ปี 2548 เศรษฐกิจภาคเหนือขยายตัวต่อเนื่อง แม้ว่าในช่วงครึ่งแรกปี อุปสงค์ชะลอตัวลงจากผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ภัยธรรมชาติ ผลกระทบจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยและความไม่สงบในภาคใต้ แต่ความต้องการของตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ชนิดใหม่และสินค้าแปรรูปเกษตรที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีและภาวะการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ปลายไตรมาสที่ 3 และมีแนวโน้มดีต่อเนื่องในปี 2549 ส่งผลให้เศรษฐกิจภาคเหนือยังขยายตัว ทางด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัวจากผลของการปรับขึ้นราคาน้ำมันเป็นสำคัญ ส่วนเงินฝากและเงินให้สินเชื่อของสาขาธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในเกณฑ์ดี
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 เทียบกับร้อยละ 3.7 ปีก่อนตามการเร่งตัวของราคาพืชผลหลักซึ่งขยายตัวร้อยละ 11.2 โดยราคาข้าวเพิ่มขึ้นจากมาตรการรับจำนำของภาครัฐ ราคาอ้อยโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.1 ตามการปรับเพิ่มขึ้นของราคาขั้นสุดท้าย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เนื่องจากผลผลิตลดลงขณะที่ความต้องการเพิ่มขึ้น ราคามันสำปะหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.8 ตามความต้องการส่งออก และราคาลิ้นจี่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 อย่างไรก็ตาม ราคาลำไยลดลงร้อยละ 19.4 เนื่องจากปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นมาก ส่วนทางด้านผลผลิตลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.2 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะแห้งแล้งทำให้ผลผลิตพืชหลักส่วนใหญ่ลดลง ได้แก่ อ้อยโรงงาน ข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง และลิ้นจี่ ลดลงร้อยละ 18.4 ร้อยละ 3.9 ร้อยละ 7.9 และร้อยละ 9.5 ตามลำดับ นอกจากนี้ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเขียว และหอมแดง ลดลงร้อยละ 5.3 ร้อยละ 2.4 และร้อยละ 9.2 ตามลำดับ เนื่องจากเกษตรกรส่วนหนึ่งหันไปปลูกพืชอื่น อย่างไรก็ตาม ผลผลิตข้าวนาปี ถั่วเหลือง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.7 และร้อยละ 1.6 ตามราคาในปีก่อนที่สูงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มการผลิต และลำไยเพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูงจากเทคนิคการเพิ่มผลผลิตและการขยายเนื้อที่เพาะปลูกในช่วงหลายปีก่อนหน้า
2. ภาคอุตสาหกรรม ผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากปีก่อน โดยมูลค่าการส่งออกของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือผ่านด่านศุลกากรลำพูน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 เป็น 1,724.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวจากร้อยละ 25.5 ปีก่อน ตามวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ลดลงในช่วงไตรมาส 1 เป็นสำคัญ แต่ปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับในไตรมาส 2-4 สินค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทสื่อบันทึกข้อมูล เครื่องจักรกล และอัญมณี โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1 ร้อยละ 96.2 และร้อยละ 11.0 ตามลำดับ การผลิตของอุตสาหกรรมหมวดวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเนื่องจากได้รับผลดีจากการก่อสร้างของภาคเอกชนที่ขยายตัวมากช่วงไตรมาสแรกและของภาครัฐที่ขยายตัวในเกณฑ์ดี การผลิตของอุตสาหกรรมน้ำตาล ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 33.9 เหลือ 1,238.0 พันเมตริกตัน เนื่องจากวัตถุดิบอ้อยลดลงจากปัญหาภัยแล้งในช่วงการเพาะปลูก
3. ภาคบริการ ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากปีก่อน เนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติบางกลุ่มชะลอการเดินทางจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยและสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวไทยระมัดระวังการใช้จ่ายจากราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น กิจกรรมการประชุมสัมมนาในภาคเหนือลดลง ประกอบกับจังหวัดสำคัญของภาคเหนือประสบกับภาวะน้ำท่วม 3 ครั้ง อย่างไรก็ดี ปัจจัยลบในภาคใต้ส่งผลให้ภาคเหนือได้รับประโยชน์จากการที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติบางส่วนที่หลีกเลี่ยงการเดินทางไปภาคใต้ หันมาเที่ยวในภาคเหนือแทน โดยเฉพาะในไตรมาส 4 ซึ่งมีการจัดงานเทศกาลส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐและเอกชนในจังหวัดต่าง ๆ การจัดกิจกรรมกระตุ้นกระแสแพนด้าและการเปิดโครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางมาเที่ยวมากขึ้น ทำให้กิจกรรมภาคบริการที่สำคัญ ได้แก่ ราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 และยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มโรงแรมและภัตตาคารสูงกว่าปีก่อนร้อยละ 7.3 แต่อัตราการเข้าพักของโรงแรมเฉลี่ยลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.2 เหลือร้อยละ 54.3
