สศอ.เร่งระดมสมองทุกฝ่าย เตรียมร่างแผนแม่บทเพิ่มประสิทธิภาพให้ภาคอุตฯ หวังอุตฯไทยแกร่งตั้งแต่ฐานราก ปูทางอนาคตที่ยั่งยืน
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยภายหลังการระดมสมอง เพื่อจัดทำแผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรม ว่า สศอ.ในฐานะเป็นหน่วยงานหลักที่ได้รับมอบหมายจากนายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เร่งจัดทำแผนแม่บทเพื่อเป็นแนวทางสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมมีการเติบโตที่แข็งแกร่งและยั่งยืน โดยได้มีการเชิญผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งจากภาครัฐและเอกชนซึ่งมีเป้าหมายให้แล้วเสร็จโดยเร็วในช่วงรัฐบาลรักษาการชุดนี้
“เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภาพรวมของเศรษฐกิจของประเทศ ที่จำเป็นต้องมีแผนแม่บทที่ชัดเจน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในวงเสวนาระดมสมองได้มีการถกปัญหารวมถึงแนวทางเพื่อความสำเร็จไว้หลายด้านที่สำคัญ โดยเห็นว่าแผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรมนั้น ภาครัฐต้องร่วมมือกับภาคเอกชน และประสานความร่วมมือกันในระดับกระทรวง”
ดร.อรรชกา กล่าวว่า ในการเพิ่มผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรมมีประเด็นสำคัญ 3 ประการเพื่อบรรจุลงในแผนแม่บท คือ 1.การพัฒนาทักษะแรงงาน 2.การพัฒนาระบบบริหารจัดการ และ 3.การพัฒนาปัจจัยสนับสนุน
โดย การพัฒนาทักษะแรงงาน (Human Skill) ต้องมีแนวทางสร้างแรงงานให้มีประสิทธิภาพ โดยการจัดทำฐานข้อมูลด้านความต้องการแรงงานของผู้ประกอบการ เพื่อผลิตแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการ นอกจากนี้ต้องมีการส่งเสริมการใช้คุณวุฒิวิชาชีพและประสบการณ์ เพื่อให้มีมาตรฐานด้านค่าจ้าง อันจะก่อให้เกิดแรงจูงใจในการพัฒนาทักษะที่สูงขึ้น โดยดำเนินการควบคู่กับการพัฒนาครูฝึกให้มีความเชี่ยวชาญสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้สู่แนวทางการปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นงานใหญ่ที่ต้องร่วมมือกันกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
ด้าน การบริหารจัดการ (Management) ถือเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งในการนำองค์กรสู่ความสำเร็จ ซึ่งต้องมีการพัฒนาผู้บริหารให้มีวิสัยทัศน์กว้างไกลในการพาองค์กรก้าวสู่ความสำเร็จ และพร้อมเรียนรู้ในทุกๆศาสตร์ด้านบริหารจัดการ ซึ่งประเด็นนี้จะนำไปสู่การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมที่มีเป้าหมายชัดเจน สามารถแข่งขันได้ในทุกๆตลาด รวมถึงเป็นแนวทางสู่การปรับตัวเข้าสู่กติกาต่างๆของโลกได้อย่างลงตัว
และ การพัฒนาผลิตภาพด้านปัจจัยสนับสนุน ในประเด็นนี้ ได้มีการกำหนดแนวทางให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมทั้งระบบให้มีความเชื่อมโยงกัน โดยสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมในระดับพื้นที่ รวมทั้งการใช้วัตถุดิบที่เหมาะสมตามศักยภาพของพื้นที่ รวมทั้งมีระบบข้อมูลด้านการผลิตและตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดทิศทางการพัฒนาผลิตภาพของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐบาล โดยการดำเนินการครั้งนี้เป็นการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นเจ้าภาพ มีกำหนดกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน ดังนั้นจึงได้มอบหมายให้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำแผนปฏิบัติการ โดยดำเนินการเป็นตัวอย่างนำร่อง ตามแต่ความพร้อม และสมัครใจเข้า ซึ่งในรายละเอียดต่างๆ สศอ.