นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้เปิดเผยถึงผลการจัด
การสัมมนาวิชาการเวทีสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ภายใต้โครงการขยายบทบาทสำนักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาค เรื่อง “จากความร่วมมือลุ่มน้ำโขง สู่โอกาสสร้างนวัตกรรมภูมิภาค” ที่ได้จัดขึ้นในช่วงบ่ายวันจันทร์ที่ 4 กันยายน 2549 ณ ห้องออคิด บอลรูม โรงแรมโซฟิเทล ราชา ออคิด ขอนแก่น
จังหวัดขอนแก่น
การจัดสัมมนาในช่วงบ่ายนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจถึง
บทบาทของประเทศไทยในการกระจายความเจริญสู่อนุภาคหรือประเทศเพื่อนบ้านผ่านกรอบความร่วมมือ
ที่สำคัญๆ โดยเฉพาะกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี — เจ้าพระยา — แม่โขง (Ayeyawady — Chao Phraya — Mekong Economic Cooperation Strategy หรือ ACMECS) และ กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Subregion หรือ GMS) โดยนายนริศฯ กล่าวว่า การให้ความสนใจกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นนโยบายที่สำคัญในการพัฒนาประเทศไทย โดยเล็งเห็นว่าประเทศ
เพื่อนบ้านจะเป็นแหล่งวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตที่สำคัญของประเทศไทยในอนาคต และเป็นจุดกระจาย
การส่งออกสินค้าของประเทศไทยไปยังประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศจีน นอกจากนี้ ยังช่วยลดปัญหาแรงงานอพยพ และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนส่งเสริมเศรษฐกิจภูมิภาค
ทั้งทางด้านการเกษตรและโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจต่างๆ
การสัมมนาวิชาการในครั้งนี้มีผู้สนใจทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และนักวิชาการเข้าร่วม
เป็นจำนวนมาก โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมาบรรยายให้ความรู้แบ่งออกเป็น 2 รอบ รอบแรกบรรยายโดยวิทยากร 3 ท่าน ได้แก่ นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
นายสุทธิพร จีระพันธุ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายสุรพล เพชรวรา รองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ได้กล่าวถึงบทบาทหลักของกระทรวงการคลังในการสร้าง
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านให้มากขึ้นผ่านทางนโยบายด้านการคลังและ
การให้ความช่วยเหลือทางการเงินสนับสนุนทางการเงิน โดยนโยบายด้านการคลังที่สำคัญ ได้แก่ การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศเพื่อนบ้าน (ASEAN Integration System of Preferences: AISP) โดยการลดภาษีศุลกากรขาเข้าของสินค้าที่นำเข้าจากลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม ในอัตราร้อยละ 0 — 5 ซึ่งการให้ AISP จะทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าของไทยต่ำลงเนื่องจากมีการนำเข้าวัตถุดิบที่เป็นปัจจัยสำคัญในการผลิต และยังเป็นการส่งเสริมการจ้างงานในประเทศเพื่อนบ้านทำให้ลดปัญหาการอพยพของแรงงานต่างด้าว นอกจากนี้ ยังมีนโยบายการให้ความช่วยเหลือทางการเงินที่สำคัญได้แก่การจัดตั้งสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (สพพ.) ในรูปขององค์การมหาชน เพื่อให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านด้านการเงินและวิชาการผ่านโครงการต่างๆ โดยมีโครงการที่สำคัญในประเทศลาว อาทิ โครงการก่อสร้างเส้นทางเชียงราย-คุนหมิง ผ่านประเทศลาว (โครงการ R-3) ซึ่งเป็นการให้สินเชื่อร่วมกันกับจีนและธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) โครงการพัฒนาเส้นทางห้วยโก๋น-ปากแบ่ง และโครงการเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อระหว่างจังหวัดหนองคาย-ท่านาแล้ง เป็นต้น
