สศอ.เร่งเดินหน้าศึกษาการพัฒนาเทคโนโลยี และกำลังคน จากประเทศต้นแบบในเอเชีย และ G8 เจาะลึก 10 สาขาอุตฯหลักไทยทาบชั้นเซียน หวังเดินหมากการพัฒนาอุตฯทั้งระบบ สู่ฐานความรู้เข้มข้น
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สศอ. ได้ร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เร่งศึกษา โครงการพัฒนาเทคโนโลยีและกำลังคนเพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมฐานความรู้ โดยเน้นเจาะลึกลงไป 10 สาขาอุตสาหกรรมหลักประกอบด้วย 1.อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ 2.เฟอร์นิเจอร์ 3.ยาง 4.แฟชั่น (สิ่งทอ) 5.เซรามิก 6.เครื่องใช้ไฟฟ้า 7.อิเล็กทรอนิกส์ 8.เหล็กและโลหการ 9.เครื่องจักรกลการเกษตร และ 10.อุตสาหกรรมยา ซึ่งอุตสาหกรรมทั้ง 10 สาขานี้ไทยมีศักยภาพที่สามารถแข่งขันได้ในระดับหนึ่ง แต่ยังต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงต้องเร่งศึกษาในเชิงลึกเปรียบเทียบกับประเทศต้นแบบที่มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีการผลิต รวมทั้งศักยภาพของแรงงานในอุตสาหกรรมของแต่ละประเทศที่ทำการศึกษาเปรียบเทียบ เพื่อปูพื้นฐานให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยมุ่งสู่อุตสาหกรรมฐานความรู้ในอนาคตอันใกล้นี้
“การศึกษาครั้งนี้เป็นการเจาะลึกอย่างไม่เคยมีมาก่อน เพื่อเทียบศักยภาพรายอุตสาหกรรมทั้ง 10 สาขากับประเทศเจ้าของสุดยอดเทคโนโลยีและกำลังคนในเอเชีย และ G8 เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนเทียบกับประเทศญี่ปุ่น อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เทียบกับประเทศอิตาลีและจีน และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าเทียบกับประเทศเกาหลีใต้ เป็นต้น เนื่องจากในอนาคตอันใกล้นี้ ภาคอุตสาหกรรมไม่อาจหลีกเลี่ยงการแข่งขันทางเทคโนโลยี และการพัฒนากำลังคนให้มีศักยภาพได้ ซึ่งในเมื่อประเทศใดมีความพร้อม รวมไปถึงมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญสามารถใช้เทคโนโลยีให้เกิดประสิทธิผล ก็จะยิ่งเสริมแรงในการเป็นผู้นำในการแข่งขัน ดังนั้นอุตสาหกรรมของไทยจึงต้องเตรียมพร้อมทั้งเรื่องเทคโนโลยีและกำลังคนให้มากที่สุด สศอ. จึงเร่งจัดทำผลการศึกษาครั้งนี้ขึ้นมา และเตรียมผลักดันเป็นยุทธศาสตร์พัฒนาเทคโนโลยีและกำลังคนภาคอุตสาหกรรมของประเทศทั้งระบบ รวมทั้งยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีและกำลังคนในรายอุตสาหกรรมทั้ง 10 สาขา และจะเร่งขยายให้ครอบคลุมทุกอุตสาหกรรมต่อไป”
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า ในอนาคตอันใกล้นี้อุตสาหกรรมจะแข่งขันกันที่เทคโนโลยีและความรู้อย่างเข้มข้น ซึ่งผู้ประกอบการรวมทั้งบุคลากรด้านอุตสาหกรรมควรต้องเร่งปรับตัว เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ให้ได้ ซึ่งหากยังย่ำอยู่กับที่จะเป็นการเสียโอกาสในการแข่งขัน โดยที่สุดแล้วอาจไม่สามารถเดินต่อในธุรกิจได้ สำหรับ สศอ. