ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือเดือนมิถุนายน 2549 ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนโดย ด้านอุปสงค์ การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคกระเตื้องขึ้นเล็กน้อย ขณะที่การลงทุนยังคงซบเซาอย่างต่อเนื่อง ส่วนการส่งออกและการนำเข้า แม้ว่าจะชะลอลงจากเดือนก่อนแต่ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี ด้านอุปทาน รายได้เกษตรขยายตัวในเกณฑ์ชะลอลง ภาคบริการชะลอลงตามฤดูกาล ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวตามความต้องการโดยเฉพาะจากภาคต่างประเทศ ดัชนีราคาผู้บริโภคชะลอตัวลงเล็กน้อยแต่ยังคงอยู่ในเกณฑ์สูงตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ทางด้านเงินฝากทรงตัวขณะที่สินเชื่อชะลอตัว
ครึ่งแรกปี 2549 เศรษฐกิจภาคเหนือชะลอตัวลง โดยด้านอุปสงค์ การลงทุนภาคเอกชนซบเซาลงโดยเฉพาะการก่อสร้าง ซึ่งมีสัญญานลดลงมาตั้งแต่ปลายไตรมาสแรก การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในอัตราชะลอลงจากระยะเดียวกันปีก่อนแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ส่วนมูลค่าการส่งออกและนำเข้าขยายตัวโดยเฉพาะการส่งออกเร่งตัวขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ทางด้านอุปทาน ภาคการเกษตรอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวจากการผลิตเพื่อการส่งออก ภาคบริการชะลอลงเนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างชาติชะลอการเดินทางจากปัจจัยความไม่แน่นอนทางการเมืองช่วงปลายไตรมาส 1 ส่วนนักท่องเที่ยวไทยระมัดระวังการใช้จ่าย
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร
รายได้ของเกษตรกรในเดือนมิถุนายนขยายตัวร้อยละ 5.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากราคาซึ่งสูงขึ้นร้อยละ 6.2 ตามราคาลิ้นจี่ หอมแดง กระเทียม และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่สูงขึ้นร้อยละ 7.1 ร้อยละ 26.4 ร้อยละ 49.5 และร้อยละ 19.0 ตามลำดับ ขณะที่ข้าวเปลือกเจ้านาปรังราคาทรงตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ด้านผลผลิตภาคการเกษตรลดลงเล็กน้อย โดยลิ้นจี่ลดลงร้อยละ 7.1 เนื่องจากผลผลิตได้รับความเสียหายจากฝนที่มาเร็วและมากกว่าปกติ กระเทียมและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลงร้อยละ 23.0 และ 0.8 ตามลำดับ ส่วนข้าวนาปรังและหอมแดงเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 และร้อยละ 0.5 ตามลำดับ
ครึ่งแรกปี 2549 รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.8 โดยราคาพืชผลสำคัญสูงขึ้นร้อยละ 12.1 ได้แก่ราคาอ้อยโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 ตามราคาน้ำตาลในตลาดโลก ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 จากมาตรการรับจำนำของภาครัฐ ราคากระเทียมและหอมแดงเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 และร้อยละ 104.6 ตามลำดับ ด้านผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 โดยข้าวนาปรัง อ้อยโรงงาน และข้าวนาปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ร้อยละ 1.5 และร้อยละ 4.1 ตามลำดับ แต่ผลผลิตกระเทียม ถั่วเขียว ลิ้นจี่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และหอมหัวใหญ่ ลดลงโดยลดลงร้อยละ 23.0 ร้อยละ 16.2 ร้อยละ 7.1 ร้อยละ 0.8 และร้อยละ 33.8 ตามลำดับ
2. ภาคอุตสาหกรรม
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายนขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 29.0 เป็น 178.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.9 เดือนก่อน ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวต่อเนื่องตามความต้องการของตลาด สินค้าสำคัญได้แก่ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ และเลนส์ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.2 ร้อยละ 29.9 และร้อยละ 24.3 ตามลำดับ ทางด้านผลผลิตวัสดุก่อสร้างลดลงอย่างต่อเนื่องโดยลดลงร้อยละ 11.5 เหลือ 123.9 พันเมตริกตัน ตามการลดลงของภาคการก่อสร้าง
ครึ่งแรกปี 2549 การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว ส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวของผลผลิตเพื่อส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือโดยมูลค่าส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.8 เป็น 959.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 สินค้าชนิดอื่นที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา หม้อแปลงไฟฟ้าและมอเตอร์ และอัญมณี ด้านการผลิตวัสดุก่อสร้างมีแนวโน้มการผลิตที่ลดลงมาตั้งแต่ช่วงต้นปี จากภาวะซบเซาของการก่อสร้างทั้งภาครัฐและเอกชน โดยครึ่งปีแรก ผลผลิต ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.8 เหลือ 981.7 พันเมตริกตัน ทางด้านการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 19.3 เป็น 1,249.1 ล้านบาท
3. ภาคบริการ
