วันนี้ (12 พ.ย.49) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประธานคณะทำงานตรวจสอบทุจริต กล่าวว่า ตามที่คณะทำงานตรวจสอบการทุจริตของพรรคประชาธิปัตย์ได้รับการร้องเรียนผ่านตู้ปณ. 222 เกี่ยวกับการทุจริตในการจัดซื้อสินค้าและพัสดุเพื่อบริการผู้โดยสารของบริษัทการบินไทยจำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของประเทศ จากการตรวจสอบพบว่ามีพยานและหลักฐานที่น่าเชื่อว่ามีการจัดซื้อ 2 รายการ ที่มีความไม่โปร่งใส ส่อทุจริต โดยมีการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทที่เกี่ยวพัน ถึงที่ปรึกษา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ โดยแบ่งเป็น
1. การจัดซื้อผ้าห่มจำนวน 600,000 ผืน โดยไม่มีการประมูลแต่อย่างใด บริษัทที่ได้รับให้ทำการจัดซื้อคือบริษัทวรพันธ์ โดยมีผ้าโมดาครีลิก 100 % ส่งมอบในราคา 220 บาท ในขณะที่มีบริษัทที่เป็นของผู้ผลิตคนไทยได้เสนอในราคา 154 บาท ทั้งที่สเปคเดียวกัน และมีการปักโลโก้ของการบินไทยอยู่ในผ้าห่มดังกล่าวนี้ด้วย แต่ไม่ได้รับพิจารณา
2.การจัดซื้อกระเป๋าเดินทางสำหรับผู้โดยสารชั้นธุรกิจ และชั้นหนึ่ง โดยที่มีการประกาศให้มีการเสนอราคาในการจัดซื้อ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2549 โดยจะมีการจัดซื้อสำหรับชั้นหนึ่งจำนวน 72,000 ชุด และชั้นธุรกิจจำนวน 720,000 ชุด เป็นเงินงบประมาณ 229 ล้านบาท ปรากฎว่ามีความไม่โปร่งใส ในขั้นตอนการพิจารณาคัดเลือก ส่อว่าจะเอื้อกับบริษัท “เอส.” ซึ่งเจ้าของเป็นคนคนเดียวกันกับบริษัทวรพันธ์ โดยที่บริษัทดังกล่าวนั้นได้รับการสั่งซื้อจากการบินไทย งวดปี 2547 / 2548 และบริษัทนี้มีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท เช่นกัน พอตรวจสอบก็ได้พบว่าในการจัดซื้อเมื่อปี 2547 / 2548 นั้นปรากฎว่ามีเพียง 2 บริษัทที่ได้ การจัดซื้อของชั้นหนึ่งจำนวน 72, 000 ชุดนั้นได้กับบริษัทวอเตอร์มาร์ค และบริษัทโซโลโมน่า ส่วนชั้นธุรกิจจำนวน 720,000 ชุดนั้นก็ได้กับบริษัทวอเตอร์มาร์ค และบริษัทโซโลโมน่า และในการจัดซื้อปี 2549 ส่อว่าจะเอื้อให้กับรายเดิม โดยมีขั้นตอนของการให้คะแนนส่อตุกติก เอื้อที่จะให้บริษัทซึ่งได้คะแนนต่ำขึ้นมาชนะบริษัทที่ได้คะแนนดีกว่า
“ ขอให้ทางบริษัทการบินไทยชะลอ การทำสัญญา เพื่อให้มีการตรวจสอบและความเป็นธรรมในเรื่องการจัดซื้อของชุดกระเป๋าเดินทางสำหรับผู้โดยสารชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจเพราะว่าเป็นวงเงินถึง 229 ล้านบาท ในการจัดซื้อปี 2549 ซึ่งเป็นจำนวนเดียวกันกับปี 2547 / 2548 ส่วนการจัดซื้อผ้าห่มนั้นก็จะได้ให้ทางสตง.