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการวางนโยบายการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของประเทศ จะได้เร่งดำเนินการต่างๆ เพื่อวางมาตรการรองรับทั้งระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว ให้ภาคอุตสาหกรรมของประเทศ ซึ่งเป็นหัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ดำเนินต่อได้อย่างแข็งแกร่งและมั่นคงต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สศอ. ได้ร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เร่งศึกษา โครงการพัฒนาเทคโนโลยีและกำลังคนเพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมฐานความรู้ โดยเน้นเจาะลึกลงไป 10 สาขาอุตสาหกรรมหลักประกอบด้วย 1.อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ 2.เฟอร์นิเจอร์ 3.ยาง 4.แฟชั่น (สิ่งทอ) 5.เซรามิก 6.เครื่องใช้ไฟฟ้า 7.อิเล็กทรอนิกส์ 8.เหล็กและโลหการ 9.เครื่องจักรกลการเกษตร และ 10.อุตสาหกรรมยา ซึ่งอุตสาหกรรมทั้ง 10 สาขานี้ไทยมีศักยภาพที่สามารถแข่งขันได้ในระดับหนึ่ง แต่ยังต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงต้องเร่งศึกษาในเชิงลึกเปรียบเทียบกับประเทศต้นแบบที่มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีการผลิต รวมทั้งศักยภาพของแรงงานในอุตสาหกรรมของแต่ละประเทศที่ทำการศึกษาเปรียบเทียบ เพื่อปูพื้นฐานให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยมุ่งสู่อุตสาหกรรมฐานความรู้ในอนาคตอันใกล้นี้
“การศึกษาครั้งนี้เป็นการเจาะลึกอย่างไม่เคยมีมาก่อน เพื่อเทียบศักยภาพรายอุตสาหกรรมทั้ง 10 สาขากับประเทศเจ้าของสุดยอดเทคโนโลยีและกำลังคนในเอเชีย และ G8 เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนเทียบกับประเทศญี่ปุ่น อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เทียบกับประเทศอิตาลีและจีน และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าเทียบกับประเทศเกาหลีใต้ เป็นต้น เนื่องจากในอนาคตอันใกล้นี้ ภาคอุตสาหกรรมไม่อาจหลีกเลี่ยงการแข่งขันทางเทคโนโลยี และการพัฒนากำลังคนให้มีศักยภาพได้ ซึ่งในเมื่อประเทศใดมีความพร้อม รวมไปถึงมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญสามารถใช้เทคโนโลยีให้เกิดประสิทธิผล ก็จะยิ่งเสริมแรงในการเป็นผู้นำในการแข่งขัน ดังนั้นอุตสาหกรรมของไทยจึงต้องเตรียมพร้อมทั้งเรื่องเทคโนโลยีและกำลังคนให้มากที่สุด สศอ. จึงเร่งจัดทำผลการศึกษาครั้งนี้ขึ้นมา และเตรียมผลักดันเป็นยุทธศาสตร์พัฒนาเทคโนโลยีและกำลังคนภาคอุตสาหกรรมของประเทศทั้งระบบ รวมทั้งยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีและกำลังคนในรายอุตสาหกรรมทั้ง 10 สาขา และจะเร่งขยายให้ครอบคลุมทุกอุตสาหกรรมต่อไป”
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า ในอนาคตอันใกล้นี้อุตสาหกรรมจะแข่งขันกันที่เทคโนโลยีและความรู้อย่างเข้มข้น ซึ่งผู้ประกอบการรวมทั้งบุคลากรด้านอุตสาหกรรมควรต้องเร่งปรับตัว เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ให้ได้ ซึ่งหากยังย่ำอยู่กับที่จะเป็นการเสียโอกาสในการแข่งขัน โดยที่สุดแล้วอาจไม่สามารถเดินต่อในธุรกิจได้ สำหรับ สศอ. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการวางนโยบายการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของประเทศ จะได้เร่งดำเนินการต่างๆ เพื่อวางมาตรการรองรับทั้งระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว ให้ภาคอุตสาหกรรมของประเทศ ซึ่งเป็นหัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ดำเนินต่อได้อย่างแข็งแกร่งและมั่นคงต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-