กรุงเทพ--6 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย เกี่ยวกับปัญหาการค้ามนุษย์ในแอฟริกาใต้ ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2549 สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ให้การช่วยเหลือแก่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ที่แอฟริกาใต้แล้วเป็นจำนวนถึง 26 คน หรือโดยเฉลี่ย 1.2 คนต่อสัปดาห์ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสถิติในปี 2548 ที่มีจำนวน 32 คน พบว่า มีจำนวนเพิ่มขึ้นในอัตราที่น่าตกใจ
สถานเอกอัครราชทูตฯ เห็นว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้มีหญิงไทยจำนวนมากตกเป็นเหยื่อของกระบวนการค้ามนุษย์ในแอฟริกาใต้เพิ่มขึ้น คือ
1. ประเทศต่าง ๆ ที่มีหญิงไทยไปขายบริการ เช่น เยอรมนี ญี่ปุ่น ออสเตรเลียได้เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจลงตราให้เข้าประเทศ ทำให้นายหน้าค้ามนุษย์ต้องแสวงหาช่องทางในประเทศอื่น ๆ ที่ไม่มีระเบียบตรวจคนเข้าเมืองที่เข้มงวดเพื่อส่งหญิงไทยเข้าไปแทน
2. คนไทยสามารถเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวที่แอฟริกาใต้ได้โดยไม่ต้องขออนุมัติตรวจลงตราเป็นเวลา 30 วัน นายหน้าค้ามนุษย์จึงอาศัยช่องทางดังกล่าวหลอกลวงหญิงไทย เนื่องจากสามารถเดินทางเข้าไปได้โดยง่าย เพียงแค่มีหนังสือเดินทาง บัตรโดยสารเครื่องบิน และเงินสดติดตัวจำนวนหนึ่ง (ซึ่งนายหน้าฯ จะให้ยืมชั่วคราว) ก็สามารถเดินทางเข้าไปได้แล้ว
3. ชายผิวขาวและชาวอินเดียในแอฟริกาใต้นิยมใช้บริการหญิงชาวเอเชีย โดยเฉพาะจากไทย เนื่องจากเอาใจเก่งและอ่อนน้อมถ่อมตน ทำให้แอฟริกาใต้เป็นตลาดที่สำคัญสำหรับกระบวนการค้ามนุษย์
4. กลุ่มผู้ค้ามนุษย์ในแอฟริกาใต้มีเครือข่ายข้ามประเทศทำให้การลักลอบเข้าเมืองกระทำได้ในหลายรูปแบบ
ประเภทของหญิงไทยตกเป็นเหยื่อกระบวนการค้ามนุษย์อาจแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม กล่าวคือ (1) กลุ่มที่ถูกหลอกให้ไปทำงานในร้านอาหารไทย หรือนวดแผนไทย แต่เมื่อเดินทางมาถึงก็จะถูกควบคุม ยึดหนังสือเดินทางและบัตรโดยสารเครื่องบิน และนายหน้าค้ามนุษย์ข่มขู่ว่าจะถูกชาวพื้นเมืองฆ่าหากเดินทางออกจากที่พักเพื่อป้องกันการหลบหนี โดยในที่สุดก็จะถูกบังคับให้ขายบริการ และ (2) กลุ่มที่มาขายบริการด้วยความสมัครใจ โดยยอมเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้แก่นายหน้า (ประมาณ 300,000 บาท ต่อคน) แต่เมื่อเดินทางมาถึง พบว่า เงื่อนไขการทำงานไม่เป็นไปตามข้อตกลง โดยเฉพาะในเรื่องรายได้ ซึ่งส่วนใหญ่รายได้ทั้งหมดจะถูกเจ้าของสถานบริการหักไว้ 50% และนายหน้าหักไว้ 50% ทำให้ไม่ได้รับเงินรายได้ และระยะเวลาการใช้หนี้ก็จะยาวขึ้นจากข้อตกลงเดิม ซึ่งเมื่อทำงานใช้หนี้หมดแล้ว เจ้าของสถานบริการก็จะไม่ต่ออายุการพำนักให้ จึงต้องเดินทางกลับประเทศไทย โดยไม่มีเงินเก็บตามที่คาดไว้