จะได้นำมารายงานให้ทุกฝ่ายได้รับทราบเป็นระยะต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยภายหลังการระดมสมอง เพื่อจัดทำแผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรม ว่า สศอ.ในฐานะเป็นหน่วยงานหลักที่ได้รับมอบหมายจากนายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เร่งจัดทำแผนแม่บทเพื่อเป็นแนวทางสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมมีการเติบโตที่แข็งแกร่งและยั่งยืน โดยได้มีการเชิญผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งจากภาครัฐและเอกชนซึ่งมีเป้าหมายให้แล้วเสร็จโดยเร็วในช่วงรัฐบาลรักษาการชุดนี้
“เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภาพรวมของเศรษฐกิจของประเทศ ที่จำเป็นต้องมีแผนแม่บทที่ชัดเจน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในวงเสวนาระดมสมองได้มีการถกปัญหารวมถึงแนวทางเพื่อความสำเร็จไว้หลายด้านที่สำคัญ โดยเห็นว่าแผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรมนั้น ภาครัฐต้องร่วมมือกับภาคเอกชน และประสานความร่วมมือกันในระดับกระทรวง”
ดร.อรรชกา กล่าวว่า ในการเพิ่มผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรมมีประเด็นสำคัญ 3 ประการเพื่อบรรจุลงในแผนแม่บท คือ 1.การพัฒนาทักษะแรงงาน 2.การพัฒนาระบบบริหารจัดการ และ 3.การพัฒนาปัจจัยสนับสนุน
โดย การพัฒนาทักษะแรงงาน (Human Skill) ต้องมีแนวทางสร้างแรงงานให้มีประสิทธิภาพ โดยการจัดทำฐานข้อมูลด้านความต้องการแรงงานของผู้ประกอบการ เพื่อผลิตแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการ นอกจากนี้ต้องมีการส่งเสริมการใช้คุณวุฒิวิชาชีพและประสบการณ์ เพื่อให้มีมาตรฐานด้านค่าจ้าง อันจะก่อให้เกิดแรงจูงใจในการพัฒนาทักษะที่สูงขึ้น โดยดำเนินการควบคู่กับการพัฒนาครูฝึกให้มีความเชี่ยวชาญสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้สู่แนวทางการปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นงานใหญ่ที่ต้องร่วมมือกันกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
ด้าน การบริหารจัดการ (Management) ถือเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งในการนำองค์กรสู่ความสำเร็จ ซึ่งต้องมีการพัฒนาผู้บริหารให้มีวิสัยทัศน์กว้างไกลในการพาองค์กรก้าวสู่ความสำเร็จ และพร้อมเรียนรู้ในทุกๆศาสตร์ด้านบริหารจัดการ ซึ่งประเด็นนี้จะนำไปสู่การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมที่มีเป้าหมายชัดเจน สามารถแข่งขันได้ในทุกๆตลาด รวมถึงเป็นแนวทางสู่การปรับตัวเข้าสู่กติกาต่างๆของโลกได้อย่างลงตัว
และ การพัฒนาผลิตภาพด้านปัจจัยสนับสนุน ในประเด็นนี้ ได้มีการกำหนดแนวทางให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมทั้งระบบให้มีความเชื่อมโยงกัน โดยสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมในระดับพื้นที่ รวมทั้งการใช้วัตถุดิบที่เหมาะสมตามศักยภาพของพื้นที่ รวมทั้งมีระบบข้อมูลด้านการผลิตและตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดทิศทางการพัฒนาผลิตภาพของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐบาล โดยการดำเนินการครั้งนี้เป็นการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นเจ้าภาพ มีกำหนดกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน ดังนั้นจึงได้มอบหมายให้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำแผนปฏิบัติการ โดยดำเนินการเป็นตัวอย่างนำร่อง ตามแต่ความพร้อม และสมัครใจเข้า ซึ่งในรายละเอียดต่างๆ สศอ.จะได้นำมารายงานให้ทุกฝ่ายได้รับทราบเป็นระยะต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-