ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลง เนื่องจากผู้เลี้ยงไก่เร่งขายไก่ออกสู่ตลาด ทำให้ปริมาณไก่ที่ออกสู่ตลาดมีมาก และฝนตกในหลายพื้นที่ ทำให้การบริโภคชะลอตัวลง ภาวะการซื้อขายทั่วไปยังซบเซา แนวโน้มคาดว่าราคาจะอ่อนตัวลงอีก
ผลกระทบการระบาดรอบใหม่ของไข้หวัดนกในปี 2549 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมต่อเนื่องถึงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา พบว่า ในปีนี้ภาคเกษตรจะได้รับผลกระทบไม่มากนัก ภาคการเกษตรยังคงขยายตัวอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.2-4.7 (ใกล้เคียงกับอัตราเดิมที่เคยพยากรณ์ก่อนเกิดไข้หวัดนกระบาดในรอบนี้) เนื่องจากสัตว์ปีกที่เป็นโรคส่วนใหญ่เป็นไก่พันธุ์พื้นเมือง ซึ่งมีสัดส่วนการผลิตเพียงร้อยละ 7 ของไก่ทั้งหมด หรือประมาณร้อยละ 0.28 ของการผลิตในภาคเกษตร ขณะเดียวกันเมื่อเกิดโรคระบาดแล้วสามารถควบคุมไม่ให้แพร่กระจายหรือทำความเสียหายต่อสัตว์ปีกโดยรวม
สำหรับผลกระทบต่อการส่งออก คาดว่าจะทำให้โอกาสการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งล่าช้าออกไป ส่วนการส่งออกไก่แปรรูปหรือปรุงสุกมีทิศทางที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เพราะความร่วมมือของผู้ผลิตและภาครัฐที่พัฒนาและปรับปรุงคุณภาพสินค้าตามความต้องการของตลาด แต่การส่งออกอาจจะต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ 0.35 ล้านตัน ซึ่งโดยภาพรวมคาดว่าประเทศไทยจะส่งออกไก่ได้ประมาณ 0.26-0.30 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม การประกาศขึ้นภาษีไก่แปรรูปเป็นร้อยละ 53 (จากเดิมร้อยละ 8.5-15.4) ของสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายสำคัญของไทยอาจจะทำให้การส่งออกชะลอตัวลงในตลาดสหภาพยุโรป
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 28.92 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.29 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.26 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือไม่มีรายงาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 23.43 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 28.44 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 4.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 21.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 9.30 และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 29.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.84
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 35 ประจำวันที่ 4 - 10 กันยายน 2549--
-พห-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลง เนื่องจากผู้เลี้ยงไก่เร่งขายไก่ออกสู่ตลาด ทำให้ปริมาณไก่ที่ออกสู่ตลาดมีมาก และฝนตกในหลายพื้นที่ ทำให้การบริโภคชะลอตัวลง ภาวะการซื้อขายทั่วไปยังซบเซา แนวโน้มคาดว่าราคาจะอ่อนตัวลงอีก
ผลกระทบการระบาดรอบใหม่ของไข้หวัดนกในปี 2549 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมต่อเนื่องถึงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา พบว่า ในปีนี้ภาคเกษตรจะได้รับผลกระทบไม่มากนัก ภาคการเกษตรยังคงขยายตัวอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.2-4.7 (ใกล้เคียงกับอัตราเดิมที่เคยพยากรณ์ก่อนเกิดไข้หวัดนกระบาดในรอบนี้) เนื่องจากสัตว์ปีกที่เป็นโรคส่วนใหญ่เป็นไก่พันธุ์พื้นเมือง ซึ่งมีสัดส่วนการผลิตเพียงร้อยละ 7 ของไก่ทั้งหมด หรือประมาณร้อยละ 0.28 ของการผลิตในภาคเกษตร ขณะเดียวกันเมื่อเกิดโรคระบาดแล้วสามารถควบคุมไม่ให้แพร่กระจายหรือทำความเสียหายต่อสัตว์ปีกโดยรวม
สำหรับผลกระทบต่อการส่งออก คาดว่าจะทำให้โอกาสการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งล่าช้าออกไป ส่วนการส่งออกไก่แปรรูปหรือปรุงสุกมีทิศทางที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เพราะความร่วมมือของผู้ผลิตและภาครัฐที่พัฒนาและปรับปรุงคุณภาพสินค้าตามความต้องการของตลาด แต่การส่งออกอาจจะต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ 0.35 ล้านตัน ซึ่งโดยภาพรวมคาดว่าประเทศไทยจะส่งออกไก่ได้ประมาณ 0.26-0.30 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม การประกาศขึ้นภาษีไก่แปรรูปเป็นร้อยละ 53 (จากเดิมร้อยละ 8.5-15.4) ของสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายสำคัญของไทยอาจจะทำให้การส่งออกชะลอตัวลงในตลาดสหภาพยุโรป
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 28.92 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.29 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.26 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือไม่มีรายงาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 23.43 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 28.44 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 4.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 21.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 9.30 และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 29.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.84
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 35 ประจำวันที่ 4 - 10 กันยายน 2549--
-พห-