นายพินิจ กอศรีพร รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการที่เจ้าหน้าที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้เดินทางไปเข้าพบและประชุมหารือ เรื่อง ความเป็นไปในการจัดทำการทบทวนนโยบายภาคการเกษตรของประเทศไทยกับเจ้าหน้าที่ขององค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) ในหน่วยงาน Directorate for food, Agriculture and Fisheries (AGR)/ Agricultural Policies in Non-member Economies Division เมื่อเดือนกันยายน 2549 ที่ผ่านมานั้น
สืบเนื่องมาจากการที่ประเทศไทยได้เสนอขอเข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ในคณะกรรมการการเกษตร (committee for Agriculture) ซึ่งทางคณะกรรมการการเกษตรของ OECD กำหนดหลักเกณฑ์ในการที่ประเทศไทยจะเข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ได้ จะต้องมีการจัดทำการทบทวนนโยบายภาคการเกษตร (Agricultural Policy Review: APR) ก่อน สำหรับประโยชน์ที่จะได้รับในการจัดทำ APR นั้น ประเทศไทยจะได้รับข้อมูลที่ช่วยให้การกำหนดนโยบายและการวางแผนทางการเกษตร เป็นไปอย่างโปร่งใสและมีทิศทางที่ชัดเจนมากขึ้น
เนื่องจากผลการศึกษาของ OECD ถือว่าเป็นข้อมูลทางวิชาการที่ประเทศต่าง ๆ ให้การยอมรับสูงและ มีความน่าเชื่อถือ ส่วนการเข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ในคณะกรรมการเกษตรของ OECD นั้น ประเทศไทยก็จะมีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในนโยบาย/กฎระเบียบ ที่เกี่ยวกับการสินค้าเกษตรที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดสินค้าเกษตรของไทย ทำให้สามารถวางแผนและเตรียมการแก้ไขรวมถึงป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ทันการณ์
นอกจากนี้ในการเข้าร่วมประชุมกับกลุ่มประเทศสมาชิก OECD ยังเปิดโอกาสให้ประเทศไทยได้ชี้แจงในประเด็นด้านการเกษตรที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องก่อนที่จะส่งผลกระทบในทางลบแก่ประเทศไทยอีกด้วย
ซึ่งการได้รับโอกาสให้เข้าพบตัวแทนของ OECD ในครั้งนี้เจ้าหน้าที่ สศก. ได้มีการหารือกันในรายละเอียดการจัดทำ Agricultural Policy Review (APR) ในหัวข้อของงบประมาณในการจัดทำ ระยะเวลา และวิธีการ นอกจากนั้นทาง OECD ยังได้เชิญให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุม OECD Global Forum on Agriculture เพื่อรับทราบนโยบายการเกษตรของประเทศต่าง ๆ ที่ OECD ได้ศึกษามาก่อน ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2549 นี้ ณ สำนักงานใหญ่ OECD กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส อีกด้วย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
สืบเนื่องมาจากการที่ประเทศไทยได้เสนอขอเข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ในคณะกรรมการการเกษตร (committee for Agriculture) ซึ่งทางคณะกรรมการการเกษตรของ OECD กำหนดหลักเกณฑ์ในการที่ประเทศไทยจะเข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ได้ จะต้องมีการจัดทำการทบทวนนโยบายภาคการเกษตร (Agricultural Policy Review: APR) ก่อน สำหรับประโยชน์ที่จะได้รับในการจัดทำ APR นั้น ประเทศไทยจะได้รับข้อมูลที่ช่วยให้การกำหนดนโยบายและการวางแผนทางการเกษตร เป็นไปอย่างโปร่งใสและมีทิศทางที่ชัดเจนมากขึ้น
เนื่องจากผลการศึกษาของ OECD ถือว่าเป็นข้อมูลทางวิชาการที่ประเทศต่าง ๆ ให้การยอมรับสูงและ มีความน่าเชื่อถือ ส่วนการเข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ในคณะกรรมการเกษตรของ OECD นั้น ประเทศไทยก็จะมีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในนโยบาย/กฎระเบียบ ที่เกี่ยวกับการสินค้าเกษตรที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดสินค้าเกษตรของไทย ทำให้สามารถวางแผนและเตรียมการแก้ไขรวมถึงป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ทันการณ์
นอกจากนี้ในการเข้าร่วมประชุมกับกลุ่มประเทศสมาชิก OECD ยังเปิดโอกาสให้ประเทศไทยได้ชี้แจงในประเด็นด้านการเกษตรที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องก่อนที่จะส่งผลกระทบในทางลบแก่ประเทศไทยอีกด้วย
ซึ่งการได้รับโอกาสให้เข้าพบตัวแทนของ OECD ในครั้งนี้เจ้าหน้าที่ สศก. ได้มีการหารือกันในรายละเอียดการจัดทำ Agricultural Policy Review (APR) ในหัวข้อของงบประมาณในการจัดทำ ระยะเวลา และวิธีการ นอกจากนั้นทาง OECD ยังได้เชิญให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุม OECD Global Forum on Agriculture เพื่อรับทราบนโยบายการเกษตรของประเทศต่าง ๆ ที่ OECD ได้ศึกษามาก่อน ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2549 นี้ ณ สำนักงานใหญ่ OECD กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส อีกด้วย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-