณที่หาญมุ่งไปสู่การพัฒนามนุษย์ได้รับการเชิดชูขึ้นท่ามกลางประชาคมโลกอีกครั้งหนึ่งในปฏิญญาแห่งสหัสวรรษเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๓ และในการจัดทำรายงานผลการประชุมสุดยอดระดับโลกในปีที่ผ่านมา ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นจารึกที่สะท้อนความพยายามของท่านเลขาธิการโคฟี อันนัน
และในส่วนของประเทศไทยมีอะไรบ้าง
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
หัวข้อการอภิปรายโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เรื่อง “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการพัฒนามนุษย์” นั้นเป็นหัวข้อที่มีความเหมาะสมยิ่งนัก ทั้งนี้ ข้าพเจ้าเชื่อว่า หัวข้อการอภิปรายได้สะท้อนให้เห็นถึงหนึ่งในพระวิริยะและความมุ่งมั่นในพระองค์ และความสำเร็จของประเทศไทยในช่วงระยะเวลา ๖๐ ปีภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ประชาชนชาวไทยได้รับความผาสุกจากพระวิริยะอุตสาหะที่ทรงมิรู้จักเหน็ดเหนื่อยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการช่วยบรรเทาสถานการณ์ที่วิกฤติและยกระดับสภาพความเป็นอยู่ของไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์ สำหรับข้าพเจ้าแล้ว เรื่องราวแห่งพระราชกรณียกิจตลอดระยะเวลาการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นเรื่องราวการส่งเสริมการพัฒนามนุษย์ที่ควรแก่การเล่าขานสู่กันฟัง
เมื่อหกสิบปีที่แล้วในปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ได้ประทานพระปฐมบรมราชโองการในการครองราชย์ว่า “ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงยึดพสกนิกรชาวไทยไว้กลางพระราชหฤทัยตลอดรัชสมัยแห่งการครองราชย์ที่ผ่านมา
นับระยะเวลาหกสิบปีล่วงเลยมาแล้ว คำมั่นสัญญาดังกล่าวได้ถ่ายทอดผ่านพระราชกรณียกิจในองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จไปทั่วทุกภาคของประเทศไทยเพื่อทรงศึกษาปัญหาที่เหล่าประชาราษฎร์ต้องประสบด้วยพระองค์เอง และทรงช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ข้าพเจ้ายังจำได้ถึงการเสด็จบุกเบิกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในการเสด็จเยือนพื้นที่ชนบทยากจน ห่างไกลและทุรกันดารในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อปี ๒๔๙๘ ตลอดระยะเวลายี่สิบสองวันที่ยากลำบาก ทั้งสองพระองค์ได้ทรงเสร็จเยือนหมู่บ้านต่างๆ และทรงพูดคุยกับชาวบ้าน เพื่อเรียนรู้ถึงปัญหาและข้อห่วงใยต่าง ๆ และตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา การเยี่ยมชาวบ้านในลักษณะดังกล่าวก็ได้กลายเป็นราชธรรมเนียมปฏิบัติพระราชกรณียกิจโดยปกติของพระองค์
นับจากนั้นมาก็ได้มีพระราชดำริต่าง ๆ ตามมาอย่างนับไม่ถ้วนในการนำการพัฒนาไปสู่พื้นที่ห่างไกลความเจริญ มูลนิธิชัยพัฒนาได้ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือสนับสนุนทางการเงินขั้นต้นแก่โครงการพัฒนาต่าง ๆ โครงการพระราชดำริของพระองค์ได้ทรงนำความรู้เรื่องการปลูกพืชทดแทนให้แก่ชาวไทยภูเขาซึ่งอาศัยตามแนวชายแดนไทยที่ติดกับประเทศลาวและประเทศพม่า ศูนย์ศึกษาการพัฒนาตามพระราชดำริในที่ต่างๆ เปรียบเสมือนสถานทดลองเพาะปลูกพืชพันธุ์ใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้ชาวไร่ชาวสวนได้มีความสุขกับการเก็บเกี่ยวพืชสวนที่ให้ดอกออกผลมากขึ้น พระราชดำริในเรื่องการพัฒนาต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมุ่งเน้นไปยังความต้องการของประชาชน ดังสะท้อนอยู่ในพระราชดำรัสที่ว่า การจัดทำโครงการเพื่อช่วยประชาชนเป็นสิ่งจำเป็นที่เราจะต้องรู้จักประชาชนที่เราประสงค์จะให้ความช่วยเหลือเสียก่อน
ผู้มีเกียรติทั้งหลาย
พระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นมีจำนวนมากมายเหลือคณานับ การอภิปรายในหนึ่งวันคงไม่สามารถครอบคลุมผลงานตลอดระยะเวลาหกสิบปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ ข้าพเจ้าใคร่ขอสะท้อนถึงหลักแนวทางสำคัญ ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประทานให้ประชาชนชาวไทยในการดำรงชีวิตและการพัฒนา ดังที่ข้าพเจ้าได้สังเกตเห็นดังต่อไปนี้
ประการที่หนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญต่อการรู้จักประมาณตนในการครองชีพ ทางสายกลาง หรือ มัชฌิมาปฏิปทา เมื่อถูกนำไปปฏิบัติในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน รวมถึงการดำเนินการเพื่อบรรลุถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาแห่งชาติที่มีสมดุลยภาพและจะช่วยสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งในการเผชิญกับความท้าทายของยุคโลกาภิวัฒน์ในปัจจุบัน ซึ่งเรื่องดังกล่าวได้สะท้อนอยู่ในแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งปรากฎให้เห็นผลที่ชัดเจนภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ หลังจากได้นำหลักการดังกล่าวไปปฏิบัติเป็นระยะเวลาหนึ่ง แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงรวมถึงการรู้จักประมาณในการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ในวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ซึ่งจะช่วยลดความกระหายในความร่ำรวยและการใช้จ่ายอย่างฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย แนวคิดดังกล่าวมิได้ส่งเสริมให้ดำรงชีวิตอย่างโดดเดี่ยว หากแต่ช่วยผสมผสานให้เข้ากับเศรษฐกิจของโลก นอกจากนั้นแนวคิดดังกล่าวยังช่วยเสริมสร้างศีลธรรมให้กับประเทศชาติโดยการส่งเสริมสนับสนุนความซื่อสัตย์และคุณธรรม
ประการที่สอง ประชาชนจำเป็นต้องมีความอุตสาหะอดทนในการเผชิญกับความทุกข์ยากและความลำบากตรากตรำ สิ่งท้าทายใด ๆ ต่อความมั่นคงทางมนุษยชาติที่มนุษย์เราต้องเผชิญ ล้วนสามารถพิชิตได้ทั้งสิ้น หากแต่เราต้องมีความมุมานะในการเอาชนะอุปสรรคและสิ่งท้าท้ายดังกล่าว ซึ่งเรื่องนี้สามารถนำไปใช้ได้กับการพัฒนา ไม่มีปัญหาใด ๆ ในโลกที่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีง่าย ๆ หรือในระยะเวลาอันรวดเร็ว พวกเราต้องรู้จักพึ่งพาตนเองเป็นอันดับแรก พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้เมื่อสองพันกว่าปีที่แล้วว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ซึ่งเป็นที่มาของพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มุ่งเน้นช่วยเหลือประชาชนให้มีความสามารถช่วยเหลือตนเอง
ประการที่สาม ประชาชนควรรักษาไว้ซึ่งความเป็นเอกัตภาพหรือปัจเจกชนในการระบุปัญหาและเลือกวิธีการแก้ไข อันเป็นการแสดงถึงอิสรภาพในการเลือกของแต่ละบุคคล หากแต่ต้องรู้จักเลือกอย่างฉลาดด้วย ซึ่งการเลือกอย่างฉลาดดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อประชาชนมีความตระหนักรู้ ในขณะเดียวกันประชาชนควรมีความตั้งใจที่จะเสียสละเพื่อช่วยเหลือชุมชน หมู่บ้าน หรือประเทศชาติ ให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ดีร่วมกันและทุกฝ่ายได้รับผลประโยชน์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ตรัสไว้ว่า “เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ดีร่วมกันไม่ได้หมายความว่าพวกเราทุกคนต้องเสียสละจนหมดตัว หากแต่หมายความว่าเราควรเสียสละในสิ่งที่เราเสียสละได้เพื่อให้ส่วนรวมอยู่รอด”
และประการที่สี่คือ ประชาชนควรยึดมั่นในความเป็นคนไทย เราเป็นชาติที่เก่าแก่ ซึ่งเต็มไปด้วยมรดกทางวัฒนธรรม และร่ำรวยไปด้วยภูมิปัญญาที่สั่งสมกันมาหลายชั่วอายุคน ประชาชนชาวไทยไม่ควรเพียงแต่ภาคภูมิใจในสิ่งเหล่านี้ หากควรต้องรู้จักนำภูมิความรู้เหล่านี้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตด้วย ความรู้จากภายนอกก็เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเตือนให้เรารู้จักนำความรู้ ไม่ว่าจากแหล่งใดก็ตาม ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยพวกเราก็ต้องรู้จักเลือกในสิ่งที่พวกเราจะนำมาใช้ปฏิบัติด้วย
