ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ยอดสินเชื่อคงค้างในช่วงไตรมาสแรกปี 49 เพิ่มขึ้นประมาณ 1 แสน ล.บาท รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า สายนโยบายสถาบันการเงินของ ธปท.ได้รายงานตัวเลขเงินให้สินเชื่อแยกตามประเภทธุรกิจ ณ สิ้นเดือน มี.ค.49 โดยมี
ยอดสินเชื่อคงค้างทั้งระบบ 5,784,783 ล.บาท เทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปีที่ผ่านมาที่มียอดสินเชื่อคงค้าง 5,681,451 ล.บาท หรือเพิ่มขึ้น
103,332 ล.บาท โดยภาคธุรกิจที่มียอดสินเชื่อมากที่สุด คือ ภาคการผลิตมียอดสินเชื่อทั้งสิ้น 1,539,550 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า
14,063 ล.บาท รองลงมาคือ การอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลมียอดสินเชื่อ 1,043,773 ล.บาท เพิ่มขึ้น 20,947 ล.บาท ทั้งนี้ ในระยะต่อไป
หากแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวลง อาจจะกระทบกับความสามารถในการขยายสินเชื่อและคุณภาพของสินเชื่อ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปรับตัวสูง
ขึ้นและภาระดอกเบี้ยจ่ายที่เร่งตัวขึ้นทั้งจากผลของการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเมื่อปลายปี 48 ที่มีผลเต็มที่มากขึ้น และการปรับเพิ่มขึ้นในไตรมาส
แรกของปีนี้ ซึ่งจะส่งผลในระยะต่อไป และกดดันให้ ธพ.จำเป็นต้องปรับตัวในการดำเนินงานและระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อมากยิ่งขึ้น
(ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, ไทยโพสต์)
2. อัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอล นายทำนอง ดาศรี ผู้อำนวยการฝ่ายปรับปรุง
โครงสร้างหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่มีแรงกดดันจากทิศทางอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น และราคา
น้ำมันที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบให้หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม เอ็นพีแอลในระบบขณะนี้มีการลดลง
อย่างต่อเนื่อง และ ธปท.ยังคงจับตาดูทั้งหนี้เสียที่อาจไหลย้อนกลับมาในระบบและหนี้ที่จะเกิดขึ้นใหม่ นอกจากนี้ จากการรับซื้อเอ็นพีแอลและสินทรัพย์
รอการขาย (เอ็นพีเอ) ของบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) ไปบริหารต่อและสามารถสร้างยอดขายได้ดี พร้อมทั้งความ
เข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของ ธพ. จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้โครงสร้างของเอ็นพีแอลในระบบลดลงได้ รวมถึงจากกรณีที่มีเงินทุนไหลเข้ามาใน
ประเทศไทยก็อาจมีส่วนช่วยส่งเสริมให้ผู้ลงทุนมีเงินไปลงทุนได้มากขึ้น ลดโอกาสการเกิดหนี้เสียให้น้อยลง ทั้งนี้ สายนโยบายการเงิน ธปท. ได้ราย
งานตัวเลขเอ็นพีแอลของระบบสถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือน มี.ค.49 ว่ามีเอ็นพีแอลทั้งสิ้น 473,000.81 ล.บาท หรือคิดเป็น 7.97% ของสินเชื่อ
รวม ลดลง 0.19% จากไตรมาสก่อนหน้า (ผู้จัดการรายวัน, ไทยโพสต์)
3. สศช.เตรียมปรับปรุงสมมติฐานของปัจจัยที่ใช้ในการคำนวณประมาณการจีดีพีปี 49 ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ในการประกาศผลตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส
1 ปี 49 และแนวโน้มปี 49 ในวันที่ 6 มิ.ย.นี้ สศช.เตรียมปรับปรุงสมมติฐานของปัจจัยต่างๆ ที่ใช้ในการคำนวณประมาณการจีดีพีปี 49 ใหม่ ทั้ง
ราคาน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อ การส่งออก ค่าเงินบาท การลงทุน และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด โดยไม่ได้ระบุว่าจะมีการปรับประมาณการตัวเลขการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 49 หรือไม่ จากเดิมที่ประมาณการว่าจะขยายตัวที่ระดับ 4.5-5.5% (กรุงเทพธุรกิจ)
4. คาดว่าการลงทุนจากต่างประเทศในช่วงปี 49 จะเติบโตตามเป้าหมาย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม
เปิดเผยว่า ภาพรวมการลงทุนของประเทศไทยในส่วนของการขอรับการส่งเสริมการลงทุนผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)
ในช่วง 2 ไตรมาสที่เหลือของปี 49 เชื่อว่าจะขยายตัวต่อเนื่องและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 800,000 ล.บาท โดยปัญหาทางการเมืองคง
ไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะทำให้การลงทุนจากต่างประเทศของไทยลดลง แต่ปัจจัยที่จะส่งผลกระทบคือภาวะเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน
เพราะทั่วโลกต่างเผชิญกับแรงกดดันของราคาน้ำมันที่อาจทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะประเทศของผู้ลงทุนหลักๆ อาทิ ญี่ปุ่น สรอ.