ภาคบริการในเดือนมิถุนายนชะลอตัวตามฤดูกาล ประกอบกับผลกระทบด้านราคาน้ำมันและค่าครองชีพที่สูงขึ้น ส่งผลให้นักท่องเที่ยวระมัดระวังการใช้จ่าย อัตราการเข้าพักในเดือนมิถุนายนลดลงจากร้อยละ 40.1 เดือนก่อนเหลือร้อยละ 38.7 ขณะที่ราคาห้องพักเฉลี่ยมีแนวโน้มชะลอตัวโดยมีราคาเฉลี่ยที่ 843.4 บาท/ห้อง แต่ยังคงมีอัตราเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.1 ทางด้านการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรมและภัตตาคารลดลงร้อยละ 7.3 เป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 10 เดือนโดยลดลงในจังหวัดเชียงใหม่เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 จากการเพิ่มเที่ยวบินให้บริการของผู้ประกอบการสายการบินต้นทุนต่ำโดยเฉพาะเส้นทางที่เดินทางสู่จังหวัดเชียงใหม่
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 ภาคบริการโดยรวมชะลอตัวลงแม้จะมีการขยายตัวดีขึ้นในช่วง 2 เดือนแรกของปี แต่ในช่วง 4 เดือนถัดมาได้รับผลกระทบของปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองและค่าครองชีพที่สูงขึ้น ส่งผลให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวต่างประเทศและไทยเลื่อนหรือชะลอการเดินทาง รวมทั้งกลุ่มสัมมนาที่ยกเลิกหรือเลื่อนการจัดออกไป โดยจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานชะลอตัวลงร้อยละ 3.4 อัตราการเข้าพักใกล้เคียงกับระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 53.0 ขณะที่ราคาห้องพักเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเพียงเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.8 อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรมและภัตตาคารยังคงปรับตัวสูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.7
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
เดือนมิถุนายน 2549 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนของภาคเหนือกระเตื้องขึ้นจากเดือนก่อน โดยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่เพิ่มร้อยละ 23.0 เร่งตัวจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2 โดยเฉพาะหมวดอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูง หมวดค้าส่งค้าปลีกยังขยายตัวต่อเนื่องแต่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ทางด้านปริมาณการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ยังขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนจากความต้องการของผู้บริโภคในช่วงเปิดเรียนภาคการศึกษาใหม่ประกอบกับมีสินค้าใหม่ออกสู่ตลาด โดยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.1 ส่วนปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.4 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 เดือนก่อน
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนครึ่งแรกปี 2549 ชะลอตัวลงแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.2 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.2 ปีก่อน ภาวะการอุปโภคบริโภคที่ชะลอลงเป็นผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยส่งผลให้ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น สำหรับเครื่องชี้สำคัญอื่นๆ ได้แก่ ปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อยร้อยละ 0.7 จากการที่ผู้ประกอบการนำส่งรถยนต์ใหม่ให้ลูกค้ามากขึ้น ปริมาณจดทะเบียนรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน
ร้อยละ 1.5 เนื่องจากมีรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ที่ออกสู่ตลาดกระตุ้นให้มีการบริโภคมากขึ้น
5. การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนภาคเหนือในเดือนมิถุนายนซบเซาต่อเนื่องจากเดือนก่อน การก่อสร้างยังคงลดลงต่อเนื่อง ทั้งนี้ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงร้อยละ 19.0 โดยลดลงทั้งการก่อสร้างประเภทอาคารพาณิชย์ บริการและขนส่ง เนื่องจากมีการลงทุนก่อสร้างไปมากแล้วในช่วงก่อนหน้า ค่าธรรมเนียมขายและขายฝากที่ดินลดลงร้อยละ 57.3
ครึ่งแรก ปี 2549 การลงทุนภาคเอกชนอยู่ในภาวะซบเซา และแสดงสัญญาณชะลอลงตั้งแต่ปลายไตรมาส 1 เป็นต้นมา โดยเฉพาะการก่อสร้างลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น เศรษฐกิจที่ชะลอตัว ประกอบกับความไม่แน่นอนทางการเมือง ส่งผลให้ภาคเอกชนชะลอการลงทุน สำหรับเครื่องชี้สำคัญได้แก่ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงร้อยละ 16.1 เนื่องจากมีการลงทุนก่อสร้างไปมากแล้วในช่วงก่อนหน้า ค่าธรรมเนียมขายและขายฝากที่ดินลดลงร้อยละ 19.3 และมูลค่าการนำเข้าเครื่องจักรและส่วนประกอบลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 23.0 ส่วนการลงทุนในกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.2 ส่วนใหญ่เป็นการขยายการผลิตของกิจการเดิมเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดีสำหรับการลงทุนของอุตสาหกรรมส่งออกและโรงแรมที่ริเริ่มไปแล้วยังคงดำเนินการต่อเนื่อง
6. การค้าต่างประเทศ
