ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ออกมาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้นเป็นเงินตราต่างประเทศไว้ร้อยละ 30 ของเงินตราต่างประเทศ
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ออกมาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น โดยการกำหนดให้สถาบัน
การเงินที่รับซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาท ต้องกันเงินสำรองเป็นเงินตราต่างประเทศไว้ร้อยละ 30 ของเงินตรา
ต่างประเทศ ซึ่งสถาบันการเงินต้องนำส่งเงินที่กันดังกล่าวให้ ธปท.ทุกวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 70 สามารถรับซื้อหรือ
แลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทให้แก่ลูกค้าได้ ทั้งนี้ เงินที่กันสำรองจำนวนดังกล่าวลูกค้าของสถาบันการเงินจะสามารถขอคืนเงินได้เมื่อครบกำหนด 1 ปี
นับตั้งแต่วันที่ถูกกันเงิน ซึ่งลูกค้าต้องแสดงเอกสารหลักฐานให้ชัดเจนว่าอยู่เกิน 1 ปี และต้องแจ้งให้ ธปท.ทราบ เพื่อดำเนินการส่งเงินให้แก่
ลูกค้าต่อไปด้วย แต่หากเงินที่กันสำรองอยู่ไม่ถึง 1 ปี ลูกค้ารายนั้นจะได้รับเงินคืนเพียง 2 ใน 3 ของเงินที่กันไว้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ธปท.
ไม่บังคับใช้มาตรการดังกล่าวกับธุรกรรมเงินตราต่างประเทศที่ตกลงกันก่อนวันที่ 19 ธ.ค.49 และยังยกเว้นธุรกรรมเงินตราต่างประเทศที่เป็น
การลงทุนโดยตรง ซึ่งถือเป็นส่วนของทุนหรือเงินโอนให้แก่ลูกค้า โดยผู้ถูกกันเงินสามารถยื่นคำร้องผ่านสถาบันการเงินพร้อมเอกสารหลักฐาน
และเมื่อสถาบันการเงินสามารถพิสูจน์และรับรองความถูกต้องได้ และ ธปท.เห็นสมควรที่จะคืนเงินดังกล่าวให้แก่ลูกค้าได้ (ผู้จัดการรายวัน,
กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์, บ้านเมือง, มติชน, สยามรัฐ, ข่าวสด, แนวหน้า)
2. ก.ล.ต.เตรียมหารือร่วมกับสมาคมโบรกเกอร์ในการกำหนดให้วงเงิน บล.นำไปลงทุนต่างประเทศ ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ในปลายเดือน ธ.ค.นี้ สำนักงาน ก.ล.ต.จะมีการหารือร่วม
กับสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ (สมาคมโบรกเกอร์) ในเรื่องการให้วงเงินบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เพื่อนำไปลงทุนในต่างประเทศ ขณะที่ยังมีวงเงินที่
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้อนุมัติให้กองทุนรวมไปลงทุนในต่างประเทศเหลืออยู่ประมาณ 800 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ ในเบื้องต้นมี
แนวคิดว่าจะจัดสรรวงเงินให้ บล.แห่งละ 5 ล้านดอลลาร์ สรอ. จาก บล.ที่มีจำนวน 40 แห่ง รวมเป็นวงเงิน 200 ล้านดอลลาร์ สรอ.
(ผู้จัดการรายวัน)
3. สศค.เตรียมพิจารณาการยืดเวลามาตรการสิทธิประโยชน์ทางภาษีในการเข้าจดทะเบียนใน ตลท. และเอ็มเอไอของ บจ.
ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สศค.อยู่ระหว่างพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับการยืดระยะเวลามาตรการภาษีบริษัท
จดทะเบียน (บจ.) ที่จะรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และ ตลาดหลักทรัพย์
เอ็มเอไอ ทั้งนี้ ก.คลัง และ ตลท.มีความเห็นสอดคล้องกันที่ยืดเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกับ บจ.ออกไปอีกประมาณ 5 ปี เพราะ
เห็นว่าสถานการณ์ในปัจจุบันยังมีความจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นตลาด โดยยังคงเงื่อนไขเดิม ซึ่งจะลดภาษีนิติบุคคล บจ.ใน ตลท.ลงเหลือร้อยละ
25 จากร้อยละ 30 และ ตลาดเอ็มเอไอเหลือร้อยละ 20 จากร้อยละ 25 ซึ่งจากเดิมมาตรการดังกล่าวจะสิ้นสุดในสิ้นปี 49 (โลกวันนี้, แนวหน้า)
4. ก.พลังงานเตรียมปรับโครงสร้างราคาเอทานอลปี 50 อิงตลาดโลก รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้ปลัด
ก.พลังงานจัดทำโครงสร้างราคาเอทานอลใหม่ที่จะใช้ในปี 50 ให้ใช้ฐานราคาเอทานอลในตลาดโลกมาคำนวณราคา จากเดิมที่ใช้ราคาวัตถุดิบ
ในประเทศเป็นหลัก เพื่อสร้างความเป็นธรรม เนื่องจากปัจจุบันราคาเอทานอลอยู่ที่ 25 บาท/ลิตร เป็นราคาที่เกิดขึ้นจากการต่อรองระหว่าง
ผู้ซื้อและผู้ผลิต ขณะที่ราคาเบนซินที่ต้องนำไปผสมแก๊สโซฮอล์หน้าโรงงานอยู่ที่ 15 บาท/ลิตร เท่ากับต้นทุนการผลิตแก๊สโซฮอล์อยู่ในระดับสูง
ทั้งนี้ หากราคาและปริมาณเอทานอลอยู่ในระดับที่เหมาะสมอาจไม่จำเป็นต้องยกเลิกการจำหน่ายเบนซิน 95 เพราะ ก.พลังงานยังให้การ
ส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการกำหนดส่วนต่างของราคาแก๊สโซลฮอล์ 95 และ แก๊สโซฮอล์ 91 ให้ถูกกว่า
1.50 บาท/ลิตร จะเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ใช้รถยนต์อีกทางหนึ่ง (โพสต์ทูเดย์, แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าดัชนีราคาผู้ผลิตของสรอ. ในเดือน พ.ย. จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 49
ผลการสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (Producer Price Index — PPI) ของ สรอ. ในเดือน พ.ย. จะเพิ่มขึ้น
เนื่องจากต้นทุนพลังงานเพิ่มขึ้นภายหลังจากที่ลดลงอย่างมากเมื่อเดือน ต.ค. ส่วน core PPI ซึ่งไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงานคาดว่าจะ
เพิ่มขึ้นไม่มากจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้คาดว่า PPI จะเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วราวร้อยละ 0.5 จากที่ลดลงร้อยละ 1.6 เมื่อเดือน ต.ค. ส่วน
core PPI ในเดือน พ.ย. คาดว่าจะเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 0.2 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.9 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่ง PPI ในเดือน ต.ค.ลดลง
มากที่สุดในรอบมากกว่า 13 ปี ทั้งนี้ ก.แรงงานมีกำหนดจะประกาศตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิตอย่างเป็นทางการในวันนี้ (รอยเตอร์)
2. คาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีในปี 50 จะขยายตัวระหว่างร้อยละ 1.9 ถึงร้อยละ 2.1 ต่อปี รายงานจากพอตสแดม เมื่อ
18 ธ.ค.49 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจชั้นนำหลายแห่งของเยอรมนี เช่น Ifo IfW และ RWI เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ปรับเพิ่มประมาณการการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจในปี 50 เป็นระหว่างร้อยละ 1.9 ถึงร้อยละ 2.1 ต่อปี ในขณะที่คาดว่าเศรษฐกิจในปี 49 ที่กำลังจะผ่านพ้นจะขยายตัวประมาณ
ร้อยละ 2.5 ต่อปี จากการขยายตัวของการส่งออก การลงทุนและการฟื้นตัวในหลายภาคเศรษฐกิจอย่างภาคการก่อสร้างซึ่งอยู่ในภาวะถดถอยมา