สหภาพยุโรป มีอัตราการเติบโตที่ลดลง ซึ่งจะทำให้การลงทุนในต่างประเทศลดลงตามไปด้วย ทั้งนี้ เลขาธิการบีโอไอ เปิดเผยว่า ในช่วง
4 เดือนแรกของปี (ม.ค.-เม.ย.49) บีโอไออนุมัติโครงการลงทุน 396 โครงการ วงเงินลงทุน 120,000 ล.บาท ถือว่าเป็นระดับที่เหมาะสม
กับสถานการณ์เศรษฐกิจโลก โดยญี่ปุ่นเป็นกลุ่มทุนอันดับ 1 ที่เข้ามาลงทุนในไทย และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ ระบบ
สาธารณูปโภค ปิโตรเคมี ยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนเป็นอันดับต้นๆ ของไทย (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าจีดีพีของอังกฤษช่วง ก.พ.-เม.ย.49 ขยายตัวร้อยละ 0.6 รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่
12 พ.ค.49 National Institute of Economic and Social Research (NIESR) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของอังกฤษในช่วงเดือน
ก.พ. — เม.ย.49 จะขยายร้อยละ 0.6 ซึ่งเป็นไปตามแนวทางเดียวกับข้อมูลของทางการที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ โดยเศรษฐกิจจะเติบโต
อย่างมั่นคงในขณะที่มีแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้ออันอาจทำให้เกิดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ โดย NIESR คาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ในระยะเวลาอันใกล้นี้ ทั้งนี้ ธ.กลางอังกฤษได้คงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับร้อยละ 4.5 เป็นเวลา 9 เดือนแล้ว แต่ได้มีการส่งสัญญาณบางอย่าง
ผ่านการพยากรณ์เศรษฐกิจและภาวะเงินเฟ้อรายไตรมาสในสัปดาห์นี้ว่า อาจจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเล็กน้อยเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่
ในระดับเป้าหมายที่ร้อยละ 2.0 ขณะที่ตลาดเงินได้เตรียมพร้อมรับความเป็นไปได้อย่างสูงของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้แล้ว หลังจากที่ผล
สำรวจทางธุรกิจจำนวนมากปรับตัวดีขึ้นและข้อมูลของทางการก็แสดงให้เห็นว่าภาคการผลิตและตลาดอสังหาริมทรัพย์มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดย
ผลผลิตจากโรงงานในเดือน มี.ค.49 ขยายตัวเร็วที่สุดในรอบเกือบ 1 ปี ขณะที่ตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสแรกปีนี้เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรก
ในรอบเกือบ 2 ปี (รอยเตอร์)
2. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 32.8 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่
15 พ.ค. 49 รมว. คลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ในเดือน มี.ค. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ที่ระดับ 2.3951 ล้าน ล้าน เยน (21.85 พัน ล. ดอลลาร์
สรอ.) ซึ่งเป็นตัวเลขก่อนปรับฤดูกาล หรือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 32.8 และมากกว่าผลการสำรวจโดยรอยเตอร์ที่คาดว่าในเดือน
มี.ค. ญี่ปุ่นจะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 10.9 อยู่ที่ระดับ 2.0 ล้าน ล้าน เยน ส่วนดุลการค้าเกินดุลลดลงจากช่วงเดียวกันปี
ก่อนที่ระดับ 1.1086 ล้าน ล้าน เยน หรือลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 6.0 อนึ่งนาย Sadakazu Tanigaki รมว. คลังญี่ปุ่นได้กล่าวในการประชุม
ระดับผู้นำทางธุรกิจที่โอซากาว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงขยายตัวดีแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยน
เงินตราต่างประเทศก็ตาม ขณะที่ รมว. คลัง สรอ.ได้กล่าวยืนยันกับเขาว่า สรอ. ยังคงดำเนินนโยบายให้เงินดอลลาร์ แข็งค่าไม่เปลี่ยนแปลง (รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของจีนในเดือน เม.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เทียบต่อปี สอดคล้องกับที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ รายงานจาก
ปักกิ่ง เมื่อ 12 พ.ค.49 สำนักงานสถิติจีน เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของจีนในเดือน เม.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เทียบต่อปี จากร้อยละ
0.8 ในเดือน มี.ค.49 ซึ่งสอดคล้องกับที่ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์ประมาณการก่อนหน้านี้ และหากไม่นับรวมราคาอาหาร หรือที่เรียกว่า
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เทียบต่อปี (ราคาอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8) สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคในรอบ 4 เดือนแรกของ