การส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.4 เป็น 230.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน การส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.0 เป็น 178.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้าสำคัญที่ส่งออกเพิ่มขึ้น อาทิ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา และอัญมณี เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 ร้อยละ 29.9 ร้อยละ 24.3 และร้อยละ 108.0 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ลดลงร้อยละ 44.2 เหลือ11.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากธุรกิจบางแห่งย้ายการทำพิธีการศุลกากรไปที่ส่วนกลาง การส่งออกผ่านชายแดน ลดลงร้อยละ 0.7 เหลือ 40.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการส่งออกไปพม่าที่ลดลงร้อยละ 19.5 เหลือ 27.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากพม่าเข้มงวดการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย ส่วนการส่งออกไปสาธารณรัฐประชาชนจีน (ตอนใต้)และลาวเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว และร้อยละ 80.9 ตามลำดับ
การนำเข้า เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.6 เป็น 148.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวจากเดือนก่อน โดยการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11.8 เป็น 136.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบที่สำคัญ อาทิ แผงวงจรรวมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.0 รวมทั้งการนำเข้าวัตถุดิบประเภทเพชรพลอย อัญมณีและเงินแท่ง ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 66.1 ด้านการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 87.5 เป็น 4.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว การนำเข้าผ่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เป็น 7.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการนำเข้าจากพม่าและลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.7 และร้อยละ 52.1 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน (ตอนใต้) ลดลงร้อยละ 46.2 โดยลดลงจากการนำเข้า ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ไม้ และเครื่องจักรกล
ดุลการค้า ในเดือนมิถุนายน 2549 เกินดุล 81.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 67.5 ล้านดอลลาร์สรอ. แต่ลดลงเทียบกับที่เกินดุล 88.4 ล้านดอลลาร์สรอ. เดือนก่อน
มูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากรในช่วงครึ่งแรกปี 2549 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.6 เป็น 2,176.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 เป็น 1,333.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกสินค้าผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.8 เป็น 959.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ หม้อแปลงไฟฟ้าและมอเตอร์ รวมทั้งสินค้าประเภทเลนส์และอัญมณี การส่งออกผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 เป็น 99.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นมากในช่วงต้นปีจากสินค้าชุดสายไฟและเคเบิลโดยมีตลาดส่งออกสำคัญที่ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ด้านการส่งออกผ่านชายแดนลดลงร้อยละ 5.2 เหลือ 274.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. และมีแนวโน้มลดลงมาตั้งแต่ช่วงต้นปี จากการส่งออกไปพม่าที่ลดลงเป็นสำคัญโดยลดลงร้อยละ 7.4 เหลือ 212.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. การส่งออกไปสาธารณรัฐประชาชนจีน(ตอนใต้) ลดลงเช่นกันโดยลดลงร้อยละ 2.7 ส่วนการส่งออกไปลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9
การนำเข้า ช่วงครึ่งแรกปี 2549 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.7 เป็น 842.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 เป็น 758.9 ล้านดอลล่าร์ สรอ. จากการนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ผลิตประเภทชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์โลหะซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.2 และร้อยละ 39.1 ตามลำดับ การนำเข้าผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว เป็น 35.9 ล้านดอลล่าร์ สรอ. โดยเพิ่มขึ้นมากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ — พฤษภาคม จากสินค้าประเภทสายไฟฟ้าเป็นสำคัญ การนำเข้าผ่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.7 เป็น 47.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการนำเข้าจากพม่าและลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.5 และร้อยละ 43.3 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน(ตอนใต้) ลดลงร้อยละ 2.0
ดุลการค้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือช่วงครึ่งแรกปี 2549 เกินดุล 490.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 459.5 ล้านดอลลาร์ สรอ.
7. ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.1 ชะลอลงเล็กน้อยเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เดือนก่อน ตามการชะลอลงของสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 เดือนก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับตัวลดลงของราคาเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ เนื่องจากมีผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ทางด้านสินค้าหมวดอื่นๆไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.9 เร่งตัวต่อเนื่องเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เดือนก่อน โดยราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.4 ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาค่าโดยสารสาธารณะและค่าโดยสารเครื่องบินภายในประเทศปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีการปรับค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ(Ft) เพิ่มขึ้นอีก 9.6 สตางค์ต่อหน่วย
สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เดือนก่อน
ครึ่งแรกปี 2549 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.1 และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเทียบกับร้อยละ 5.9 ของครึ่งหลังปี 2548 โดยราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน ราคาสินค้าหมวดอื่นๆไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 เร่งตัวขึ้นจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเป็นสำคัญ
สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเฉลี่ยครึ่งปีแรก 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ระยะเดียวกันปีก่อน
8. การจ้างงาน
เดือนพฤษภาคม จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.64 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.52 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 98.2 ของกำลังแรงงานรวม สูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.9 โดยในภาคเกษตรมีแรงงาน 2.95 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ประสบภัยแล้งร้อยละ 10.6 ขณะที่นอกภาคเกษตรมีแรงงาน 3.58 ล้านคน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.5 ตามการลดลงของการจ้างงานในสาขาก่อสร้าง อุตสาหกรรม โรงแรมและภัตตาคาร ด้านผู้ว่างงานมีจำนวน 0.08 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.2 ของกำลังแรงงานรวม ต่ำกว่าร้อยละ 2.9 ระยะเดียวกันปีก่อนและร้อยละ 1.9 เดือนก่อนหน้า
เดือนมิถุนายน 2549 ผู้ประกันตนที่อยู่ในสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนั้นๆ ตามมาตรา 33 ในระบบประกันสังคม มีจำนวน 0.58 ล้านคน สูงกว่าเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 0.3 และร้อยละ 4.6 ตามลำดับ
9. การเงิน
ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2549 สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ มียอดคงค้างเงินฝากทั้งสิ้น 324,991 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.1 เท่ากับอัตราขยายตัวเดือนก่อน อย่างไรก็ดี เดือนนี้มีการถอนเงินฝากไปลงทุนในรูปตราสารทางการเงินอื่นที่ออกโดยสถาบันการเงินมากขึ้นส่งผลให้ยอดคงค้างของเงินฝากหดตัวลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ทางด้านเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 256,590 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.2 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนจากการชำระหนี้กลุ่มพ่อค้าพืชไร่เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี สินเชื่อบางประเภทยังคงขยายตัวได้แก่ สินเชื่อประเภทเช่าซื้อรถยนต์ สหกรณ์ออมทรัพย์ โรงแรม และอสังหาริมทรัพย์ สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ระดับร้อยละ 78.95 สูงกว่าร้อยละ 75.33 ระยะเดียวกันปีก่อน ทางด้านยอดคงค้างเงินฝากและสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ไม่รวมธนาคารพาณิชย์ใหม่มียอดคงค้าง 319,535 ล้านบาท และ 240,683 ล้านบาท ตามลำดับ โดยขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราที่เท่ากันที่ร้อยละ 5.3