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การใช้จ่ายภาคเอกชน ขยายตัวในเกณฑ์ดี แต่ชะลอตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปี ตามความระมัดระวังการใช้จ่ายของประชาชน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน กิจกรรมสำคัญได้แก่ ยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.4 เร่งตัวจากปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 โดยขยายตัวดีในเกือบทุกจังหวัด ขณะที่ปริมาณจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 และร้อยละ 0.6 ชะลอลงจากปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.1 และร้อยละ 6.0 ตามลำดับ
5. การลงทุนภาคเอกชน โดยเฉพาะการก่อสร้างขยายตัวจากปีก่อน ตามการเร่งการก่อสร้างในช่วงต้นปี สะท้อนจากกิจกรรมสำคัญ ได้แก่ ปริมาณจำหน่ายวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.8 และพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 4.4 ในปีก่อน ขณะที่ทางด้านการลงทุนเพื่อการผลิต จากข้อมูลโครงการที่ได้รับอนุมัติจากศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคเหนือ (BOI) มีจำนวน 56 โครงการ เงินลงทุน 9,802.3 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 26.3
6. การค้าต่างประเทศ การส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 เป็น 2,481.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอลงจากปีก่อนซึ่งขยายตัวร้อยละ 28.8 โดยการส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 เป็น 1,724.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้นมากได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทสื่อบันทึกข้อมูล อัญมณี และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชนิดอื่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1 ร้อยละ 11.0 และร้อยละ 34.6 ตามลำดับ ตลาดส่งออกสำคัญคือ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง และจีน การส่งออกผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.2 เป็น 195.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวมากในช่วงครึ่งปีหลัง จากสินค้าประเภทใบยาสูบเบอร์เลย์ เพชรพลอย และคาร์บูเรเตอร์ การส่งออกผ่านด่านศุลกากรชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.4 เป็น 562.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกไปพม่าซึ่งขยายตัวมากในช่วงไตรมาสแรก แต่ลดลงในไตรมาส 3 เนื่องจากพม่าเข้มงวดการค้าชายแดนบริเวณด่านแม่สอดและแม่สาย ส่วนการส่งออกไปลาวเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว และการส่งออกไปจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 94.6
การนำเข้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 เป็น 1,534.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอลงจากร้อยละ 21.3 ในปีก่อนโดยเพิ่มขึ้นมากในช่วงครึ่งปีหลัง การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรลำพูน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 เป็น 1,431.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าทุนเพื่อมาผลิตต่อ อาทิ วงจรอิเล็กทรอนิกส์และแผงวงจรพิมพ์ ส่วนใหญ่นำเข้าจาก ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์ การนำเข้าผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.7 เป็น 25.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากสินค้าเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบเครื่องจักร และเพชรพลอย ส่วนการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรชายแดนลดลงร้อยละ 8.5 เป็น 77.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าสินค้าพม่าและจีนตอนใต้ที่ลดลง ขณะที่การนำเข้าจากลาวเพิ่มขึ้น
ดุลการค้า ในปี 2548 เกินดุล 947.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่เกินดุล 809.5 ล้านดอลลาร์ สรอ.
7. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เร่งตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ในปีก่อน ตามราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 โดยเฉพาะหมวดผักและผลไม้ ซึ่งเพิ่มขึ้นสูงในไตรมาสที่ 3 เนื่องจากภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของภาคเหนือทำให้ผลผลิตบางส่วนออกสู่ตลาดลดลง ทางด้านราคาสินค้าหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าบุหรี่ในช่วงปลายปี สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เร่งตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ปีก่อน
8. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือนพฤศจิกายน 2548 พบว่า ภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.6 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.5 ล้านคน เท่ากับร้อยละ 98.4 ของกำลังแรงงานรวม สูงกว่าร้อยละ 98.1 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยการจ้างงานในภาคเกษตรลดลงร้อยละ 3.3 ขณะที่แรงงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากการขยายตัวในสาขาการก่อสร้างและอุตสาหกรรมการผลิต ร้อยละ 6.8 และร้อยละ 5.0 ตามลำดับ ด้านอัตราการว่างงานลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนเหลือเพียงร้อยละ 1.5 สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในเดือนธันวาคม 2548 มีจำนวน 568,411 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.3 และร้อยละ 4.9 ตามลำดับ
9. การเงิน ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2548 สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ มียอดเงินฝากคงค้างทั้งสิ้น 305,260 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.1 โดยเพิ่มขึ้นเกือบทุกจังหวัด จากการระดมเงินฝากของธนาคารขนาดเล็กเป็นสำคัญ จังหวัดที่เพิ่มขึ้นมากได้แก่ เชียงใหม่ นครสวรรค์ ตาก ลำพูน และสุโขทัย ยกเว้นจังหวัดลำปางเงินฝากลดลง ส่วนเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 247,636 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.8 โดยเพิ่มขึ้นมากบริเวณภาคเหนือตอนล่าง โดยเฉพาะจังหวัดนครสวรรค์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และกำแพงเพชร อย่างไรก็ดี สินเชื่อจังหวัดลำพูนลดลงมากจากการชำระหนี้ของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ระดับร้อยละ 81.1 สูงกว่าร้อยละ 72.8 ระยะเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ดีเมื่อหักผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ ได้แก่ธนาคารทิสโก้ ธนชาต และเกียรตินาคิน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมา เงินฝากและสินเชื่อในภาคเหนือ ขยายตัวร้อยละ 2.1 และร้อยละ 9.5 ตามลำดับ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 เทียบกับร้อยละ 3.7 ปีก่อนตามการเร่งตัวของราคาพืชผลหลักซึ่งขยายตัวร้อยละ 11.2 โดยราคาข้าวเพิ่มขึ้นจากมาตรการรับจำนำของภาครัฐ ราคาอ้อยโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.1 ตามการปรับเพิ่มขึ้นของราคาขั้นสุดท้าย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เนื่องจากผลผลิตลดลงขณะที่ความต้องการเพิ่มขึ้น ราคามันสำปะหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.8 ตามความต้องการส่งออก และราคาลิ้นจี่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 อย่างไรก็ตาม ราคาลำไยลดลงร้อยละ 19.4 เนื่องจากปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นมาก ส่วนทางด้านผลผลิตลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.2 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะแห้งแล้งทำให้ผลผลิตพืชหลักส่วนใหญ่ลดลง ได้แก่ อ้อยโรงงาน ข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง และลิ้นจี่ ลดลงร้อยละ 18.4 ร้อยละ 3.9 ร้อยละ 7.9 และร้อยละ 9.5 ตามลำดับ นอกจากนี้ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเขียว และหอมแดง ลดลงร้อยละ 5.3 ร้อยละ 2.4 และร้อยละ 9.2 ตามลำดับ เนื่องจากเกษตรกรส่วนหนึ่งหันไปปลูกพืชอื่น อย่างไรก็ตาม ผลผลิตข้าวนาปี ถั่วเหลือง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.7 และร้อยละ 1.6 ตามราคาในปีก่อนที่สูงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มการผลิต และลำไยเพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูงจากเทคนิคการเพิ่มผลผลิตและการขยายเนื้อที่เพาะปลูกในช่วงหลายปีก่อนหน้า
