คำตอบ : ในปี 2548 เวียดนามประสบความสำเร็จอย่างสูงในการส่งออกข้าว โดยสามารถไต่ระดับขึ้นเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับสองของโลกรองจากไทย (จากเดิมในปี 2547 เป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 4 ของโลกตามหลัง ไทย อินเดีย และสหรัฐอเมริกา) ด้วยปริมาณส่งออก 5.2 ล้านตัน มีรายได้จากการส่งออกข้าวกว่า 1.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นสินค้าเกษตรส่งออกอันดับหนึ่งของเวียดนาม (เทียบกับปริมาณส่งออกข้าวของไทยในปี 2548 ที่ระดับ 7.5 ล้านตัน มีรายได้จากการส่งออกข้าว 2.3 พันล้าน
ดอลลาร์สหรัฐ)
ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามที่สามารถแซงหน้าอินเดียและสหรัฐฯ จนเขยิบเข้าใกล้ไทยมากขึ้นทุกขณะ ทำให้เป็นที่น่าจับตามองว่าเกิดอะไรขึ้นกับการส่งออกข้าวของเวียดนาม และมีปัจจัยใดที่เกื้อหนุนให้เวียดนามก้าวขึ้นเป็นผู้ส่งออกข้าวชั้นนำของโลกได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้
* ความสำเร็จในการขยายตลาดส่งออกข้าว ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ข้าวของเวียดนามได้รับการตอบรับมากขึ้นเป็นลำดับจากประเทศผู้นำเข้าข้าวรายสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ อาทิ จีน อินเดีย และปากีสถาน ไม่สามารถรักษาเสถียรภาพของปริมาณการส่งออกข้าว เนื่องจากจำเป็นต้องลดปริมาณการส่งออกลงเพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคข้าวภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น ขณะที่เวียดนามสามารถพัฒนาศักยภาพในการส่งออกข้าวจนก้าวขึ้นสู่ระดับแนวหน้าได้อย่างรวดเร็วและแซงหน้าประเทศเหล่านี้ได้ในที่สุด ส่งผลให้ประเทศผู้นำเข้าข้าวโดยเฉพาะในทวีปเอเชีย แอฟริกา ตะวันออกกลาง และสหรัฐอเมริกาหันมานำเข้าข้าวจากเวียดนามมากขึ้นในจำนวนนี้ฟิลิปปินส์เป็นประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548เวียดนามส่งออกข้าวไปฟิลิปปินส์เป็นมูลค่า 406.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 34 ของมูลค่าส่งออกข้าวทั้งหมดของเวียดนาม อีกทั้งเวียดนามยังสามารถแย่งส่วนแบ่งตลาดข้าวของไทยได้เพิ่มขึ้นทั้งในฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ซึ่งทั้งสองประเทศต่างเป็นตลาดส่งออกข้าวสำคัญของไทยด้วยเช่นกัน
* การพัฒนาศักยภาพด้านการผลิต นอกเหนือจากความสำเร็จในการขยายตลาดส่งออกข้าวแล้วปัจจัยที่ทำให้ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจาก
- เวียดนามมีสต็อกข้าวส่วนเกินสำหรับส่งออกเพิ่มขึ้นตามปริมาณการเก็บเกี่ยวข้าวที่เพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง (Mekong River Delta) ทางตอนใต้ของประเทศ
- รัฐบาลเวียดนามสนับสนุนการพัฒนาพันธุ์ข้าวอย่างต่อเนื่อง ทำให้สายพันธุ์ข้าวของเวียดนามมีคุณภาพดี และเป็นที่ยอมรับมากขึ้นจากนานาประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีข้อกำหนดที่เข้มงวดในการนำเข้าข้าว เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป
- รัฐบาลเวียดนามส่งเสริมการปลูกข้าวเพื่อการส่งออกมาโดยตลอด ด้วยการให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรในการเพิ่มปริมาณผลผลิตข้าว สนับสนุนการขยายพันธุ์ข้าวใหม่ ๆ ที่ให้ผลผลิตสูงและใช้เวลาสั้นลงในการเพาะปลูก อีกทั้งให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกให้มีศักยภาพมากขึ้น เพื่อให้เอื้อต่อการปลูกข้าวเพื่อการส่งออกเป็นการเฉพาะ ซึ่งรวมถึงการพัฒนาพื้นที่ขนาด 1 ล้านเฮกตาร์บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทางภาคใต้ และพื้นที่ขนาด 300,000 เฮกตาร์บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง (Red River Delta) ทางภาคเหนือ ซึ่งทั้งสองพื้นที่เป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ และเหมาะแก่การเพาะปลูกข้าวเป็นอย่างมาก
เป็นที่สังเกตว่า เวียดนามส่งออกข้าวได้มากในปี 2548 แม้ว่าภาคเกษตรกรรมได้รับผลกระทบอย่างหนักจากปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศ ทั้งปัญหาภัยแล้งในช่วงกลางปี และปัญหาวาตภัยจากพายุไต้ฝุ่นดอมเรยในเดือนกันยายน และพายุไต้ฝุ่นไคตั๊กที่เกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน จนพื้นที่เพาะปลูกหลายแห่งได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง ทำให้เวียดนามจำเป็นต้องลดปริมาณการส่งออกข้าวในช่วงปลายปีลง เพื่อป้องกันมิให้เกิดภาวะขาดแคลนข้าวภายในประเทศ ซึ่งหากเวียดนามไม่ได้รับผลกระทบจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามตลอดทั้งปี 2548 ก็น่าจะใกล้เคียงกับปริมาณการส่งออกข้าวของไทย
นับตั้งแต่เวียดนามก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในเวทีการค้าข้าวโลก เวียดนามได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวที่ประสบความสำเร็จ จนสามารถพลิกโฉมเวียดนามสู่การเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายสำคัญได้ในที่สุด ขณะที่ปริมาณการผลิตข้าวของเวียดนามอยู่ในระดับสูงและมีเสถียรภาพมากขึ้นทุกขณะ สะท้อนถึงความชัดเจนในการวางนโยบายของรัฐบาลเวียดนามที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพการผลิตและการส่งออกข้าวอย่างจริงจัง ความสำเร็จในการส่งออกข้าวของเวียดนามเป็นสิ่งที่ประเทศผู้ส่งออกข้าวทั้งหลายต้องจับตามองและจะประมาทมิได้
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เมษายน 2549--
-พห-
ดอลลาร์สหรัฐ)
ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามที่สามารถแซงหน้าอินเดียและสหรัฐฯ จนเขยิบเข้าใกล้ไทยมากขึ้นทุกขณะ ทำให้เป็นที่น่าจับตามองว่าเกิดอะไรขึ้นกับการส่งออกข้าวของเวียดนาม และมีปัจจัยใดที่เกื้อหนุนให้เวียดนามก้าวขึ้นเป็นผู้ส่งออกข้าวชั้นนำของโลกได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้
* ความสำเร็จในการขยายตลาดส่งออกข้าว ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ข้าวของเวียดนามได้รับการตอบรับมากขึ้นเป็นลำดับจากประเทศผู้นำเข้าข้าวรายสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ อาทิ จีน อินเดีย และปากีสถาน ไม่สามารถรักษาเสถียรภาพของปริมาณการส่งออกข้าว เนื่องจากจำเป็นต้องลดปริมาณการส่งออกลงเพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคข้าวภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น ขณะที่เวียดนามสามารถพัฒนาศักยภาพในการส่งออกข้าวจนก้าวขึ้นสู่ระดับแนวหน้าได้อย่างรวดเร็วและแซงหน้าประเทศเหล่านี้ได้ในที่สุด ส่งผลให้ประเทศผู้นำเข้าข้าวโดยเฉพาะในทวีปเอเชีย แอฟริกา ตะวันออกกลาง และสหรัฐอเมริกาหันมานำเข้าข้าวจากเวียดนามมากขึ้นในจำนวนนี้ฟิลิปปินส์เป็นประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548เวียดนามส่งออกข้าวไปฟิลิปปินส์เป็นมูลค่า 406.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 34 ของมูลค่าส่งออกข้าวทั้งหมดของเวียดนาม อีกทั้งเวียดนามยังสามารถแย่งส่วนแบ่งตลาดข้าวของไทยได้เพิ่มขึ้นทั้งในฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ซึ่งทั้งสองประเทศต่างเป็นตลาดส่งออกข้าวสำคัญของไทยด้วยเช่นกัน