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ครึ่งแรกปี 2549 เศรษฐกิจภาคเหนือชะลอตัวลง โดยด้านอุปสงค์ การลงทุนภาคเอกชนซบเซาลงโดยเฉพาะการก่อสร้าง ซึ่งมีสัญญานลดลงมาตั้งแต่ปลายไตรมาสแรก การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในอัตราชะลอลงจากระยะเดียวกันปีก่อนแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ส่วนมูลค่าการส่งออกและนำเข้าขยายตัวโดยเฉพาะการส่งออกเร่งตัวขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ทางด้านอุปทาน ภาคการเกษตรอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวจากการผลิตเพื่อการส่งออก ภาคบริการชะลอลงเนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างชาติชะลอการเดินทางจากปัจจัยความไม่แน่นอนทางการเมืองช่วงปลายไตรมาส 1 ส่วนนักท่องเที่ยวไทยระมัดระวังการใช้จ่าย
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร
รายได้ของเกษตรกรในเดือนมิถุนายนขยายตัวร้อยละ 5.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากราคาซึ่งสูงขึ้นร้อยละ 6.2 ตามราคาลิ้นจี่ หอมแดง กระเทียม และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่สูงขึ้นร้อยละ 7.1 ร้อยละ 26.4 ร้อยละ 49.5 และร้อยละ 19.0 ตามลำดับ ขณะที่ข้าวเปลือกเจ้านาปรังราคาทรงตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ด้านผลผลิตภาคการเกษตรลดลงเล็กน้อย โดยลิ้นจี่ลดลงร้อยละ 7.1 เนื่องจากผลผลิตได้รับความเสียหายจากฝนที่มาเร็วและมากกว่าปกติ กระเทียมและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลงร้อยละ 23.0 และ 0.8 ตามลำดับ ส่วนข้าวนาปรังและหอมแดงเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 และร้อยละ 0.5 ตามลำดับ
ครึ่งแรกปี 2549 รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.8 โดยราคาพืชผลสำคัญสูงขึ้นร้อยละ 12.1 ได้แก่ราคาอ้อยโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 ตามราคาน้ำตาลในตลาดโลก ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 จากมาตรการรับจำนำของภาครัฐ ราคากระเทียมและหอมแดงเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 และร้อยละ 104.6 ตามลำดับ ด้านผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 โดยข้าวนาปรัง อ้อยโรงงาน และข้าวนาปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ร้อยละ 1.5 และร้อยละ 4.1 ตามลำดับ แต่ผลผลิตกระเทียม ถั่วเขียว ลิ้นจี่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และหอมหัวใหญ่ ลดลงโดยลดลงร้อยละ 23.0 ร้อยละ 16.2 ร้อยละ 7.1 ร้อยละ 0.8 และร้อยละ 33.8 ตามลำดับ
2. ภาคอุตสาหกรรม
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายนขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 29.0 เป็น 178.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.9 เดือนก่อน ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวต่อเนื่องตามความต้องการของตลาด สินค้าสำคัญได้แก่ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ และเลนส์ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.2 ร้อยละ 29.9 และร้อยละ 24.3 ตามลำดับ ทางด้านผลผลิตวัสดุก่อสร้างลดลงอย่างต่อเนื่องโดยลดลงร้อยละ 11.5 เหลือ 123.9 พันเมตริกตัน ตามการลดลงของภาคการก่อสร้าง
ครึ่งแรกปี 2549 การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว ส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวของผลผลิตเพื่อส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือโดยมูลค่าส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.8 เป็น 959.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 สินค้าชนิดอื่นที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา หม้อแปลงไฟฟ้าและมอเตอร์ และอัญมณี ด้านการผลิตวัสดุก่อสร้างมีแนวโน้มการผลิตที่ลดลงมาตั้งแต่ช่วงต้นปี จากภาวะซบเซาของการก่อสร้างทั้งภาครัฐและเอกชน โดยครึ่งปีแรก ผลผลิต ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.8 เหลือ 981.7 พันเมตริกตัน ทางด้านการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 19.3 เป็น 1,249.1 ล้านบาท
3. ภาคบริการ
ภาคบริการในเดือนมิถุนายนชะลอตัวตามฤดูกาล ประกอบกับผลกระทบด้านราคาน้ำมันและค่าครองชีพที่สูงขึ้น ส่งผลให้นักท่องเที่ยวระมัดระวังการใช้จ่าย อัตราการเข้าพักในเดือนมิถุนายนลดลงจากร้อยละ 40.1 เดือนก่อนเหลือร้อยละ 38.7 ขณะที่ราคาห้องพักเฉลี่ยมีแนวโน้มชะลอตัวโดยมีราคาเฉลี่ยที่ 843.4 บาท/ห้อง แต่ยังคงมีอัตราเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.1 ทางด้านการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรมและภัตตาคารลดลงร้อยละ 7.3 เป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 10 เดือนโดยลดลงในจังหวัดเชียงใหม่เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 จากการเพิ่มเที่ยวบินให้บริการของผู้ประกอบการสายการบินต้นทุนต่ำโดยเฉพาะเส้นทางที่เดินทางสู่จังหวัดเชียงใหม่