ผู้มีเกียรติทุกท่าน
การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะได้รับการเทิดพระเกียรติทั่วทั้งสากลให้เป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีพระวิระยะอุตสาหะและพระมหากษัตริย์นักพัฒนา คงไม่ยิ่งใหญ่ไปกว่าในพระราชหฤทัยของพระองค์ทรงมีแต่พสกนิกรชาวไทย ซึ่งนั่นคือเหตุผลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติ และเป็นภูมิพลังต่อการพัฒนาคนบนผืนแผ่นดินไทยนี้ ซึ่งพวกเราประชาชนชาวไทยมีความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น
ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติที่เปิดการอภิปรายโดยผู้ทรงคุณวุฒิเรื่อง “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการพัฒนามนุษย์” ณ บัดนี้
****************************
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ฯพณฯ นายโคฟี อันนัน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ
ฯพณฯ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรีและรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ฯพณฯ ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมในการอภิปรายโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เรื่อง “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการพัฒนามนุษย์” และได้ร่วมกล่าวในฐานะข้าราชบริพารที่ได้รับสิทธิอันทรงเกียรติในการเฝ้าติดตามพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างใกล้ชิด การอภิปรายครั้งนี้ได้จัดขึ้นในช่วงเวลาแห่งความปลื้มปิติยินดีและการเฉลิมฉลองของปวงพสกนิกรทั่วผืนแผ่นดินไทย วันที่ ๙ มิถุนายน ศกนี้ ทั่วราชอาณาจักรไทยจะร่วมเฉลิมฉลองอย่างพร้อมเพียงกันเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี และนับได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทยเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ครองสิริราชสมบัติที่ยาวนานที่สุดในโลก
ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ได้ร่วมต้อนรับ ฯพณฯ นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ผู้มาเยือนประเทศไทยและจะเป็นผู้ทูลเกล้าฯ ทูลกระหม่อมถวาย ”รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์” แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสมหามงคลนี้ อันจะนำความปลาบปลื้มปิติยินดีและภาคภูมิใจมาสู่พวกเราเหล่าพสกนิกรชาวไทย
องค์การสหประชาชาติ โดยเฉพาะสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นดีพี) สมควรได้รับการยกย่องในฐานะเป็นผู้ช่วยบุกเบิกแนวคิดด้านการพัฒนามนุษย์ในระดับโลก ทำให้แนวคิดเกี่ยวกับการให้ความสำคัญต่อประชาชนในการกำหนดนโยบายการพัฒนาได้เผยแพร่สะพัดไปในประชาคมระหว่างประเทศ คำปฏิญาณที่หาญมุ่งไปสู่การพัฒนามนุษย์ได้รับการเชิดชูขึ้นท่ามกลางประชาคมโลกอีกครั้งหนึ่งในปฏิญญาแห่งสหัสวรรษเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๓ และในการจัดทำรายงานผลการประชุมสุดยอดระดับโลกในปีที่ผ่านมา ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นจารึกที่สะท้อนความพยายามของท่านเลขาธิการโคฟี อันนัน
และในส่วนของประเทศไทยมีอะไรบ้าง
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
หัวข้อการอภิปรายโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เรื่อง “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการพัฒนามนุษย์” นั้นเป็นหัวข้อที่มีความเหมาะสมยิ่งนัก ทั้งนี้ ข้าพเจ้าเชื่อว่า หัวข้อการอภิปรายได้สะท้อนให้เห็นถึงหนึ่งในพระวิริยะและความมุ่งมั่นในพระองค์ และความสำเร็จของประเทศไทยในช่วงระยะเวลา ๖๐ ปีภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ประชาชนชาวไทยได้รับความผาสุกจากพระวิริยะอุตสาหะที่ทรงมิรู้จักเหน็ดเหนื่อยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการช่วยบรรเทาสถานการณ์ที่วิกฤติและยกระดับสภาพความเป็นอยู่ของไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์ สำหรับข้าพเจ้าแล้ว เรื่องราวแห่งพระราชกรณียกิจตลอดระยะเวลาการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นเรื่องราวการส่งเสริมการพัฒนามนุษย์ที่ควรแก่การเล่าขานสู่กันฟัง