นอกจากปัญหาการค้ามนุษย์แล้ว ยังมีปัญหาเรื่องแรงงานผิดกฎหมาย ซึ่งเป็น กลุ่มคนไทยที่ถูกหลอกลวงให้ไปทำงานโดยนายหน้าจัดหางานผิดกฎหมาย โดยเสียค่านายหน้าประมาณคนละ 100,000 บาท แต่เมื่อเดินทางไปถึงแอฟริกาใต้แล้ว ไม่มีงานให้ทำตามข้อตกลง โดยขบวนการนายหน้าจัดหางานผิดกฎหมายในไทย บางกลุ่มอ้างว่ามีความเกี่ยวพันกับองค์การบริการส่วนตำบล (อบต.) เพื่อเสริมสร้างความน่าเชื่อถือ ทำให้มีกลุ่มคนจำนวนมากหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อของขบวนการดังกล่าว
ข้อพึงระวังสำหรับคนไทยที่จะเดินทางไปทำงานที่แอฟริกาใต้
1. หากได้รับการติดต่อให้ไปทำงานที่ร้านอาหาร ร้านนวดแผนไทย หรือสปาไทย โดยไม่ได้ทำการขอใบอนุญาตทำงานจากสถานเอกอัครราชทูตแอฟริกาใต้ประจำประเทศไทย หรือไม่แจ้งชื่อสถานประกอบการดังกล่าวให้ทราบ ขอให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นการหลอกลวง ทั้งนี้ อาจขอตรวจสอบได้กับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย หมายเลขโทรศัพท์ 001 27 12-342 4600 ว่ามีร้านอาหาร ร้านนวดแผนไทย หรือสปาไทยดังกล่าวจริงหรือไม่อย่างไร
2. แอฟริกาใต้มีอัตราผู้ติดเชื้อเอดส์กว่าร้อยละ 20 ดังนั้น ผู้ที่ตั้งใจจะมาขายบริการ อาจติดเชื้อดังกล่าว นอกจากนี้ แอฟริกาใต้เป็นประเทศที่มีอาชญากรรมสูง ไม่มีระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัย การเดินทางในแอฟริกาใต้แต่ละแห่งจึงมีความเสี่ยงต่อการจี้ปล้นได้ง่าย ดังนั้น ผู้ที่คิดจะเดินทางมาทำงานที่แอฟริกาใต้ขอให้คำนึงถึงเรื่องดังกล่าวด้วย
3. ผู้ที่คิดว่าจะมาขายบริการโดยหวังที่จะได้เงินรายได้คืนอย่างรวดเร็วภายในเวลา 2-3 เดือน และหวังที่จะมีเงินเก็บเพื่อสร้างฐานะนั้น เป็นความคิดที่ผิด เพราะนายหน้าค้ามนุษย์ และสถานบริการจะหักเงินรายได้ทั้งหมดไว้
4. ระเบียบการทำงานในแอฟริกาใต้ นั้น มีมาตรการที่เข้มงวด กล่าวคือ นายจ้างต้องลงประกาศในหนังสือพิมพ์เป็นเวลา 7 วัน เพื่อให้โอกาสกับคนท้องถิ่นในการสมัครงานก่อน ในกรณีที่ไม่มีผู้สมัครงาน บริษัทจึงสามารถรับคนต่างชาติเข้าทำงานได้ ดังนั้น หากมีผู้ติดต่อให้มาทำงานในโรงงาน หรือสถานประกอบการใด ๆ ในแอฟริกาใต้ โดยไม่มีสัญญาจ้างที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงแรงงานไทย และหากผู้รับการติดต่อไม่มีวุฒิบัตรรับรองความรู้ความสามารถของตนในงานนั้น ๆ เพื่อใช้ในการขอรับการตรวจลงตราจากสถานเอกอัครราชทูตแอฟริกาใต้ประจำประเทศไทย ขอให้สันนิษฐานได้ว่าเป็นการหลอกลวงเช่นกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย เกี่ยวกับปัญหาการค้ามนุษย์ในแอฟริกาใต้ ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2549 สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ให้การช่วยเหลือแก่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ที่แอฟริกาใต้แล้วเป็นจำนวนถึง 26 คน หรือโดยเฉลี่ย 1.2 คนต่อสัปดาห์ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสถิติในปี 2548 ที่มีจำนวน 32 คน พบว่า มีจำนวนเพิ่มขึ้นในอัตราที่น่าตกใจ
สถานเอกอัครราชทูตฯ เห็นว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้มีหญิงไทยจำนวนมากตกเป็นเหยื่อของกระบวนการค้ามนุษย์ในแอฟริกาใต้เพิ่มขึ้น คือ
1. ประเทศต่าง ๆ ที่มีหญิงไทยไปขายบริการ เช่น เยอรมนี ญี่ปุ่น ออสเตรเลียได้เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจลงตราให้เข้าประเทศ ทำให้นายหน้าค้ามนุษย์ต้องแสวงหาช่องทางในประเทศอื่น ๆ ที่ไม่มีระเบียบตรวจคนเข้าเมืองที่เข้มงวดเพื่อส่งหญิงไทยเข้าไปแทน
2. คนไทยสามารถเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวที่แอฟริกาใต้ได้โดยไม่ต้องขออนุมัติตรวจลงตราเป็นเวลา 30 วัน นายหน้าค้ามนุษย์จึงอาศัยช่องทางดังกล่าวหลอกลวงหญิงไทย เนื่องจากสามารถเดินทางเข้าไปได้โดยง่าย เพียงแค่มีหนังสือเดินทาง บัตรโดยสารเครื่องบิน และเงินสดติดตัวจำนวนหนึ่ง (ซึ่งนายหน้าฯ จะให้ยืมชั่วคราว) ก็สามารถเดินทางเข้าไปได้แล้ว
3. ชายผิวขาวและชาวอินเดียในแอฟริกาใต้นิยมใช้บริการหญิงชาวเอเชีย โดยเฉพาะจากไทย เนื่องจากเอาใจเก่งและอ่อนน้อมถ่อมตน ทำให้แอฟริกาใต้เป็นตลาดที่สำคัญสำหรับกระบวนการค้ามนุษย์
4. กลุ่มผู้ค้ามนุษย์ในแอฟริกาใต้มีเครือข่ายข้ามประเทศทำให้การลักลอบเข้าเมืองกระทำได้ในหลายรูปแบบ
ประเภทของหญิงไทยตกเป็นเหยื่อกระบวนการค้ามนุษย์อาจแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม กล่าวคือ (1) กลุ่มที่ถูกหลอกให้ไปทำงานในร้านอาหารไทย หรือนวดแผนไทย แต่เมื่อเดินทางมาถึงก็จะถูกควบคุม ยึดหนังสือเดินทางและบัตรโดยสารเครื่องบิน และนายหน้าค้ามนุษย์ข่มขู่ว่าจะถูกชาวพื้นเมืองฆ่าหากเดินทางออกจากที่พักเพื่อป้องกันการหลบหนี โดยในที่สุดก็จะถูกบังคับให้ขายบริการ และ (2) กลุ่มที่มาขายบริการด้วยความสมัครใจ โดยยอมเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้แก่นายหน้า (ประมาณ 300,000 บาท ต่อคน) แต่เมื่อเดินทางมาถึง พบว่า เงื่อนไขการทำงานไม่เป็นไปตามข้อตกลง โดยเฉพาะในเรื่องรายได้ ซึ่งส่วนใหญ่รายได้ทั้งหมดจะถูกเจ้าของสถานบริการหักไว้ 50% และนายหน้าหักไว้ 50% ทำให้ไม่ได้รับเงินรายได้ และระยะเวลาการใช้หนี้ก็จะยาวขึ้นจากข้อตกลงเดิม ซึ่งเมื่อทำงานใช้หนี้หมดแล้ว เจ้าของสถานบริการก็จะไม่ต่ออายุการพำนักให้ จึงต้องเดินทางกลับประเทศไทย โดยไม่มีเงินเก็บตามที่คาดไว้