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 ภาคบริการโดยรวมชะลอตัวลงแม้จะมีการขยายตัวดีขึ้นในช่วง 2 เดือนแรกของปี แต่ในช่วง 4 เดือนถัดมาได้รับผลกระทบของปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองและค่าครองชีพที่สูงขึ้น ส่งผลให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวต่างประเทศและไทยเลื่อนหรือชะลอการเดินทาง รวมทั้งกลุ่มสัมมนาที่ยกเลิกหรือเลื่อนการจัดออกไป โดยจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานชะลอตัวลงร้อยละ 3.4 อัตราการเข้าพักใกล้เคียงกับระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 53.0 ขณะที่ราคาห้องพักเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเพียงเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.8 อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรมและภัตตาคารยังคงปรับตัวสูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.7
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
เดือนมิถุนายน 2549 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนของภาคเหนือกระเตื้องขึ้นจากเดือนก่อน โดยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่เพิ่มร้อยละ 23.0 เร่งตัวจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2 โดยเฉพาะหมวดอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูง หมวดค้าส่งค้าปลีกยังขยายตัวต่อเนื่องแต่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ทางด้านปริมาณการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ยังขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนจากความต้องการของผู้บริโภคในช่วงเปิดเรียนภาคการศึกษาใหม่ประกอบกับมีสินค้าใหม่ออกสู่ตลาด โดยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.1 ส่วนปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.4 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 เดือนก่อน
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนครึ่งแรกปี 2549 ชะลอตัวลงแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.2 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.2 ปีก่อน ภาวะการอุปโภคบริโภคที่ชะลอลงเป็นผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยส่งผลให้ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น สำหรับเครื่องชี้สำคัญอื่นๆ ได้แก่ ปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อยร้อยละ 0.7 จากการที่ผู้ประกอบการนำส่งรถยนต์ใหม่ให้ลูกค้ามากขึ้น ปริมาณจดทะเบียนรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน
ร้อยละ 1.5 เนื่องจากมีรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ที่ออกสู่ตลาดกระตุ้นให้มีการบริโภคมากขึ้น
5. การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนภาคเหนือในเดือนมิถุนายนซบเซาต่อเนื่องจากเดือนก่อน การก่อสร้างยังคงลดลงต่อเนื่อง ทั้งนี้ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงร้อยละ 19.0 โดยลดลงทั้งการก่อสร้างประเภทอาคารพาณิชย์ บริการและขนส่ง เนื่องจากมีการลงทุนก่อสร้างไปมากแล้วในช่วงก่อนหน้า ค่าธรรมเนียมขายและขายฝากที่ดินลดลงร้อยละ 57.3
ครึ่งแรก ปี 2549 การลงทุนภาคเอกชนอยู่ในภาวะซบเซา และแสดงสัญญาณชะลอลงตั้งแต่ปลายไตรมาส 1 เป็นต้นมา โดยเฉพาะการก่อสร้างลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น เศรษฐกิจที่ชะลอตัว ประกอบกับความไม่แน่นอนทางการเมือง ส่งผลให้ภาคเอกชนชะลอการลงทุน สำหรับเครื่องชี้สำคัญได้แก่ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงร้อยละ 16.1 เนื่องจากมีการลงทุนก่อสร้างไปมากแล้วในช่วงก่อนหน้า ค่าธรรมเนียมขายและขายฝากที่ดินลดลงร้อยละ 19.3 และมูลค่าการนำเข้าเครื่องจักรและส่วนประกอบลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 23.0 ส่วนการลงทุนในกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.2 ส่วนใหญ่เป็นการขยายการผลิตของกิจการเดิมเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดีสำหรับการลงทุนของอุตสาหกรรมส่งออกและโรงแรมที่ริเริ่มไปแล้วยังคงดำเนินการต่อเนื่อง
6. การค้าต่างประเทศ