เกือบตลอดทศวรรษที่ผ่านมา เช่นเดียวกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ที่ได้ปรับเพิ่มประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 50
เป็นร้อยละ 1.5 ต่อปี จากประมาณการครั้งก่อนร้อยละ 1.3 ต่อปีเมื่อเดือน ก.ย.49 ที่ผ่านมา ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าการขึ้น
อัตราภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคอีกร้อยละ 3.0 เป็นร้อยละ 19.0 ในปี 50 จะส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 50
ผิดจากก่อนหน้านี้ที่คาดว่าการขึ้นภาษีดังกล่าวจะส่งผลกระทบในทางลบอย่างมากต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (รอยเตอร์)
3. เยอรมนีจะลดการออกตราสารหนี้ในปี 50 ลงเหลือ 213 พันล้านยูโร รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่
18 ธ.ค.49 หน่วยงานของ ก.คลังเยอรมนี กล่าวว่า ในปี 50 เยอรมนีมีแผนจะออกตราสารหนี้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว มูลค่า
213 พันล้านยูโร (279 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) ลดลงจาก 225 พันล้านยูโร ในปี 49 โดยคาดว่าการเก็บภาษีในปีนี้จะเพิ่มขึ้นมากจากการที่
เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง รวมทั้งแผนการเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค.50 จะทำให้แต่ละรัฐมีเงินคงคลัง
เพิ่มขึ้นและสะดวกที่จะให้รัฐบาลกลางกู้ยืม ทั้งนี้ รัฐบาลคาดว่าจะออกตราสารหนี้ มูลค่า 141 พันล้านยูโร ในตลาดทุน และ 72 พันล้านยูโร
ในตลาดเงินในปีหน้า นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีแผนที่จะขยายการออกพันธบัตรดัชนีอัตราเงินเฟ้อในปี 50 และอาจจะออกพันธบัตรเงินตราต่างประเทศ
ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของตลาด โดยรัฐบาลกลางเยอรมนีมีความตั้งใจที่สร้างสัดส่วนของตลาดพันธบัตรที่เชื่อมโยงกับอัตราเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่องใน
ปี 50 ส่วนเรื่องการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลที่เยอรมนีจัดทำเกินร้อยละ 3 ของจีดีพีตามข้อตกลงของสหภาพยุโรปในช่วง 4 ปีที่ผ่านมานั้น
คาดว่าจากการที่เศรษฐกิจเยอรมนีเติบโตอย่างแข็งแกร่งจะทำให้การขาดดุลงบประมาณลดลงเหลือร้อยละ 2.1 ของจีดีพีในปี 49 และต่อเนื่อง
ไปถึงปีหน้า (รอยเตอร์)
4. การส่งออกของสิงโปร์ในเดือน พ.ย. เพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบเกือบปี รายงานจาก สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 49 สำนักงาน
การค้าและวิสาหกิจแห่งชาติของสิงคโปร์เปิดเผยว่า ในเดือน พ.ย. การส่งออกสินค้าที่มิใช้น้ำมันของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบ
เกือบปี เนื่องจากการส่งออกสินค้าจำพวกเคมีภัณฑ์และยาที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งสามารถชดเชยการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่อ่อนตัวลงได้
ทั้งนี้การส่งออกในเดือน พ.ย. เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 มากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 และมากกว่า 2 เท่า
ของการส่งออกในเดือน ต.ค. ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 และเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 48 ที่เคยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 13.3 ทั้งนี้นาย
Chua Hak Bin นักเศรษฐศาสตร์จาก Citigroup เสริมว่าแนวโน้มการส่งออกชะลอตัวบ้าง แต่การส่งออกไม่ลดลงมากนักเนื่องจากยอดขาย
ต่างประเทศยังคงขยายตัว อย่างไรก็ตามการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าสำคัญ รวมทั้งโทรศัพท์มือถือไปจนถึง Chips ในกล้อง
ดิจิทัลและวีดีโอเกมคอนโซล ในเดือน พ.ย.ลดลงจากเดือน ต.ค.ร้อยละ 6.9 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ซึ่งนาย Leslie Khoo