นายสุทธิพร จีระพันธุ์ ได้บรรยายในรายละเอียดของการดำเนินโครงการการลงทุนทำการเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming) ภายใต้กรอบ ACMECS ซึ่ง Contract Farming เป็นการทำสัญญาระหว่างบริษัทเอกชน (ผู้ซื้อ) กับเกษตรกร (ผู้ขาย) โดยทั้งสองฝ่ายจัดทำสัญญาที่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับราคาผลผลิต ปริมาณที่จะรับซื้อก่อนเกิดผลผลิตจริง หรือเงื่อนไขอื่นๆ ตามแต่ตกลง ทั้งนี้ พืชที่ได้รับการส่งเสริมจะเน้นพืชที่ประเทศไทยขาดแคลน อาทิ ปาล์มน้ำมัน อ้อย มันสำปะหลัง ซึ่งเป็นพืชทดแทนด้านพลังงาน และ ถั่วเหลือง ซึ่งประเทศไทยมีการนำเข้าค่อนข้างสูง
นายสุรพล เพชรวรา ได้นำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยได้บ่งชี้ว่าประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย มีความแตกต่างกันในเรื่องของระบบการปกครอง ระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ และสภาพสังคม ขณะที่มีความเหมือนกันในเรื่องของเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านมีตัวแปรหลักในการดำเนินความสัมพันธ์ ได้แก่ รัฐบาล หน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาชน สื่อมวลชน ท่าทีและสถานการณ์ของประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงโอกาสของไทยในการดำเนินการการค้าและ
การลงทุนในลาว โดยมองว่าไทยกับลาวมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นมาก และไทยได้มีการลงทุนในลาวช่วงปี 2531 — 2548 จำนวนกว่า 289 โครงการ โดยมีมูลค่ากว่า 2.75 พันล้านเหรียญสหรัฐ
การบรรยายในรอบที่สองนำเสนอโดยวิทยากร 3 ท่าน ได้แก่ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นายอร่าม ก้อนสมบัติ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม และนายบุญเลิศ บูรณศักดา รองประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น โดยเน้นถึงรายละเอียดโครงการกับประเทศเพื่อนบ้าน การพัฒนาและการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ ได้บรรยายในรายละเอียดของกรอบความร่วมมือ ACMECS และ GMS ที่รัฐบาลไทยได้กำหนดเป็นนโยบายหลักเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การจ้างงานและ
การกระจายรายได้ให้แก่ประชาชนตามแนวชายแดน รวมถึงการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตามแนวคิดการเชื่อมโยงแนวเศรษฐกิจ (Economic Corridor) โดยได้ยกตัวอย่างโครงการความร่วมมือระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพม่า ลาว และกัมพูชา อาทิ โครงการเขตเศรษฐกิจชายแดน 2 แห่ง ที่จังหวัดเชียงราย และจังหวัดตาก ซึ่งไทยได้ให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ เช่น การศึกษาความเหมาะสมเพื่อการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจ/นิคมอุตสาหกรรม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น เพื่อเป็นประตูรองรับการเชื่อมโยงแนวเศรษฐกิจที่สำคัญต่อไป นอกจากนี้ ยังเน้นถึงความสำคัญในการสร้างความเชื่อมโยงด้านคมนาคมและการอำนวยความสะดวกเพื่อการผ่านแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน การส่งเสริมการท่องเที่ยว ตลอดจนความร่วมมือในการพัฒนาด้านสาธารณสุขและ
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสการลงทุนธุรกิจต่อเนื่องและนำไปสู่การแก้ไขปัญหา
ความยากจน เป็นต้น
นายอร่าม ก้อนสมบัติ ได้บรรยายเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้านโดยได้นำเสนอประเด็นปัญหาและการวิเคราะห์กลยุทธ์สำหรับการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทยซึ่งประกอบด้วยกลยุทธ์ 3 ด้าน กล่าวคือ 1) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ การสร้างทางหลวง
ทางรถไฟ และทางน้ำ เชื่อมโยงระหว่างไทยกับเพื่อนบ้าน เป็นต้น 2) การจัดการด้านระบบโลจิสติกส์ภายในประเทศ อาทิ การพัฒนาโครงข่ายถนน โครงข่ายทางรถไฟ โครงข่ายการขนส่งทางน้ำและชายฝั่ง โครงข่ายการขนส่งทางอากาศ รวมทั้งให้มีจุดเชื่อมโยงการขนส่งทั้งด้านการขนส่งบุคคลและสินค้า เป็นต้น
