สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร วิเคราะห์ผลไข้หวัดนกที่กลับมาใหม่ ยังไม่ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรมากนัก มั่นใจการระบาดรอบนี้สามารถควบคุมไม่ให้สร้างความเสียหายได้ แต่ส่งผลต่อการส่งออกไก่สดแช่เย็นและแช่แข็ง
นายพินิจ กอศรีพร รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้วิเคราะห์ผลกระทบการกลับมาระบาดรอบใหม่ของไข้หวัดนกในปี 2549 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมต่อเนื่องถึงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา พบว่า ในปีนี้ภาคเกษตรจะได้รับผลกระทบไม่มากนัก กล่าวคือ ภาคการเกษตรยังคงขยายตัวอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.2-4.7 (ใกล้เคียงกับอัตราเดิมที่เคยพยากรณ์ก่อนเกิดไข้หวัดนกระบาดในรอบนี้)
เนื่องจากสัตว์ปีกที่เป็นโรคส่วนใหญ่เป็นไก่พันธุ์พื้นเมือง ซึ่งมีสัดส่วนการผลิตเพียงร้อยละ 7 ของไก่ทั้งหมด หรือประมาณร้อยละ 0.28 ของการผลิตในภาคเกษตร ขณะเดียวกันเมื่อเกิดโรคระบาดแล้วสามารถควบคุมไม่ให้แพร่กระจายหรือทำความเสียหายต่อสัตว์ปีกโดยรวม
นายพินิจกล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับผลกระทบต่อการส่งออก คาดว่าจะทำให้โอกาสการส่งออกไก่สดแช่เย็นและแช่แข็งล่าช้าออกไป ส่วนการส่งออกไก่แปรรูปหรือปรุงสุกมีทิศทางที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เพราะความร่วมมือของผู้ผลิตและภาครัฐที่พัฒนาและปรับคุณภาพสินค้าตามความต้องการของตลาด แต่การส่งออกอาจจะต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ 0.35 ล้านตัน ซึ่งโดยภาพรวมคาดว่าประเทศไทยจะส่งออกไก่ได้ประมาณ 0.26-0.30 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม การประกาศขึ้นภาษีไก่แปรรูปเป็นร้อยละ 53 (จากเดิมร้อยละ 8.5-15.4) ของสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายสำคัญของไทยอาจจะทำให้การส่งออกชะลอตัวลงในตลาดสหภาพยุโรป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายพินิจ กอศรีพร รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้วิเคราะห์ผลกระทบการกลับมาระบาดรอบใหม่ของไข้หวัดนกในปี 2549 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมต่อเนื่องถึงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา พบว่า ในปีนี้ภาคเกษตรจะได้รับผลกระทบไม่มากนัก กล่าวคือ ภาคการเกษตรยังคงขยายตัวอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.2-4.7 (ใกล้เคียงกับอัตราเดิมที่เคยพยากรณ์ก่อนเกิดไข้หวัดนกระบาดในรอบนี้)
เนื่องจากสัตว์ปีกที่เป็นโรคส่วนใหญ่เป็นไก่พันธุ์พื้นเมือง ซึ่งมีสัดส่วนการผลิตเพียงร้อยละ 7 ของไก่ทั้งหมด หรือประมาณร้อยละ 0.28 ของการผลิตในภาคเกษตร ขณะเดียวกันเมื่อเกิดโรคระบาดแล้วสามารถควบคุมไม่ให้แพร่กระจายหรือทำความเสียหายต่อสัตว์ปีกโดยรวม
นายพินิจกล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับผลกระทบต่อการส่งออก คาดว่าจะทำให้โอกาสการส่งออกไก่สดแช่เย็นและแช่แข็งล่าช้าออกไป ส่วนการส่งออกไก่แปรรูปหรือปรุงสุกมีทิศทางที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เพราะความร่วมมือของผู้ผลิตและภาครัฐที่พัฒนาและปรับคุณภาพสินค้าตามความต้องการของตลาด แต่การส่งออกอาจจะต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ 0.35 ล้านตัน ซึ่งโดยภาพรวมคาดว่าประเทศไทยจะส่งออกไก่ได้ประมาณ 0.26-0.30 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม การประกาศขึ้นภาษีไก่แปรรูปเป็นร้อยละ 53 (จากเดิมร้อยละ 8.5-15.4) ของสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายสำคัญของไทยอาจจะทำให้การส่งออกชะลอตัวลงในตลาดสหภาพยุโรป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-