ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ รองประธานคณะทำงานด้านเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าววิพากษ์นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลตลอด 5 ปีที่ผ่านมา เปรียบเหมือนการวางยาประชาชนหลายขนาน
“นโยบายเศรษฐกิจแอลเอสดี (ยาหลอนประสาท) คือ นโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลพยายามชูภาพในด้านดีว่าเมื่อแปรรูปสาธารณูปโภคพื้นฐานแล้ว จะทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ เกิดการขยายศักยภาพในการปฎิบัติงาน กำไรที่ได้จะนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศเป็นการสร้างภาพให้ประชาชนเห็นแต่สิ่งที่ดี บิดเบือนความเข้าใจของประชาชนเพราะสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริงจากการแปรรูปที่เห็นได้จาก ป.ต.ท. คือ การให้เอกชนเข้ามาเป็นเจ้าของ เลยไปถึงรัฐบาลและเอกชนเป็นคนคนเดียวกัน คือเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างผู้กำหนดนโยบายและผู้ประกอบธุรกิจ ทำให้ธุรกิจนี้ไม่เกิดการแข่งขัน กลายเป็นธุรกิจผูกขาด ส่งผลให้ประชาชนใช้สาธารณูปโภคในราคาที่สูงขึ้น”
“ตัวอย่าง การแปรรูปฯ กฟผ. มีการประมาณกันว่าจะทำให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทันทีอย่างน้อย 10% แต่ระยะยาว ค่าไฟฟ้าจะสูงขึ้นเท่าตัว เพราะเป็นการผูกขาดโดยเอกชนที่แสวงหากำไรสูงสุด ส่งผลให้ GDP ลดลง 2.7% เงินเฟ้อ สูงขึ้น 3% การจ้างงาน ลดลง 7.2% การส่งออกสินค้าและบริการลดลง 5.3% สวัสดิการสังคม ลดลงถึง 5.1 แสนล้านบาท !! เป็นการทำลายความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนอย่างแท้จริง”
“นโยบายเศรษฐกิจแอมเฟตามีน (ยาบ้า) ได้แก่ นโยบายประชานิยมต่าง ๆ เช่น พักชำระหนี้ กองทุนหมู่บ้าน ปรับโครงสร้างหนี้ โครงการเอื้ออาทร เป็นต้น สรรพคุณของนโยบายทำให้ประชาชนรู้สึกกระชุ่มกระชวยในช่วงแรก เพราะได้รับประโยชน์ระยะสั้นจากนโยบาย แต่แก้ปัญหาไม่ได้จริง ประชาชนจะเสพติดนโยบาย โดยมีความต้องการนโยบายดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ขาดไม่ได้ และหากใช้ไปในระยะยาวจะส่งผลเสียต่อสุขภาพทางเศรษฐกิจของประชาชนแต่ละคน และเศรษฐกิจของประเทศ”
“รัฐบาลใช้นโยบายให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย และเป็นหนี้กันมากขึ้น เมื่อชำระหนี้ไม่ไหว รัฐบาลก็ออกนโยบายปรับโครงสร้างหนี้ ส่งผลให้ประชาชนเกิดค่านิยมที่ผิดต่อการชำระหนี้ ตลอด 5 ปีที่ผ่านมารายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5.3 ต่อปี รายจ่ายครัวเรือนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ต่อปี แต่หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11.2 ต่อปี หากทิศทางยังคงเป็นเช่นนี้ สัดส่วนหนี้ต่อรายได้ทั้งปีของครัวเรือน จะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 60 ในปัจจุบัน เป็นร้อยละ 80 ในปี 2553”