* การพัฒนาศักยภาพด้านการผลิต นอกเหนือจากความสำเร็จในการขยายตลาดส่งออกข้าวแล้วปัจจัยที่ทำให้ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจาก
- เวียดนามมีสต็อกข้าวส่วนเกินสำหรับส่งออกเพิ่มขึ้นตามปริมาณการเก็บเกี่ยวข้าวที่เพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง (Mekong River Delta) ทางตอนใต้ของประเทศ
- รัฐบาลเวียดนามสนับสนุนการพัฒนาพันธุ์ข้าวอย่างต่อเนื่อง ทำให้สายพันธุ์ข้าวของเวียดนามมีคุณภาพดี และเป็นที่ยอมรับมากขึ้นจากนานาประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีข้อกำหนดที่เข้มงวดในการนำเข้าข้าว เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป
- รัฐบาลเวียดนามส่งเสริมการปลูกข้าวเพื่อการส่งออกมาโดยตลอด ด้วยการให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรในการเพิ่มปริมาณผลผลิตข้าว สนับสนุนการขยายพันธุ์ข้าวใหม่ ๆ ที่ให้ผลผลิตสูงและใช้เวลาสั้นลงในการเพาะปลูก อีกทั้งให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกให้มีศักยภาพมากขึ้น เพื่อให้เอื้อต่อการปลูกข้าวเพื่อการส่งออกเป็นการเฉพาะ ซึ่งรวมถึงการพัฒนาพื้นที่ขนาด 1 ล้านเฮกตาร์บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทางภาคใต้ และพื้นที่ขนาด 300,000 เฮกตาร์บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง (Red River Delta) ทางภาคเหนือ ซึ่งทั้งสองพื้นที่เป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ และเหมาะแก่การเพาะปลูกข้าวเป็นอย่างมาก
เป็นที่สังเกตว่า เวียดนามส่งออกข้าวได้มากในปี 2548 แม้ว่าภาคเกษตรกรรมได้รับผลกระทบอย่างหนักจากปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศ ทั้งปัญหาภัยแล้งในช่วงกลางปี และปัญหาวาตภัยจากพายุไต้ฝุ่นดอมเรยในเดือนกันยายน และพายุไต้ฝุ่นไคตั๊กที่เกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน จนพื้นที่เพาะปลูกหลายแห่งได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง ทำให้เวียดนามจำเป็นต้องลดปริมาณการส่งออกข้าวในช่วงปลายปีลง เพื่อป้องกันมิให้เกิดภาวะขาดแคลนข้าวภายในประเทศ ซึ่งหากเวียดนามไม่ได้รับผลกระทบจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามตลอดทั้งปี 2548 ก็น่าจะใกล้เคียงกับปริมาณการส่งออกข้าวของไทย
นับตั้งแต่เวียดนามก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในเวทีการค้าข้าวโลก เวียดนามได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวที่ประสบความสำเร็จ จนสามารถพลิกโฉมเวียดนามสู่การเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายสำคัญได้ในที่สุด ขณะที่ปริมาณการผลิตข้าวของเวียดนามอยู่ในระดับสูงและมีเสถียรภาพมากขึ้นทุกขณะ สะท้อนถึงความชัดเจนในการวางนโยบายของรัฐบาลเวียดนามที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพการผลิตและการส่งออกข้าวอย่างจริงจัง ความสำเร็จในการส่งออกข้าวของเวียดนามเป็นสิ่งที่ประเทศผู้ส่งออกข้าวทั้งหลายต้องจับตามองและจะประมาทมิได้
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เมษายน 2549--
-พห-