การส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.4 เป็น 230.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน การส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.0 เป็น 178.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้าสำคัญที่ส่งออกเพิ่มขึ้น อาทิ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา และอัญมณี เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 ร้อยละ 29.9 ร้อยละ 24.3 และร้อยละ 108.0 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ลดลงร้อยละ 44.2 เหลือ11.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากธุรกิจบางแห่งย้ายการทำพิธีการศุลกากรไปที่ส่วนกลาง การส่งออกผ่านชายแดน ลดลงร้อยละ 0.7 เหลือ 40.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการส่งออกไปพม่าที่ลดลงร้อยละ 19.5 เหลือ 27.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากพม่าเข้มงวดการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย ส่วนการส่งออกไปสาธารณรัฐประชาชนจีน (ตอนใต้)และลาวเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว และร้อยละ 80.9 ตามลำดับ
การนำเข้า เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.6 เป็น 148.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวจากเดือนก่อน โดยการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11.8 เป็น 136.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบที่สำคัญ อาทิ แผงวงจรรวมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.0 รวมทั้งการนำเข้าวัตถุดิบประเภทเพชรพลอย อัญมณีและเงินแท่ง ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 66.1 ด้านการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 87.5 เป็น 4.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว การนำเข้าผ่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เป็น 7.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการนำเข้าจากพม่าและลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.7 และร้อยละ 52.1 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน (ตอนใต้) ลดลงร้อยละ 46.2 โดยลดลงจากการนำเข้า ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ไม้ และเครื่องจักรกล
ดุลการค้า ในเดือนมิถุนายน 2549 เกินดุล 81.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 67.5 ล้านดอลลาร์สรอ. แต่ลดลงเทียบกับที่เกินดุล 88.4 ล้านดอลลาร์สรอ. เดือนก่อน
มูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากรในช่วงครึ่งแรกปี 2549 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.6 เป็น 2,176.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 เป็น 1,333.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกสินค้าผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.8 เป็น 959.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ หม้อแปลงไฟฟ้าและมอเตอร์ รวมทั้งสินค้าประเภทเลนส์และอัญมณี การส่งออกผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 เป็น 99.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นมากในช่วงต้นปีจากสินค้าชุดสายไฟและเคเบิลโดยมีตลาดส่งออกสำคัญที่ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ด้านการส่งออกผ่านชายแดนลดลงร้อยละ 5.2 เหลือ 274.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. และมีแนวโน้มลดลงมาตั้งแต่ช่วงต้นปี จากการส่งออกไปพม่าที่ลดลงเป็นสำคัญโดยลดลงร้อยละ 7.4 เหลือ 212.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. การส่งออกไปสาธารณรัฐประชาชนจีน(ตอนใต้) ลดลงเช่นกันโดยลดลงร้อยละ 2.7 ส่วนการส่งออกไปลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9
การนำเข้า ช่วงครึ่งแรกปี 2549 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.7 เป็น 842.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 เป็น 758.9 ล้านดอลล่าร์ สรอ. จากการนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ผลิตประเภทชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์โลหะซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.2 และร้อยละ 39.1 ตามลำดับ การนำเข้าผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว เป็น 35.9 ล้านดอลล่าร์ สรอ. โดยเพิ่มขึ้นมากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ — พฤษภาคม จากสินค้าประเภทสายไฟฟ้าเป็นสำคัญ การนำเข้าผ่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.7 เป็น 47.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการนำเข้าจากพม่าและลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.5 และร้อยละ 43.3 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน(ตอนใต้) ลดลงร้อยละ 2.0
ดุลการค้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือช่วงครึ่งแรกปี 2549 เกินดุล 490.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 459.5 ล้านดอลลาร์ สรอ.
7. ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.1 ชะลอลงเล็กน้อยเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เดือนก่อน ตามการชะลอลงของสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 เดือนก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับตัวลดลงของราคาเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ เนื่องจากมีผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ทางด้านสินค้าหมวดอื่นๆไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.9 เร่งตัวต่อเนื่องเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เดือนก่อน โดยราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.4 ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาค่าโดยสารสาธารณะและค่าโดยสารเครื่องบินภายในประเทศปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีการปรับค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ(Ft) เพิ่มขึ้นอีก 9.6 สตางค์ต่อหน่วย
สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เดือนก่อน
ครึ่งแรกปี 2549 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.1 และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเทียบกับร้อยละ 5.9 ของครึ่งหลังปี 2548 โดยราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน ราคาสินค้าหมวดอื่นๆไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 เร่งตัวขึ้นจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเป็นสำคัญ
สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเฉลี่ยครึ่งปีแรก 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ระยะเดียวกันปีก่อน
8. การจ้างงาน
เดือนพฤษภาคม จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.64 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.52 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 98.2 ของกำลังแรงงานรวม สูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.9 โดยในภาคเกษตรมีแรงงาน 2.95 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ประสบภัยแล้งร้อยละ 10.6 ขณะที่นอกภาคเกษตรมีแรงงาน 3.58 ล้านคน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.5 ตามการลดลงของการจ้างงานในสาขาก่อสร้าง อุตสาหกรรม โรงแรมและภัตตาคาร ด้านผู้ว่างงานมีจำนวน 0.08 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.2 ของกำลังแรงงานรวม ต่ำกว่าร้อยละ 2.9 ระยะเดียวกันปีก่อนและร้อยละ 1.9 เดือนก่อนหน้า
เดือนมิถุนายน 2549 ผู้ประกันตนที่อยู่ในสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนั้นๆ ตามมาตรา 33 ในระบบประกันสังคม มีจำนวน 0.58 ล้านคน สูงกว่าเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 0.3 และร้อยละ 4.6 ตามลำดับ
9. การเงิน
ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2549 สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ มียอดคงค้างเงินฝากทั้งสิ้น 324,991 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.1 เท่ากับอัตราขยายตัวเดือนก่อน อย่างไรก็ดี เดือนนี้มีการถอนเงินฝากไปลงทุนในรูปตราสารทางการเงินอื่นที่ออกโดยสถาบันการเงินมากขึ้นส่งผลให้ยอดคงค้างของเงินฝากหดตัวลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ทางด้านเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 256,590 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.2 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนจากการชำระหนี้กลุ่มพ่อค้าพืชไร่เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี สินเชื่อบางประเภทยังคงขยายตัวได้แก่ สินเชื่อประเภทเช่าซื้อรถยนต์ สหกรณ์ออมทรัพย์ โรงแรม และอสังหาริมทรัพย์ สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ระดับร้อยละ 78.95 สูงกว่าร้อยละ 75.33 ระยะเดียวกันปีก่อน ทางด้านยอดคงค้างเงินฝากและสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ไม่รวมธนาคารพาณิชย์ใหม่มียอดคงค้าง 319,535 ล้านบาท และ 240,683 ล้านบาท ตามลำดับ โดยขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราที่เท่ากันที่ร้อยละ 5.3
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--