2. ภาคอุตสาหกรรม ผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากปีก่อน โดยมูลค่าการส่งออกของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือผ่านด่านศุลกากรลำพูน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 เป็น 1,724.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวจากร้อยละ 25.5 ปีก่อน ตามวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ลดลงในช่วงไตรมาส 1 เป็นสำคัญ แต่ปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับในไตรมาส 2-4 สินค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทสื่อบันทึกข้อมูล เครื่องจักรกล และอัญมณี โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1 ร้อยละ 96.2 และร้อยละ 11.0 ตามลำดับ การผลิตของอุตสาหกรรมหมวดวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเนื่องจากได้รับผลดีจากการก่อสร้างของภาคเอกชนที่ขยายตัวมากช่วงไตรมาสแรกและของภาครัฐที่ขยายตัวในเกณฑ์ดี การผลิตของอุตสาหกรรมน้ำตาล ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 33.9 เหลือ 1,238.0 พันเมตริกตัน เนื่องจากวัตถุดิบอ้อยลดลงจากปัญหาภัยแล้งในช่วงการเพาะปลูก
3. ภาคบริการ ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากปีก่อน เนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติบางกลุ่มชะลอการเดินทางจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยและสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวไทยระมัดระวังการใช้จ่ายจากราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น กิจกรรมการประชุมสัมมนาในภาคเหนือลดลง ประกอบกับจังหวัดสำคัญของภาคเหนือประสบกับภาวะน้ำท่วม 3 ครั้ง อย่างไรก็ดี ปัจจัยลบในภาคใต้ส่งผลให้ภาคเหนือได้รับประโยชน์จากการที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติบางส่วนที่หลีกเลี่ยงการเดินทางไปภาคใต้ หันมาเที่ยวในภาคเหนือแทน โดยเฉพาะในไตรมาส 4 ซึ่งมีการจัดงานเทศกาลส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐและเอกชนในจังหวัดต่าง ๆ การจัดกิจกรรมกระตุ้นกระแสแพนด้าและการเปิดโครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางมาเที่ยวมากขึ้น ทำให้กิจกรรมภาคบริการที่สำคัญ ได้แก่ ราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 และยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มโรงแรมและภัตตาคารสูงกว่าปีก่อนร้อยละ 7.3 แต่อัตราการเข้าพักของโรงแรมเฉลี่ยลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.2 เหลือร้อยละ 54.3
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การใช้จ่ายภาคเอกชน ขยายตัวในเกณฑ์ดี แต่ชะลอตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปี ตามความระมัดระวังการใช้จ่ายของประชาชน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน กิจกรรมสำคัญได้แก่ ยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.4 เร่งตัวจากปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 โดยขยายตัวดีในเกือบทุกจังหวัด ขณะที่ปริมาณจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 และร้อยละ 0.6 ชะลอลงจากปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.1 และร้อยละ 6.0 ตามลำดับ
5. การลงทุนภาคเอกชน โดยเฉพาะการก่อสร้างขยายตัวจากปีก่อน ตามการเร่งการก่อสร้างในช่วงต้นปี สะท้อนจากกิจกรรมสำคัญ ได้แก่ ปริมาณจำหน่ายวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.8 และพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 4.4 ในปีก่อน ขณะที่ทางด้านการลงทุนเพื่อการผลิต จากข้อมูลโครงการที่ได้รับอนุมัติจากศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคเหนือ (BOI) มีจำนวน 56 โครงการ เงินลงทุน 9,802.3 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 26.3
6. การค้าต่างประเทศ การส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 เป็น 2,481.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอลงจากปีก่อนซึ่งขยายตัวร้อยละ 28.8 โดยการส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 เป็น 1,724.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้นมากได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทสื่อบันทึกข้อมูล อัญมณี และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชนิดอื่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1 ร้อยละ 11.0 และร้อยละ 34.6 ตามลำดับ ตลาดส่งออกสำคัญคือ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง และจีน การส่งออกผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.2 เป็น 195.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวมากในช่วงครึ่งปีหลัง จากสินค้าประเภทใบยาสูบเบอร์เลย์ เพชรพลอย และคาร์บูเรเตอร์ การส่งออกผ่านด่านศุลกากรชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.4 เป็น 562.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกไปพม่าซึ่งขยายตัวมากในช่วงไตรมาสแรก แต่ลดลงในไตรมาส 3 เนื่องจากพม่าเข้มงวดการค้าชายแดนบริเวณด่านแม่สอดและแม่สาย ส่วนการส่งออกไปลาวเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว และการส่งออกไปจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 94.6