และสปช. เข้าไปตรวจสอบ เนื่องจากว่าจากการสืบสวนสอบสวนได้ทราบว่าบริษัทดังกล่าวที่ส่งผ้าห่มและก็ส่งกระเป๋าเดินทางนั้นเป็นของดอกเตอร์คนหนึ่งซึ่งเป็นนักธุรกิจใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่แล้วก็มีนามบัตรเป็นที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคไทยรักไทยพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร โดยเบอร์โทรศัพท์สำนักงานและโทรสารที่อยู่ในนามบัตรนั้นตรงกับบริษัทวรพันธ์และบริษัทโซโลโมน่า จะเห็นว่าหมายเลข 02- 3619115 ตรงกัน บริษัทวอเตอร์มาร์ค และบริษัทโซโลโมน่า มีความเกี่ยวโยงกัน คือมีที่อยู่บริษัทที่เดียวกัน ทำให้เชื่อได้ว่าในการจัดซื้อของคณะกรรมการหมวดของการบินไทยนั้นมีมีความไม่โปร่งใสและมีความจำเป็นที่สตง.และสปช. จะต้องเข้าไปตรวจสอบทุกรายการในการจัดซื้อปี 2547 / 2548 และ 2549 ซึ่งเป็นอีกกรณีหนึ่งที่เราได้ตรวจสอบและก็จะได้สรุปรายงานและก็จะได้ส่งให้กับสตง.และสปช. ในสัปดาห์หน้าต่อไป” นายอลงกรณ์กล่าว
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า สำหรับบุคคลดังกล่าวนี้ มีนามบัตรว่าเป็นที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และยังได้รับการแต่งตั้งโดยครม. สมัย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2547 ให้เป็นบอร์ดของธนาคารออมสินด้วย และเป็นนักธุรกิจใหญ่ที่เชียงใหม่ เคยเป็นนายกสโมสรไลออนท์ ที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวของ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ซึ่งสุริยะ ได้แจ้งแสดงบัญชีทรัพย์สินว่าให้กู้กับบริษัทหนึ่ง จำนวน 20 ล้านบาท และบุคคลคนนี้ยังเป็น วปรอ. 388 ร่วมกับนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ที่สำคัญคือรายการอย่างนี้ได้สังเกตว่าการบินไทยเป็นบริษัทมหาชนจำกัดในตลาดหลักทรัพย์แล้วก็รัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่ว่าแทนที่จะสนับสนุนส่งเสริมผู้ผลิตในประเทศกลับจัดซื้อสินค้าต่างประเทศจากจีน ซึ่งก็เป็นอีกข้อสังเกตหนึ่งว่าหลักบริษัทภิบาลในการบินไทยนั้นคงต้องได้รับการตรวจสอบ” รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 12 พ.ย. 2549--จบ--
1. การจัดซื้อผ้าห่มจำนวน 600,000 ผืน โดยไม่มีการประมูลแต่อย่างใด บริษัทที่ได้รับให้ทำการจัดซื้อคือบริษัทวรพันธ์ โดยมีผ้าโมดาครีลิก 100 % ส่งมอบในราคา 220 บาท ในขณะที่มีบริษัทที่เป็นของผู้ผลิตคนไทยได้เสนอในราคา 154 บาท ทั้งที่สเปคเดียวกัน และมีการปักโลโก้ของการบินไทยอยู่ในผ้าห่มดังกล่าวนี้ด้วย แต่ไม่ได้รับพิจารณา
2.การจัดซื้อกระเป๋าเดินทางสำหรับผู้โดยสารชั้นธุรกิจ และชั้นหนึ่ง โดยที่มีการประกาศให้มีการเสนอราคาในการจัดซื้อ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2549 โดยจะมีการจัดซื้อสำหรับชั้นหนึ่งจำนวน 72,000 ชุด และชั้นธุรกิจจำนวน 720,000 ชุด เป็นเงินงบประมาณ 229 ล้านบาท ปรากฎว่ามีความไม่โปร่งใส ในขั้นตอนการพิจารณาคัดเลือก ส่อว่าจะเอื้อกับบริษัท “เอส.” ซึ่งเจ้าของเป็นคนคนเดียวกันกับบริษัทวรพันธ์ โดยที่บริษัทดังกล่าวนั้นได้รับการสั่งซื้อจากการบินไทย งวดปี 2547 / 2548 และบริษัทนี้มีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท เช่นกัน พอตรวจสอบก็ได้พบว่าในการจัดซื้อเมื่อปี 2547 / 2548 นั้นปรากฎว่ามีเพียง 2 บริษัทที่ได้ การจัดซื้อของชั้นหนึ่งจำนวน 72, 000 ชุดนั้นได้กับบริษัทวอเตอร์มาร์ค และบริษัทโซโลโมน่า ส่วนชั้นธุรกิจจำนวน 720,000 ชุดนั้นก็ได้กับบริษัทวอเตอร์มาร์ค และบริษัทโซโลโมน่า และในการจัดซื้อปี 2549 ส่อว่าจะเอื้อให้กับรายเดิม โดยมีขั้นตอนของการให้คะแนนส่อตุกติก เอื้อที่จะให้บริษัทซึ่งได้คะแนนต่ำขึ้นมาชนะบริษัทที่ได้คะแนนดีกว่า
