ราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 1.8 จากปีก่อนสินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่ สินค้าในหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร โดยเฉพาะน้ำมันเบนซินที่มีการปรับราคาขายปลีกในประเทศสูงขึ้นหลายครั้ง
6. การค้าชายแดน
การค้าชายแดนขยายตัวสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งปีก่อนประสบปัญหาทางการเมือง ทำให้การค้าชะงักไประยะหนึ่ง
6.1 การค้าชายแดนไทย-ลาว
ภาวะการค้าชายแดนไทย-ลาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือปี 2547 ยังคงขยายตัว โดยมีมูลค่าการค้าทั้งสิ้น 22,225.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 โดยมีรายละเอียดการส่งออกและการนำเข้าดังนี้
* การส่งออก 17,800.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าทุกหมวด
สินค้าอุปโภคบริโภค
ส่งออก 5,609.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.0 สินค้าสำคัญได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า 1,178.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 ยานพาหนะและอุปกรณ์ 1,490.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 สินค้าบริโภค (น้ำปลา น้ำตาล ผงชูรส ฯลฯ) 2,277.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.7 เนื่องจากกำลังซื้อของประชาชนลาวมีเพิ่มขึ้นจากสภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ดีขึ้น
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ
ส่งออก 1,931.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.9 สินค้าสำคัญได้แก่ ผ้าผืน644.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 เหล็กและเหล็กกล้า 549.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6
สินค้าทุน
ส่งออก 2,033.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 สินค้าสำคัญได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ 362.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.2 คอมพิวเตอร์ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ 210.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ส่วนวัสดุก่อสร้าง 1,235.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.2 วัสดุก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นการนำไปใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในประเทศสปป.ลาว ซึ่งโครงการดังกล่าวส่วนใหญ่ได้รับเงินกู้และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงอื่น
ส่งออก 3,188.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3
* การนำเข้า 4,424.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 สินค้าสำคัญยังคงเป็นไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 3,386 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ยานพาหนะและอุปกรณ์ 358.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวพืชไร่ 295.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว สินแร่ 110.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.7
* การค้าผ่านแดน
การค้าผ่านแดนไทยไปลาว 14,880.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว สินค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ 5,650.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าหกเท่าตัว รถยนต์- จักรยานยนต์และอะไหล่ 1,640.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 1,545.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว สุราต่างประเทศ 1,485.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.0 สินค้าสำคัญที่ลดลงได้แก่ อุปกรณ์ตัดเย็บ 1,116.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.2 บุหรี่ 1,012.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.5 สินค้าส่วนใหญ่ส่งมาจากประเทศ ออสเตรเลีย ไต้หวัน ฮ่องกง จีน และสิงคโปร์
การค้าผ่านแดนจากลาวไปประเทศที่สาม 7,277.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.1 สินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย 6,014.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.4 เมล็ดกาแฟดิบ 599.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.7 ไม้แปรรูป 353.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.5 สินค้าส่วนใหญ่ส่งไปยังตลาดอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และไต้หวัน
6.2 การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา
ภาวะการค้าชายแดนไทย-กัมพูชาผ่านด่านศุลกากรปี 2547 ยังคงขยายตัว มีมูลค่าการค้าทั้งสิ้น 23,711.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.0 มีรายละเอียดการส่งออกและ นำเข้าดังนี้
* การส่งออก 22,216.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.9 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าทุกหมวด ได้แก่
สินค้าอุปโภคบริโภค
ส่งออก 9,570.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.0 สินค้าสำคัญได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 3,117.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 89.5 และน้ำตาล 1,470.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 88.3
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ
ส่งออก 2,031.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 83.8 สินค้าสำคัญได้แก่ สิ่งทอ 1,055.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 89.0 พลาสติกและผลิตภัณฑ์ 399.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัว เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี 345.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.7
สินค้าทุน
ส่งออก 2,422.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 118.0 สินค้าสำคัญได้แก่ วัสดุก่อสร้าง ,204.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว เนื่องจากมีโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานในประเทศกัมพูชา ซึ่งโครงการส่วนใหญ่เป็นเงินกู้และเงินช่วยเหลือจาก ต่างประเทศ
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงอื่น
ส่งออก 1,801.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.4
* การนำเข้า 1,495.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.1 สินค้าสำคัญได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ (รวมหวาย) 196.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.6 และเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มใช้แล้ว 92.2 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนนำเข้าเพียง 2.4 ล้านบาท 7. แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2548
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2548 คาดว่ามีปัจจัยหลายด้านที่ทำให้ภาวะเศรษฐกิจขยายตัว ซึ่งได้แก่ การใช้จ่ายภาครัฐ โดยเฉพาะในโครงการก่อสร้างสิ่งสาธารณูปโภค โครงการกองทุนหมู่บ้าน การปรับลดภาษี อัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำแม้ว่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้น ราคาสินค้าเกษตรจะยังอยู่ในเกณฑ์ดี ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงขยายตัวจากการส่งเสริมของภาครัฐ การท่องเที่ยวขยายตัว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชื่อมโยงประเทศในกลุ่มอินโดจีน การค้าชายแดนยังมีทิศทางที่ขยายตัวสูง และการเลือกตั้งที่จะมีในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 จะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายภาคเอกชน
อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องพิจารณาด้านภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญมีแนวโน้มชะลอตัวลง ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังผันผวนแม้ว่าจะเป็นทิศทางที่ลดลง แต่กองทุนน้ำมันติดลบจำนวนมาก อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้น และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
