กรุงเทพ--3 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่มีฝ่ายต่างๆ ในกัมพูชา ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการสร้างและฉายภาพยนตร์ไทยเรื่อง “ล่า-ท้า-ผี (Ghost game)” ซึ่งมีการกล่าวถึงและเลียนแบบสถานกักกันตวลเสลง (S-21) ที่กรุงพนมเปญ อันเป็นแหล่งเกิดเหตุสะเทือนใจประชาชนกัมพูชาในประวัติศาสตร์ เนื่องจากเป็นสถานที่ที่รัฐบาลเขมรแดงใช้ในการทรมานและสังหารประชาชนชาวกัมพูชาในอดีต นั้น
เมื่อ 2 พฤษภาคม 2549 นายกิตติ วะสีนนท์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ตอบข้อซักถามผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า กระทรวงการต่างประเทศได้ประสานงานทำความเข้าใจกับบริษัทผู้สร้างภาพยนตร์ ถึงความละเอียดอ่อนของภาพยนตร์เรื่องนี้ที่มีต่อความรู้สึกประชาชนชาวกัมพูชา รวมทั้งแจ้งให้ทราบถึงปฏิกิริยาของฝ่ายต่างๆ ของกัมพูชา และขอให้บริษัทฯ พิจารณาความเป็นไปได้ในการทบทวนการจัดฉายภาพยนตร์ดังกล่าวโดยเฉพาะในส่วนที่มีฉากและเนื้อหาเลียนแบบสถานที่กักกันในกัมพูชาในอดีต และการดำเนินเรื่องในลักษณะที่ไม่เคารพต่อผู้ถูกสังหารในสถานที่กักกันดังกล่าว เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความไม่เข้าใจและลดผลกระทบที่อาจบานปลายในอนาคต ซึ่งบริษัทผู้สร้างภาพยนตร์ก็ได้แสดงความเข้าใจ และได้แถลงข่าวขออภัยต่อประชาชนกัมพูชาแล้ว เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2549 รวมทั้งได้แสดงท่าทียืดหยุ่นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะหาทางยุติการฉายภาพยนตร์ดังกล่าวต่อไป
นอกจากนั้น กระทรวงการต่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ ได้ประสานกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลกัมพูชา อาทิ เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย อธิบดีกรมสารนิเทศของกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา และอธิบดีกรมการภาพยนตร์ กระทรวงวัฒนธรรมและวิจิตรศิลป์กัมพูชา ถึงความห่วงกังวลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และทางการไทย เกี่ยวกับภาพยนตร์ดังกล่าว และยืนยันว่ากระทรวงการต่างประเทศให้ความสำคัญต่อการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศทั้งสอง และเข้าใจดีถึงความละเอียดอ่อนในประเด็นที่ฝ่ายกัมพูชากังวล ซึ่งฝ่ายกัมพูชาก็ได้ขอบคุณที่ทางการไทยให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้
ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศได้ให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนไทยและประเทศเพื่อนบ้านมาโดยตลอด โดยเห็นว่า การทูตเชิงวัฒนธรรม คือ การแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมและภาพยนตร์จะสามารถเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกันได้ โดยได้ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชนของแต่ละฝ่ายอย่างต่อเนื่อง และในวันที่ 3-5 พฤษภาคม ศกนี้ กระทรวงการต่างประเทศจะนำคณะศิลปินไทยจากบริษัทแกรมมี่ 5 คน ไปร่วมแสดงกับศิลปินกัมพูชาที่กรุงพนมเปญ
กระทรวงการต่างประเทศเคารพต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและการรังสรรค์งานศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างภาพยนตร์ การเขียนหนังสือ การแสดงละคร และอื่นๆ แต่ใคร่ขอให้การใช้เสรีภาพดังกล่าวนั้นเป็นไปโดยให้เกียรติและเคารพความแตกต่างหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และคำนึงถึงความละเอียดอ่อนด้านความรู้สึกของประชาชนในมิตรประเทศของไทยด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ตามที่มีฝ่ายต่างๆ ในกัมพูชา ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการสร้างและฉายภาพยนตร์ไทยเรื่อง “ล่า-ท้า-ผี (Ghost game)” ซึ่งมีการกล่าวถึงและเลียนแบบสถานกักกันตวลเสลง (S-21) ที่กรุงพนมเปญ อันเป็นแหล่งเกิดเหตุสะเทือนใจประชาชนกัมพูชาในประวัติศาสตร์ เนื่องจากเป็นสถานที่ที่รัฐบาลเขมรแดงใช้ในการทรมานและสังหารประชาชนชาวกัมพูชาในอดีต นั้น
