กรุงเทพ--27 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2549 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังเข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารกลางวันรัฐมนตรีต่างประเทศ East Asia Summit (EAS) และการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน+3 ณ Kuala Lumpur Convention Centre (KLCC) กรุงกัวลาลัมเปอร์ ดังนี้
1. รัฐมนตรีต่างประเทศ EAS ทั้ง 16 ประเทศ ได้แลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างกันเกี่ยวกับโครงสร้างของ EAS (การประชุม EAS ครั้งแรกจัดขึ้นในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียน ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์เมื่อเดือนธันวาคม 2548) ซึ่งมีลักษณะ “top-down” กล่าวคือ เป็นกรอบการประชุมหารือที่ไม่มีการกำหนดหัวข้อไว้ล่วงหน้า โดยขึ้นอยู่กับความเห็นของผู้นำ ดังนั้น จึงควรจะมีองค์กร อาทิ รัฐมนตรี เจ้าหน้าที่อาวุโส หรือสำนักเลขาธิการอาเซียนที่จะนำมติของที่ประชุมผู้นำไปดำเนินการและติดตามผล นอกจากนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศ EAS ยังได้หารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก EAS ใน 5 ประเด็นหลัก (จากทั้งหมด 17 ประเด็น) ประกอบด้วย 1) พลังงาน 2) การเงิน 3) การศึกษา 4) ภัยพิบัติ และ
5) การป้องกันโรคติดต่อร้ายแรงโดยเฉพาะไข้หวัดนก ทั้งนี้ ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่าในส่วนของความร่วมมือด้านพลังงาน ประเทศไทยพร้อมที่จะร่วมมือกับประเทศสมาชิก EAS ในด้านพลังงานทดแทน อาทิ ไบโอ-เอธานอน ขณะที่ในความร่วมมือด้านการเงิน ดร. กันตธีร์ฯ เสนอให้ประเทศผู้ส่งออกน้ำมันพิจารณานำกำไรที่ได้จากการขายน้ำมันมาลงทุนในตลาดพันธบัตรเอเชีย
2. ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน+3 (จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น) ที่ประชุมฯ ได้หารือถึงแนวทางแก้ไขปัญหาโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ โดยเห็นว่ากรอบการประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (ARF) เป็นกลไกสามารถมีบทบาทในเรื่องนี้
โดยเสริมกับกรอบการเจรจา 6 ฝ่าย (เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และรัสเซีย) ในการส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพบนคาบสมุทรเกาหลี เนื่องจากประเทศที่เกี่ยวข้องกับการเจรจา 6 ฝ่ายต่างก็เป็นสมาชิกของ ARF (ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 26 ประเทศ) และผู้เข้าร่วมการประชุม ARF ก็ยังเป็นระดับรัฐมนตรีต่างประเทศด้วย ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวเสริมว่าปัญหาของความชะงักงันในการแก้ไขปัญหาโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือคือการขาดความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกลไก ARF สามารถมีส่วนในการช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ได้หารือเกี่ยวกับการส่งเสริมบทบาทของภาคประชาชน โดยเฉพาะกิจกรรมด้านวัฒนธรรมระหว่างประเทศสมาชิกฯ เพื่อนำไปสู่การเสริมสร้างประชาคมเอเชียตะวันออกในอนาคต พร้อมทั้งแสดงความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ความรุนแรงในภูมิภาคตะวันออกกลางด้วย
อนึ่ง ในช่วงบ่าย ดร. กันตธีร์ฯ ได้พบปะทวิภาคีกับนาย Li Zhaoxing รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน ซึ่งประเด็นสำคัญของการหารือคือบทบาทสำคัญของจีนในการแก้ไขปัญหาความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลี โดยในช่วงเย็น ดร. กันตธีร์ฯ ได้เข้าร่วมงานเทศกาลอาหารรัสเซียและการเปิดตัวนิตยสารที่ระลึกครบรอบ 10 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-รัสเซียด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2549 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังเข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารกลางวันรัฐมนตรีต่างประเทศ East Asia Summit (EAS) และการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน+3 ณ Kuala Lumpur Convention Centre (KLCC) กรุงกัวลาลัมเปอร์ ดังนี้