และ 3) การพัฒนาด้านการขนส่งข้ามแดนระหว่างประเทศ อาทิ การผลักดันโครงการตั้งศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One Stop Services: OSS) เพื่อให้การบริการด้านศุลกากร ตรวจคนเข้าเมือง และการกักกันพืชอยู่ในจุดเดียวกัน เป็นต้น ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมจะพิจารณาผลักดันนำกลยุทธ์ทั้ง 3 ด้าน ไปกำหนดเป็นแผนงาน/โครงการของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งผลักดันให้ใช้เป็นกรอบแนวคิดในการเจรจาด้านคมนาคมขนส่งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีต่อไปด้วย
นายบุญเลิศ บูรณศักดา ในฐานะผู้แทนจากภาคเอกชนได้หยิบยกมุมมองของภาคเอกชน
ในขอนแก่นต่อการค้าการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเน้นถึงจุดอ่อนที่ประสบปัญหา อาทิ การขาดความรู้ ประสบการณ์ ความชำนาญในการทำธุรกิจ และการสร้างโอกาสในด้านต่างๆ เป็นต้น หากแต่ภาคเอกชนก็พยายามแปลงจุดอ่อนดังกล่าวให้กลายเป็นจุดแข็งที่นำไปสู่ความสำเร็จต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกำหนดเป้าหมายให้สังคมธุรกิจในขอนแก่นเป็นหน่วยธุรกิจที่สามารถปรับตัวรับกับความเปลี่ยนแปลงได้อย่าง
ทันการณ์ (Real Time Enterprises) นอกจากนี้ ยังได้เสนอข้อคิดเห็นแก่ภาครัฐในการส่งเสริมและช่วยเหลือให้ภาคเอกชนสามารถนำไปสู่ปัจจัยแห่งความสำเร็จในอนาคต อาทิ การลงทุนจัดหาโปรแกรมสำเร็จรูปทางธุรกิจให้เอกชนใช้อย่างทั่วถึง การจัดสรรบุคลากรของภาครัฐที่มีความรู้ความสามารถมาให้การฝึกอบรมแก่เอกชนอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง เป็นต้น
การจัด FPO Forum เพื่อขยายบทบาทของสำนักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาคในครั้งนี้ นับเป็นครั้งที่ 3 หลังจากที่ได้มีการจัดเป็นครั้งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่ และครั้งที่สองจังหวัดสงขลา ซึ่งการเลือกจัดสัมมนาที่จังหวัดขอนแก่นในครั้งนี้ เนื่องจากจังหวัดขอนแก่นเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจและการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และยังเป็นจุดเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมที่สำคัญของไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 18/2549 5 กันยายน 2549--
การสัมมนาวิชาการเวทีสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ภายใต้โครงการขยายบทบาทสำนักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาค เรื่อง “จากความร่วมมือลุ่มน้ำโขง สู่โอกาสสร้างนวัตกรรมภูมิภาค” ที่ได้จัดขึ้นในช่วงบ่ายวันจันทร์ที่ 4 กันยายน 2549 ณ ห้องออคิด บอลรูม โรงแรมโซฟิเทล ราชา ออคิด ขอนแก่น
จังหวัดขอนแก่น
การจัดสัมมนาในช่วงบ่ายนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจถึง
บทบาทของประเทศไทยในการกระจายความเจริญสู่อนุภาคหรือประเทศเพื่อนบ้านผ่านกรอบความร่วมมือ
ที่สำคัญๆ โดยเฉพาะกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี — เจ้าพระยา — แม่โขง (Ayeyawady — Chao Phraya — Mekong Economic Cooperation Strategy หรือ ACMECS) และ กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Subregion หรือ GMS) โดยนายนริศฯ กล่าวว่า การให้ความสนใจกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นนโยบายที่สำคัญในการพัฒนาประเทศไทย โดยเล็งเห็นว่าประเทศ
เพื่อนบ้านจะเป็นแหล่งวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตที่สำคัญของประเทศไทยในอนาคต และเป็นจุดกระจาย
การส่งออกสินค้าของประเทศไทยไปยังประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศจีน นอกจากนี้ ยังช่วยลดปัญหาแรงงานอพยพ และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนส่งเสริมเศรษฐกิจภูมิภาค
ทั้งทางด้านการเกษตรและโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจต่างๆ
การสัมมนาวิชาการในครั้งนี้มีผู้สนใจทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และนักวิชาการเข้าร่วม
เป็นจำนวนมาก โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมาบรรยายให้ความรู้แบ่งออกเป็น 2 รอบ รอบแรกบรรยายโดยวิทยากร 3 ท่าน ได้แก่ นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
