นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้นำคณะผู้แทนการค้าและการลงทุนไทยประกอบด้วยรัฐวิสาหกิจด้านโทรคมนาคมจากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท. จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบการด้านการเกษตรและพลังงานทดแทน ได้แก่ บริษัท ไฮบริด เอ็นเนอร์จี จำกัด และบริษัท ศิริชัย อินเตอร์เทรด จำกัด ไปเจรจาหาลู่ทางขยายการค้าและการลงทุนกับอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นแผนการดำเนินงานส่งเสริมการค้าและการลงทุนอาเซียนของกรมการค้าต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 9-12 สิงหาคม 2549 ในโอกาสนี้คณะผู้แทนฯ ไทยได้ประชุมหารือกับ
- คณะกรรมการประสานการลงทุน (BKPM) แห่งอินโดนีเซีย เพื่อเจรจาหาลู่ทางการขยายการลงทุนและการให้สิทธิพิเศษแก่นักลงทุนไทย ทั้งโครงการที่ดำเนินการอยู่แล้วในปัจจุบัน อาทิ ปูนซีเมนต์ และสาขาอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ไทยสนใจเข้าไปลงทุนและดำเนินธุรกิจการค้า เช่น โทรคมนาคม กะลาปาล์ม และ ปุ๋ยยูเรีย เป็นต้น
- กระทรวงโทรคมนาคมและสารสนเทศเกี่ยวกับโอกาสการร่วมลงทุนในกิจการโทรคมนาคม
- กระทรวงเกษตรในประเด็นปาล์มน้ำมัน ข้าว ถั่วเขียว ยางพารา ของอินโดนีเซีย
- ภาคเอกชน อาทิ บริษัท PT Telekom และบริษัท PT Indosat ซึ่งเป็นผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคมรายใหญ่อันดับหนึ่งและสองของอินโดนีเซียเกี่ยวกับการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ การร่วมลงทุน และลู่ทางขยายโครงการความร่วมมือด้านโทรคมนาคมระหว่างกัน นอกจากนี้ ผู้ประกอบการด้านเกษตรได้เจรจาซื้อกะลาปาล์มจากบริษัท โคเม็คอินโด เพื่อใช้ผลิตพลังงานทางเลือกทดแทนน้ำมันเตา
การเดินทางครั้งนี้ นับว่าประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ บริษัท ทศท จำกัด (มหาชน) แสดงความสนใจลงทุนวางระบบโทรศัพท์พื้นฐานในอินโดนีเซีย ซึ่งฝ่ายอินโดนีเซียขอให้ยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงค์ ต่อกรมไปรษณีย์และโทรคมนาคม และยังได้เชิญชวนฝ่ายไทยเข้าร่วมลงทุนผลิตชิ้นส่วนโทรคมนาคมเพื่อจำหน่ายในประเทศอินโดนีเซีย รวมทั้งเสนอให้มีความร่วมมือในการใช้ประโยชน์จากโครงการสายเคเบิ้ลใต้น้ำไทย—สิงคโปร์—อินโดนีเซีย โดยตลาดโทรคมนาคมในอินโดนีเซียยังมีโอกาสการขยายการลงทุนอีกมาก นอกจากนี้ยังเสนอให้มีการร่วมลงทุนในโรงงานปุ๋ยเคมีในอินโดนีเซีย หรือนำเข้าปุ๋ยเคมีร่วมกันอีกด้วย สินค้าเกษตรได้จัดหาแหล่งกะลาปาล์มน้ำมันให้ไทยได้ประมาณเดือนละ 2,500 ตัน โดยจะตกลงทำการซื้อขายต่อไป ส่วนถั่วเขียวยังไม่มีการซื้อขาย ซึ่งผู้ประกอบการรวมทั้งผู้เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศจะติดตามผลการเจรจาเพื่อประสานความร่วมมือต่อไปในอนาคต
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า รูปแบบการลงทุนส่วนใหญ่ในอินโดนีเซียเป็นการร่วมลงทุน ซึ่งผู้ลงทุนควรศึกษาความพร้อมของผู้ร่วมลงทุนและความพร้อมของกฎระเบียบต่าง ๆ อีกทั้งข้อควรระวังเกี่ยวกับกฎหมายของการลงทุน โดยเฉพาะกฎหมายแรงงานที่ปกป้องและเอื้อผลประโยชน์ต่อลูกจ้างเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันการลงทุนตั้งโรงงานต่าง ๆ ในพื้นที่ห่างไกลต้องพิจารณาค่าใช้จ่ายในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน (ไฟฟ้า-ประปา) ด้วย เนื่องจากรัฐบาลอินโดนีเซียมีข้อจำกัดด้านงบประมาณสำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