“นโยบายเศรษฐกิจกรัมม็อกโซน (ยาฆ่าหญ้า) คือนโยบายเปิดเขตการค้าเสรี หรือ FTA ที่ขาดส่วนผสมของความโปร่งใส การมีส่วนร่วมของประชาชน และการศึกษาวิจัยอย่างรอบคอบ นโยบายนี้มีสรรพคุณ ‘เหี่ยวทั้งใบ ตายถึงราก (หญ้า)’ รัฐบาลเลือกได้ตามใจชอบว่า จะให้ภาคการผลิตใดอยู่รอดหรือตาย และมีผลทำให้รากหญ้าตายได้ทันทีที่เปิดเสรี “
“การเจรจา FTA ที่ผ่านมา ผู้ที่ได้ประโยชน์เป็นกลุ่มธุรกิจใกล้ชิดรัฐบาล แต่กลุ่มที่ตายคือเกษตรกรรากหญ้าที่ไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ปลูกหอม กระเทียม ผัก ผลไม้ โคนม และโคเนื้อนับล้านครอบครัว และหากการเจรจา FTA กับสหรัฐสำเร็จ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดและถั่วเหลืองอีกเป็นล้านครอบครัวต้องเลิกอาชีพ เร่งให้สังคมชนบทล่มสลาย เกษตรกรอพยพเข้ามาเป็นแรงงานในเมืองมากขึ้น และทำให้เกิดความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางอาหาร ในยามที่เกิดวิกฤต”
นโยบายเศรษฐกิจยาสั่ง เป็นนโยบายที่รัฐบาลทำตัวเหมือน “คุณพ่อรู้ดี” และใช้ “สั่ง” เพื่อชี้เป็นชี้ตายภาคการผลิตต่าง ๆ เช่น การตั้งเป้าให้ไทยเป็นฮับด้านต่าง ๆ จำนวนมาก การกำหนดสาขาการผลิตที่จะทำให้เป็นเลิศในตลาดโลก (Global Niche) 5 กลุ่ม คือ อาหาร ยานยนต์ แฟชั่น ท่องเที่ยว และซอฟท์แวร์ โดยที่ไม่ได้มีรากฐานมาจากการวิจัย นโยบายยาสั่งทำให้เกิดการบิดเบือน ทำให้บางอุตสาหกรรมได้อภิสิทธิ์จากนโยบายรัฐ และจะทำให้คนไทยเสียประโยชน์ หากรัฐบาลเลือกอุตสาหกรรมที่ผิด ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่รัฐบาลจะเลือกอุตสาหกรรมผิด
“จากงานวิจัยที่ผมนำเสนอต่อวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ชื่อ “ยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตไทย” พบว่าอุตสาหกรรมที่รัฐบาลควรจะส่งเสริม คือ อาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์อโลหะ เครื่องมือและเครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์จากยางและพลาสติก และผลิตภัณฑ์จากไม้ หากเปรียบเทียบผลการวิจัยกับกลุ่มอุตสาหกรรม 5 กลุ่มที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมนั้น พบว่ามีเพียง 2 กลุ่มที่มีความสามารถในการแข่งขัน”
“นโยบายเศรษฐกิจเสตียรอยด์ คือนโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งหากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัว แต่หากใช้ในปริมาณมากเกินไปจะก่อให้เกิดปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับการใช้เสตียรอยด์เพื่อเพิ่มศักยภาพของกล้ามเนื้อ แต่หากใช้มากเกินไปจะไปทำลายอวัยวะอื่น ตลอด 5 ปีที่ผ่านมารัฐบาลใช้เงินทั้งในงบประมาณและนอกงบประมาณเพื่อใช้จ่ายในโครงการต่าง ๆ และสร้างภาระผูกพันธ์ที่จะต้องจ่ายคืนในอนาคตจำนวนมาก เป็นการสร้างภาระให้ลูกหลาน ยิ่งไปกว่านั้นการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ถึง 1.8 ล้านล้านบาท อาจก่อให้เกิดปัญหาการขาดเสถียรภาพการคลังและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด”