1. รัฐมนตรีต่างประเทศ EAS ทั้ง 16 ประเทศ ได้แลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างกันเกี่ยวกับโครงสร้างของ EAS (การประชุม EAS ครั้งแรกจัดขึ้นในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียน ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์เมื่อเดือนธันวาคม 2548) ซึ่งมีลักษณะ “top-down” กล่าวคือ เป็นกรอบการประชุมหารือที่ไม่มีการกำหนดหัวข้อไว้ล่วงหน้า โดยขึ้นอยู่กับความเห็นของผู้นำ ดังนั้น จึงควรจะมีองค์กร อาทิ รัฐมนตรี เจ้าหน้าที่อาวุโส หรือสำนักเลขาธิการอาเซียนที่จะนำมติของที่ประชุมผู้นำไปดำเนินการและติดตามผล นอกจากนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศ EAS ยังได้หารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก EAS ใน 5 ประเด็นหลัก (จากทั้งหมด 17 ประเด็น) ประกอบด้วย 1) พลังงาน 2) การเงิน 3) การศึกษา 4) ภัยพิบัติ และ
5) การป้องกันโรคติดต่อร้ายแรงโดยเฉพาะไข้หวัดนก ทั้งนี้ ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่าในส่วนของความร่วมมือด้านพลังงาน ประเทศไทยพร้อมที่จะร่วมมือกับประเทศสมาชิก EAS ในด้านพลังงานทดแทน อาทิ ไบโอ-เอธานอน ขณะที่ในความร่วมมือด้านการเงิน ดร. กันตธีร์ฯ เสนอให้ประเทศผู้ส่งออกน้ำมันพิจารณานำกำไรที่ได้จากการขายน้ำมันมาลงทุนในตลาดพันธบัตรเอเชีย
2. ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน+3 (จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น) ที่ประชุมฯ ได้หารือถึงแนวทางแก้ไขปัญหาโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ โดยเห็นว่ากรอบการประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (ARF) เป็นกลไกสามารถมีบทบาทในเรื่องนี้
โดยเสริมกับกรอบการเจรจา 6 ฝ่าย (เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และรัสเซีย) ในการส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพบนคาบสมุทรเกาหลี เนื่องจากประเทศที่เกี่ยวข้องกับการเจรจา 6 ฝ่ายต่างก็เป็นสมาชิกของ ARF (ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 26 ประเทศ) และผู้เข้าร่วมการประชุม ARF ก็ยังเป็นระดับรัฐมนตรีต่างประเทศด้วย ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวเสริมว่าปัญหาของความชะงักงันในการแก้ไขปัญหาโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือคือการขาดความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกลไก ARF สามารถมีส่วนในการช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ได้หารือเกี่ยวกับการส่งเสริมบทบาทของภาคประชาชน โดยเฉพาะกิจกรรมด้านวัฒนธรรมระหว่างประเทศสมาชิกฯ เพื่อนำไปสู่การเสริมสร้างประชาคมเอเชียตะวันออกในอนาคต พร้อมทั้งแสดงความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ความรุนแรงในภูมิภาคตะวันออกกลางด้วย
อนึ่ง ในช่วงบ่าย ดร. กันตธีร์ฯ ได้พบปะทวิภาคีกับนาย Li Zhaoxing รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน ซึ่งประเด็นสำคัญของการหารือคือบทบาทสำคัญของจีนในการแก้ไขปัญหาความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลี โดยในช่วงเย็น ดร. กันตธีร์ฯ ได้เข้าร่วมงานเทศกาลอาหารรัสเซียและการเปิดตัวนิตยสารที่ระลึกครบรอบ 10 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-รัสเซียด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-