ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ให้สถาบันการเงินประเมินมูลค่าหลักประกันอย่างน้อยทุก 3 ปี ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศ
ไทย (ธปท.) ลงนามในประกาศเรื่องหลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าหลักประกันสำหรับสินทรัพย์จัดชั้นทุกประเภทของ
สถาบันการเงิน โดยให้ ธพ. บง. และ บค. มีการประเมินราคาหลักประกันทุกประเภทอย่างน้อยทุก 3 ปี ยกเว้น
การประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จากการชำระหนี้ หรือซื้อจากการขายทอดตลาด ให้มีการประเมินราคาเป็น
ประจำทุกปี ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการยกเลิกหลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าหลักประกันของ ธปท.ก่อนหน้านี้ที่ให้
สถาบันการเงิน สามารถนำมูลค่าหลักประกันที่ประเมินราคาไว้เกิน 12 เดือน มาหักออกจากยอดคงค้างก่อนการกัน
สำรองได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของมูลค่าที่ได้จากการประเมินราคา ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่
4 พ.ค.48 เป็นต้นไป (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, บ้าน
เมือง, แนวหน้า, ข่าวสด)
2. ธปท.ปรับปรุงเกณฑ์การให้สถาบันการเงินถือหุ้นในบริษัทจำกัดได้เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดร้อยละ
10 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ลงนามในประกาศเรื่องการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการถือหุ้นใน
บริษัทจำกัดเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยอนุญาตให้ ธพ. บง. และ บค.สามารถซื้อหรือถือหุ้นในบริษัทจำกัดได้
เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่เป็นการอนุญาตเฉพาะกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้จัดชั้นต่ำกว่า
มาตรฐาน ชั้นสงสัย ชั้นสงสัยจะสูญ และชั้นสูญ ก่อนวันที่ 1 ม.ค.48 รวมถึงลูกหนี้ชั้นสงสัยจะสูญที่กันสำรองครบร้อย
ละ 100 และตัดออกจากบัญชีแล้วแต่ยังได้บันทึกกลับเข้าไปในบัญชีด้วย รวมทั้งอนุญาตจนถึงวันที่ 31 ธ.ค.49 ให้
สถาบันการเงินมีหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ์ในบริษัทลูกหนี้อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามเกณฑ์ ธปท.ได้
เกินร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายแล้วของบริษัทลูกหนี้ และให้ ธพ. สาขาธนาคารต่างประเทศ และสำนัก
งานวิเทศธนกิจมีหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ์ในบริษัทจำกัดทั้งหมดมูลค่ารวมกันเกินร้อยละ 20 ของเงินกองทุนของ
สถาบันการเงินดังกล่าวได้ หากหุ้นที่เกินนั้นได้มาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามเกณฑ์ของ ธปท. ส่วน บง.ให้
ลงทุนในหลักทรัพย์มูลค่าเกินร้อยละ 60 ของเงินกองทุนของ บง.และให้ บค.มีหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์ หรือหุ้นกู้ทั้ง
หมดมูลค่ารวมกันเกินร้อยละ 20 ของเงินกองทุนของ บค.(กรุงเทพธุรกิจ)
3. ธ.โลกประเมินเสถียรภาพการเมืองและความปลอดภัยของไทยปี 47 ลดลงอยู่ที่ระดับ —0.15 ผู้
อำนวยการด้านธรรมาภิบาลแห่งสถาบันวิจัย ธ.โลก เปิดเผยว่า ธ.โลกได้แบ่งเกณฑ์ประเมินธรรมาภิบาลแบ่งเป็น
6 ด้าน ประกอบด้วย การเคารพในสิทธิมนุษยชนและพลเรือน เสถียรภาพการเมือง และความปลอดภัย