“ถึงเวลาที่รัฐบาลจะเลิกวางยาประชาชน หันมาพัฒนาศักยภาพ ความสามารถของประชาชนเพื่อให้ประเทศไทยจะแข่งขันได้ในอนาคต” ส.ส. ปชป. กล่าวสรุป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8 ก.พ. 2549--จบ--
“นโยบายเศรษฐกิจแอลเอสดี (ยาหลอนประสาท) คือ นโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลพยายามชูภาพในด้านดีว่าเมื่อแปรรูปสาธารณูปโภคพื้นฐานแล้ว จะทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ เกิดการขยายศักยภาพในการปฎิบัติงาน กำไรที่ได้จะนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศเป็นการสร้างภาพให้ประชาชนเห็นแต่สิ่งที่ดี บิดเบือนความเข้าใจของประชาชนเพราะสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริงจากการแปรรูปที่เห็นได้จาก ป.ต.ท. คือ การให้เอกชนเข้ามาเป็นเจ้าของ เลยไปถึงรัฐบาลและเอกชนเป็นคนคนเดียวกัน คือเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างผู้กำหนดนโยบายและผู้ประกอบธุรกิจ ทำให้ธุรกิจนี้ไม่เกิดการแข่งขัน กลายเป็นธุรกิจผูกขาด ส่งผลให้ประชาชนใช้สาธารณูปโภคในราคาที่สูงขึ้น”
“ตัวอย่าง การแปรรูปฯ กฟผ. มีการประมาณกันว่าจะทำให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทันทีอย่างน้อย 10% แต่ระยะยาว ค่าไฟฟ้าจะสูงขึ้นเท่าตัว เพราะเป็นการผูกขาดโดยเอกชนที่แสวงหากำไรสูงสุด ส่งผลให้ GDP ลดลง 2.7% เงินเฟ้อ สูงขึ้น 3% การจ้างงาน ลดลง 7.2% การส่งออกสินค้าและบริการลดลง 5.3% สวัสดิการสังคม ลดลงถึง 5.1 แสนล้านบาท !! เป็นการทำลายความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนอย่างแท้จริง”
“นโยบายเศรษฐกิจแอมเฟตามีน (ยาบ้า) ได้แก่ นโยบายประชานิยมต่าง ๆ เช่น พักชำระหนี้ กองทุนหมู่บ้าน ปรับโครงสร้างหนี้ โครงการเอื้ออาทร เป็นต้น สรรพคุณของนโยบายทำให้ประชาชนรู้สึกกระชุ่มกระชวยในช่วงแรก เพราะได้รับประโยชน์ระยะสั้นจากนโยบาย แต่แก้ปัญหาไม่ได้จริง ประชาชนจะเสพติดนโยบาย โดยมีความต้องการนโยบายดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ขาดไม่ได้ และหากใช้ไปในระยะยาวจะส่งผลเสียต่อสุขภาพทางเศรษฐกิจของประชาชนแต่ละคน และเศรษฐกิจของประเทศ”
“รัฐบาลใช้นโยบายให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย และเป็นหนี้กันมากขึ้น เมื่อชำระหนี้ไม่ไหว รัฐบาลก็ออกนโยบายปรับโครงสร้างหนี้ ส่งผลให้ประชาชนเกิดค่านิยมที่ผิดต่อการชำระหนี้ ตลอด 5 ปีที่ผ่านมารายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5.3 ต่อปี รายจ่ายครัวเรือนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ต่อปี แต่หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11.2 ต่อปี หากทิศทางยังคงเป็นเช่นนี้ สัดส่วนหนี้ต่อรายได้ทั้งปีของครัวเรือน จะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 60 ในปัจจุบัน เป็นร้อยละ 80 ในปี 2553”
“นโยบายเศรษฐกิจกรัมม็อกโซน (ยาฆ่าหญ้า) คือนโยบายเปิดเขตการค้าเสรี หรือ FTA ที่ขาดส่วนผสมของความโปร่งใส การมีส่วนร่วมของประชาชน และการศึกษาวิจัยอย่างรอบคอบ นโยบายนี้มีสรรพคุณ ‘เหี่ยวทั้งใบ ตายถึงราก (หญ้า)’ รัฐบาลเลือกได้ตามใจชอบว่า จะให้ภาคการผลิตใดอยู่รอดหรือตาย และมีผลทำให้รากหญ้าตายได้ทันทีที่เปิดเสรี “
