แท็ก
ปลาดุก
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 30 เม.ย. — 7 พ.ค. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,315.52 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 658.94 ตัน สัตว์น้ำจืด 656.58 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.78 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.78 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 127.61 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 20.05 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 69.70 ตัน
การตลาด
น้ำมันแพงส่งผลกระทบการส่งออกสินค้าประมง
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า จากภาวะราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยและค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ขณะนี้ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกสินค้าประมง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์กุ้งแช่แข็ง เพราะนอกจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังต้องเผชิญกับค่าขนส่งที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วย ทางคณะกรรมการบริหารสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ จึงได้ประชุมหาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยเบื้องต้นมีมติเห็นชอบให้เร่งดำเนินการผลักดันการส่งออกกุ้งสดหรือกุ้งซีนที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่ากุ้งแช่แข็งและเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมค่อนข้างสูงในกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อ เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น และฮ่องกง เจรจาขยายตลาดส่งออกกุ้งสดเพิ่ม 100 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชีย พร้อมสั่งการให้กรมประมงเพิ่มประสิทธิภาพการออกใบรับรองด้านสุขอนามัยหวังสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค
ด้านนายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองอธิบดีกรมประมงกล่าวว่า กรมได้ทำหนังสือขอความร่วมมือเรื่องการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตไปยังชมรมผู้เลี้ยงกุ้งภาคตะวันออก ชมรมผู้เลี้ยงกุ้งในพื้นที่น้ำจืดและชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ธานี พร้อมทั้งจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ของกรมเข้าไปรวบรวมความคิดเห็นและปัญหาอุปสรรคของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ เพื่อนำมาปรับปรุงขั้นตอนการทำงานต่างๆ ตลอดจนจัดทำมาตรการอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งและผู้ประกอบการโดยเฉพาะในส่วนของขั้นตอนการตรวจสอบรับรองสินค้าและการส่งออกเพื่อให้การดำเนินงานมีความรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น
สำหรับแนวทางการช่วยเหลือเรื่องต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นนั้น กรมประมงจะร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวิจัยค้นคว้าเรื่องพลังงานทดแทน เช่น พลังงานเอ็นจีวี หรือพลังงานจากวัตถุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อสร้างทางเลือกให้กับเกษตรกรแทนการใช้น้ำมันดีเซล นอกจากนี้ยังจะเตรียมหารือจัดทำ คอนแทรคฟาร์มมิ่งทั้งสายการผลิต เพื่อสร้างเสถียรภาพด้านราคาในอนาคตด้วย
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.13 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.30 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.77 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.78 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.99 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.14 บาท สัปดาห์ที่ผ่านไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 151.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 155.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 133.69 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 137.81 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.12 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 122.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 125.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.65 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 43.90 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.25 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.29 บาท สัปดาห์ที่ผ่านไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 122.14 บาท สัปดาห์ที่ผ่านไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.65 ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.66 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.01 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 15 - 19 พ.ค. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.46 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.54 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 19 ประจำวันที่ 15-21 พ.ค.2549--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 30 เม.ย. — 7 พ.ค. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,315.52 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 658.94 ตัน สัตว์น้ำจืด 656.58 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.78 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.78 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 127.61 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 20.05 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 69.70 ตัน
การตลาด
น้ำมันแพงส่งผลกระทบการส่งออกสินค้าประมง
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า จากภาวะราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยและค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ขณะนี้ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกสินค้าประมง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์กุ้งแช่แข็ง เพราะนอกจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังต้องเผชิญกับค่าขนส่งที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วย ทางคณะกรรมการบริหารสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ จึงได้ประชุมหาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยเบื้องต้นมีมติเห็นชอบให้เร่งดำเนินการผลักดันการส่งออกกุ้งสดหรือกุ้งซีนที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่ากุ้งแช่แข็งและเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมค่อนข้างสูงในกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อ เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น และฮ่องกง เจรจาขยายตลาดส่งออกกุ้งสดเพิ่ม 100 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชีย พร้อมสั่งการให้กรมประมงเพิ่มประสิทธิภาพการออกใบรับรองด้านสุขอนามัยหวังสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค
ด้านนายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองอธิบดีกรมประมงกล่าวว่า กรมได้ทำหนังสือขอความร่วมมือเรื่องการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตไปยังชมรมผู้เลี้ยงกุ้งภาคตะวันออก ชมรมผู้เลี้ยงกุ้งในพื้นที่น้ำจืดและชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ธานี พร้อมทั้งจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ของกรมเข้าไปรวบรวมความคิดเห็นและปัญหาอุปสรรคของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ เพื่อนำมาปรับปรุงขั้นตอนการทำงานต่างๆ ตลอดจนจัดทำมาตรการอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งและผู้ประกอบการโดยเฉพาะในส่วนของขั้นตอนการตรวจสอบรับรองสินค้าและการส่งออกเพื่อให้การดำเนินงานมีความรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น
สำหรับแนวทางการช่วยเหลือเรื่องต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นนั้น กรมประมงจะร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวิจัยค้นคว้าเรื่องพลังงานทดแทน เช่น พลังงานเอ็นจีวี หรือพลังงานจากวัตถุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อสร้างทางเลือกให้กับเกษตรกรแทนการใช้น้ำมันดีเซล นอกจากนี้ยังจะเตรียมหารือจัดทำ คอนแทรคฟาร์มมิ่งทั้งสายการผลิต เพื่อสร้างเสถียรภาพด้านราคาในอนาคตด้วย
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.13 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.30 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.77 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.78 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.99 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.14 บาท สัปดาห์ที่ผ่านไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 151.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 155.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 133.69 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 137.81 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.12 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 122.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 125.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.65 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 43.90 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.25 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.29 บาท สัปดาห์ที่ผ่านไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 122.14 บาท สัปดาห์ที่ผ่านไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.65 ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.66 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.01 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 15 - 19 พ.ค. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.46 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.54 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 19 ประจำวันที่ 15-21 พ.ค.2549--
-พห-