เมื่อหกสิบปีที่แล้วในปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ได้ประทานพระปฐมบรมราชโองการในการครองราชย์ว่า “ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงยึดพสกนิกรชาวไทยไว้กลางพระราชหฤทัยตลอดรัชสมัยแห่งการครองราชย์ที่ผ่านมา
นับระยะเวลาหกสิบปีล่วงเลยมาแล้ว คำมั่นสัญญาดังกล่าวได้ถ่ายทอดผ่านพระราชกรณียกิจในองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จไปทั่วทุกภาคของประเทศไทยเพื่อทรงศึกษาปัญหาที่เหล่าประชาราษฎร์ต้องประสบด้วยพระองค์เอง และทรงช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ข้าพเจ้ายังจำได้ถึงการเสด็จบุกเบิกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในการเสด็จเยือนพื้นที่ชนบทยากจน ห่างไกลและทุรกันดารในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อปี ๒๔๙๘ ตลอดระยะเวลายี่สิบสองวันที่ยากลำบาก ทั้งสองพระองค์ได้ทรงเสร็จเยือนหมู่บ้านต่างๆ และทรงพูดคุยกับชาวบ้าน เพื่อเรียนรู้ถึงปัญหาและข้อห่วงใยต่าง ๆ และตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา การเยี่ยมชาวบ้านในลักษณะดังกล่าวก็ได้กลายเป็นราชธรรมเนียมปฏิบัติพระราชกรณียกิจโดยปกติของพระองค์
นับจากนั้นมาก็ได้มีพระราชดำริต่าง ๆ ตามมาอย่างนับไม่ถ้วนในการนำการพัฒนาไปสู่พื้นที่ห่างไกลความเจริญ มูลนิธิชัยพัฒนาได้ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือสนับสนุนทางการเงินขั้นต้นแก่โครงการพัฒนาต่าง ๆ โครงการพระราชดำริของพระองค์ได้ทรงนำความรู้เรื่องการปลูกพืชทดแทนให้แก่ชาวไทยภูเขาซึ่งอาศัยตามแนวชายแดนไทยที่ติดกับประเทศลาวและประเทศพม่า ศูนย์ศึกษาการพัฒนาตามพระราชดำริในที่ต่างๆ เปรียบเสมือนสถานทดลองเพาะปลูกพืชพันธุ์ใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้ชาวไร่ชาวสวนได้มีความสุขกับการเก็บเกี่ยวพืชสวนที่ให้ดอกออกผลมากขึ้น พระราชดำริในเรื่องการพัฒนาต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมุ่งเน้นไปยังความต้องการของประชาชน ดังสะท้อนอยู่ในพระราชดำรัสที่ว่า การจัดทำโครงการเพื่อช่วยประชาชนเป็นสิ่งจำเป็นที่เราจะต้องรู้จักประชาชนที่เราประสงค์จะให้ความช่วยเหลือเสียก่อน
ผู้มีเกียรติทั้งหลาย
พระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นมีจำนวนมากมายเหลือคณานับ การอภิปรายในหนึ่งวันคงไม่สามารถครอบคลุมผลงานตลอดระยะเวลาหกสิบปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ ข้าพเจ้าใคร่ขอสะท้อนถึงหลักแนวทางสำคัญ ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประทานให้ประชาชนชาวไทยในการดำรงชีวิตและการพัฒนา ดังที่ข้าพเจ้าได้สังเกตเห็นดังต่อไปนี้
ประการที่หนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญต่อการรู้จักประมาณตนในการครองชีพ ทางสายกลาง หรือ มัชฌิมาปฏิปทา เมื่อถูกนำไปปฏิบัติในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน รวมถึงการดำเนินการเพื่อบรรลุถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาแห่งชาติที่มีสมดุลยภาพและจะช่วยสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งในการเผชิญกับความท้าทายของยุคโลกาภิวัฒน์ในปัจจุบัน ซึ่งเรื่องดังกล่าวได้สะท้อนอยู่ในแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งปรากฎให้เห็นผลที่ชัดเจนภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ หลังจากได้นำหลักการดังกล่าวไปปฏิบัติเป็นระยะเวลาหนึ่ง แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงรวมถึงการรู้จักประมาณในการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ในวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ซึ่งจะช่วยลดความกระหายในความร่ำรวยและการใช้จ่ายอย่างฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย แนวคิดดังกล่าวมิได้ส่งเสริมให้ดำรงชีวิตอย่างโดดเดี่ยว หากแต่ช่วยผสมผสานให้เข้ากับเศรษฐกิจของโลก นอกจากนั้นแนวคิดดังกล่าวยังช่วยเสริมสร้างศีลธรรมให้กับประเทศชาติโดยการส่งเสริมสนับสนุนความซื่อสัตย์และคุณธรรม
ประการที่สอง ประชาชนจำเป็นต้องมีความอุตสาหะอดทนในการเผชิญกับความทุกข์ยากและความลำบากตรากตรำ สิ่งท้าทายใด ๆ ต่อความมั่นคงทางมนุษยชาติที่มนุษย์เราต้องเผชิญ ล้วนสามารถพิชิตได้ทั้งสิ้น หากแต่เราต้องมีความมุมานะในการเอาชนะอุปสรรคและสิ่งท้าท้ายดังกล่าว ซึ่งเรื่องนี้สามารถนำไปใช้ได้กับการพัฒนา ไม่มีปัญหาใด ๆ ในโลกที่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีง่าย ๆ หรือในระยะเวลาอันรวดเร็ว พวกเราต้องรู้จักพึ่งพาตนเองเป็นอันดับแรก พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้เมื่อสองพันกว่าปีที่แล้วว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ซึ่งเป็นที่มาของพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มุ่งเน้นช่วยเหลือประชาชนให้มีความสามารถช่วยเหลือตนเอง
ประการที่สาม ประชาชนควรรักษาไว้ซึ่งความเป็นเอกัตภาพหรือปัจเจกชนในการระบุปัญหาและเลือกวิธีการแก้ไข อันเป็นการแสดงถึงอิสรภาพในการเลือกของแต่ละบุคคล หากแต่ต้องรู้จักเลือกอย่างฉลาดด้วย ซึ่งการเลือกอย่างฉลาดดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อประชาชนมีความตระหนักรู้ ในขณะเดียวกันประชาชนควรมีความตั้งใจที่จะเสียสละเพื่อช่วยเหลือชุมชน หมู่บ้าน หรือประเทศชาติ ให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ดีร่วมกันและทุกฝ่ายได้รับผลประโยชน์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ตรัสไว้ว่า “เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ดีร่วมกันไม่ได้หมายความว่าพวกเราทุกคนต้องเสียสละจนหมดตัว หากแต่หมายความว่าเราควรเสียสละในสิ่งที่เราเสียสละได้เพื่อให้ส่วนรวมอยู่รอด”
และประการที่สี่คือ ประชาชนควรยึดมั่นในความเป็นคนไทย เราเป็นชาติที่เก่าแก่ ซึ่งเต็มไปด้วยมรดกทางวัฒนธรรม และร่ำรวยไปด้วยภูมิปัญญาที่สั่งสมกันมาหลายชั่วอายุคน ประชาชนชาวไทยไม่ควรเพียงแต่ภาคภูมิใจในสิ่งเหล่านี้ หากควรต้องรู้จักนำภูมิความรู้เหล่านี้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตด้วย ความรู้จากภายนอกก็เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเตือนให้เรารู้จักนำความรู้ ไม่ว่าจากแหล่งใดก็ตาม ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยพวกเราก็ต้องรู้จักเลือกในสิ่งที่พวกเราจะนำมาใช้ปฏิบัติด้วย
ผู้มีเกียรติทุกท่าน
การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะได้รับการเทิดพระเกียรติทั่วทั้งสากลให้เป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีพระวิระยะอุตสาหะและพระมหากษัตริย์นักพัฒนา คงไม่ยิ่งใหญ่ไปกว่าในพระราชหฤทัยของพระองค์ทรงมีแต่พสกนิกรชาวไทย ซึ่งนั่นคือเหตุผลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติ และเป็นภูมิพลังต่อการพัฒนาคนบนผืนแผ่นดินไทยนี้ ซึ่งพวกเราประชาชนชาวไทยมีความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น
ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติที่เปิดการอภิปรายโดยผู้ทรงคุณวุฒิเรื่อง “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการพัฒนามนุษย์” ณ บัดนี้
****************************
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-