“การเจรจา FTA ที่ผ่านมา ผู้ที่ได้ประโยชน์เป็นกลุ่มธุรกิจใกล้ชิดรัฐบาล แต่กลุ่มที่ตายคือเกษตรกรรากหญ้าที่ไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ปลูกหอม กระเทียม ผัก ผลไม้ โคนม และโคเนื้อนับล้านครอบครัว และหากการเจรจา FTA กับสหรัฐสำเร็จ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดและถั่วเหลืองอีกเป็นล้านครอบครัวต้องเลิกอาชีพ เร่งให้สังคมชนบทล่มสลาย เกษตรกรอพยพเข้ามาเป็นแรงงานในเมืองมากขึ้น และทำให้เกิดความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางอาหาร ในยามที่เกิดวิกฤต”
นโยบายเศรษฐกิจยาสั่ง เป็นนโยบายที่รัฐบาลทำตัวเหมือน “คุณพ่อรู้ดี” และใช้ “สั่ง” เพื่อชี้เป็นชี้ตายภาคการผลิตต่าง ๆ เช่น การตั้งเป้าให้ไทยเป็นฮับด้านต่าง ๆ จำนวนมาก การกำหนดสาขาการผลิตที่จะทำให้เป็นเลิศในตลาดโลก (Global Niche) 5 กลุ่ม คือ อาหาร ยานยนต์ แฟชั่น ท่องเที่ยว และซอฟท์แวร์ โดยที่ไม่ได้มีรากฐานมาจากการวิจัย นโยบายยาสั่งทำให้เกิดการบิดเบือน ทำให้บางอุตสาหกรรมได้อภิสิทธิ์จากนโยบายรัฐ และจะทำให้คนไทยเสียประโยชน์ หากรัฐบาลเลือกอุตสาหกรรมที่ผิด ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่รัฐบาลจะเลือกอุตสาหกรรมผิด
“จากงานวิจัยที่ผมนำเสนอต่อวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ชื่อ “ยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตไทย” พบว่าอุตสาหกรรมที่รัฐบาลควรจะส่งเสริม คือ อาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์อโลหะ เครื่องมือและเครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์จากยางและพลาสติก และผลิตภัณฑ์จากไม้ หากเปรียบเทียบผลการวิจัยกับกลุ่มอุตสาหกรรม 5 กลุ่มที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมนั้น พบว่ามีเพียง 2 กลุ่มที่มีความสามารถในการแข่งขัน”
“นโยบายเศรษฐกิจเสตียรอยด์ คือนโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งหากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัว แต่หากใช้ในปริมาณมากเกินไปจะก่อให้เกิดปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับการใช้เสตียรอยด์เพื่อเพิ่มศักยภาพของกล้ามเนื้อ แต่หากใช้มากเกินไปจะไปทำลายอวัยวะอื่น ตลอด 5 ปีที่ผ่านมารัฐบาลใช้เงินทั้งในงบประมาณและนอกงบประมาณเพื่อใช้จ่ายในโครงการต่าง ๆ และสร้างภาระผูกพันธ์ที่จะต้องจ่ายคืนในอนาคตจำนวนมาก เป็นการสร้างภาระให้ลูกหลาน ยิ่งไปกว่านั้นการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ถึง 1.8 ล้านล้านบาท อาจก่อให้เกิดปัญหาการขาดเสถียรภาพการคลังและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด”
“ถึงเวลาที่รัฐบาลจะเลิกวางยาประชาชน หันมาพัฒนาศักยภาพ ความสามารถของประชาชนเพื่อให้ประเทศไทยจะแข่งขันได้ในอนาคต” ส.ส. ปชป. กล่าวสรุป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8 ก.พ. 2549--จบ--