ไทยจับมือกับเพื่อนบ้านทั้งภาครัฐและเอกชน เดินหน้าโปรโมตยุทธศาสตร์ Contract Farming เพิ่มความเชื่อมั่นในอาชีพเกษตรกรรม โดยเฉพาะการกำหนดราคาซื้อขายที่แน่นอนให้ความมั่นใจเรื่องตลาด
นายพินิจ กอศรีพร รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ เปิดเผยถึง ความคืบหน้าการดำเนินโครงการ Contract Farming ภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ อิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง หรือ ACMECS (Ayayewady-Choapraya-Mekong-Economic Cooperation Strategy) อันเป็นความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สปป.ลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการเกษตรนั้น ได้มีการประชุมหารือเกี่ยวกับการจัดทำ Contract Farming และดำเนินงานกับประเทศเพื่อนบ้านตั้งแต่ปี 2548 มาเป็นระยะ ๆ
ล่าสุดได้มีการประชุมกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เกี่ยวกับการกำหนดความหมายที่ชัดเจนของกรอบข้อตกลงการทำเกษตรแบบมีสัญญาที่เรียกว่า Contract Farming (คอนแทร็ค ฟาร์มมิ่ง) เพื่อสร้างความเข้าใจให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันแก่ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของภาครัฐหรือเอกชน โดยเฉพาะต่อตัวเกษตรกร และเป็นการขจัดข้อสับสนต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
ซึ่งได้มีการจัดประชุมเมื่อปลายเดือนกันยายน 2549 ที่ผ่านมา ณ จังหวัดน่าน โดยมีนายรัฐกิจ มานะกิจ เอกอัครราชทูตไทย ประจำนครเวียงจันทร์ เป็นประธานฝ่ายไทย และนายสมจิด อินทมิด อธิบดีกรมการเศรษฐกิจ เป็นประธานฝ่าย สปป.ลาว ที่ประชุมเห็นควรให้ “หอการค้าไทย” เป็นผู้รับผิดชอบเร่งดำเนินการจัดทำคู่มือ Contract Farming เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับทุกฝ่าย ซึ่งจะได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการคลัง
นายพินิจกล่าวเพิ่มเติมว่า ในคู่มือจะมีรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงานของโครงการ Contract Farming เช่น การรับสมัครผู้ประกอบการไทยที่จะเข้าร่วมโครงการ การสำรวจกลุ่มเกษตรกรและพื้นที่เพาะปลูกเป้าหมาย การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐด้านสินเชื่อและวิชาการ รวมทั้งการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครแต่ละรายพร้อมรายละเอียดการเพาะปลูกพืชแต่ละชนิด (พืช 10 ชนิดภายใต้โครงการ Contract Farming ได้แก่ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ถั่วเขียวผิวมัน ถั่วลิสง มะม่วงหิมพานต์ ละหุ่ง ลูกเดือย มันฝรั่ง และยูคาลิปตัส)
สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ Contract Farming สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ หอการค้าไทย โทรศัพท์ 0-2662-1860 ถึง 76 หรือศูนย์ประสานการเกษตรแบบมีสัญญา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทรศัพท์ 0-2629-9728, 0-2281-8823 หรือส่วนแผนพัฒนาการเกษตรพื้นที่เศรษฐกิจเฉพาะ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โทรศัพท์ 0-2940-7216, 0-2579-2624 ในวันและเวลาราชการ
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายพินิจ กอศรีพร รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ เปิดเผยถึง ความคืบหน้าการดำเนินโครงการ Contract Farming ภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ อิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง หรือ ACMECS (Ayayewady-Choapraya-Mekong-Economic Cooperation Strategy) อันเป็นความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สปป.ลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการเกษตรนั้น ได้มีการประชุมหารือเกี่ยวกับการจัดทำ Contract Farming และดำเนินงานกับประเทศเพื่อนบ้านตั้งแต่ปี 2548 มาเป็นระยะ ๆ
ล่าสุดได้มีการประชุมกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เกี่ยวกับการกำหนดความหมายที่ชัดเจนของกรอบข้อตกลงการทำเกษตรแบบมีสัญญาที่เรียกว่า Contract Farming (คอนแทร็ค ฟาร์มมิ่ง) เพื่อสร้างความเข้าใจให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันแก่ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของภาครัฐหรือเอกชน โดยเฉพาะต่อตัวเกษตรกร และเป็นการขจัดข้อสับสนต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
ซึ่งได้มีการจัดประชุมเมื่อปลายเดือนกันยายน 2549 ที่ผ่านมา ณ จังหวัดน่าน โดยมีนายรัฐกิจ มานะกิจ เอกอัครราชทูตไทย ประจำนครเวียงจันทร์ เป็นประธานฝ่ายไทย และนายสมจิด อินทมิด อธิบดีกรมการเศรษฐกิจ เป็นประธานฝ่าย สปป.ลาว ที่ประชุมเห็นควรให้ “หอการค้าไทย” เป็นผู้รับผิดชอบเร่งดำเนินการจัดทำคู่มือ Contract Farming เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับทุกฝ่าย ซึ่งจะได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการคลัง
นายพินิจกล่าวเพิ่มเติมว่า ในคู่มือจะมีรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงานของโครงการ Contract Farming เช่น การรับสมัครผู้ประกอบการไทยที่จะเข้าร่วมโครงการ การสำรวจกลุ่มเกษตรกรและพื้นที่เพาะปลูกเป้าหมาย การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐด้านสินเชื่อและวิชาการ รวมทั้งการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครแต่ละรายพร้อมรายละเอียดการเพาะปลูกพืชแต่ละชนิด (พืช 10 ชนิดภายใต้โครงการ Contract Farming ได้แก่ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ถั่วเขียวผิวมัน ถั่วลิสง มะม่วงหิมพานต์ ละหุ่ง ลูกเดือย มันฝรั่ง และยูคาลิปตัส)
สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ Contract Farming สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ หอการค้าไทย โทรศัพท์ 0-2662-1860 ถึง 76 หรือศูนย์ประสานการเกษตรแบบมีสัญญา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทรศัพท์ 0-2629-9728, 0-2281-8823 หรือส่วนแผนพัฒนาการเกษตรพื้นที่เศรษฐกิจเฉพาะ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โทรศัพท์ 0-2940-7216, 0-2579-2624 ในวันและเวลาราชการ
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-