นอกจากปัญหาการค้ามนุษย์แล้ว ยังมีปัญหาเรื่องแรงงานผิดกฎหมาย ซึ่งเป็น กลุ่มคนไทยที่ถูกหลอกลวงให้ไปทำงานโดยนายหน้าจัดหางานผิดกฎหมาย โดยเสียค่านายหน้าประมาณคนละ 100,000 บาท แต่เมื่อเดินทางไปถึงแอฟริกาใต้แล้ว ไม่มีงานให้ทำตามข้อตกลง โดยขบวนการนายหน้าจัดหางานผิดกฎหมายในไทย บางกลุ่มอ้างว่ามีความเกี่ยวพันกับองค์การบริการส่วนตำบล (อบต.) เพื่อเสริมสร้างความน่าเชื่อถือ ทำให้มีกลุ่มคนจำนวนมากหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อของขบวนการดังกล่าว
ข้อพึงระวังสำหรับคนไทยที่จะเดินทางไปทำงานที่แอฟริกาใต้
1. หากได้รับการติดต่อให้ไปทำงานที่ร้านอาหาร ร้านนวดแผนไทย หรือสปาไทย โดยไม่ได้ทำการขอใบอนุญาตทำงานจากสถานเอกอัครราชทูตแอฟริกาใต้ประจำประเทศไทย หรือไม่แจ้งชื่อสถานประกอบการดังกล่าวให้ทราบ ขอให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นการหลอกลวง ทั้งนี้ อาจขอตรวจสอบได้กับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย หมายเลขโทรศัพท์ 001 27 12-342 4600 ว่ามีร้านอาหาร ร้านนวดแผนไทย หรือสปาไทยดังกล่าวจริงหรือไม่อย่างไร
2. แอฟริกาใต้มีอัตราผู้ติดเชื้อเอดส์กว่าร้อยละ 20 ดังนั้น ผู้ที่ตั้งใจจะมาขายบริการ อาจติดเชื้อดังกล่าว นอกจากนี้ แอฟริกาใต้เป็นประเทศที่มีอาชญากรรมสูง ไม่มีระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัย การเดินทางในแอฟริกาใต้แต่ละแห่งจึงมีความเสี่ยงต่อการจี้ปล้นได้ง่าย ดังนั้น ผู้ที่คิดจะเดินทางมาทำงานที่แอฟริกาใต้ขอให้คำนึงถึงเรื่องดังกล่าวด้วย
3. ผู้ที่คิดว่าจะมาขายบริการโดยหวังที่จะได้เงินรายได้คืนอย่างรวดเร็วภายในเวลา 2-3 เดือน และหวังที่จะมีเงินเก็บเพื่อสร้างฐานะนั้น เป็นความคิดที่ผิด เพราะนายหน้าค้ามนุษย์ และสถานบริการจะหักเงินรายได้ทั้งหมดไว้
4. ระเบียบการทำงานในแอฟริกาใต้ นั้น มีมาตรการที่เข้มงวด กล่าวคือ นายจ้างต้องลงประกาศในหนังสือพิมพ์เป็นเวลา 7 วัน เพื่อให้โอกาสกับคนท้องถิ่นในการสมัครงานก่อน ในกรณีที่ไม่มีผู้สมัครงาน บริษัทจึงสามารถรับคนต่างชาติเข้าทำงานได้ ดังนั้น หากมีผู้ติดต่อให้มาทำงานในโรงงาน หรือสถานประกอบการใด ๆ ในแอฟริกาใต้ โดยไม่มีสัญญาจ้างที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงแรงงานไทย และหากผู้รับการติดต่อไม่มีวุฒิบัตรรับรองความรู้ความสามารถของตนในงานนั้น ๆ เพื่อใช้ในการขอรับการตรวจลงตราจากสถานเอกอัครราชทูตแอฟริกาใต้ประจำประเทศไทย ขอให้สันนิษฐานได้ว่าเป็นการหลอกลวงเช่นกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-