เมื่อ 2 พฤษภาคม 2549 นายกิตติ วะสีนนท์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ตอบข้อซักถามผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า กระทรวงการต่างประเทศได้ประสานงานทำความเข้าใจกับบริษัทผู้สร้างภาพยนตร์ ถึงความละเอียดอ่อนของภาพยนตร์เรื่องนี้ที่มีต่อความรู้สึกประชาชนชาวกัมพูชา รวมทั้งแจ้งให้ทราบถึงปฏิกิริยาของฝ่ายต่างๆ ของกัมพูชา และขอให้บริษัทฯ พิจารณาความเป็นไปได้ในการทบทวนการจัดฉายภาพยนตร์ดังกล่าวโดยเฉพาะในส่วนที่มีฉากและเนื้อหาเลียนแบบสถานที่กักกันในกัมพูชาในอดีต และการดำเนินเรื่องในลักษณะที่ไม่เคารพต่อผู้ถูกสังหารในสถานที่กักกันดังกล่าว เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความไม่เข้าใจและลดผลกระทบที่อาจบานปลายในอนาคต ซึ่งบริษัทผู้สร้างภาพยนตร์ก็ได้แสดงความเข้าใจ และได้แถลงข่าวขออภัยต่อประชาชนกัมพูชาแล้ว เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2549 รวมทั้งได้แสดงท่าทียืดหยุ่นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะหาทางยุติการฉายภาพยนตร์ดังกล่าวต่อไป
นอกจากนั้น กระทรวงการต่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ ได้ประสานกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลกัมพูชา อาทิ เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย อธิบดีกรมสารนิเทศของกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา และอธิบดีกรมการภาพยนตร์ กระทรวงวัฒนธรรมและวิจิตรศิลป์กัมพูชา ถึงความห่วงกังวลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และทางการไทย เกี่ยวกับภาพยนตร์ดังกล่าว และยืนยันว่ากระทรวงการต่างประเทศให้ความสำคัญต่อการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศทั้งสอง และเข้าใจดีถึงความละเอียดอ่อนในประเด็นที่ฝ่ายกัมพูชากังวล ซึ่งฝ่ายกัมพูชาก็ได้ขอบคุณที่ทางการไทยให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้
ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศได้ให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนไทยและประเทศเพื่อนบ้านมาโดยตลอด โดยเห็นว่า การทูตเชิงวัฒนธรรม คือ การแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมและภาพยนตร์จะสามารถเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกันได้ โดยได้ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชนของแต่ละฝ่ายอย่างต่อเนื่อง และในวันที่ 3-5 พฤษภาคม ศกนี้ กระทรวงการต่างประเทศจะนำคณะศิลปินไทยจากบริษัทแกรมมี่ 5 คน ไปร่วมแสดงกับศิลปินกัมพูชาที่กรุงพนมเปญ
กระทรวงการต่างประเทศเคารพต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและการรังสรรค์งานศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างภาพยนตร์ การเขียนหนังสือ การแสดงละคร และอื่นๆ แต่ใคร่ขอให้การใช้เสรีภาพดังกล่าวนั้นเป็นไปโดยให้เกียรติและเคารพความแตกต่างหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และคำนึงถึงความละเอียดอ่อนด้านความรู้สึกของประชาชนในมิตรประเทศของไทยด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-