นักเศรษฐศาสตร์จากForecast Ltd. กล่าวว่า กิจการเทคโนโลยีอาจจะลดสต็อกสินค้าคงคลังลงในเร็วๆนี้ เนื่องจากอุปสงค์ในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ทั่วโลกลดลง รวมทั้งแนวโน้มการส่งออกชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 19 ธ.ค. 49 18 ธ.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่ง
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.232 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.0370/35.3282 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12313 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 730.55/10.04 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,400/10,500 10,250/10,350 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 58.12 58.83 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเมื่อ 2 ธ.ค. 49 ** ปรับเมื่อ 16 ธ.ค. 49 26.09*/23.34** 26.09*/23.34** 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ออกมาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้นเป็นเงินตราต่างประเทศไว้ร้อยละ 30 ของเงินตราต่างประเทศ
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ออกมาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น โดยการกำหนดให้สถาบัน
การเงินที่รับซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาท ต้องกันเงินสำรองเป็นเงินตราต่างประเทศไว้ร้อยละ 30 ของเงินตรา
ต่างประเทศ ซึ่งสถาบันการเงินต้องนำส่งเงินที่กันดังกล่าวให้ ธปท.ทุกวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 70 สามารถรับซื้อหรือ
แลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทให้แก่ลูกค้าได้ ทั้งนี้ เงินที่กันสำรองจำนวนดังกล่าวลูกค้าของสถาบันการเงินจะสามารถขอคืนเงินได้เมื่อครบกำหนด 1 ปี
นับตั้งแต่วันที่ถูกกันเงิน ซึ่งลูกค้าต้องแสดงเอกสารหลักฐานให้ชัดเจนว่าอยู่เกิน 1 ปี และต้องแจ้งให้ ธปท.ทราบ เพื่อดำเนินการส่งเงินให้แก่
ลูกค้าต่อไปด้วย แต่หากเงินที่กันสำรองอยู่ไม่ถึง 1 ปี ลูกค้ารายนั้นจะได้รับเงินคืนเพียง 2 ใน 3 ของเงินที่กันไว้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ธปท.
ไม่บังคับใช้มาตรการดังกล่าวกับธุรกรรมเงินตราต่างประเทศที่ตกลงกันก่อนวันที่ 19 ธ.ค.49 และยังยกเว้นธุรกรรมเงินตราต่างประเทศที่เป็น
การลงทุนโดยตรง ซึ่งถือเป็นส่วนของทุนหรือเงินโอนให้แก่ลูกค้า โดยผู้ถูกกันเงินสามารถยื่นคำร้องผ่านสถาบันการเงินพร้อมเอกสารหลักฐาน
และเมื่อสถาบันการเงินสามารถพิสูจน์และรับรองความถูกต้องได้ และ ธปท.เห็นสมควรที่จะคืนเงินดังกล่าวให้แก่ลูกค้าได้ (ผู้จัดการรายวัน,
กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์, บ้านเมือง, มติชน, สยามรัฐ, ข่าวสด, แนวหน้า)
2. ก.ล.ต.เตรียมหารือร่วมกับสมาคมโบรกเกอร์ในการกำหนดให้วงเงิน บล.นำไปลงทุนต่างประเทศ ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ในปลายเดือน ธ.ค.นี้ สำนักงาน ก.ล.ต.จะมีการหารือร่วม
กับสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ (สมาคมโบรกเกอร์) ในเรื่องการให้วงเงินบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เพื่อนำไปลงทุนในต่างประเทศ ขณะที่ยังมีวงเงินที่
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้อนุมัติให้กองทุนรวมไปลงทุนในต่างประเทศเหลืออยู่ประมาณ 800 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ ในเบื้องต้นมี
แนวคิดว่าจะจัดสรรวงเงินให้ บล.แห่งละ 5 ล้านดอลลาร์ สรอ. จาก บล.ที่มีจำนวน 40 แห่ง รวมเป็นวงเงิน 200 ล้านดอลลาร์ สรอ.
(ผู้จัดการรายวัน)
3. สศค.เตรียมพิจารณาการยืดเวลามาตรการสิทธิประโยชน์ทางภาษีในการเข้าจดทะเบียนใน ตลท. และเอ็มเอไอของ บจ.
ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สศค.อยู่ระหว่างพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับการยืดระยะเวลามาตรการภาษีบริษัท
จดทะเบียน (บจ.) ที่จะรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และ ตลาดหลักทรัพย์
เอ็มเอไอ ทั้งนี้ ก.คลัง และ ตลท.มีความเห็นสอดคล้องกันที่ยืดเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกับ บจ.ออกไปอีกประมาณ 5 ปี เพราะ
เห็นว่าสถานการณ์ในปัจจุบันยังมีความจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นตลาด โดยยังคงเงื่อนไขเดิม ซึ่งจะลดภาษีนิติบุคคล บจ.ใน ตลท.ลงเหลือร้อยละ
25 จากร้อยละ 30 และ ตลาดเอ็มเอไอเหลือร้อยละ 20 จากร้อยละ 25 ซึ่งจากเดิมมาตรการดังกล่าวจะสิ้นสุดในสิ้นปี 49 (โลกวันนี้, แนวหน้า)
4. ก.พลังงานเตรียมปรับโครงสร้างราคาเอทานอลปี 50 อิงตลาดโลก รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้ปลัด
ก.พลังงานจัดทำโครงสร้างราคาเอทานอลใหม่ที่จะใช้ในปี 50 ให้ใช้ฐานราคาเอทานอลในตลาดโลกมาคำนวณราคา จากเดิมที่ใช้ราคาวัตถุดิบ
ในประเทศเป็นหลัก เพื่อสร้างความเป็นธรรม เนื่องจากปัจจุบันราคาเอทานอลอยู่ที่ 25 บาท/ลิตร เป็นราคาที่เกิดขึ้นจากการต่อรองระหว่าง
ผู้ซื้อและผู้ผลิต ขณะที่ราคาเบนซินที่ต้องนำไปผสมแก๊สโซฮอล์หน้าโรงงานอยู่ที่ 15 บาท/ลิตร เท่ากับต้นทุนการผลิตแก๊สโซฮอล์อยู่ในระดับสูง
ทั้งนี้ หากราคาและปริมาณเอทานอลอยู่ในระดับที่เหมาะสมอาจไม่จำเป็นต้องยกเลิกการจำหน่ายเบนซิน 95 เพราะ ก.พลังงานยังให้การ
ส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการกำหนดส่วนต่างของราคาแก๊สโซลฮอล์ 95 และ แก๊สโซฮอล์ 91 ให้ถูกกว่า
1.50 บาท/ลิตร จะเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ใช้รถยนต์อีกทางหนึ่ง (โพสต์ทูเดย์, แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าดัชนีราคาผู้ผลิตของสรอ. ในเดือน พ.ย. จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 49
ผลการสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (Producer Price Index — PPI) ของ สรอ. ในเดือน พ.ย. จะเพิ่มขึ้น
เนื่องจากต้นทุนพลังงานเพิ่มขึ้นภายหลังจากที่ลดลงอย่างมากเมื่อเดือน ต.ค. ส่วน core PPI ซึ่งไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงานคาดว่าจะ
เพิ่มขึ้นไม่มากจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้คาดว่า PPI จะเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วราวร้อยละ 0.5 จากที่ลดลงร้อยละ 1.6 เมื่อเดือน ต.ค. ส่วน
core PPI ในเดือน พ.ย. คาดว่าจะเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 0.2 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.9 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่ง PPI ในเดือน ต.ค.ลดลง
มากที่สุดในรอบมากกว่า 13 ปี ทั้งนี้ ก.แรงงานมีกำหนดจะประกาศตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิตอย่างเป็นทางการในวันนี้ (รอยเตอร์)
2. คาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีในปี 50 จะขยายตัวระหว่างร้อยละ 1.9 ถึงร้อยละ 2.1 ต่อปี รายงานจากพอตสแดม เมื่อ
18 ธ.ค.49 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจชั้นนำหลายแห่งของเยอรมนี เช่น Ifo IfW และ RWI เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ปรับเพิ่มประมาณการการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจในปี 50 เป็นระหว่างร้อยละ 1.9 ถึงร้อยละ 2.1 ต่อปี ในขณะที่คาดว่าเศรษฐกิจในปี 49 ที่กำลังจะผ่านพ้นจะขยายตัวประมาณ
ร้อยละ 2.5 ต่อปี จากการขยายตัวของการส่งออก การลงทุนและการฟื้นตัวในหลายภาคเศรษฐกิจอย่างภาคการก่อสร้างซึ่งอยู่ในภาวะถดถอยมา
เกือบตลอดทศวรรษที่ผ่านมา เช่นเดียวกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ที่ได้ปรับเพิ่มประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 50
เป็นร้อยละ 1.5 ต่อปี จากประมาณการครั้งก่อนร้อยละ 1.3 ต่อปีเมื่อเดือน ก.ย.49 ที่ผ่านมา ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าการขึ้น
อัตราภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคอีกร้อยละ 3.0 เป็นร้อยละ 19.0 ในปี 50 จะส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 50
