กรุงเทพ--30 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ในช่วงระยะประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา สถาบันระดับโลกด้านการจัดลำดับความน่าเชื่อถือและวัดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจหลายแห่ง อาทิ Standard & Poor’s (S&P) แห่งสหรัฐอเมริกา Fitch Ratings แห่งสหรัฐอเมริกา และ Japan Credit Rating Agency (JCR) แห่งญี่ปุ่น ได้ปรับการจัดลำดับความน่าเชื่อถือของเศรษฐกิจไทยใหม่ให้ดีขึ้น
ผู้สังเกตการณ์ชาวต่างประเทศได้เคยแสดงความกังวลเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย และสถาบันเหล่านี้ก็เคยกำหนดให้ไทยมีสถานะเป็นลบ (Negative) และอยู่ในกลุ่มประเทศที่ต้องเฝ้าระวัง (Credit Watch) เนื่องจากกรณีรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน ทำให้สถาบันดังกล่าวเห็นว่ามีความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน และประสิทธิภาพในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล
บัดนี้ สถาบันทั้งสามแห่ง (Fitch, S&P, JCR) เห็นว่า สถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองของไทยได้คลี่คลายไปในทางที่ดีแล้ว ทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้น จึงได้ถอนสถานะ Credit Watch “Negative” ที่เคยให้ไว้กับไทยออก และเห็นว่าภาพรวมของไทย “มีเสถียรภาพ” (Stable) กับได้ ประกาศคงความน่าเชื่อถือของประเทศไทยต่อไป ดังรายละเอียดดังนี้
1. ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม 2549 Fitch ได้จัดลำดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรที่ไทยออกเป็นสกุลเงินต่างชาติ (ระยะยาว) ในระดับ BBB+ และความน่าเชื่อถือของพันธบัตรที่ไทยออกเป็นสกุลเงินบาท (ระยะยาว) ที่ระดับ A ส่วนพันธบัตรระยะสั้นของไทย สกุลเงินต่างชาติ และสกุลเงินบาทมีความน่าเชื่อถือในระดับ F2
2. ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2549 S&P ได้จัดลำดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรที่ไทยออกเป็นสกุลเงินต่างชาติ (ระยะยาว) ในระดับ BBB+ และความน่าเชื่อถือของพันธบัตรที่ไทยออกเป็นสกุลเงินบาท (ระยะยาว) ที่ระดับ A ส่วนพันธบัตรระยะสั้นของไทย สกุลเงินต่างชาติ มีความน่าเชื่อถืออยู่ที่ระดับ A-2 สกุลเงินบาท ที่ระดับ A-1
3. ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2549 JCR ได้จัดลำดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรที่ไทยออกเป็นสกุลเงินต่างชาติ ระยะยาว ที่ระดับ A- และสกุลเงินบาท ที่ระดับ A+ (พันธบัตรระยะสั้นไม่มีการจัดลำดับ)
4. อนึ่ง ในช่วงระยะเดียวกันนี้ (เดือนพฤศจิกายน 2549) หอการค้าสหรัฐฯ (The U.S. Chamber of Commerce) ก็ได้ออกเอกสารนโยบาย (Policy paper) เรื่อง “Southeast Asia: Dynamic Opportunities for U.S. Competitiveness” ปี ค.ศ. 2006-2007 ระบุว่า การยึดอำนาจในประเทศไทยเมื่อเดือนกันยายนเป็นไปอย่างสงบ ปราศจากการเสียเลือดเนื้อ และว่า สถานการณ์ทางการเมืองในไทยมีผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจค่อนข้างน้อย และเศรษฐกิจของประเทศไทยยังคงมีเสถียรภาพและน่าลงทุนอยู่
รัฐบาลจะเร่งดำเนินการชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจในประเทศไทย และเพื่อส่งเสริมความมั่นใจที่นักลงทุนต่างชาติมีต่อประเทศไทยต่อไป โดยที่ผ่านมาได้ใช้โอกาสต่างๆ เช่น การพบสื่อมวลชนต่างชาติของนายกรัฐมนตรีที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศในประเทศไทย (FCCT) การชี้แจงต่อผู้นำประเทศอาเซียนและจีนในโอกาสที่นายกรัฐมนตรีไปเยือนประเทศต่างๆ เหล่านั้น การอธิบายต่อผู้นำสหรัฐฯ และผู้นำของระบบเศรษฐกิจต่างๆ ที่เป็นสมาชิก APEC ในโอกาสการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC ที่กรุงฮานอย เป็นต้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเพิ่งได้รับเชิญจาก World Economic Forum (WEF) ซึ่งมีที่ตั้ง ณ นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ให้ไปกล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุม WEF ประจำปีที่เมืองดาโวส สวิตเซอร์แลนด์ ในช่วงปลายเดือนมกราคมปีหน้า (2550) และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาเรื่องนี้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ในช่วงระยะประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา สถาบันระดับโลกด้านการจัดลำดับความน่าเชื่อถือและวัดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจหลายแห่ง อาทิ Standard & Poor’s (S&P) แห่งสหรัฐอเมริกา Fitch Ratings แห่งสหรัฐอเมริกา และ Japan Credit Rating Agency (JCR) แห่งญี่ปุ่น ได้ปรับการจัดลำดับความน่าเชื่อถือของเศรษฐกิจไทยใหม่ให้ดีขึ้น
