สศอ.เผยสายการบินเริ่มไม่รับสินค้าขึ้นเครื่องฯ หากไม่มีใบรับรองความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ชี้เป็นการบังคับใช้ระเบียบว่าด้วยการควบคุมเคมีภัณฑ์(REACH) ในทางอ้อม เตือนผู้ประกอบการเร่งผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐาน EU แม้จะมีผลบังคับกลางปี 2550
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สายการบินลุฟท์ฮันซ่าของประเทศเยอรมนี ได้ออกมาตรการคุมเข้มสินค้าส่งออกทางสายการบิน โดยจะไม่รับสินค้าที่ยังไม่ผ่านการตรวจสอบหรือไม่มีข้อมูลความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ซึ่งขณะนี้ห้องปฏิบัติการทดสอบ (Testing Laboratory) ของประเทศไทยทั้งสิ้น 81 แห่ง ยังไม่มี Lab ใดที่ได้รับการรับรองตามระบบ GLP (Good Laboratory Practice : GLP) ของ OECD (Organization for Economic Cooperation and Development : OECD) ตามที่ระบบ REACH (Registration, Evaluation and Authorization of Chemicals : REACH) ที่สหภาพยุโรป (European Union : EU) กำหนดไว้เลย จึงขอส่งสัญญาณถึงผู้ประกอบการที่มีสินค้าส่งออกไปยัง EU ให้เร่งปรับปรุงกระบวนการผลิต และเตรียมการทางด้านข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีให้เป็นไปตามระเบียบ REACH เพื่อให้มีความพร้อมก่อนประกาศใช้จริง
“ถึงแม้ระเบียบ REACH จะยังไม่มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ แต่เมื่อสายการบินของประเทศเยอรมันปฏิเสธสินค้าขึ้นเครื่องฯ นั้น เป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการบังคับใช้ในทางอ้อม ซึ่งจากนี้ไปหากไม่สามารถผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานตามที่ EU กำหนด ผู้ประกอบการจะไม่สามารถรักษาตลาดนั้นได้ ซึ่งถือเป็นการสูญเสียโอกาสอย่างน่าเสียดาย เนื่องจาก EU เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยอีกแห่งหนึ่ง โดยขณะนี้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมทั้ง สศอ.กำลังเร่งผลักดันให้ห้อง Lab ของไทยมีศักยภาพในการทดสอบโดยการยกระดับให้เป็นไปตามระบบ GLP และได้มาตรฐานของ OEDC และ EU รับรอง”
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า แม้ปัจจุบันระเบียบ REACH ยังไม่มีผลบังคับใช้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภายุโรป แต่ตามกำหนดเดิมจะนำออกมาใช้ในกลางปี 2550 ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ EU ได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อดูแลการดำเนินงานในช่วงเตรียมการภายใต้โครงการ RIP (REACH IMPLEMENTATION PROJECTS) สำหรับการนำระเบียบ REACH มาใช้ หากผู้ประกอบการของไทยสามารถปรับตัวและเตรียมความพร้อมได้เร็วกว่าประเทศอื่นๆ ก็จะส่งผลต่อการรักษาตลาดเดิมไว้ รวมทั้งยังสามารถเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดจากประเทศอื่นที่ไม่พร้อม ซึ่งถือเป็นการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสทางการค้าของประเทศต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สายการบินลุฟท์ฮันซ่าของประเทศเยอรมนี ได้ออกมาตรการคุมเข้มสินค้าส่งออกทางสายการบิน โดยจะไม่รับสินค้าที่ยังไม่ผ่านการตรวจสอบหรือไม่มีข้อมูลความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ซึ่งขณะนี้ห้องปฏิบัติการทดสอบ (Testing Laboratory) ของประเทศไทยทั้งสิ้น 81 แห่ง ยังไม่มี Lab ใดที่ได้รับการรับรองตามระบบ GLP (Good Laboratory Practice : GLP) ของ OECD (Organization for Economic Cooperation and Development : OECD) ตามที่ระบบ REACH (Registration, Evaluation and Authorization of Chemicals : REACH) ที่สหภาพยุโรป (European Union : EU) กำหนดไว้เลย จึงขอส่งสัญญาณถึงผู้ประกอบการที่มีสินค้าส่งออกไปยัง EU ให้เร่งปรับปรุงกระบวนการผลิต และเตรียมการทางด้านข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีให้เป็นไปตามระเบียบ REACH เพื่อให้มีความพร้อมก่อนประกาศใช้จริง
“ถึงแม้ระเบียบ REACH จะยังไม่มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ แต่เมื่อสายการบินของประเทศเยอรมันปฏิเสธสินค้าขึ้นเครื่องฯ นั้น เป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการบังคับใช้ในทางอ้อม ซึ่งจากนี้ไปหากไม่สามารถผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานตามที่ EU กำหนด ผู้ประกอบการจะไม่สามารถรักษาตลาดนั้นได้ ซึ่งถือเป็นการสูญเสียโอกาสอย่างน่าเสียดาย เนื่องจาก EU เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยอีกแห่งหนึ่ง โดยขณะนี้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมทั้ง สศอ.กำลังเร่งผลักดันให้ห้อง Lab ของไทยมีศักยภาพในการทดสอบโดยการยกระดับให้เป็นไปตามระบบ GLP และได้มาตรฐานของ OEDC และ EU รับรอง”
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า แม้ปัจจุบันระเบียบ REACH ยังไม่มีผลบังคับใช้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภายุโรป แต่ตามกำหนดเดิมจะนำออกมาใช้ในกลางปี 2550 ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ EU ได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อดูแลการดำเนินงานในช่วงเตรียมการภายใต้โครงการ RIP (REACH IMPLEMENTATION PROJECTS) สำหรับการนำระเบียบ REACH มาใช้ หากผู้ประกอบการของไทยสามารถปรับตัวและเตรียมความพร้อมได้เร็วกว่าประเทศอื่นๆ ก็จะส่งผลต่อการรักษาตลาดเดิมไว้ รวมทั้งยังสามารถเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดจากประเทศอื่นที่ไม่พร้อม ซึ่งถือเป็นการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสทางการค้าของประเทศต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-