แท็ก
ปลาดุก
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 6-11 ก.ย. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯมีจำนวนรวมทั้งสิ้น
1,216.54 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 515.66 ตัน สัตว์น้ำจืด 700.88 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.22 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.90 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 102.51 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 14.14 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 35.32 ตัน
การตลาด
สหภาพยุโรป(อียู)บังคับตรวจสารพิษไดออกซินกับสัตว์น้ำ
กรมการค้าต่างประเทศเปิดเผยว่าขณะนี้คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปเตรียมทบทวนประกาศที่บังคับให้ผู้ส่งออกสินค้าอาหารสัตว์ และ
อาหารมนุษย์ต้องมีใบรับรองการตรวจสอบสารไดออกซินตามปริมาณที่กำหนดก่อนที่จะส่งเข้าไปจำหน่ายในสหภาพยุโรป โดยคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในวัน
ที่ 4 พฤศจิกายน 2549 ก่อนหน้านี้สหภาพยุโรปใช้มาตรการนี้มาตั้งแต่ปี 2546 แต่ประเทศผู้ส่งออกสินค้าประมงไปยังสหภาพยุโรปได้ คัดค้านการ
ประกาศใช้ ทำให้ต้องเลื่อนออกไป
การใช้มาตรการตรวจสอบสารไดออกซินเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี ซึ่งทาง สหภาพยุโรปให้เหตุผลว่า เพื่อป้องกัน
สุขอนามัยของประชาชน กรณีนี้ใกล้เคียงกับการตรวจสารไนโตรฟูแรนส์ในสินค้ากุ้ง ซึ่งผู้ส่งออกไทยได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามผู้ส่งออก
ไทยสามารถรวมตัวกันกำหนดท่าทีเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประสานไปยังสหภาพยุโรป เพราะถึงแม้จะไม่สามารถขอให้ยกเลิกมาตรการดัง
กล่าวได้ แต่อาจจะหาแนวทางออมชอม เช่น การขอความร่วมมือต่างๆ ได้
นอกจากนี้สหภาพยุโรปเตรียมประกาศใช้มาตรการสุขอนามัยสินค้าสัตว์น้ำ โดยอยู่ระหว่างการปรับปรุงกฎ ระเบียบ เพื่อออกข้อกำหนดด้าน
สุขภาพสัตว์น้ำเพาะเลี้ยงและผลิตภัณฑ์ มาตรการป้องกันและควบคุมโรคสัตว์น้ำเพาะเลี้ยง โดยจะบังคับใช้ในสินค้าปลา ผลิตภัณฑ์กุ้ง ผลิตภัณฑ์หอย
ผลิตภัณฑ์หอย ปู และผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป
มาตรการใหม่จะเป็นการขยายการตรวจสอบเพิ่มไปถึงแหล่งผลิต โดยสหภาพยุโรปจะส่ง เจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบและให้การรับรอง
ตั้งแต่ประเทศ แหล่งกำเนิดต้นทางถึงปลายทาง ซึ่งมาตรการนี้คาดว่าจะส่งผลกระทบกับอุตสาหกรรมกุ้งและปลาสดแช่เย็นแช่แข็งส่งออกไปตลาดสหภาพ
ยุโรปแน่นอน
ด้านแหล่งข่าวจากอุตสาหกรรมอาหารแช่เยือกแข็งกล่าวว่า การตรวจสอบสารไดออกซินจะส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกสินค้าอาหารแช่เยือก
แข็งไทย เพราะจะทำให้ต้นทุนการตรวจสอบเพิ่มขึ้น และขณะนี้ไทยมีห้องปฏิบัติการสำหรับการตรวจสารไดออกซินแห่งเดียว คือที่กรมวิทยาศาสตร์การ
แพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แต่เครื่องดังกล่าวไม่สามารถตรวจสอบได้ เพราะยังชำรุดอยู่ การซ่อมก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก จึงไม่มีการซ่อม
เครื่อง แต่หากตรวจสอบได้จริง ก็อาจจะไม่สามารถรองรับสินค้าที่ต้องตรวจได้พอ และผู้ส่งออกยังหวั่นเกรงว่าในอนาคตจะขยายผลการบังคับใช้ให้มี
การตรวจสอบสินค้าชนิดอื่นๆ อีกด้วย
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.21 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.59 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.41 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.81 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 95.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 98.00 บาท ของสัปดาห์
ก่อน 2.17 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 153.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ
139.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 14.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 148.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 150.00
บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 123.74 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัม
ละ 116.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.99 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 121.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 120.00
บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท ของสัปดาห์
ก่อน 0.33 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.83 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.21 บาท ของสัปดาห์
ที่ผ่านมา 0.62 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 18 — 22 ก.ย. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.60 บาท ลดลงจาก
กิโลกรัมละ 27.16 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.56 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 37 ประจำวันที่ 18 - 24 กันยายน 2549--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 6-11 ก.ย. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯมีจำนวนรวมทั้งสิ้น