อย่างไรก็ดี จากความใกล้ชิดรวมทั้งความสัมพันธ์ที่ดีทั้งในระดับรัฐบาลและระดับประชาชนระหว่าง 2 ประเทศ ทำให้โอกาสในการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและอินโดนีเซียยังมีอีกมาก อีกทั้งนโยบายส่งเสริมสนับสนุนการเปิดเสรีในการแข่งขันต่าง ๆ รวมทั้งการเปิดโอกาสให้ต่างประเทศเข้าร่วมลงทุนในกิจการต่างๆ มากขึ้น ทำให้บรรยากาศการลงทุนในอินโดนีเซียมีแนวโน้มที่สดใส
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-
- คณะกรรมการประสานการลงทุน (BKPM) แห่งอินโดนีเซีย เพื่อเจรจาหาลู่ทางการขยายการลงทุนและการให้สิทธิพิเศษแก่นักลงทุนไทย ทั้งโครงการที่ดำเนินการอยู่แล้วในปัจจุบัน อาทิ ปูนซีเมนต์ และสาขาอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ไทยสนใจเข้าไปลงทุนและดำเนินธุรกิจการค้า เช่น โทรคมนาคม กะลาปาล์ม และ ปุ๋ยยูเรีย เป็นต้น
- กระทรวงโทรคมนาคมและสารสนเทศเกี่ยวกับโอกาสการร่วมลงทุนในกิจการโทรคมนาคม
- กระทรวงเกษตรในประเด็นปาล์มน้ำมัน ข้าว ถั่วเขียว ยางพารา ของอินโดนีเซีย
- ภาคเอกชน อาทิ บริษัท PT Telekom และบริษัท PT Indosat ซึ่งเป็นผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคมรายใหญ่อันดับหนึ่งและสองของอินโดนีเซียเกี่ยวกับการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ การร่วมลงทุน และลู่ทางขยายโครงการความร่วมมือด้านโทรคมนาคมระหว่างกัน นอกจากนี้ ผู้ประกอบการด้านเกษตรได้เจรจาซื้อกะลาปาล์มจากบริษัท โคเม็คอินโด เพื่อใช้ผลิตพลังงานทางเลือกทดแทนน้ำมันเตา
การเดินทางครั้งนี้ นับว่าประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ บริษัท ทศท จำกัด (มหาชน) แสดงความสนใจลงทุนวางระบบโทรศัพท์พื้นฐานในอินโดนีเซีย ซึ่งฝ่ายอินโดนีเซียขอให้ยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงค์ ต่อกรมไปรษณีย์และโทรคมนาคม และยังได้เชิญชวนฝ่ายไทยเข้าร่วมลงทุนผลิตชิ้นส่วนโทรคมนาคมเพื่อจำหน่ายในประเทศอินโดนีเซีย รวมทั้งเสนอให้มีความร่วมมือในการใช้ประโยชน์จากโครงการสายเคเบิ้ลใต้น้ำไทย—สิงคโปร์—อินโดนีเซีย โดยตลาดโทรคมนาคมในอินโดนีเซียยังมีโอกาสการขยายการลงทุนอีกมาก นอกจากนี้ยังเสนอให้มีการร่วมลงทุนในโรงงานปุ๋ยเคมีในอินโดนีเซีย หรือนำเข้าปุ๋ยเคมีร่วมกันอีกด้วย สินค้าเกษตรได้จัดหาแหล่งกะลาปาล์มน้ำมันให้ไทยได้ประมาณเดือนละ 2,500 ตัน โดยจะตกลงทำการซื้อขายต่อไป ส่วนถั่วเขียวยังไม่มีการซื้อขาย ซึ่งผู้ประกอบการรวมทั้งผู้เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศจะติดตามผลการเจรจาเพื่อประสานความร่วมมือต่อไปในอนาคต
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า รูปแบบการลงทุนส่วนใหญ่ในอินโดนีเซียเป็นการร่วมลงทุน ซึ่งผู้ลงทุนควรศึกษาความพร้อมของผู้ร่วมลงทุนและความพร้อมของกฎระเบียบต่าง ๆ อีกทั้งข้อควรระวังเกี่ยวกับกฎหมายของการลงทุน โดยเฉพาะกฎหมายแรงงานที่ปกป้องและเอื้อผลประโยชน์ต่อลูกจ้างเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันการลงทุนตั้งโรงงานต่าง ๆ ในพื้นที่ห่างไกลต้องพิจารณาค่าใช้จ่ายในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน (ไฟฟ้า-ประปา) ด้วย เนื่องจากรัฐบาลอินโดนีเซียมีข้อจำกัดด้านงบประมาณสำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
อย่างไรก็ดี จากความใกล้ชิดรวมทั้งความสัมพันธ์ที่ดีทั้งในระดับรัฐบาลและระดับประชาชนระหว่าง 2 ประเทศ ทำให้โอกาสในการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและอินโดนีเซียยังมีอีกมาก อีกทั้งนโยบายส่งเสริมสนับสนุนการเปิดเสรีในการแข่งขันต่าง ๆ รวมทั้งการเปิดโอกาสให้ต่างประเทศเข้าร่วมลงทุนในกิจการต่างๆ มากขึ้น ทำให้บรรยากาศการลงทุนในอินโดนีเซียมีแนวโน้มที่สดใส
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-