นายสุทธิพร จีระพันธุ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายสุรพล เพชรวรา รองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ได้กล่าวถึงบทบาทหลักของกระทรวงการคลังในการสร้าง
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านให้มากขึ้นผ่านทางนโยบายด้านการคลังและ
การให้ความช่วยเหลือทางการเงินสนับสนุนทางการเงิน โดยนโยบายด้านการคลังที่สำคัญ ได้แก่ การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศเพื่อนบ้าน (ASEAN Integration System of Preferences: AISP) โดยการลดภาษีศุลกากรขาเข้าของสินค้าที่นำเข้าจากลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม ในอัตราร้อยละ 0 — 5 ซึ่งการให้ AISP จะทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าของไทยต่ำลงเนื่องจากมีการนำเข้าวัตถุดิบที่เป็นปัจจัยสำคัญในการผลิต และยังเป็นการส่งเสริมการจ้างงานในประเทศเพื่อนบ้านทำให้ลดปัญหาการอพยพของแรงงานต่างด้าว นอกจากนี้ ยังมีนโยบายการให้ความช่วยเหลือทางการเงินที่สำคัญได้แก่การจัดตั้งสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (สพพ.) ในรูปขององค์การมหาชน เพื่อให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านด้านการเงินและวิชาการผ่านโครงการต่างๆ โดยมีโครงการที่สำคัญในประเทศลาว อาทิ โครงการก่อสร้างเส้นทางเชียงราย-คุนหมิง ผ่านประเทศลาว (โครงการ R-3) ซึ่งเป็นการให้สินเชื่อร่วมกันกับจีนและธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) โครงการพัฒนาเส้นทางห้วยโก๋น-ปากแบ่ง และโครงการเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อระหว่างจังหวัดหนองคาย-ท่านาแล้ง เป็นต้น
นายสุทธิพร จีระพันธุ์ ได้บรรยายในรายละเอียดของการดำเนินโครงการการลงทุนทำการเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming) ภายใต้กรอบ ACMECS ซึ่ง Contract Farming เป็นการทำสัญญาระหว่างบริษัทเอกชน (ผู้ซื้อ) กับเกษตรกร (ผู้ขาย) โดยทั้งสองฝ่ายจัดทำสัญญาที่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับราคาผลผลิต ปริมาณที่จะรับซื้อก่อนเกิดผลผลิตจริง หรือเงื่อนไขอื่นๆ ตามแต่ตกลง ทั้งนี้ พืชที่ได้รับการส่งเสริมจะเน้นพืชที่ประเทศไทยขาดแคลน อาทิ ปาล์มน้ำมัน อ้อย มันสำปะหลัง ซึ่งเป็นพืชทดแทนด้านพลังงาน และ ถั่วเหลือง ซึ่งประเทศไทยมีการนำเข้าค่อนข้างสูง
นายสุรพล เพชรวรา ได้นำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยได้บ่งชี้ว่าประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย มีความแตกต่างกันในเรื่องของระบบการปกครอง ระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ และสภาพสังคม ขณะที่มีความเหมือนกันในเรื่องของเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านมีตัวแปรหลักในการดำเนินความสัมพันธ์ ได้แก่ รัฐบาล หน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาชน สื่อมวลชน ท่าทีและสถานการณ์ของประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงโอกาสของไทยในการดำเนินการการค้าและ
การลงทุนในลาว โดยมองว่าไทยกับลาวมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นมาก และไทยได้มีการลงทุนในลาวช่วงปี 2531 — 2548 จำนวนกว่า 289 โครงการ โดยมีมูลค่ากว่า 2.75 พันล้านเหรียญสหรัฐ
การบรรยายในรอบที่สองนำเสนอโดยวิทยากร 3 ท่าน ได้แก่ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นายอร่าม ก้อนสมบัติ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม และนายบุญเลิศ บูรณศักดา รองประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น โดยเน้นถึงรายละเอียดโครงการกับประเทศเพื่อนบ้าน การพัฒนาและการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ ได้บรรยายในรายละเอียดของกรอบความร่วมมือ ACMECS และ GMS ที่รัฐบาลไทยได้กำหนดเป็นนโยบายหลักเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การจ้างงานและ