ประสิทธิภาพรัฐบาล คุณภาพด้านการนโยบาย-กฎระเบียบ การบังคับใช้กฎหมายและการควบคุมการฉ้อราษฎร์บัง
หลวง โดยผลการประเมินคุณภาพรัฐบาลถูกตีค่าระหว่าง —2.5 ถึง +2.5 สำหรับไทย ได้รับการประเมินในปี 47
ด้านการเคารพสิทธิมนุษยชนและพลเรือนที่ +0.24 ดีขึ้นหากเทียบกับปี 45 ซึ่งอยู่ที่ +0.20 ส่วนในด้านเสถียรภาพ
การเมืองและความปลอดภัยปี 47 อยู่ที่ —0.15 ลดลงจากระดับ +0.45 ในปี 45 ประสิทธิภาพรัฐบาลไทยปี 47
อยู่ที่ +0.38 ดีขึ้นเมื่อเทียบกับ +0.29 เมื่อ 2 ปีก่อน ขณะที่ในด้านคุณภาพนโยบาย-กฎระเบียบอยู่ที่ —0.01 จาก
+0.31 เมื่อปี 45 ในด้านการบังคับใช้กฎหมายปี 47 อยู่ที่ —0.05 จากระดับ +0.23 ของเมื่อ 2 ปีก่อน และสุด
ท้ายในด้านการควบคุมการฉ้อราษฎร์บังหลวงดีขึ้นที่ —0.25 เทียบกับ —0.28 ของปี 45 (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค สรอ. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ —16 รายงานจากเมืองนิวยอร์ค
ประเทศ สรอ. เมื่อวันที่ 10 พ.ค.48 สำนักข่าว ABC และ นสพ.วอชิงตันโพสต์ของ สรอ. เปิดเผยผลสำรวจ
ความคิดเห็นผู้บริโภคว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค สรอ. ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 8 พ.ค. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ —16
จากระดับ —19 ในสัปดาห์ก่อน เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลง ทั้งนี้ ปัจจัยหลัก 3 ประการ ที่เป็นส่วน
ประกอบสำคัญของดัชนีดังกล่าวได้เพิ่มขึ้น คือ ชาวอเมริกันที่มีมุมมองในด้านดีต่อเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 34 จากร้อยละ 33 ในสัปดาห์ก่อน ส่วนประชาชนที่กล่าวว่าฐานะการเงินของตนเองอยู่ในระดับดีเยี่ยมหรือดี
เพิ่มขึ้นร้อยละ 58 จากร้อยละ 55 ในขณะที่ผู้บริโภคที่คิดว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่จะซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 34 จาก
ร้อยละ 33 ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งมีสัดส่วนมากถึง 2 ใน 3 ของ
เศรษฐกิจ สรอ. อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าไม่เสมอไปที่ผู้บริโภคจะปฏิบัติตามสิ่งที่พวกเขาตอบใน
แบบสำรวจความคิดเห็น และข้อมูลที่ใช้ในการจัดทำดัชนีดังกล่าวได้จากการออกแบบสอบถามประชาชนทั่วไป
1,000 ราย ในช่วง 4 สัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 8 พ.ค. ซึ่งอาจจะมีการผิดพลาดได้ประมาณบวกหรือลบร้อยละ 3
(รอยเตอร์)
2. ทุนสำรองระหว่างประเทศของญี่ปุ่น ณ สิ้นเดือนเม.ย. อยู่ที่ระดับ 843.601 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ. รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 48 รมว. คลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ณ สิ้นสุดเดือนเม.ย. ทุน
สำรองทางการของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นที่ระดับ 843.601 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. จาก 837.718 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.
เมื่อเดือนก่อน และเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือนที่ทุนสำรองทางการเพิ่มขึ้นดังกล่าว ทั้งนี้ที่ผ่านมามูลค่าทุนสำรอง
ระหว่างประเทศของญี่ปุ่นได้ลดลงจากที่เคยทำสถิติสูงสุดที่ระดับ 844.543 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ในเดือนธ.ค.