6. การค้าชายแดน
การค้าชายแดนขยายตัวสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งปีก่อนประสบปัญหาทางการเมือง ทำให้การค้าชะงักไประยะหนึ่ง
6.1 การค้าชายแดนไทย-ลาว
ภาวะการค้าชายแดนไทย-ลาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือปี 2547 ยังคงขยายตัว โดยมีมูลค่าการค้าทั้งสิ้น 22,225.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 โดยมีรายละเอียดการส่งออกและการนำเข้าดังนี้
* การส่งออก 17,800.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าทุกหมวด
สินค้าอุปโภคบริโภค
ส่งออก 5,609.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.0 สินค้าสำคัญได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า 1,178.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 ยานพาหนะและอุปกรณ์ 1,490.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 สินค้าบริโภค (น้ำปลา น้ำตาล ผงชูรส ฯลฯ) 2,277.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.7 เนื่องจากกำลังซื้อของประชาชนลาวมีเพิ่มขึ้นจากสภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ดีขึ้น
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ
ส่งออก 1,931.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.9 สินค้าสำคัญได้แก่ ผ้าผืน644.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 เหล็กและเหล็กกล้า 549.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6
สินค้าทุน
ส่งออก 2,033.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 สินค้าสำคัญได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ 362.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.2 คอมพิวเตอร์ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ 210.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ส่วนวัสดุก่อสร้าง 1,235.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.2 วัสดุก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นการนำไปใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในประเทศสปป.ลาว ซึ่งโครงการดังกล่าวส่วนใหญ่ได้รับเงินกู้และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงอื่น
ส่งออก 3,188.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3
* การนำเข้า 4,424.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 สินค้าสำคัญยังคงเป็นไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 3,386 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ยานพาหนะและอุปกรณ์ 358.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวพืชไร่ 295.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว สินแร่ 110.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.7
* การค้าผ่านแดน
การค้าผ่านแดนไทยไปลาว 14,880.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว สินค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ 5,650.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าหกเท่าตัว รถยนต์- จักรยานยนต์และอะไหล่ 1,640.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 1,545.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว สุราต่างประเทศ 1,485.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.0 สินค้าสำคัญที่ลดลงได้แก่ อุปกรณ์ตัดเย็บ 1,116.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.2 บุหรี่ 1,012.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.5 สินค้าส่วนใหญ่ส่งมาจากประเทศ ออสเตรเลีย ไต้หวัน ฮ่องกง จีน และสิงคโปร์
การค้าผ่านแดนจากลาวไปประเทศที่สาม 7,277.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.1 สินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย 6,014.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.4 เมล็ดกาแฟดิบ 599.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.7 ไม้แปรรูป 353.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.5 สินค้าส่วนใหญ่ส่งไปยังตลาดอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และไต้หวัน
6.2 การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา
ภาวะการค้าชายแดนไทย-กัมพูชาผ่านด่านศุลกากรปี 2547 ยังคงขยายตัว มีมูลค่าการค้าทั้งสิ้น 23,711.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.0 มีรายละเอียดการส่งออกและ นำเข้าดังนี้
* การส่งออก 22,216.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.9 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าทุกหมวด ได้แก่
สินค้าอุปโภคบริโภค
ส่งออก 9,570.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.0 สินค้าสำคัญได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 3,117.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 89.5 และน้ำตาล 1,470.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 88.3
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ
ส่งออก 2,031.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 83.8 สินค้าสำคัญได้แก่ สิ่งทอ 1,055.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 89.0 พลาสติกและผลิตภัณฑ์ 399.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัว เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี 345.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.7
สินค้าทุน
ส่งออก 2,422.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 118.0 สินค้าสำคัญได้แก่ วัสดุก่อสร้าง ,204.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว เนื่องจากมีโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานในประเทศกัมพูชา ซึ่งโครงการส่วนใหญ่เป็นเงินกู้และเงินช่วยเหลือจาก ต่างประเทศ
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงอื่น
ส่งออก 1,801.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.4
* การนำเข้า 1,495.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.1 สินค้าสำคัญได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ (รวมหวาย) 196.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.6 และเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มใช้แล้ว 92.2 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนนำเข้าเพียง 2.4 ล้านบาท 7. แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2548
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2548 คาดว่ามีปัจจัยหลายด้านที่ทำให้ภาวะเศรษฐกิจขยายตัว ซึ่งได้แก่ การใช้จ่ายภาครัฐ โดยเฉพาะในโครงการก่อสร้างสิ่งสาธารณูปโภค โครงการกองทุนหมู่บ้าน การปรับลดภาษี อัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำแม้ว่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้น ราคาสินค้าเกษตรจะยังอยู่ในเกณฑ์ดี ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงขยายตัวจากการส่งเสริมของภาครัฐ การท่องเที่ยวขยายตัว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชื่อมโยงประเทศในกลุ่มอินโดจีน การค้าชายแดนยังมีทิศทางที่ขยายตัวสูง และการเลือกตั้งที่จะมีในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 จะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายภาคเอกชน
อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องพิจารณาด้านภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญมีแนวโน้มชะลอตัวลง ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังผันผวนแม้ว่าจะเป็นทิศทางที่ลดลง แต่กองทุนน้ำมันติดลบจำนวนมาก อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้น และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--