1,216.54 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 515.66 ตัน สัตว์น้ำจืด 700.88 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.22 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.90 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 102.51 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 14.14 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 35.32 ตัน
การตลาด
สหภาพยุโรป(อียู)บังคับตรวจสารพิษไดออกซินกับสัตว์น้ำ
กรมการค้าต่างประเทศเปิดเผยว่าขณะนี้คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปเตรียมทบทวนประกาศที่บังคับให้ผู้ส่งออกสินค้าอาหารสัตว์ และ
อาหารมนุษย์ต้องมีใบรับรองการตรวจสอบสารไดออกซินตามปริมาณที่กำหนดก่อนที่จะส่งเข้าไปจำหน่ายในสหภาพยุโรป โดยคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในวัน
ที่ 4 พฤศจิกายน 2549 ก่อนหน้านี้สหภาพยุโรปใช้มาตรการนี้มาตั้งแต่ปี 2546 แต่ประเทศผู้ส่งออกสินค้าประมงไปยังสหภาพยุโรปได้ คัดค้านการ
ประกาศใช้ ทำให้ต้องเลื่อนออกไป
การใช้มาตรการตรวจสอบสารไดออกซินเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี ซึ่งทาง สหภาพยุโรปให้เหตุผลว่า เพื่อป้องกัน
สุขอนามัยของประชาชน กรณีนี้ใกล้เคียงกับการตรวจสารไนโตรฟูแรนส์ในสินค้ากุ้ง ซึ่งผู้ส่งออกไทยได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามผู้ส่งออก
ไทยสามารถรวมตัวกันกำหนดท่าทีเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประสานไปยังสหภาพยุโรป เพราะถึงแม้จะไม่สามารถขอให้ยกเลิกมาตรการดัง
กล่าวได้ แต่อาจจะหาแนวทางออมชอม เช่น การขอความร่วมมือต่างๆ ได้
นอกจากนี้สหภาพยุโรปเตรียมประกาศใช้มาตรการสุขอนามัยสินค้าสัตว์น้ำ โดยอยู่ระหว่างการปรับปรุงกฎ ระเบียบ เพื่อออกข้อกำหนดด้าน
สุขภาพสัตว์น้ำเพาะเลี้ยงและผลิตภัณฑ์ มาตรการป้องกันและควบคุมโรคสัตว์น้ำเพาะเลี้ยง โดยจะบังคับใช้ในสินค้าปลา ผลิตภัณฑ์กุ้ง ผลิตภัณฑ์หอย
ผลิตภัณฑ์หอย ปู และผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป
มาตรการใหม่จะเป็นการขยายการตรวจสอบเพิ่มไปถึงแหล่งผลิต โดยสหภาพยุโรปจะส่ง เจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบและให้การรับรอง
ตั้งแต่ประเทศ แหล่งกำเนิดต้นทางถึงปลายทาง ซึ่งมาตรการนี้คาดว่าจะส่งผลกระทบกับอุตสาหกรรมกุ้งและปลาสดแช่เย็นแช่แข็งส่งออกไปตลาดสหภาพ
ยุโรปแน่นอน
ด้านแหล่งข่าวจากอุตสาหกรรมอาหารแช่เยือกแข็งกล่าวว่า การตรวจสอบสารไดออกซินจะส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกสินค้าอาหารแช่เยือก
แข็งไทย เพราะจะทำให้ต้นทุนการตรวจสอบเพิ่มขึ้น และขณะนี้ไทยมีห้องปฏิบัติการสำหรับการตรวจสารไดออกซินแห่งเดียว คือที่กรมวิทยาศาสตร์การ
แพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แต่เครื่องดังกล่าวไม่สามารถตรวจสอบได้ เพราะยังชำรุดอยู่ การซ่อมก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก จึงไม่มีการซ่อม
เครื่อง แต่หากตรวจสอบได้จริง ก็อาจจะไม่สามารถรองรับสินค้าที่ต้องตรวจได้พอ และผู้ส่งออกยังหวั่นเกรงว่าในอนาคตจะขยายผลการบังคับใช้ให้มี
การตรวจสอบสินค้าชนิดอื่นๆ อีกด้วย
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.21 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.59 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.41 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.81 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 95.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 98.00 บาท ของสัปดาห์
ก่อน 2.17 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 153.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ
139.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 14.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 148.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 150.00
บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 123.74 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัม
ละ 116.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.99 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 121.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 120.00
บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท ของสัปดาห์
ก่อน 0.33 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.83 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.21 บาท ของสัปดาห์
ที่ผ่านมา 0.62 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 18 — 22 ก.ย. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.60 บาท ลดลงจาก
กิโลกรัมละ 27.16 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.56 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 37 ประจำวันที่ 18 - 24 กันยายน 2549--
-พห-