เนื่องจากการลดลงของสินทรัพย์ในรูปเงินยูโร(รอยเตอร์)
3. ทุนสำรองฯ ของมาเลเซีย ณ 30 เม.ย.48 มีจำนวน 73.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
รายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 10 พ.ค.48 ธ.กลางของมาเลเซีย เปิดเผยว่า ทุน
สำรองเงินตราต่างประเทศของมาเลเซีย ณ วันที่ 30 เม.ย.48 มีจำนวนทั้งสิ้น 73.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 จาก 72.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ วันที่ 15 เม.ย.48 โดยการเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากเงิน
ตราต่างประเทศที่ได้จากการส่งสินค้าออก การไหลเข้าของเงินทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และ การลงทุนใน
ตลาดหลักทรัพย์ ส่วนการไหลออกของเงินตราต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นการชำระค่าสินค้าที่นำเข้า ค่าบริการ และ
การส่งผลกำไรกลับประเทศของบริษัทต่างชาติ ทั้งนี้ ทุนสำรองดังกล่าวเพียงพอที่จะใช้สนับสนุนการนำเข้าสินค้าเป็น
เวลา 8.7 เดือน และมากเป็น 6.8 เท่า ของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น (รอยเตอร์)
4. คาดว่าธ.กลางเกาหลีใต้จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ต่อไปเป็นเดือนที่ 6
รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 48 ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ 10 คนของรอยเตอร์คาดว่า ในการ
ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในสัปดาห์นี้ ธ.กลางเกาหลีใต้จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.25 ต่อ
ไปอีกเป็นเดือนที่ 6 นับตั้งแต่ที่เคยปรับลดครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนพ.ย. 47 เนื่องจากความวิตกในการชะลอตัวของ
การส่งออก และอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนตัว รวมทั้งคาดว่าเงินวอนจะแข็งค่าขึ้นอีก ซึ่งจะส่งผลต่อการส่งออกทำให้ผู้
ดำเนินนโยบายการเงินต้องใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป แต่นักเศรษฐศาสตร์ 3 คนมีความเห็นว่าแนว
โน้มในระยะยาวจะเปลี่ยนไปโดย ธ.กลางอาจจะใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวในช่วงครึ่งปีหลังซึ่งคาดว่าอุปสงค์ใน
ประเทศจะฟื้นตัว ทั้งนี้ผลการสำรวจเมื่อเดือนที่แล้วนักเศรษฐศาสตร์มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ธ.กลางจะไม่ปรับเพิ่ม
อัตราดอกเบี้ยในอีก 6 เดือนข้างหน้า อนึ่งคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินธ.กลางเกาหลีใต้มีกำหนดที่จะเปิด
เผยผลการประชุมในวันพฤหัสบดีนี้เวลา 11.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 11 พ.ค. 48 10 พ.ค. 48 30 ม.ค. 47
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.502 39.263
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.3243/39.6167 39.0915/39.3765
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.3125 — 2.3500 1.1875 - 1.2800
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 681.83/19.52 698.90/29.26
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,950/8,050 7,950/8,050 7,400/7,500
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 43.86 44.64 28.18
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 22.54*/18.19** 22.54*/18.19** 16.99/14.59
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 5 พ.ค. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 3 บาท เมื่อ 23 มี.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ให้สถาบันการเงินประเมินมูลค่าหลักประกันอย่างน้อยทุก 3 ปี ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศ
ไทย (ธปท.) ลงนามในประกาศเรื่องหลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าหลักประกันสำหรับสินทรัพย์จัดชั้นทุกประเภทของ
สถาบันการเงิน โดยให้ ธพ. บง. และ บค. มีการประเมินราคาหลักประกันทุกประเภทอย่างน้อยทุก 3 ปี ยกเว้น
การประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จากการชำระหนี้ หรือซื้อจากการขายทอดตลาด ให้มีการประเมินราคาเป็น
ประจำทุกปี ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการยกเลิกหลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าหลักประกันของ ธปท.ก่อนหน้านี้ที่ให้
สถาบันการเงิน สามารถนำมูลค่าหลักประกันที่ประเมินราคาไว้เกิน 12 เดือน มาหักออกจากยอดคงค้างก่อนการกัน
สำรองได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของมูลค่าที่ได้จากการประเมินราคา ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่
4 พ.ค.48 เป็นต้นไป (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, บ้าน
เมือง, แนวหน้า, ข่าวสด)
2. ธปท.ปรับปรุงเกณฑ์การให้สถาบันการเงินถือหุ้นในบริษัทจำกัดได้เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดร้อยละ
