วันนี้(4 ม.ค. 49) นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลจะออกร่างพ.ร.บ. บริหารราชการแผ่นดินฉบับใหม่ ว่าตนมีความคิดว่าการออกร่างพ.ร.บ. ดังกล่าวเป็นการให้อำนาจนายกฯมากเกินไป และอาจเป็นร่างที่มีอำนาจเหนือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตรงนี้พรรคมีความเป็นห่วง 4 ประเด็น คือ 1. กรณีที่รัฐบาลบอกว่าต้องออก พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว เพราะมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน ตรงนี้มีคำถามว่า คำว่า ‘เหตุจำเป็น’ ใครคือผู้กำหนดถึงความจำเป็นนั้นๆ และความจำเป็นนั้นมีคำนิยามแค่ไหน เพียงใด
ประเด็นที่ 2. การออกกฎหมายครั้งนี้ น่าจะออกมาเพื่อรองรับการล้วงลูกการทำงานของคณะรัฐมนตรี และเพื่อไม่ให้เกิดการกล่าวหาว่าเป็นการทำงานแทรกแซงใช่หรือไม่ ประเด็นที่ 3 หากกฎหมายฉบับดังกล่าวออกมา ตนเกรงว่าอาจจะเป็นการขัดกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายบริหารราชการแผ่นดิน เพราะการมอบอำนาจเบ็ดเสร็จให้นายกฯมากเกินความจำเป็น อาจเป็นการขัดต่อกฎหมายบ้านเมืองก็ได้
ประเด็นที่ 4 กรณีมาตรา11(1) อาจเป็นการส่อต่อการขัดกฎหมายการกระจายอำนาจในระบอบประชาธิปไตย และการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการรวบอำนาจไว้กับบุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งถือได้ว่าเป็นการกระทำที่นำไปสู่เงาของการปกครองในระบอบประธานาธิบดีหรือไม่ “เมื่อสามารถกุมอำนาจการปกครองตั้งแต่ส่วนกลางไปจนถึงระดับท้องถิ่นถือเป็นการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมาก” นายองอาจ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 4 ม.ค.2549--จบ--
ประเด็นที่ 2. การออกกฎหมายครั้งนี้ น่าจะออกมาเพื่อรองรับการล้วงลูกการทำงานของคณะรัฐมนตรี และเพื่อไม่ให้เกิดการกล่าวหาว่าเป็นการทำงานแทรกแซงใช่หรือไม่ ประเด็นที่ 3 หากกฎหมายฉบับดังกล่าวออกมา ตนเกรงว่าอาจจะเป็นการขัดกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายบริหารราชการแผ่นดิน เพราะการมอบอำนาจเบ็ดเสร็จให้นายกฯมากเกินความจำเป็น อาจเป็นการขัดต่อกฎหมายบ้านเมืองก็ได้
ประเด็นที่ 4 กรณีมาตรา11(1) อาจเป็นการส่อต่อการขัดกฎหมายการกระจายอำนาจในระบอบประชาธิปไตย และการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการรวบอำนาจไว้กับบุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งถือได้ว่าเป็นการกระทำที่นำไปสู่เงาของการปกครองในระบอบประธานาธิบดีหรือไม่ “เมื่อสามารถกุมอำนาจการปกครองตั้งแต่ส่วนกลางไปจนถึงระดับท้องถิ่นถือเป็นการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมาก” นายองอาจ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 4 ม.ค.2549--จบ--