ปี 49 (ม.ค.-เม.ย.) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยปี 48 ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 1.8 จากร้อยละ
3.9 ในปี 47 (รอยเตอร์)
4. ยอดขายของห้างสรรพสินค้าในเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 ต่อปีในเดือน เม.ย.49 สูงสุดในรอบ 3 เดือน รายงานจากโซล
เมื่อ 15 พ.ค.49 ก.พาณิชย์เกาหลีใต้รายงานยอดขายของห้างสรรพสินค้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 3 แห่งของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 ในเดือน
เม.ย.49 เมื่อเทียบกับปีก่อน สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค.49 ที่มียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 ต่อปี เนื่องจากอยู่ในช่วงเทศกาลตรุษจีน หลังจาก
เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 ในเดือน มี.ค.49 โดยยอดขายที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่ในเดือน เม.ย.49 มาจากสินค้าฟุ่มเฟือยและโทรทัศน์จอแบน ยอดขายที่เพิ่มขึ้น
ได้ช่วยคลายความกังวลว่าความต้องการในประเทศอาจกำลังชะลอตัว หลังจากค่าเงินวอนและราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและผลสำรวจในเดือน เม.ย.49
ชี้ว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือน โดยเมื่อวันที่ 11 พ.ค.49 ที่ผ่านมา
ธ.กลางเกาหลีใต้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปีเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันสะท้อนความกังวลว่าเศรษฐกิจอาจกำลังชะลอตัวลง
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 15 พ.ค. 49 11 พ.ค. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.787 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.5978/37.8796 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.84719 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 782.50/ 16.40 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,850/12,950 12,550/12,650 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 64.74 66.04 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์ เมื่อ 5 พ.ค. 49 28.84*/26.19* 28.84*/26.19* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ยอดสินเชื่อคงค้างในช่วงไตรมาสแรกปี 49 เพิ่มขึ้นประมาณ 1 แสน ล.บาท รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า สายนโยบายสถาบันการเงินของ ธปท.ได้รายงานตัวเลขเงินให้สินเชื่อแยกตามประเภทธุรกิจ ณ สิ้นเดือน มี.ค.49 โดยมี
ยอดสินเชื่อคงค้างทั้งระบบ 5,784,783 ล.บาท เทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปีที่ผ่านมาที่มียอดสินเชื่อคงค้าง 5,681,451 ล.บาท หรือเพิ่มขึ้น
103,332 ล.บาท โดยภาคธุรกิจที่มียอดสินเชื่อมากที่สุด คือ ภาคการผลิตมียอดสินเชื่อทั้งสิ้น 1,539,550 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า
14,063 ล.บาท รองลงมาคือ การอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลมียอดสินเชื่อ 1,043,773 ล.บาท เพิ่มขึ้น 20,947 ล.บาท ทั้งนี้ ในระยะต่อไป
หากแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวลง อาจจะกระทบกับความสามารถในการขยายสินเชื่อและคุณภาพของสินเชื่อ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปรับตัวสูง
ขึ้นและภาระดอกเบี้ยจ่ายที่เร่งตัวขึ้นทั้งจากผลของการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเมื่อปลายปี 48 ที่มีผลเต็มที่มากขึ้น และการปรับเพิ่มขึ้นในไตรมาส
แรกของปีนี้ ซึ่งจะส่งผลในระยะต่อไป และกดดันให้ ธพ.จำเป็นต้องปรับตัวในการดำเนินงานและระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อมากยิ่งขึ้น
(ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, ไทยโพสต์)
2. อัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอล นายทำนอง ดาศรี ผู้อำนวยการฝ่ายปรับปรุง
โครงสร้างหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่มีแรงกดดันจากทิศทางอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น และราคา
น้ำมันที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบให้หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม เอ็นพีแอลในระบบขณะนี้มีการลดลง
อย่างต่อเนื่อง และ ธปท.ยังคงจับตาดูทั้งหนี้เสียที่อาจไหลย้อนกลับมาในระบบและหนี้ที่จะเกิดขึ้นใหม่ นอกจากนี้ จากการรับซื้อเอ็นพีแอลและสินทรัพย์
รอการขาย (เอ็นพีเอ) ของบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) ไปบริหารต่อและสามารถสร้างยอดขายได้ดี พร้อมทั้งความ