10 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ลงนามในประกาศเรื่องการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการถือหุ้นใน
บริษัทจำกัดเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยอนุญาตให้ ธพ. บง. และ บค.สามารถซื้อหรือถือหุ้นในบริษัทจำกัดได้
เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่เป็นการอนุญาตเฉพาะกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้จัดชั้นต่ำกว่า
มาตรฐาน ชั้นสงสัย ชั้นสงสัยจะสูญ และชั้นสูญ ก่อนวันที่ 1 ม.ค.48 รวมถึงลูกหนี้ชั้นสงสัยจะสูญที่กันสำรองครบร้อย
ละ 100 และตัดออกจากบัญชีแล้วแต่ยังได้บันทึกกลับเข้าไปในบัญชีด้วย รวมทั้งอนุญาตจนถึงวันที่ 31 ธ.ค.49 ให้
สถาบันการเงินมีหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ์ในบริษัทลูกหนี้อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามเกณฑ์ ธปท.ได้
เกินร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายแล้วของบริษัทลูกหนี้ และให้ ธพ. สาขาธนาคารต่างประเทศ และสำนัก
งานวิเทศธนกิจมีหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ์ในบริษัทจำกัดทั้งหมดมูลค่ารวมกันเกินร้อยละ 20 ของเงินกองทุนของ
สถาบันการเงินดังกล่าวได้ หากหุ้นที่เกินนั้นได้มาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามเกณฑ์ของ ธปท. ส่วน บง.ให้
ลงทุนในหลักทรัพย์มูลค่าเกินร้อยละ 60 ของเงินกองทุนของ บง.และให้ บค.มีหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์ หรือหุ้นกู้ทั้ง
หมดมูลค่ารวมกันเกินร้อยละ 20 ของเงินกองทุนของ บค.(กรุงเทพธุรกิจ)
3. ธ.โลกประเมินเสถียรภาพการเมืองและความปลอดภัยของไทยปี 47 ลดลงอยู่ที่ระดับ —0.15 ผู้
อำนวยการด้านธรรมาภิบาลแห่งสถาบันวิจัย ธ.โลก เปิดเผยว่า ธ.โลกได้แบ่งเกณฑ์ประเมินธรรมาภิบาลแบ่งเป็น
6 ด้าน ประกอบด้วย การเคารพในสิทธิมนุษยชนและพลเรือน เสถียรภาพการเมือง และความปลอดภัย
ประสิทธิภาพรัฐบาล คุณภาพด้านการนโยบาย-กฎระเบียบ การบังคับใช้กฎหมายและการควบคุมการฉ้อราษฎร์บัง
หลวง โดยผลการประเมินคุณภาพรัฐบาลถูกตีค่าระหว่าง —2.5 ถึง +2.5 สำหรับไทย ได้รับการประเมินในปี 47
ด้านการเคารพสิทธิมนุษยชนและพลเรือนที่ +0.24 ดีขึ้นหากเทียบกับปี 45 ซึ่งอยู่ที่ +0.20 ส่วนในด้านเสถียรภาพ
การเมืองและความปลอดภัยปี 47 อยู่ที่ —0.15 ลดลงจากระดับ +0.45 ในปี 45 ประสิทธิภาพรัฐบาลไทยปี 47
อยู่ที่ +0.38 ดีขึ้นเมื่อเทียบกับ +0.29 เมื่อ 2 ปีก่อน ขณะที่ในด้านคุณภาพนโยบาย-กฎระเบียบอยู่ที่ —0.01 จาก
+0.31 เมื่อปี 45 ในด้านการบังคับใช้กฎหมายปี 47 อยู่ที่ —0.05 จากระดับ +0.23 ของเมื่อ 2 ปีก่อน และสุด
ท้ายในด้านการควบคุมการฉ้อราษฎร์บังหลวงดีขึ้นที่ —0.25 เทียบกับ —0.28 ของปี 45 (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค สรอ. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ —16 รายงานจากเมืองนิวยอร์ค
ประเทศ สรอ. เมื่อวันที่ 10 พ.ค.48 สำนักข่าว ABC และ นสพ.วอชิงตันโพสต์ของ สรอ. เปิดเผยผลสำรวจ
ความคิดเห็นผู้บริโภคว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค สรอ. ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 8 พ.ค. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ —16
จากระดับ —19 ในสัปดาห์ก่อน เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลง ทั้งนี้ ปัจจัยหลัก 3 ประการ ที่เป็นส่วน
ประกอบสำคัญของดัชนีดังกล่าวได้เพิ่มขึ้น คือ ชาวอเมริกันที่มีมุมมองในด้านดีต่อเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 34 จากร้อยละ 33 ในสัปดาห์ก่อน ส่วนประชาชนที่กล่าวว่าฐานะการเงินของตนเองอยู่ในระดับดีเยี่ยมหรือดี
เพิ่มขึ้นร้อยละ 58 จากร้อยละ 55 ในขณะที่ผู้บริโภคที่คิดว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่จะซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 34 จาก
ร้อยละ 33 ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งมีสัดส่วนมากถึง 2 ใน 3 ของ
เศรษฐกิจ สรอ. อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าไม่เสมอไปที่ผู้บริโภคจะปฏิบัติตามสิ่งที่พวกเขาตอบใน
แบบสำรวจความคิดเห็น และข้อมูลที่ใช้ในการจัดทำดัชนีดังกล่าวได้จากการออกแบบสอบถามประชาชนทั่วไป
1,000 ราย ในช่วง 4 สัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 8 พ.ค. ซึ่งอาจจะมีการผิดพลาดได้ประมาณบวกหรือลบร้อยละ 3
(รอยเตอร์)
2. ทุนสำรองระหว่างประเทศของญี่ปุ่น ณ สิ้นเดือนเม.ย. อยู่ที่ระดับ 843.601 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ. รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 48 รมว. คลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ณ สิ้นสุดเดือนเม.ย. ทุน
สำรองทางการของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นที่ระดับ 843.601 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. จาก 837.718 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.