การนำเข้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 เป็น 1,534.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอลงจากร้อยละ 21.3 ในปีก่อนโดยเพิ่มขึ้นมากในช่วงครึ่งปีหลัง การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรลำพูน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 เป็น 1,431.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าทุนเพื่อมาผลิตต่อ อาทิ วงจรอิเล็กทรอนิกส์และแผงวงจรพิมพ์ ส่วนใหญ่นำเข้าจาก ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์ การนำเข้าผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.7 เป็น 25.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากสินค้าเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบเครื่องจักร และเพชรพลอย ส่วนการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรชายแดนลดลงร้อยละ 8.5 เป็น 77.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าสินค้าพม่าและจีนตอนใต้ที่ลดลง ขณะที่การนำเข้าจากลาวเพิ่มขึ้น
ดุลการค้า ในปี 2548 เกินดุล 947.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่เกินดุล 809.5 ล้านดอลลาร์ สรอ.
7. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เร่งตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ในปีก่อน ตามราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 โดยเฉพาะหมวดผักและผลไม้ ซึ่งเพิ่มขึ้นสูงในไตรมาสที่ 3 เนื่องจากภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของภาคเหนือทำให้ผลผลิตบางส่วนออกสู่ตลาดลดลง ทางด้านราคาสินค้าหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าบุหรี่ในช่วงปลายปี สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เร่งตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ปีก่อน
8. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือนพฤศจิกายน 2548 พบว่า ภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.6 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.5 ล้านคน เท่ากับร้อยละ 98.4 ของกำลังแรงงานรวม สูงกว่าร้อยละ 98.1 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยการจ้างงานในภาคเกษตรลดลงร้อยละ 3.3 ขณะที่แรงงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากการขยายตัวในสาขาการก่อสร้างและอุตสาหกรรมการผลิต ร้อยละ 6.8 และร้อยละ 5.0 ตามลำดับ ด้านอัตราการว่างงานลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนเหลือเพียงร้อยละ 1.5 สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในเดือนธันวาคม 2548 มีจำนวน 568,411 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.3 และร้อยละ 4.9 ตามลำดับ
9. การเงิน ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2548 สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ มียอดเงินฝากคงค้างทั้งสิ้น 305,260 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.1 โดยเพิ่มขึ้นเกือบทุกจังหวัด จากการระดมเงินฝากของธนาคารขนาดเล็กเป็นสำคัญ จังหวัดที่เพิ่มขึ้นมากได้แก่ เชียงใหม่ นครสวรรค์ ตาก ลำพูน และสุโขทัย ยกเว้นจังหวัดลำปางเงินฝากลดลง ส่วนเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 247,636 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.8 โดยเพิ่มขึ้นมากบริเวณภาคเหนือตอนล่าง โดยเฉพาะจังหวัดนครสวรรค์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และกำแพงเพชร อย่างไรก็ดี สินเชื่อจังหวัดลำพูนลดลงมากจากการชำระหนี้ของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ระดับร้อยละ 81.1 สูงกว่าร้อยละ 72.8 ระยะเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ดีเมื่อหักผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ ได้แก่ธนาคารทิสโก้ ธนชาต และเกียรตินาคิน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมา เงินฝากและสินเชื่อในภาคเหนือ ขยายตัวร้อยละ 2.1 และร้อยละ 9.5 ตามลำดับ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--