การกระจายรายได้ให้แก่ประชาชนตามแนวชายแดน รวมถึงการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตามแนวคิดการเชื่อมโยงแนวเศรษฐกิจ (Economic Corridor) โดยได้ยกตัวอย่างโครงการความร่วมมือระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพม่า ลาว และกัมพูชา อาทิ โครงการเขตเศรษฐกิจชายแดน 2 แห่ง ที่จังหวัดเชียงราย และจังหวัดตาก ซึ่งไทยได้ให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ เช่น การศึกษาความเหมาะสมเพื่อการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจ/นิคมอุตสาหกรรม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น เพื่อเป็นประตูรองรับการเชื่อมโยงแนวเศรษฐกิจที่สำคัญต่อไป นอกจากนี้ ยังเน้นถึงความสำคัญในการสร้างความเชื่อมโยงด้านคมนาคมและการอำนวยความสะดวกเพื่อการผ่านแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน การส่งเสริมการท่องเที่ยว ตลอดจนความร่วมมือในการพัฒนาด้านสาธารณสุขและ
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสการลงทุนธุรกิจต่อเนื่องและนำไปสู่การแก้ไขปัญหา
ความยากจน เป็นต้น
นายอร่าม ก้อนสมบัติ ได้บรรยายเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้านโดยได้นำเสนอประเด็นปัญหาและการวิเคราะห์กลยุทธ์สำหรับการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทยซึ่งประกอบด้วยกลยุทธ์ 3 ด้าน กล่าวคือ 1) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ การสร้างทางหลวง
ทางรถไฟ และทางน้ำ เชื่อมโยงระหว่างไทยกับเพื่อนบ้าน เป็นต้น 2) การจัดการด้านระบบโลจิสติกส์ภายในประเทศ อาทิ การพัฒนาโครงข่ายถนน โครงข่ายทางรถไฟ โครงข่ายการขนส่งทางน้ำและชายฝั่ง โครงข่ายการขนส่งทางอากาศ รวมทั้งให้มีจุดเชื่อมโยงการขนส่งทั้งด้านการขนส่งบุคคลและสินค้า เป็นต้น
และ 3) การพัฒนาด้านการขนส่งข้ามแดนระหว่างประเทศ อาทิ การผลักดันโครงการตั้งศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One Stop Services: OSS) เพื่อให้การบริการด้านศุลกากร ตรวจคนเข้าเมือง และการกักกันพืชอยู่ในจุดเดียวกัน เป็นต้น ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมจะพิจารณาผลักดันนำกลยุทธ์ทั้ง 3 ด้าน ไปกำหนดเป็นแผนงาน/โครงการของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งผลักดันให้ใช้เป็นกรอบแนวคิดในการเจรจาด้านคมนาคมขนส่งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีต่อไปด้วย
นายบุญเลิศ บูรณศักดา ในฐานะผู้แทนจากภาคเอกชนได้หยิบยกมุมมองของภาคเอกชน
ในขอนแก่นต่อการค้าการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเน้นถึงจุดอ่อนที่ประสบปัญหา อาทิ การขาดความรู้ ประสบการณ์ ความชำนาญในการทำธุรกิจ และการสร้างโอกาสในด้านต่างๆ เป็นต้น หากแต่ภาคเอกชนก็พยายามแปลงจุดอ่อนดังกล่าวให้กลายเป็นจุดแข็งที่นำไปสู่ความสำเร็จต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกำหนดเป้าหมายให้สังคมธุรกิจในขอนแก่นเป็นหน่วยธุรกิจที่สามารถปรับตัวรับกับความเปลี่ยนแปลงได้อย่าง
ทันการณ์ (Real Time Enterprises) นอกจากนี้ ยังได้เสนอข้อคิดเห็นแก่ภาครัฐในการส่งเสริมและช่วยเหลือให้ภาคเอกชนสามารถนำไปสู่ปัจจัยแห่งความสำเร็จในอนาคต อาทิ การลงทุนจัดหาโปรแกรมสำเร็จรูปทางธุรกิจให้เอกชนใช้อย่างทั่วถึง การจัดสรรบุคลากรของภาครัฐที่มีความรู้ความสามารถมาให้การฝึกอบรมแก่เอกชนอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง เป็นต้น
การจัด FPO Forum เพื่อขยายบทบาทของสำนักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาคในครั้งนี้ นับเป็นครั้งที่ 3 หลังจากที่ได้มีการจัดเป็นครั้งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่ และครั้งที่สองจังหวัดสงขลา ซึ่งการเลือกจัดสัมมนาที่จังหวัดขอนแก่นในครั้งนี้ เนื่องจากจังหวัดขอนแก่นเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจและการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และยังเป็นจุดเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมที่สำคัญของไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 18/2549 5 กันยายน 2549--