“ ขอให้ทางบริษัทการบินไทยชะลอ การทำสัญญา เพื่อให้มีการตรวจสอบและความเป็นธรรมในเรื่องการจัดซื้อของชุดกระเป๋าเดินทางสำหรับผู้โดยสารชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจเพราะว่าเป็นวงเงินถึง 229 ล้านบาท ในการจัดซื้อปี 2549 ซึ่งเป็นจำนวนเดียวกันกับปี 2547 / 2548 ส่วนการจัดซื้อผ้าห่มนั้นก็จะได้ให้ทางสตง.และสปช. เข้าไปตรวจสอบ เนื่องจากว่าจากการสืบสวนสอบสวนได้ทราบว่าบริษัทดังกล่าวที่ส่งผ้าห่มและก็ส่งกระเป๋าเดินทางนั้นเป็นของดอกเตอร์คนหนึ่งซึ่งเป็นนักธุรกิจใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่แล้วก็มีนามบัตรเป็นที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคไทยรักไทยพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร โดยเบอร์โทรศัพท์สำนักงานและโทรสารที่อยู่ในนามบัตรนั้นตรงกับบริษัทวรพันธ์และบริษัทโซโลโมน่า จะเห็นว่าหมายเลข 02- 3619115 ตรงกัน บริษัทวอเตอร์มาร์ค และบริษัทโซโลโมน่า มีความเกี่ยวโยงกัน คือมีที่อยู่บริษัทที่เดียวกัน ทำให้เชื่อได้ว่าในการจัดซื้อของคณะกรรมการหมวดของการบินไทยนั้นมีมีความไม่โปร่งใสและมีความจำเป็นที่สตง.และสปช. จะต้องเข้าไปตรวจสอบทุกรายการในการจัดซื้อปี 2547 / 2548 และ 2549 ซึ่งเป็นอีกกรณีหนึ่งที่เราได้ตรวจสอบและก็จะได้สรุปรายงานและก็จะได้ส่งให้กับสตง.และสปช. ในสัปดาห์หน้าต่อไป” นายอลงกรณ์กล่าว
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า สำหรับบุคคลดังกล่าวนี้ มีนามบัตรว่าเป็นที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และยังได้รับการแต่งตั้งโดยครม. สมัย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2547 ให้เป็นบอร์ดของธนาคารออมสินด้วย และเป็นนักธุรกิจใหญ่ที่เชียงใหม่ เคยเป็นนายกสโมสรไลออนท์ ที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวของ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ซึ่งสุริยะ ได้แจ้งแสดงบัญชีทรัพย์สินว่าให้กู้กับบริษัทหนึ่ง จำนวน 20 ล้านบาท และบุคคลคนนี้ยังเป็น วปรอ. 388 ร่วมกับนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ที่สำคัญคือรายการอย่างนี้ได้สังเกตว่าการบินไทยเป็นบริษัทมหาชนจำกัดในตลาดหลักทรัพย์แล้วก็รัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่ว่าแทนที่จะสนับสนุนส่งเสริมผู้ผลิตในประเทศกลับจัดซื้อสินค้าต่างประเทศจากจีน ซึ่งก็เป็นอีกข้อสังเกตหนึ่งว่าหลักบริษัทภิบาลในการบินไทยนั้นคงต้องได้รับการตรวจสอบ” รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 12 พ.ย. 2549--จบ--