ผิดจากก่อนหน้านี้ที่คาดว่าการขึ้นภาษีดังกล่าวจะส่งผลกระทบในทางลบอย่างมากต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (รอยเตอร์)
3. เยอรมนีจะลดการออกตราสารหนี้ในปี 50 ลงเหลือ 213 พันล้านยูโร รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่
18 ธ.ค.49 หน่วยงานของ ก.คลังเยอรมนี กล่าวว่า ในปี 50 เยอรมนีมีแผนจะออกตราสารหนี้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว มูลค่า
213 พันล้านยูโร (279 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) ลดลงจาก 225 พันล้านยูโร ในปี 49 โดยคาดว่าการเก็บภาษีในปีนี้จะเพิ่มขึ้นมากจากการที่
เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง รวมทั้งแผนการเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค.50 จะทำให้แต่ละรัฐมีเงินคงคลัง
เพิ่มขึ้นและสะดวกที่จะให้รัฐบาลกลางกู้ยืม ทั้งนี้ รัฐบาลคาดว่าจะออกตราสารหนี้ มูลค่า 141 พันล้านยูโร ในตลาดทุน และ 72 พันล้านยูโร
ในตลาดเงินในปีหน้า นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีแผนที่จะขยายการออกพันธบัตรดัชนีอัตราเงินเฟ้อในปี 50 และอาจจะออกพันธบัตรเงินตราต่างประเทศ
ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของตลาด โดยรัฐบาลกลางเยอรมนีมีความตั้งใจที่สร้างสัดส่วนของตลาดพันธบัตรที่เชื่อมโยงกับอัตราเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่องใน
ปี 50 ส่วนเรื่องการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลที่เยอรมนีจัดทำเกินร้อยละ 3 ของจีดีพีตามข้อตกลงของสหภาพยุโรปในช่วง 4 ปีที่ผ่านมานั้น
คาดว่าจากการที่เศรษฐกิจเยอรมนีเติบโตอย่างแข็งแกร่งจะทำให้การขาดดุลงบประมาณลดลงเหลือร้อยละ 2.1 ของจีดีพีในปี 49 และต่อเนื่อง
ไปถึงปีหน้า (รอยเตอร์)
4. การส่งออกของสิงโปร์ในเดือน พ.ย. เพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบเกือบปี รายงานจาก สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 49 สำนักงาน
การค้าและวิสาหกิจแห่งชาติของสิงคโปร์เปิดเผยว่า ในเดือน พ.ย. การส่งออกสินค้าที่มิใช้น้ำมันของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบ
เกือบปี เนื่องจากการส่งออกสินค้าจำพวกเคมีภัณฑ์และยาที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งสามารถชดเชยการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่อ่อนตัวลงได้
ทั้งนี้การส่งออกในเดือน พ.ย. เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 มากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 และมากกว่า 2 เท่า
ของการส่งออกในเดือน ต.ค. ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 และเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 48 ที่เคยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 13.3 ทั้งนี้นาย
Chua Hak Bin นักเศรษฐศาสตร์จาก Citigroup เสริมว่าแนวโน้มการส่งออกชะลอตัวบ้าง แต่การส่งออกไม่ลดลงมากนักเนื่องจากยอดขาย
ต่างประเทศยังคงขยายตัว อย่างไรก็ตามการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าสำคัญ รวมทั้งโทรศัพท์มือถือไปจนถึง Chips ในกล้อง
ดิจิทัลและวีดีโอเกมคอนโซล ในเดือน พ.ย.ลดลงจากเดือน ต.ค.ร้อยละ 6.9 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ซึ่งนาย Leslie Khoo
นักเศรษฐศาสตร์จากForecast Ltd. กล่าวว่า กิจการเทคโนโลยีอาจจะลดสต็อกสินค้าคงคลังลงในเร็วๆนี้ เนื่องจากอุปสงค์ในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ทั่วโลกลดลง รวมทั้งแนวโน้มการส่งออกชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 19 ธ.ค. 49 18 ธ.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่ง
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.232 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.0370/35.3282 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12313 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 730.55/10.04 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,400/10,500 10,250/10,350 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 58.12 58.83 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเมื่อ 2 ธ.ค. 49 ** ปรับเมื่อ 16 ธ.ค. 49 26.09*/23.34** 26.09*/23.34** 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--