เข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของ ธพ. จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้โครงสร้างของเอ็นพีแอลในระบบลดลงได้ รวมถึงจากกรณีที่มีเงินทุนไหลเข้ามาใน
ประเทศไทยก็อาจมีส่วนช่วยส่งเสริมให้ผู้ลงทุนมีเงินไปลงทุนได้มากขึ้น ลดโอกาสการเกิดหนี้เสียให้น้อยลง ทั้งนี้ สายนโยบายการเงิน ธปท. ได้ราย
งานตัวเลขเอ็นพีแอลของระบบสถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือน มี.ค.49 ว่ามีเอ็นพีแอลทั้งสิ้น 473,000.81 ล.บาท หรือคิดเป็น 7.97% ของสินเชื่อ
รวม ลดลง 0.19% จากไตรมาสก่อนหน้า (ผู้จัดการรายวัน, ไทยโพสต์)
3. สศช.เตรียมปรับปรุงสมมติฐานของปัจจัยที่ใช้ในการคำนวณประมาณการจีดีพีปี 49 ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ในการประกาศผลตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส
1 ปี 49 และแนวโน้มปี 49 ในวันที่ 6 มิ.ย.นี้ สศช.เตรียมปรับปรุงสมมติฐานของปัจจัยต่างๆ ที่ใช้ในการคำนวณประมาณการจีดีพีปี 49 ใหม่ ทั้ง
ราคาน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อ การส่งออก ค่าเงินบาท การลงทุน และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด โดยไม่ได้ระบุว่าจะมีการปรับประมาณการตัวเลขการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 49 หรือไม่ จากเดิมที่ประมาณการว่าจะขยายตัวที่ระดับ 4.5-5.5% (กรุงเทพธุรกิจ)
4. คาดว่าการลงทุนจากต่างประเทศในช่วงปี 49 จะเติบโตตามเป้าหมาย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม
เปิดเผยว่า ภาพรวมการลงทุนของประเทศไทยในส่วนของการขอรับการส่งเสริมการลงทุนผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)
ในช่วง 2 ไตรมาสที่เหลือของปี 49 เชื่อว่าจะขยายตัวต่อเนื่องและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 800,000 ล.บาท โดยปัญหาทางการเมืองคง
ไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะทำให้การลงทุนจากต่างประเทศของไทยลดลง แต่ปัจจัยที่จะส่งผลกระทบคือภาวะเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน
เพราะทั่วโลกต่างเผชิญกับแรงกดดันของราคาน้ำมันที่อาจทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะประเทศของผู้ลงทุนหลักๆ อาทิ ญี่ปุ่น สรอ.
สหภาพยุโรป มีอัตราการเติบโตที่ลดลง ซึ่งจะทำให้การลงทุนในต่างประเทศลดลงตามไปด้วย ทั้งนี้ เลขาธิการบีโอไอ เปิดเผยว่า ในช่วง
4 เดือนแรกของปี (ม.ค.-เม.ย.49) บีโอไออนุมัติโครงการลงทุน 396 โครงการ วงเงินลงทุน 120,000 ล.บาท ถือว่าเป็นระดับที่เหมาะสม
กับสถานการณ์เศรษฐกิจโลก โดยญี่ปุ่นเป็นกลุ่มทุนอันดับ 1 ที่เข้ามาลงทุนในไทย และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ ระบบ
สาธารณูปโภค ปิโตรเคมี ยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนเป็นอันดับต้นๆ ของไทย (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าจีดีพีของอังกฤษช่วง ก.พ.-เม.ย.49 ขยายตัวร้อยละ 0.6 รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่
12 พ.ค.49 National Institute of Economic and Social Research (NIESR) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของอังกฤษในช่วงเดือน
ก.พ. — เม.ย.49 จะขยายร้อยละ 0.6 ซึ่งเป็นไปตามแนวทางเดียวกับข้อมูลของทางการที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ โดยเศรษฐกิจจะเติบโต
อย่างมั่นคงในขณะที่มีแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้ออันอาจทำให้เกิดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ โดย NIESR คาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ในระยะเวลาอันใกล้นี้ ทั้งนี้ ธ.กลางอังกฤษได้คงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับร้อยละ 4.5 เป็นเวลา 9 เดือนแล้ว แต่ได้มีการส่งสัญญาณบางอย่าง
ผ่านการพยากรณ์เศรษฐกิจและภาวะเงินเฟ้อรายไตรมาสในสัปดาห์นี้ว่า อาจจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเล็กน้อยเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่
ในระดับเป้าหมายที่ร้อยละ 2.0 ขณะที่ตลาดเงินได้เตรียมพร้อมรับความเป็นไปได้อย่างสูงของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้แล้ว หลังจากที่ผล
สำรวจทางธุรกิจจำนวนมากปรับตัวดีขึ้นและข้อมูลของทางการก็แสดงให้เห็นว่าภาคการผลิตและตลาดอสังหาริมทรัพย์มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดย
ผลผลิตจากโรงงานในเดือน มี.ค.49 ขยายตัวเร็วที่สุดในรอบเกือบ 1 ปี ขณะที่ตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสแรกปีนี้เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรก
ในรอบเกือบ 2 ปี (รอยเตอร์)
2. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 32.8 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่
15 พ.ค. 49 รมว. คลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ในเดือน มี.ค. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ที่ระดับ 2.3951 ล้าน ล้าน เยน (21.85 พัน ล. ดอลลาร์
สรอ.) ซึ่งเป็นตัวเลขก่อนปรับฤดูกาล หรือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 32.8 และมากกว่าผลการสำรวจโดยรอยเตอร์ที่คาดว่าในเดือน
มี.ค. ญี่ปุ่นจะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 10.9 อยู่ที่ระดับ 2.0 ล้าน ล้าน เยน ส่วนดุลการค้าเกินดุลลดลงจากช่วงเดียวกันปี
ก่อนที่ระดับ 1.1086 ล้าน ล้าน เยน หรือลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 6.0 อนึ่งนาย Sadakazu Tanigaki รมว. คลังญี่ปุ่นได้กล่าวในการประชุม
ระดับผู้นำทางธุรกิจที่โอซากาว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงขยายตัวดีแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยน
เงินตราต่างประเทศก็ตาม ขณะที่ รมว. คลัง สรอ.ได้กล่าวยืนยันกับเขาว่า สรอ. ยังคงดำเนินนโยบายให้เงินดอลลาร์ แข็งค่าไม่เปลี่ยนแปลง (รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของจีนในเดือน เม.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เทียบต่อปี สอดคล้องกับที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ รายงานจาก
ปักกิ่ง เมื่อ 12 พ.ค.49 สำนักงานสถิติจีน เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของจีนในเดือน เม.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เทียบต่อปี จากร้อยละ
0.8 ในเดือน มี.ค.49 ซึ่งสอดคล้องกับที่ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์ประมาณการก่อนหน้านี้ และหากไม่นับรวมราคาอาหาร หรือที่เรียกว่า
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เทียบต่อปี (ราคาอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8) สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคในรอบ 4 เดือนแรกของ
ปี 49 (ม.ค.-เม.ย.) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยปี 48 ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 1.8 จากร้อยละ
3.9 ในปี 47 (รอยเตอร์)
4. ยอดขายของห้างสรรพสินค้าในเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 ต่อปีในเดือน เม.ย.49 สูงสุดในรอบ 3 เดือน รายงานจากโซล
เมื่อ 15 พ.ค.49 ก.พาณิชย์เกาหลีใต้รายงานยอดขายของห้างสรรพสินค้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 3 แห่งของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 ในเดือน
เม.ย.49 เมื่อเทียบกับปีก่อน สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค.49 ที่มียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 ต่อปี เนื่องจากอยู่ในช่วงเทศกาลตรุษจีน หลังจาก
เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 ในเดือน มี.ค.49 โดยยอดขายที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่ในเดือน เม.ย.49 มาจากสินค้าฟุ่มเฟือยและโทรทัศน์จอแบน ยอดขายที่เพิ่มขึ้น
ได้ช่วยคลายความกังวลว่าความต้องการในประเทศอาจกำลังชะลอตัว หลังจากค่าเงินวอนและราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและผลสำรวจในเดือน เม.ย.49
ชี้ว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือน โดยเมื่อวันที่ 11 พ.ค.49 ที่ผ่านมา
ธ.กลางเกาหลีใต้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปีเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันสะท้อนความกังวลว่าเศรษฐกิจอาจกำลังชะลอตัวลง
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 15 พ.ค. 49 11 พ.ค. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.787 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.5978/37.8796 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.84719 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 782.50/ 16.40 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,850/12,950 12,550/12,650 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 64.74 66.04 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์ เมื่อ 5 พ.ค. 49 28.84*/26.19* 28.84*/26.19* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--