ผู้สังเกตการณ์ชาวต่างประเทศได้เคยแสดงความกังวลเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย และสถาบันเหล่านี้ก็เคยกำหนดให้ไทยมีสถานะเป็นลบ (Negative) และอยู่ในกลุ่มประเทศที่ต้องเฝ้าระวัง (Credit Watch) เนื่องจากกรณีรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน ทำให้สถาบันดังกล่าวเห็นว่ามีความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน และประสิทธิภาพในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล
บัดนี้ สถาบันทั้งสามแห่ง (Fitch, S&P, JCR) เห็นว่า สถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองของไทยได้คลี่คลายไปในทางที่ดีแล้ว ทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้น จึงได้ถอนสถานะ Credit Watch “Negative” ที่เคยให้ไว้กับไทยออก และเห็นว่าภาพรวมของไทย “มีเสถียรภาพ” (Stable) กับได้ ประกาศคงความน่าเชื่อถือของประเทศไทยต่อไป ดังรายละเอียดดังนี้
1. ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม 2549 Fitch ได้จัดลำดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรที่ไทยออกเป็นสกุลเงินต่างชาติ (ระยะยาว) ในระดับ BBB+ และความน่าเชื่อถือของพันธบัตรที่ไทยออกเป็นสกุลเงินบาท (ระยะยาว) ที่ระดับ A ส่วนพันธบัตรระยะสั้นของไทย สกุลเงินต่างชาติ และสกุลเงินบาทมีความน่าเชื่อถือในระดับ F2
2. ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2549 S&P ได้จัดลำดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรที่ไทยออกเป็นสกุลเงินต่างชาติ (ระยะยาว) ในระดับ BBB+ และความน่าเชื่อถือของพันธบัตรที่ไทยออกเป็นสกุลเงินบาท (ระยะยาว) ที่ระดับ A ส่วนพันธบัตรระยะสั้นของไทย สกุลเงินต่างชาติ มีความน่าเชื่อถืออยู่ที่ระดับ A-2 สกุลเงินบาท ที่ระดับ A-1
3. ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2549 JCR ได้จัดลำดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรที่ไทยออกเป็นสกุลเงินต่างชาติ ระยะยาว ที่ระดับ A- และสกุลเงินบาท ที่ระดับ A+ (พันธบัตรระยะสั้นไม่มีการจัดลำดับ)
4. อนึ่ง ในช่วงระยะเดียวกันนี้ (เดือนพฤศจิกายน 2549) หอการค้าสหรัฐฯ (The U.S. Chamber of Commerce) ก็ได้ออกเอกสารนโยบาย (Policy paper) เรื่อง “Southeast Asia: Dynamic Opportunities for U.S. Competitiveness” ปี ค.ศ. 2006-2007 ระบุว่า การยึดอำนาจในประเทศไทยเมื่อเดือนกันยายนเป็นไปอย่างสงบ ปราศจากการเสียเลือดเนื้อ และว่า สถานการณ์ทางการเมืองในไทยมีผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจค่อนข้างน้อย และเศรษฐกิจของประเทศไทยยังคงมีเสถียรภาพและน่าลงทุนอยู่
รัฐบาลจะเร่งดำเนินการชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจในประเทศไทย และเพื่อส่งเสริมความมั่นใจที่นักลงทุนต่างชาติมีต่อประเทศไทยต่อไป โดยที่ผ่านมาได้ใช้โอกาสต่างๆ เช่น การพบสื่อมวลชนต่างชาติของนายกรัฐมนตรีที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศในประเทศไทย (FCCT) การชี้แจงต่อผู้นำประเทศอาเซียนและจีนในโอกาสที่นายกรัฐมนตรีไปเยือนประเทศต่างๆ เหล่านั้น การอธิบายต่อผู้นำสหรัฐฯ และผู้นำของระบบเศรษฐกิจต่างๆ ที่เป็นสมาชิก APEC ในโอกาสการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC ที่กรุงฮานอย เป็นต้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเพิ่งได้รับเชิญจาก World Economic Forum (WEF) ซึ่งมีที่ตั้ง ณ นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ให้ไปกล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุม WEF ประจำปีที่เมืองดาโวส สวิตเซอร์แลนด์ ในช่วงปลายเดือนมกราคมปีหน้า (2550) และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาเรื่องนี้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-