เมื่อเดือนก่อน และเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือนที่ทุนสำรองทางการเพิ่มขึ้นดังกล่าว ทั้งนี้ที่ผ่านมามูลค่าทุนสำรอง
ระหว่างประเทศของญี่ปุ่นได้ลดลงจากที่เคยทำสถิติสูงสุดที่ระดับ 844.543 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ในเดือนธ.ค.
เนื่องจากการลดลงของสินทรัพย์ในรูปเงินยูโร(รอยเตอร์)
3. ทุนสำรองฯ ของมาเลเซีย ณ 30 เม.ย.48 มีจำนวน 73.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
รายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 10 พ.ค.48 ธ.กลางของมาเลเซีย เปิดเผยว่า ทุน
สำรองเงินตราต่างประเทศของมาเลเซีย ณ วันที่ 30 เม.ย.48 มีจำนวนทั้งสิ้น 73.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 จาก 72.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ วันที่ 15 เม.ย.48 โดยการเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากเงิน
ตราต่างประเทศที่ได้จากการส่งสินค้าออก การไหลเข้าของเงินทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และ การลงทุนใน
ตลาดหลักทรัพย์ ส่วนการไหลออกของเงินตราต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นการชำระค่าสินค้าที่นำเข้า ค่าบริการ และ
การส่งผลกำไรกลับประเทศของบริษัทต่างชาติ ทั้งนี้ ทุนสำรองดังกล่าวเพียงพอที่จะใช้สนับสนุนการนำเข้าสินค้าเป็น
เวลา 8.7 เดือน และมากเป็น 6.8 เท่า ของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น (รอยเตอร์)
4. คาดว่าธ.กลางเกาหลีใต้จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ต่อไปเป็นเดือนที่ 6
รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 48 ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ 10 คนของรอยเตอร์คาดว่า ในการ
ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในสัปดาห์นี้ ธ.กลางเกาหลีใต้จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.25 ต่อ
ไปอีกเป็นเดือนที่ 6 นับตั้งแต่ที่เคยปรับลดครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนพ.ย. 47 เนื่องจากความวิตกในการชะลอตัวของ
การส่งออก และอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนตัว รวมทั้งคาดว่าเงินวอนจะแข็งค่าขึ้นอีก ซึ่งจะส่งผลต่อการส่งออกทำให้ผู้
ดำเนินนโยบายการเงินต้องใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป แต่นักเศรษฐศาสตร์ 3 คนมีความเห็นว่าแนว
โน้มในระยะยาวจะเปลี่ยนไปโดย ธ.กลางอาจจะใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวในช่วงครึ่งปีหลังซึ่งคาดว่าอุปสงค์ใน
ประเทศจะฟื้นตัว ทั้งนี้ผลการสำรวจเมื่อเดือนที่แล้วนักเศรษฐศาสตร์มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ธ.กลางจะไม่ปรับเพิ่ม
อัตราดอกเบี้ยในอีก 6 เดือนข้างหน้า อนึ่งคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินธ.กลางเกาหลีใต้มีกำหนดที่จะเปิด
เผยผลการประชุมในวันพฤหัสบดีนี้เวลา 11.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 11 พ.ค. 48 10 พ.ค. 48 30 ม.ค. 47
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.502 39.263
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.3243/39.6167 39.0915/39.3765
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.3125 — 2.3500 1.1875 - 1.2800
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 681.83/19.52 698.90/29.26
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,950/8,050 7,950/8,050 7,400/7,500
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 43.86 44.64 28.18
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 22.54*/18.19** 22.54*/18.19** 16.99/14.59
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 5 พ.ค. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 3 บาท เมื่อ 23 มี.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--